เดินทางมาบรรจบ พบกันเป็นคู่แข่งตรงๆ สำหรับ“ฟอร์ด เอคโคสปอร์ต” (Ford EcoSport) กับ “นิสสัน จู๊ค” (Nissan Juke) รถยนต์เซกเมนต์ใหม่ที่เข้ามาลุยตลาดไทยในระยะเวลาพร้อมๆกัน โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการปลายปีที่แล้ว และเริ่มทยอยส่งมอบรถให้ลูกค้าได้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าทั้งสองบริษัทจะนิยามรถยนต์ของตนเองว่าอย่างไร แต่หากพิจารณาจากพื้นฐานทางวิศวกรรม และตำแหน่งของตัวสินค้า ทั้งคู่ต้องถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มซับคอมแพกต์เอสยูวี (ส่วนคอมแพกต์เอสยูวีคือ ฟอร์ด เอสแคป และ นิสสัน เอ็กซ์เทรล) โดยเอคโคสปอร์ตนั้นพัฒนาบนพื้นฐานเดียวกับ “เฟียสต้า” ส่วน “จู๊ค” มาจากโครงสร้างบี-แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นรากฐานรถเล็กของนิสสันหลายรุ่น
เรื่องของอายุโปรดักต์ จู๊คอยู่ในตลาดโลกมาประมาณ 4 ปี ส่วนเอคโคสปอร์ต ถ้าเริ่มนับจากการขายครั้งแรกที่บราซิล ก็เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว
สำหรับการทำตลาดในเมืองไทย จู๊คนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ส่วนเอคโคสปอร์ตนั้นขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงานใหม่ของฟอร์ด จังหวัดระยอง (ฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง - เอฟทีเอ็ม)
โดยจู๊คเริ่มส่งมอบให้ลูกค้าได้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนเอคโคสปอร์ตเริ่มเดือนมีนาคม ตรวจสอบยอดขายล่าสุด จู๊คโกยไปแล้ว7,500 คัน ขณะที่เอคโคสปอร์ตขายได้เกือบ 2,000 คัน(มี.ค.-พ.ค.)
โอกาสนี้ “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” นำรถยนต์ทั้งสองรุ่นมาขับทดสอบเปรียบเทียบสมรรถนะและความคุ้มค่าน่าใช้ น่าจะช่วยให้หลายคนที่ยังลังเล ได้ตกลงปลงใจ หรืออาจสนับสนุนความคิดพวกที่ชื้อไปแล้วว่าตัดสินใจไม่ผิด(รึเปล่า?)
รูปลักษณ์ภายนอก ผู้เขียนไม่ขอติขอชมครับ เพราะเป็นเรื่องความชอบส่วนบุคคล แต่ถ้ามองผ่านๆ เอคโคสปอร์ตเหมือนขนาดตัวจะใหญ่กว่าจู๊คนิดๆ ยิ่งไปดูรายละเอียดในโบรชัวร์จะพบว่า เอสยูวีแบรนด์อเมริกันมีความยาว ความสูงมากกว่าคู่แข่งจากญี่ปุ่น 110 มม. และ 128 มม.ตามลำดับ เช่นเดียวกับระยะต่ำสุดจากพื้น(Ground Clearance) ที่เหนือกว่ากัน 20 มม.
อย่างไรก็ตามการใช้งานจริง ไม่ว่าจะเข้า-ออกภายในห้องโดยสาร การนั่งด้านหลังอารมณ์ไม่ได้ต่างกันมากมาย แต่ที่รู้สึกจริงๆน่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้างเบาะคู่หน้า ที่เอคโคสปอร์ตเหมือนจะเล็ก และทรงรัดตัวมากกว่า ส่วนเบาะแถวหลังนั่งแล้วไม่ถึงกับอึดอัด แต่ก็ขยับขยายลำบากทั้งคู่
การปรับพับเบาะนั่งแถวสองทำได้อเนกประสงค์เหมือนกัน แต่จู๊คสามารถพับแล้วราบเรียบไปกับพื้นวางสัมภาระ ขณะที่เอคโคสปอร์ตพับแล้วไม่เรียบ แต่สามารถดันไปชนเบาะคู่หน้าได้อีกหนึ่งจังหวะ
ประเด็นนี้ต่อเนื่องถึงการออกแบบประตูบานที่ 5 โดยจู๊คเลือกแบบเปิดขึ้นด้านบนเหมือนเอสยูวีสมัยใหม่ทั่วไป แต่เอคโคสปอร์ตเลือกการเปิดแบบประตูตู้เย็น ออกจากขวาไปซ้าย ซึ่งผิดทิศผิดทางกับการเป็นรถพวงมาลัยขวาอย่างบ้านเรา
ยกกรณีจอดชิดซ้ายข้างทางเท้า แล้วขนสัมภาระขึ้นทางด้านหลัง เมื่อเปิดประตูแล้วเราจำเป็นต้องเดินอ้อมไปอีกด้าน ซึ่งต่างจากประตูของจู๊คที่สะดวกกว่าด้วยการยกขึ้นด้านบน ขณะเดียวกันหากจอดเทียบริมทาง เอคโคสปอร์ตก็ถอยชิดรถคันหลังมากไม่ได้ ถ้าอยากจะเปิดประตูท้าย
ด้วยเหตุผลที่ฟอร์ด เลือกนำยางอะไหล่แปะไว้กับประตูหลัง เหมือนออฟโรด 4X4 รุ่นโบราณ เพียงเพราะต้องการพื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลัง และไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่เก็บยางอะไหล่ ซึ่งจริงๆมีข้อดีที่ทำให้ออกแบบพื้นเก็บสัมภาระด้านหลังได้ต่ำลง(เพราะไม่มีหลุมยางอะไหล่) ดังนั้นเมื่อเปิดบานประตูแล้ว จะพบช่องว่างที่กว้างและสูง สามารถยัดสิ่งของใหญ่ๆเข้าไปสะดวก โดยฟอร์ดแจ้งว่า หากพับเบาะนั่งแถวสองให้เด้งไปชิดเบาะหน้าจะเพิ่มพื้นที่ตรงนี้ได้ถึง 705 ลิตร
...ทุกอย่างต้องมีได้มีเสียครับ สรุปคือเอคโคสปอร์ตได้เปรียบเรื่องความจุ และถ้าไม่ติดเรื่องประตูเปิดออกด้านข้างผิดฝั่ง ก็สามารถขนของขึ้นลงด้านหลังได้สบาย(เพระพื้นต่ำ) ส่วนจู๊คมีพื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลังน้อยกว่า แต่การใช้งานจริงประตูบานที่ 5 เปิดขึ้นด้านบน สะดวกคล่องแคล่วกว่าเอคโคสปอร์ตแน่นอน
ด้านออปชันอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ผู้เขียนวัดระหว่างตัวท็อป จู๊ค 1.6Vราคา 858,000 บาท และเอคโคสปอร์ต Titanium ราคา 829,000 บาท ส่วนต่าง 29,000 บาท....มาดูว่าใครให้อะไรมาบ้าง?
เริ่มจากชุดเครื่องเสียง เหมือนจู๊คจะจัดเต็มกว่า ด้วยระบบ I-Connect ประกอบด้วยหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว สามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน เชื่อมต่อ Internet ผ่านสัญญาณ Wifi รองรับ USB, SD Card, AUX, Bluetooth และระบบสั่งการด้วยเสียง Voice Recognition ทั้งนี้หน้าจอดังกล่าวยังดึงออกมาได้เหมือนกับแทบเล็ต รองรับระบบปฎิบัติการเอรดรอยด์ (ดึงออกไปใช้นอกรถได้ถ้าเชื่อมกับ Power bank)
ส่วนเอคโคสปอร์ตเป็นเครื่องเล่นวิทยุ CD MP3 1 แผ่น มีช่องต่อ USB เชื่อมต่อ Bluetooth พร้อมระบบ SYCN สั่งงานด้วยเสียง เลือกโหมดฟังเพลง และรับ-วางสายโทรศัพท์ แสดงผลผ่านหน้าจอที่ฝังบริเวณแผงแดชบอร์ดหน้า
ทั้งคู่มีระบบ Smart Entry เปิดประตูโดยไม่ต้องกดรีโมท พร้อมปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ ส่วนจู๊คมีกล้องมองถอยหลัง (สะท้อนภาพออกหน้าจอ) แต่เอคคโคสปอร์ตมีเพียงเสียงกะระยะถอยหลัง
นอกจากหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว พร้อมลูกเล่นที่หลากหลายของจู๊คแล้ว ยังมีหน้าจอที่ควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติ-และโหมดการขับขี่ที่สามารถเปลี่ยนการแสดงผลได้ในจอเดียว โดยจู๊คสามารถเลือกให้เครื่องยนต์ เกียร์ ตอบสนองมาก-น้อยแบบ“สปอร์ต”(Spost) และปกติ (Normal) หรือชอบประหยัดก็“อีโค” (Eco) ที่จะปรับลดการทำงานของแอร์ด้วย
ขณะที่จู๊คมากับลูกเล่นแพรวพราว แต่เอคโคสปอร์ตโดดเด่นมากับซันรูฟ แถมราวหลังคาไว้ติดแรคจับจักรยานหรือขนของต่างๆ ตลอดจนระบบความปลอดภัย ที่จู๊คมีถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) และระบบกระจายแรงเบรก (EBD) แต่เอคโคสปอร์ตจะเพิ่ม ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล(TCS) พร้อมระบบการทรงตัว(ESP) และระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน(HLA)
มาถึงเรื่องการขับขี่ต้องยอมรับว่าทั้งสองคันมีบุคลิกที่ต่างกันชัดเจน ด้วยโครงสร้างตัวถัง ช่วงล่าง และระบบขับเคลื่อน ซึ่งถือเป็นการปะทะกันระหว่างแนวคิดอเมริกันกับญี่ปุ่นอย่างแท้จริง โดยจู๊ควางเครื่องยนต์เบนซิน HR16DE ขนาด 1.6 ลิตร 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบหัวฉีดคู่ ระบบวาล์วแปรผันคู่ Twin C-VTC ให้กำลังสูงสุด 116 แรงม้า ที่ 5,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 154 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ XTRONIC CVT (ชุดขับเดียวกับซิลฟี)
ช่วงล่างหน้าเป็นอิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท เสริมเหล็กกันโคลง หลังแบบคานทอร์ชั่นบีม เสริมเหล็กกันโคลง พร้อมล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว ประกบยางบริดจสโตน ทูรันซ่า 215/55R17
ขณะที่เอคโคสปอร์ตเป็นชุดที่ประจำการในเฟียสต้า เครื่องยนต์ดูราเทค ขนาด 1.5 ลิตร DOHC 4สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วแปรผันแคมชาฟท์อิสระคู่ Ti-VCT ให้กำลังสูงสุด 110 แรงม้า ที่ 6,300 รอบต่อนาที แรงบิด 142 นิวตันเมตร ที่ 4,400 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทช์ 6 สปีด
ช่วงล่างหน้าเป็นอิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังแบบคานทอร์ชั่นบีม ประกบล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้ว รับด้วยยางกู๊ดเยียร์ แอสชัวแรนซ์ ฟิว แมกซ์ 205/60R16
ความรู้สึกขณะนั่งอยู่หลังพวงมาลัย เรื่องการควบคุมเหมือนเอคโคสปอร์ตจะตอบสนองเนียนกว่าจู๊คอยู่พอสมควร ขับในเมือง รถติด เลี้ยวหาที่จอด พวงมาลัยเบาช่วยผ่อนแรงได้ดี แต่ถ้าใช้ความเร็วหรือวิ่งทางไกล น้ำหนักพวงมาลัยจะหน่วงมือขึ้นมาอีกหน่อย ส่วนจู๊คนั้นการบังคับทิศทางออกแนวขาดๆเกินๆ
สอดคล้องกับการควบคุม การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารและช่วงล่างเป็นอีกจุดที่เอคโคสปอร์ตชนะเลิศ แม้ตัวรถจะสูงและมีระยะต่ำสุดจากพื้นมากกว่าจู๊ค ตลอดจนใช้ล้อขนาด 16 นิ้ว ที่หน้ายางแคบกว่าจู๊ค แต่การทรงตัวรวมๆให้เสถียรภาพที่ดี อาการโยน โยกคลอนน้อย ขณะที่จู๊คเซ็ทช่วงล่างมาค่อนข้างนุ่ม ขับในเมืองรองรับนิ่มนั่งสบาย แต่ถ้าออกนอกเมืองใช้ความเร็ว 120 กม./ชม.ขึ้นไป ยังนิ่งสู้เอคโคสปอร์ตไม่ได้
ส่วนเรี่ยวแรง การรีดพลังลงสู่ล้อคู่หน้า จู๊คจี๊ดจ๊าดกว่าเอคโคสปอร์ต ช่วงออกตัว เร่งแซง ความเร็วปลาย จู๊คจัดให้แบบไม่บันยะบันยัง เพียงแต่ต้องจับจังหวะของเกียร์ CVT ให้ได้เท่านั้น ส่วนเอคโคสปอร์ต ที่พิกัดเครื่องยนต์น้อยกว่า บุคลิกเหมือนเฟียสต้าไม่ผิด คือออกตัวดี แต่กลางหาย ต้องเข่นต้องบี้คันเร่ง ส่วนความเร็วปลายก็จัดให้ตามสมควร อย่างไรก็ตามการถ่ายทอดกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทช์ 6 สปีด ยังให้อารมณ์ดุดันเป็นธรรมชาติมากกว่า CVT ของจู๊คครับ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันทั้งสองค่ายเคลมเฉลี่ยไว้ 15 กม./ลิตร ซึ่งการขับขี่จริงของผู้เขียน จู๊คและเอคโคสปอร์ต ก็ทำได้ระดับ 13 กม./ลิตรพอๆกัน คงขึ้นอยู่กับสภาพจราจรและพฤติกรรมการขับขี่ครับ
รวบรัดตัดความ...บางทีการตัดสินใจซื้อรถยนต์สองรุ่นนี้อาจจะไม่ต้องวัดกันถึงเรื่องออปชันและสมรรถนะการขับขี่ เพราะหน้าตารูปลักษณ์นั้นต่างกันสิ้นเชิง กล่าวคือใครชอบจู๊คก็วิ่งไปโชว์รูมนิสสันได้เลย แต่ถ้านิยมสไตล์ออฟโรด(มีล้ออะไล่ด้านหลัง)ด้วยคิดว่าทะมัดทะแมง บึกบึน คงไปโชว์รูมฟอร์ดคว้าใบจองมานอนกอด
เรื่องการขับขี่เอคโคสปอร์ตสมดุลลงตัวกว่า ส่วนความคุ้มค่าจัดหนักทั้งสองคัน เอคโคสปอร์ตครบในแง่ระบบความปลอดภัยส่วนจู๊คเน้นลูกเล่นเอาใจคนรุ่นใหม่(สอดคล้องกับหน้าตาแปลกประหลาด) ขึ้นอยู่กับความชอบ และไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล แต่เรื่องความอเนกประสงค์จากการเปิดประตูหลัง ผู้เขียนลองใช้อยู่ 3-4 วัน ขนของจริง (จักรยาน) และลักษณะการจอด พบว่าจู๊คใช้งานสะดวกสุดๆ
….ส่วนใครยัง “งง งง” และไม่รีบใช้รถตอนนี้ ปลายปียังมี“ฮอนด้า วีเซล” เข้ามาเป็นทางเลือกอีกหนึ่งรุ่น
ไม่ว่าทั้งสองบริษัทจะนิยามรถยนต์ของตนเองว่าอย่างไร แต่หากพิจารณาจากพื้นฐานทางวิศวกรรม และตำแหน่งของตัวสินค้า ทั้งคู่ต้องถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มซับคอมแพกต์เอสยูวี (ส่วนคอมแพกต์เอสยูวีคือ ฟอร์ด เอสแคป และ นิสสัน เอ็กซ์เทรล) โดยเอคโคสปอร์ตนั้นพัฒนาบนพื้นฐานเดียวกับ “เฟียสต้า” ส่วน “จู๊ค” มาจากโครงสร้างบี-แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นรากฐานรถเล็กของนิสสันหลายรุ่น
เรื่องของอายุโปรดักต์ จู๊คอยู่ในตลาดโลกมาประมาณ 4 ปี ส่วนเอคโคสปอร์ต ถ้าเริ่มนับจากการขายครั้งแรกที่บราซิล ก็เป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว
สำหรับการทำตลาดในเมืองไทย จู๊คนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ส่วนเอคโคสปอร์ตนั้นขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงานใหม่ของฟอร์ด จังหวัดระยอง (ฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง - เอฟทีเอ็ม)
โดยจู๊คเริ่มส่งมอบให้ลูกค้าได้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่วนเอคโคสปอร์ตเริ่มเดือนมีนาคม ตรวจสอบยอดขายล่าสุด จู๊คโกยไปแล้ว7,500 คัน ขณะที่เอคโคสปอร์ตขายได้เกือบ 2,000 คัน(มี.ค.-พ.ค.)
โอกาสนี้ “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” นำรถยนต์ทั้งสองรุ่นมาขับทดสอบเปรียบเทียบสมรรถนะและความคุ้มค่าน่าใช้ น่าจะช่วยให้หลายคนที่ยังลังเล ได้ตกลงปลงใจ หรืออาจสนับสนุนความคิดพวกที่ชื้อไปแล้วว่าตัดสินใจไม่ผิด(รึเปล่า?)
รูปลักษณ์ภายนอก ผู้เขียนไม่ขอติขอชมครับ เพราะเป็นเรื่องความชอบส่วนบุคคล แต่ถ้ามองผ่านๆ เอคโคสปอร์ตเหมือนขนาดตัวจะใหญ่กว่าจู๊คนิดๆ ยิ่งไปดูรายละเอียดในโบรชัวร์จะพบว่า เอสยูวีแบรนด์อเมริกันมีความยาว ความสูงมากกว่าคู่แข่งจากญี่ปุ่น 110 มม. และ 128 มม.ตามลำดับ เช่นเดียวกับระยะต่ำสุดจากพื้น(Ground Clearance) ที่เหนือกว่ากัน 20 มม.
อย่างไรก็ตามการใช้งานจริง ไม่ว่าจะเข้า-ออกภายในห้องโดยสาร การนั่งด้านหลังอารมณ์ไม่ได้ต่างกันมากมาย แต่ที่รู้สึกจริงๆน่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้างเบาะคู่หน้า ที่เอคโคสปอร์ตเหมือนจะเล็ก และทรงรัดตัวมากกว่า ส่วนเบาะแถวหลังนั่งแล้วไม่ถึงกับอึดอัด แต่ก็ขยับขยายลำบากทั้งคู่
การปรับพับเบาะนั่งแถวสองทำได้อเนกประสงค์เหมือนกัน แต่จู๊คสามารถพับแล้วราบเรียบไปกับพื้นวางสัมภาระ ขณะที่เอคโคสปอร์ตพับแล้วไม่เรียบ แต่สามารถดันไปชนเบาะคู่หน้าได้อีกหนึ่งจังหวะ
ประเด็นนี้ต่อเนื่องถึงการออกแบบประตูบานที่ 5 โดยจู๊คเลือกแบบเปิดขึ้นด้านบนเหมือนเอสยูวีสมัยใหม่ทั่วไป แต่เอคโคสปอร์ตเลือกการเปิดแบบประตูตู้เย็น ออกจากขวาไปซ้าย ซึ่งผิดทิศผิดทางกับการเป็นรถพวงมาลัยขวาอย่างบ้านเรา
ยกกรณีจอดชิดซ้ายข้างทางเท้า แล้วขนสัมภาระขึ้นทางด้านหลัง เมื่อเปิดประตูแล้วเราจำเป็นต้องเดินอ้อมไปอีกด้าน ซึ่งต่างจากประตูของจู๊คที่สะดวกกว่าด้วยการยกขึ้นด้านบน ขณะเดียวกันหากจอดเทียบริมทาง เอคโคสปอร์ตก็ถอยชิดรถคันหลังมากไม่ได้ ถ้าอยากจะเปิดประตูท้าย
ด้วยเหตุผลที่ฟอร์ด เลือกนำยางอะไหล่แปะไว้กับประตูหลัง เหมือนออฟโรด 4X4 รุ่นโบราณ เพียงเพราะต้องการพื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลัง และไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่เก็บยางอะไหล่ ซึ่งจริงๆมีข้อดีที่ทำให้ออกแบบพื้นเก็บสัมภาระด้านหลังได้ต่ำลง(เพราะไม่มีหลุมยางอะไหล่) ดังนั้นเมื่อเปิดบานประตูแล้ว จะพบช่องว่างที่กว้างและสูง สามารถยัดสิ่งของใหญ่ๆเข้าไปสะดวก โดยฟอร์ดแจ้งว่า หากพับเบาะนั่งแถวสองให้เด้งไปชิดเบาะหน้าจะเพิ่มพื้นที่ตรงนี้ได้ถึง 705 ลิตร
...ทุกอย่างต้องมีได้มีเสียครับ สรุปคือเอคโคสปอร์ตได้เปรียบเรื่องความจุ และถ้าไม่ติดเรื่องประตูเปิดออกด้านข้างผิดฝั่ง ก็สามารถขนของขึ้นลงด้านหลังได้สบาย(เพระพื้นต่ำ) ส่วนจู๊คมีพื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลังน้อยกว่า แต่การใช้งานจริงประตูบานที่ 5 เปิดขึ้นด้านบน สะดวกคล่องแคล่วกว่าเอคโคสปอร์ตแน่นอน
ด้านออปชันอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ผู้เขียนวัดระหว่างตัวท็อป จู๊ค 1.6Vราคา 858,000 บาท และเอคโคสปอร์ต Titanium ราคา 829,000 บาท ส่วนต่าง 29,000 บาท....มาดูว่าใครให้อะไรมาบ้าง?
เริ่มจากชุดเครื่องเสียง เหมือนจู๊คจะจัดเต็มกว่า ด้วยระบบ I-Connect ประกอบด้วยหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว สามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน เชื่อมต่อ Internet ผ่านสัญญาณ Wifi รองรับ USB, SD Card, AUX, Bluetooth และระบบสั่งการด้วยเสียง Voice Recognition ทั้งนี้หน้าจอดังกล่าวยังดึงออกมาได้เหมือนกับแทบเล็ต รองรับระบบปฎิบัติการเอรดรอยด์ (ดึงออกไปใช้นอกรถได้ถ้าเชื่อมกับ Power bank)
ส่วนเอคโคสปอร์ตเป็นเครื่องเล่นวิทยุ CD MP3 1 แผ่น มีช่องต่อ USB เชื่อมต่อ Bluetooth พร้อมระบบ SYCN สั่งงานด้วยเสียง เลือกโหมดฟังเพลง และรับ-วางสายโทรศัพท์ แสดงผลผ่านหน้าจอที่ฝังบริเวณแผงแดชบอร์ดหน้า
ทั้งคู่มีระบบ Smart Entry เปิดประตูโดยไม่ต้องกดรีโมท พร้อมปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ ส่วนจู๊คมีกล้องมองถอยหลัง (สะท้อนภาพออกหน้าจอ) แต่เอคคโคสปอร์ตมีเพียงเสียงกะระยะถอยหลัง
นอกจากหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว พร้อมลูกเล่นที่หลากหลายของจู๊คแล้ว ยังมีหน้าจอที่ควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติ-และโหมดการขับขี่ที่สามารถเปลี่ยนการแสดงผลได้ในจอเดียว โดยจู๊คสามารถเลือกให้เครื่องยนต์ เกียร์ ตอบสนองมาก-น้อยแบบ“สปอร์ต”(Spost) และปกติ (Normal) หรือชอบประหยัดก็“อีโค” (Eco) ที่จะปรับลดการทำงานของแอร์ด้วย
ขณะที่จู๊คมากับลูกเล่นแพรวพราว แต่เอคโคสปอร์ตโดดเด่นมากับซันรูฟ แถมราวหลังคาไว้ติดแรคจับจักรยานหรือขนของต่างๆ ตลอดจนระบบความปลอดภัย ที่จู๊คมีถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) และระบบกระจายแรงเบรก (EBD) แต่เอคโคสปอร์ตจะเพิ่ม ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล(TCS) พร้อมระบบการทรงตัว(ESP) และระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน(HLA)
มาถึงเรื่องการขับขี่ต้องยอมรับว่าทั้งสองคันมีบุคลิกที่ต่างกันชัดเจน ด้วยโครงสร้างตัวถัง ช่วงล่าง และระบบขับเคลื่อน ซึ่งถือเป็นการปะทะกันระหว่างแนวคิดอเมริกันกับญี่ปุ่นอย่างแท้จริง โดยจู๊ควางเครื่องยนต์เบนซิน HR16DE ขนาด 1.6 ลิตร 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบหัวฉีดคู่ ระบบวาล์วแปรผันคู่ Twin C-VTC ให้กำลังสูงสุด 116 แรงม้า ที่ 5,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 154 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ XTRONIC CVT (ชุดขับเดียวกับซิลฟี)
ช่วงล่างหน้าเป็นอิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท เสริมเหล็กกันโคลง หลังแบบคานทอร์ชั่นบีม เสริมเหล็กกันโคลง พร้อมล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว ประกบยางบริดจสโตน ทูรันซ่า 215/55R17
ขณะที่เอคโคสปอร์ตเป็นชุดที่ประจำการในเฟียสต้า เครื่องยนต์ดูราเทค ขนาด 1.5 ลิตร DOHC 4สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วแปรผันแคมชาฟท์อิสระคู่ Ti-VCT ให้กำลังสูงสุด 110 แรงม้า ที่ 6,300 รอบต่อนาที แรงบิด 142 นิวตันเมตร ที่ 4,400 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทช์ 6 สปีด
ช่วงล่างหน้าเป็นอิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังแบบคานทอร์ชั่นบีม ประกบล้ออัลลอยด์ขนาด 16 นิ้ว รับด้วยยางกู๊ดเยียร์ แอสชัวแรนซ์ ฟิว แมกซ์ 205/60R16
ความรู้สึกขณะนั่งอยู่หลังพวงมาลัย เรื่องการควบคุมเหมือนเอคโคสปอร์ตจะตอบสนองเนียนกว่าจู๊คอยู่พอสมควร ขับในเมือง รถติด เลี้ยวหาที่จอด พวงมาลัยเบาช่วยผ่อนแรงได้ดี แต่ถ้าใช้ความเร็วหรือวิ่งทางไกล น้ำหนักพวงมาลัยจะหน่วงมือขึ้นมาอีกหน่อย ส่วนจู๊คนั้นการบังคับทิศทางออกแนวขาดๆเกินๆ
สอดคล้องกับการควบคุม การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารและช่วงล่างเป็นอีกจุดที่เอคโคสปอร์ตชนะเลิศ แม้ตัวรถจะสูงและมีระยะต่ำสุดจากพื้นมากกว่าจู๊ค ตลอดจนใช้ล้อขนาด 16 นิ้ว ที่หน้ายางแคบกว่าจู๊ค แต่การทรงตัวรวมๆให้เสถียรภาพที่ดี อาการโยน โยกคลอนน้อย ขณะที่จู๊คเซ็ทช่วงล่างมาค่อนข้างนุ่ม ขับในเมืองรองรับนิ่มนั่งสบาย แต่ถ้าออกนอกเมืองใช้ความเร็ว 120 กม./ชม.ขึ้นไป ยังนิ่งสู้เอคโคสปอร์ตไม่ได้
ส่วนเรี่ยวแรง การรีดพลังลงสู่ล้อคู่หน้า จู๊คจี๊ดจ๊าดกว่าเอคโคสปอร์ต ช่วงออกตัว เร่งแซง ความเร็วปลาย จู๊คจัดให้แบบไม่บันยะบันยัง เพียงแต่ต้องจับจังหวะของเกียร์ CVT ให้ได้เท่านั้น ส่วนเอคโคสปอร์ต ที่พิกัดเครื่องยนต์น้อยกว่า บุคลิกเหมือนเฟียสต้าไม่ผิด คือออกตัวดี แต่กลางหาย ต้องเข่นต้องบี้คันเร่ง ส่วนความเร็วปลายก็จัดให้ตามสมควร อย่างไรก็ตามการถ่ายทอดกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทช์ 6 สปีด ยังให้อารมณ์ดุดันเป็นธรรมชาติมากกว่า CVT ของจู๊คครับ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันทั้งสองค่ายเคลมเฉลี่ยไว้ 15 กม./ลิตร ซึ่งการขับขี่จริงของผู้เขียน จู๊คและเอคโคสปอร์ต ก็ทำได้ระดับ 13 กม./ลิตรพอๆกัน คงขึ้นอยู่กับสภาพจราจรและพฤติกรรมการขับขี่ครับ
รวบรัดตัดความ...บางทีการตัดสินใจซื้อรถยนต์สองรุ่นนี้อาจจะไม่ต้องวัดกันถึงเรื่องออปชันและสมรรถนะการขับขี่ เพราะหน้าตารูปลักษณ์นั้นต่างกันสิ้นเชิง กล่าวคือใครชอบจู๊คก็วิ่งไปโชว์รูมนิสสันได้เลย แต่ถ้านิยมสไตล์ออฟโรด(มีล้ออะไล่ด้านหลัง)ด้วยคิดว่าทะมัดทะแมง บึกบึน คงไปโชว์รูมฟอร์ดคว้าใบจองมานอนกอด
เรื่องการขับขี่เอคโคสปอร์ตสมดุลลงตัวกว่า ส่วนความคุ้มค่าจัดหนักทั้งสองคัน เอคโคสปอร์ตครบในแง่ระบบความปลอดภัยส่วนจู๊คเน้นลูกเล่นเอาใจคนรุ่นใหม่(สอดคล้องกับหน้าตาแปลกประหลาด) ขึ้นอยู่กับความชอบ และไลฟ์สไตล์ส่วนบุคคล แต่เรื่องความอเนกประสงค์จากการเปิดประตูหลัง ผู้เขียนลองใช้อยู่ 3-4 วัน ขนของจริง (จักรยาน) และลักษณะการจอด พบว่าจู๊คใช้งานสะดวกสุดๆ
….ส่วนใครยัง “งง งง” และไม่รีบใช้รถตอนนี้ ปลายปียังมี“ฮอนด้า วีเซล” เข้ามาเป็นทางเลือกอีกหนึ่งรุ่น