ผู้เขียนยังคุ้นๆกับสมรรถนะของวอลโว่ “เอ็กซ์ซี60” (XC60) ครั้งเปิดตัวใหม่ๆเมื่อราว 4-5ปีก่อนได้จางๆครับ สมัยนั้นมากับเครื่องยนต์ดีเซล 5 สูบ 2.4 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด (จากนั้นทำตลาดด้วยเครื่องยนต์ดีเซล5 สูบ 2.0 ลิตร) แม้พละกำลังจะดีพอสมควรแต่ถ้าวัดประสิทธิภาพช่วงล่างและความนิ่งในการขับขี่ ถือว่าด้อยกว่ารุ่นพี่“เอ็กซ์ซี90” (XC90) อย่างชัดเจน
ล่าสุดวอลโว่นำระบบขับเคลื่อน Drive-Eชุดใหม่มาลงใน“เอ็กซ์ซี60” (และรุ่น เอส60)ซึ่งเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่ค่ายรถยนต์จากสวีเดนจ่ายค่าค้นคว้าพัฒนาไปเกือบหนึ่งหมื่นล้านบาท โดยผู้เขียนมีโอกาสได้ลองสมรรถนะเอสยูวีน้องเล็กบนเส้นทาง กรุงเทพ-จันทบุรี-พัทยา ไปเมื่อเร็วๆนี้
ที่ผ่านคำว่าDrive-E ของวอลโว่ที่ขายในบ้านเรา อาจมีความหมายเพียงแค่รถยนต์แบบ FlexFuel รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ E85 แต่สำหรับDrive-E ยุคใหม่จะมีความหมายที่กว้างกว่าเดิมมากครับ
วอลโว่บอกว่า Drive-E Powertrains เป็นนวัตกรรมเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังที่จะให้ความเร้าใจในการขับขี่และการใช้เชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า ด้วยเครื่องยนต์เบนซิน-ดีเซล แบบ 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร เสริมด้วยระบบอัดอากาศทั้งแบบเทอร์โบชาร์จ ซูเปอร์ชาร์จ (ดีเซลจะใช้ทวินเทอร์โบ ลูกเล็ก-ลูกใหญ่ ส่วนเบนซินอาจจะใช้เทอร์โบอย่างเดียวหรือซูเปอร์ชาร์จเสริมด้วยก็ได้) ทั้งยังรองรับกับระบบไฮบริด(มอเตอร์ไฟฟ้า) และส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
เมื่อลงไปในรายละเอียดของเครื่องยนต์ยิ่งน่าสนใจ ด้วยการใช้เสื้อสูบฝาสูบที่ผลิตจากอะลูมิเนียม พร้อมเทคนิคลดแรงเสียดทานของชิ้นส่วนกลไกภายในเครื่องยนต์,การควบคุมความร้อนของเครื่องยนต์,การเพิ่มประสิทธิภาพของหัวฉีดพร้อมอุปกรณ์ควบคุมแรงดันและระบบควบคุมการเผาไหม้ และใช้แคตาไลติคกรองไอเสียแบบพิเศษ
ส่งผลให้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร น้ำหนักเบากว่าเดิม30-50 กิโลกรัม (เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ที่ให้ช่วงพลังใกล้เคียงกัน) แต่ได้สมรรถนะเทียบเท่าเครื่องยนต์ที่มีจำนวนลูกสูบมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น 6 สูบ หรือ 8 สูบ และประหยัดน้ำมันกว่า 10-30%
...จะว่าไป Drive-E Powertrains ก็เป็นการพัฒนานวตรรมในแนวทาง Downsizingที่คล้ายๆกับค่ายรถยนต์อื่นๆครับ คือหันมาใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กลง แต่รีดแรงด้วยเทอร์โบ เสริมประสิทธิภาพด้วยระบบเกียร์ ขณะที่โครงสร้างต่างๆของตัวรถต้องรีดน้ำหนักให้เบาที่สุด เพื่อคงสมรรถนะการขับขี่อันยอดเยี่ยม แต่กินน้ำมันน้อยลง และปล่อยไอเสียต่ำ
สำหรับ“เอ็กซ์ซี60” ที่ผู้เขียนได้ลองเป็นรุ่น D4 เครื่องยนต์ดีเซล แน่นอนว่าพกจุดเด่นของเทคโนโลยี Drive-E มาเต็มสูบ ไล่ตั้งแต่ ทวินเทอร์โบทำงานแบบ 2 ขั้นตอน ด้วยเทอร์โบตัวเล็กจะทำงานก่อนในรอบต่ำ และเทอร์โบตัวใหญ่จะทำงานเมื่อรอบสูงขึ้น จึงสร้างแรงบิดได้เร็วแถมนุ่มนวล พร้อมลดอาการรอรอบจากการหน่วงเวลาของเทอร์โบ (Turbo-lag) ลงได้
ตลอดจนเทคโนโลยี i-ART (Intelligent Accuracy Refinement Technology) ระบบหัวฉีดแรงดันสูง2,500 บาร์ (ฉีดจ่ายน้ำมันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้) ทุกหัวฉีดมีเซ็นเซอร์แยกกัน(สูบใครสูบมัน) เพื่อประมวลผลและควบคุมการฉีดจ่ายน้ำมันของแต่ละหัวฉีดให้เหมาะสมต่อการเผาไหม้ ทั้งยังฉีดเชื้อเพลิงได้สูงสุดถึง 9 ครั้งต่อการหมุน 1 รอบของเครื่องยนต์ (เครื่องยนต์ดีเซลทั่วไปน่าจะใช้เซ็นเซอร์วัดแรงดันเพียงตัวเดียว และอาจจะฉีดจ่ายน้ำมันเพียง3-4 ครั้งต่อการหมุน 1 รอบ )
ที่สุดเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ทวินเทอร์โบ ของ“เอ็กซ์ซี60” D4 ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้า ที่ 4,250 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด400 นิวตัน-เมตร ที่ 1,740-2,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
เมื่อได้ลองของจริงบนท้องถนน ต้องบอกว่าระบบขับเคลื่อน Drive-E ใหม่ทำให้บุคลิกของ “เอ็กซ์ซี60” เปลี่ยนไปมากครับ กับเรี่ยวแรงจัดจ้าน พวงมาลัยหนักหน่วงสั่งงานได้แม่นยำ ให้การควบคุมดีกว่าเดิม ส่วนเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดใหม่ ส่งกำลังนุ่มนวลพร้อมตอบสนองทันใจทุกช่วงจังหวะ
แม้ต้องใช้น้ำหนักเท้ากดคันเร่งลงไปลึกหน่อยถึงจะสัมผัสได้ถึงแรงฉุดดึง แต่พละกำลังก็จัดมาให้แบบไม่ได้ขาด และมาตั้งแต่รอบต่ำกว่า 2,000 รอบเสียด้วย ทั้งนี้วอลโว่แจ้งว่า “เอ็กซ์ซี60 D4” ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ 8.5 วินาที และความเร็วสูงสุด 210 กม./ชม.
ขุมพลังกับเกียร์ใหม่ทำให้รถดูดุดันและหนุ่มขึ้นผิดหูผิดตา ขณะที่ช่วงล่างเหมือนจะแข็งไปนิด ช่วงขับผ่านเนินหลังเต่า หรือแนวลูกระนาดรู้สึกถึงอาการดีดเด้ง ซึ่งจะว่าไปความรู้สึกตรงนี้แทบจะไม่เห็นในรุ่นพี่อย่าง “เอ็กซ์ซี60” หรือถ้าเทียบกับคู่แข่งตรงๆอย่าง “บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์3” (BMW X3) ต้องบอกว่าเอสยูวีจากเยอรมันช่วงล่างสมดุลกว่า
อย่างไรก็ตามหากขับทางไกลความเร็วสูง 120-160 กม./ชม.ตัวรถมั่นคงทรงตัวดี พวงมาลัยที่เคยหนักอึ้งก็ถือได้นิ่งมือ สั่งงานได้มั่นใจทุกโค้ง
ระบบเบรกเป็นอีกจุดที่ต้องชมเหมือนทุกครั้ง น้ำหนักการตอบสนองของแป้นเบรกแม่นยำและชะลอรถได้แบบเนียนๆ ไร้อาการกระชากหน้าทิ่ม ขณะเดียวกัน“เอ็กซ์ซี60” ยังมาพร้อมระบบควบคุมการทรงตัวและยึดเกาะถนนแบบไดนามิก (Dynamic Stability and Traction Control - DSTC with Advanced Stability Control & Sport) ดังนั้นการขับขี่จะเหมือนมีผู้ปกปักคุ้มครองเราอีกขั้นหนึ่ง
ยิ่งเสริมด้วยระบบความปลอดภัย (เดิมๆ)ที่โดดเด่นอย่าง ระบบป้องกันการชนขณะขับขี่ความเร็วต่ำ City Safety (ป้องกันรถชนรถ) และระบบตรวจจับคนเดินถนนพร้อมระบบเบรกแบบเต็มแรงPedestrian Detection with full auto brake (ป้องกันรถชนคน) ซึ่งระบบนี้เพิ่งปรับปรุงซอฟท์แวร์ใหม่ให้ระวังคนขี่จักรยาน โดยจะทำงานเมื่อขับความเร็วไม่เกิน 35 กม./ชม.
ด้วยเรดาร์ที่ติดตั้งอยู่บนกระจังหน้าของรถ กล้องที่ติดอยู่ด้านหลังของกระจกมองหลัง และกล่องควบคุมระบบ เรดาร์มีหน้าที่ตรวจจับภาพมุมกว้าง 60 องศาทางด้านหน้ารถว่ามีวัตถุอยู่ในรัศมีหรือไม่ และวัดระยะห่างจากวัตถุนั้น ส่วนกล้องจะยืนยันว่าวัตถุนั้นเป็นโครงสร้างของมนุษย์ คือ มีศีรษะ ลำตัว แขน ขา หรือไม่ ล่าสุดถูกปรับปรุงให้มีความละเอียดกว่ารุ่นเดิม จึงสามารถตรวจจับรูปแบบการเคลื่อนไหวของคนเดินถนนและผู้ขับขี่จักรยานได้
ความปลอดภัยจัดเพียบตามสไตล์วอลโว่ครับ ถ้าใครชื่นชอบนวตกรรมเพื่อปกป้องและป้องกันอุบัติเหตุ ต้องบอกว่าค่ายวอลโว่เยอะที่สุดเป็นอันดับหนึ่งแล้ว
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย วอลโว่เคลมไว้ 21.3 กม./ลิตร แต่จากการขับขี่แบบเท้าหนัก วัดระยะจากจันทบุรีขับกลับมาพัทยา ใช้ความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ยังได้ตัวเลขประมาณ 14 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...ยกระดับสมรรถนะให้โดดเด่นกับระบบขับเคลื่อนใหม่ Drive-E แรงสมเหตุสมผล นุ่มนวลในทุกจังหวะเร่ง เพียงแต่ช่วงล่างอาจจะแข็งไปนิด พวงมาลัยหนักไปหน่อย ซึ่งน่าจะลงตัวกับการขับทางไกลใช้ความเร็วสูง บวกกับความปลอดภัยที่ให้มามากกว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน บนราคา 3.145 ล้านบาท เทียบเทคโนโลยีที่ได้รับ ถือว่าคุ้มครับ
รู้จักโหมดการขับขี่ ECO+ (อีโค่-พลัส) ใน XC60
ECO+ โหมดการขับขี่ที่ช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิง โดยปรับการทำงานให้เกียร์อัตโนมัติมีการเปลี่ยนจังหวะเกียร์เร็วขึ้น ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้นอีก +5% (ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับขี่ของแต่บุคคล) เป็นทางเลือกสำหรับการขับขี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ตารางแสดงว่าขณะที่ใช้โหมดการขับขี่ ECO+ ระบบต่างๆจะทำงานหรือหยุดการทำงานเพื่อความประหยัด
- โหมดการขับขี่ ECO+ จะทำงานเมื่อ?
ล่าสุดวอลโว่นำระบบขับเคลื่อน Drive-Eชุดใหม่มาลงใน“เอ็กซ์ซี60” (และรุ่น เอส60)ซึ่งเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่ค่ายรถยนต์จากสวีเดนจ่ายค่าค้นคว้าพัฒนาไปเกือบหนึ่งหมื่นล้านบาท โดยผู้เขียนมีโอกาสได้ลองสมรรถนะเอสยูวีน้องเล็กบนเส้นทาง กรุงเทพ-จันทบุรี-พัทยา ไปเมื่อเร็วๆนี้
ที่ผ่านคำว่าDrive-E ของวอลโว่ที่ขายในบ้านเรา อาจมีความหมายเพียงแค่รถยนต์แบบ FlexFuel รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ E85 แต่สำหรับDrive-E ยุคใหม่จะมีความหมายที่กว้างกว่าเดิมมากครับ
วอลโว่บอกว่า Drive-E Powertrains เป็นนวัตกรรมเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังที่จะให้ความเร้าใจในการขับขี่และการใช้เชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า ด้วยเครื่องยนต์เบนซิน-ดีเซล แบบ 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร เสริมด้วยระบบอัดอากาศทั้งแบบเทอร์โบชาร์จ ซูเปอร์ชาร์จ (ดีเซลจะใช้ทวินเทอร์โบ ลูกเล็ก-ลูกใหญ่ ส่วนเบนซินอาจจะใช้เทอร์โบอย่างเดียวหรือซูเปอร์ชาร์จเสริมด้วยก็ได้) ทั้งยังรองรับกับระบบไฮบริด(มอเตอร์ไฟฟ้า) และส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
เมื่อลงไปในรายละเอียดของเครื่องยนต์ยิ่งน่าสนใจ ด้วยการใช้เสื้อสูบฝาสูบที่ผลิตจากอะลูมิเนียม พร้อมเทคนิคลดแรงเสียดทานของชิ้นส่วนกลไกภายในเครื่องยนต์,การควบคุมความร้อนของเครื่องยนต์,การเพิ่มประสิทธิภาพของหัวฉีดพร้อมอุปกรณ์ควบคุมแรงดันและระบบควบคุมการเผาไหม้ และใช้แคตาไลติคกรองไอเสียแบบพิเศษ
ส่งผลให้เครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 2.0 ลิตร น้ำหนักเบากว่าเดิม30-50 กิโลกรัม (เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ที่ให้ช่วงพลังใกล้เคียงกัน) แต่ได้สมรรถนะเทียบเท่าเครื่องยนต์ที่มีจำนวนลูกสูบมากกว่า ไม่ว่าจะเป็น 6 สูบ หรือ 8 สูบ และประหยัดน้ำมันกว่า 10-30%
...จะว่าไป Drive-E Powertrains ก็เป็นการพัฒนานวตรรมในแนวทาง Downsizingที่คล้ายๆกับค่ายรถยนต์อื่นๆครับ คือหันมาใช้เครื่องยนต์ขนาดเล็กลง แต่รีดแรงด้วยเทอร์โบ เสริมประสิทธิภาพด้วยระบบเกียร์ ขณะที่โครงสร้างต่างๆของตัวรถต้องรีดน้ำหนักให้เบาที่สุด เพื่อคงสมรรถนะการขับขี่อันยอดเยี่ยม แต่กินน้ำมันน้อยลง และปล่อยไอเสียต่ำ
สำหรับ“เอ็กซ์ซี60” ที่ผู้เขียนได้ลองเป็นรุ่น D4 เครื่องยนต์ดีเซล แน่นอนว่าพกจุดเด่นของเทคโนโลยี Drive-E มาเต็มสูบ ไล่ตั้งแต่ ทวินเทอร์โบทำงานแบบ 2 ขั้นตอน ด้วยเทอร์โบตัวเล็กจะทำงานก่อนในรอบต่ำ และเทอร์โบตัวใหญ่จะทำงานเมื่อรอบสูงขึ้น จึงสร้างแรงบิดได้เร็วแถมนุ่มนวล พร้อมลดอาการรอรอบจากการหน่วงเวลาของเทอร์โบ (Turbo-lag) ลงได้
ตลอดจนเทคโนโลยี i-ART (Intelligent Accuracy Refinement Technology) ระบบหัวฉีดแรงดันสูง2,500 บาร์ (ฉีดจ่ายน้ำมันตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้) ทุกหัวฉีดมีเซ็นเซอร์แยกกัน(สูบใครสูบมัน) เพื่อประมวลผลและควบคุมการฉีดจ่ายน้ำมันของแต่ละหัวฉีดให้เหมาะสมต่อการเผาไหม้ ทั้งยังฉีดเชื้อเพลิงได้สูงสุดถึง 9 ครั้งต่อการหมุน 1 รอบของเครื่องยนต์ (เครื่องยนต์ดีเซลทั่วไปน่าจะใช้เซ็นเซอร์วัดแรงดันเพียงตัวเดียว และอาจจะฉีดจ่ายน้ำมันเพียง3-4 ครั้งต่อการหมุน 1 รอบ )
ที่สุดเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ทวินเทอร์โบ ของ“เอ็กซ์ซี60” D4 ให้กำลังสูงสุด 181 แรงม้า ที่ 4,250 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด400 นิวตัน-เมตร ที่ 1,740-2,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
เมื่อได้ลองของจริงบนท้องถนน ต้องบอกว่าระบบขับเคลื่อน Drive-E ใหม่ทำให้บุคลิกของ “เอ็กซ์ซี60” เปลี่ยนไปมากครับ กับเรี่ยวแรงจัดจ้าน พวงมาลัยหนักหน่วงสั่งงานได้แม่นยำ ให้การควบคุมดีกว่าเดิม ส่วนเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดใหม่ ส่งกำลังนุ่มนวลพร้อมตอบสนองทันใจทุกช่วงจังหวะ
แม้ต้องใช้น้ำหนักเท้ากดคันเร่งลงไปลึกหน่อยถึงจะสัมผัสได้ถึงแรงฉุดดึง แต่พละกำลังก็จัดมาให้แบบไม่ได้ขาด และมาตั้งแต่รอบต่ำกว่า 2,000 รอบเสียด้วย ทั้งนี้วอลโว่แจ้งว่า “เอ็กซ์ซี60 D4” ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ได้ 8.5 วินาที และความเร็วสูงสุด 210 กม./ชม.
ขุมพลังกับเกียร์ใหม่ทำให้รถดูดุดันและหนุ่มขึ้นผิดหูผิดตา ขณะที่ช่วงล่างเหมือนจะแข็งไปนิด ช่วงขับผ่านเนินหลังเต่า หรือแนวลูกระนาดรู้สึกถึงอาการดีดเด้ง ซึ่งจะว่าไปความรู้สึกตรงนี้แทบจะไม่เห็นในรุ่นพี่อย่าง “เอ็กซ์ซี60” หรือถ้าเทียบกับคู่แข่งตรงๆอย่าง “บีเอ็มดับเบิลยู เอ็กซ์3” (BMW X3) ต้องบอกว่าเอสยูวีจากเยอรมันช่วงล่างสมดุลกว่า
อย่างไรก็ตามหากขับทางไกลความเร็วสูง 120-160 กม./ชม.ตัวรถมั่นคงทรงตัวดี พวงมาลัยที่เคยหนักอึ้งก็ถือได้นิ่งมือ สั่งงานได้มั่นใจทุกโค้ง
ระบบเบรกเป็นอีกจุดที่ต้องชมเหมือนทุกครั้ง น้ำหนักการตอบสนองของแป้นเบรกแม่นยำและชะลอรถได้แบบเนียนๆ ไร้อาการกระชากหน้าทิ่ม ขณะเดียวกัน“เอ็กซ์ซี60” ยังมาพร้อมระบบควบคุมการทรงตัวและยึดเกาะถนนแบบไดนามิก (Dynamic Stability and Traction Control - DSTC with Advanced Stability Control & Sport) ดังนั้นการขับขี่จะเหมือนมีผู้ปกปักคุ้มครองเราอีกขั้นหนึ่ง
ยิ่งเสริมด้วยระบบความปลอดภัย (เดิมๆ)ที่โดดเด่นอย่าง ระบบป้องกันการชนขณะขับขี่ความเร็วต่ำ City Safety (ป้องกันรถชนรถ) และระบบตรวจจับคนเดินถนนพร้อมระบบเบรกแบบเต็มแรงPedestrian Detection with full auto brake (ป้องกันรถชนคน) ซึ่งระบบนี้เพิ่งปรับปรุงซอฟท์แวร์ใหม่ให้ระวังคนขี่จักรยาน โดยจะทำงานเมื่อขับความเร็วไม่เกิน 35 กม./ชม.
ด้วยเรดาร์ที่ติดตั้งอยู่บนกระจังหน้าของรถ กล้องที่ติดอยู่ด้านหลังของกระจกมองหลัง และกล่องควบคุมระบบ เรดาร์มีหน้าที่ตรวจจับภาพมุมกว้าง 60 องศาทางด้านหน้ารถว่ามีวัตถุอยู่ในรัศมีหรือไม่ และวัดระยะห่างจากวัตถุนั้น ส่วนกล้องจะยืนยันว่าวัตถุนั้นเป็นโครงสร้างของมนุษย์ คือ มีศีรษะ ลำตัว แขน ขา หรือไม่ ล่าสุดถูกปรับปรุงให้มีความละเอียดกว่ารุ่นเดิม จึงสามารถตรวจจับรูปแบบการเคลื่อนไหวของคนเดินถนนและผู้ขับขี่จักรยานได้
ความปลอดภัยจัดเพียบตามสไตล์วอลโว่ครับ ถ้าใครชื่นชอบนวตกรรมเพื่อปกป้องและป้องกันอุบัติเหตุ ต้องบอกว่าค่ายวอลโว่เยอะที่สุดเป็นอันดับหนึ่งแล้ว
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย วอลโว่เคลมไว้ 21.3 กม./ลิตร แต่จากการขับขี่แบบเท้าหนัก วัดระยะจากจันทบุรีขับกลับมาพัทยา ใช้ความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ยังได้ตัวเลขประมาณ 14 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...ยกระดับสมรรถนะให้โดดเด่นกับระบบขับเคลื่อนใหม่ Drive-E แรงสมเหตุสมผล นุ่มนวลในทุกจังหวะเร่ง เพียงแต่ช่วงล่างอาจจะแข็งไปนิด พวงมาลัยหนักไปหน่อย ซึ่งน่าจะลงตัวกับการขับทางไกลใช้ความเร็วสูง บวกกับความปลอดภัยที่ให้มามากกว่าคู่แข่งในระดับเดียวกัน บนราคา 3.145 ล้านบาท เทียบเทคโนโลยีที่ได้รับ ถือว่าคุ้มครับ
รู้จักโหมดการขับขี่ ECO+ (อีโค่-พลัส) ใน XC60
ECO+ โหมดการขับขี่ที่ช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิง โดยปรับการทำงานให้เกียร์อัตโนมัติมีการเปลี่ยนจังหวะเกียร์เร็วขึ้น ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากขึ้นอีก +5% (ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับขี่ของแต่บุคคล) เป็นทางเลือกสำหรับการขับขี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ตารางแสดงว่าขณะที่ใช้โหมดการขับขี่ ECO+ ระบบต่างๆจะทำงานหรือหยุดการทำงานเพื่อความประหยัด
1.คอมเพรสเซอร์ของระบบปรับอากาศอัตโนมัติที่ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยสารจะหยุดทำงานเพื่อไม่ให้เกิดการฉุดกำลังเครื่องยนต์ |
2.ในช่วงความเร็ว 65-140 กม./ชม. ระบบ ECO Coast จะทำงาน โดยไม่มีแรงหน่วงความเร็วจากเครื่องยนต์ (Engine Brake) เมื่อผู้ขับถอนคันเร่ง รถจะยังคงวิ่งเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยแรงเฉื่อยจากพลังงานจลน์ (Kinetic Energy) |
3.หากไม่ถอนคันเร่ง การตอบสนองของคันเร่งจะช้าลงทำให้ต้องเหยียบคันเร่งลึกลงกว่าเดิมเล็กน้อย |
4.จังหวะเปลี่ยนเกียร์เร็วขึ้น |
5.เปลี่ยนการทำงานของระบบ Start/Stop จากปกติที่เครื่องยนต์จะดับเองเมื่อรถหยุด แต่เมื่อผู้ขับขี่กดปุ่ม Eco+ ให้ทำงาน เครื่องยนต์จะดับลงเองเมื่อความเร็วรถต่ำกว่า 7 ก.ม./ช.ม. รถจะวิ่งต่อไปดวยแรงเฉื่อย และเครื่องยนต์จะติดขึ้นเองอีกครั้งเมื่อผู้ขับขี่ถอนเท้าออกจากแป้นเบรก |
- โหมดการขับขี่ ECO+ จะทำงานเมื่อ?
1.เกียร์อัตโนมัติอยู่ในตำแหน่ง D (Drive) |
2.ระดับความเร็วรถอยู่ระหว่างช่วง 65-140 ก.ม./ช.ม. |
3.ความลาดชันของถนนไม่เกิน 6% |
4.ไม่ได้ใช้งานระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ (Cruise Control) |
5.อุณหภูมิของเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติอยู่ในระดับปกติ |