ข่าวในประเทศ - เปิดตลาดรถยนต์ปีม้าคะนองศึก ส่งสัญญาณอาการสาหัส เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ยอดขายรถของค่ายญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาในเดือนมกราคม ดิ่งเหวเหลือระดับกว่า 6 หมื่นคัน หรือเทียบกับปีที่แล้วลดลง 46% เก๋งขนาดเล็กร่วงมากสุดเกือบ 60% จากผลพวงรถคันแรก เศรษฐกิจชะลอตัว และการเมือง
รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ญี่ปุ่น(JCC) และสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของกลุ่มฯ ในเดือนมกราคมของปี 2557 ค่อนข้างลดลงมากกว่าที่คาดไว้มาก โดยมียอดขายเพียง 67,395 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ขายได้มากกว่า 124,000 คัน หรือลดลงถึง 45.9% แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากฐานตัวเลขยอดขายช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เติบโตแบบผิดปกติจากการส่งมอบรถในโครงการรถคันแรก แต่หากเทียบกับแต่ละเดือนในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ซึ่งตลาดเริ่มปรับตัวลดลงจากผลกระทบของนโยบายดังกล่าว ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดด้วย
“นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่ยอดขายเดือนมกราคม ลดลงอยู่ในระดับกว่า 60,000 คัน นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา นั่นทำให้ต้องจับตาตลาดรถยนต์ในปีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยกระทบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นว่ามีคนเดินเข้าโชว์รูมน้อยลงชัดเจน นอกจากนี้ยังมีกำลังซื้อล่วงหน้าที่ถูกดึงไป จากโครงการรถคันแรกอยู่อีกส่วน”
ทั้งนี้กลุ่มรถยนต์ที่ยอดขายลดลงมากสุด ยังเป็นกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กและคอมแพ็กต์ เพราะค่อนข้างอ่อนไหวต่อปัญหาต่างๆ รวมถึงจากผลของการแข่งขันจัดแคมเปญดุเดือดในปีที่ผ่านมา เป็นอีกตัวที่ดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบ้างเช่นกัน โดยรถยนต์นั่งหรือเก๋งขนาดเล็ก กลุ่มรถซับคอมแพ็กต์(บี-คาร์) และอีโคคาร์ มียอดขายเพียง 18,655 คัน ลดลง 58.8% จากช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มียอดขายมากถึงกว่า 45,000 คัน เช่นเดียวกับตลาดรถเก๋งคอมแพ็กต์(ซี-คาร์) หรือขนาด 1,600-2,000 ซีซี ซึ่งมียอดขาย 5,083 คัน ลดลง 51.5%
ในส่วนปิกอัพตลาดหลักของไทย มียอดขายลดลงเกือบหมื่นคัน ด้วยจำนวนที่ขายไปทั้งหมด 30,082 คัน หรือลดลง 38.8% โดยกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์แบบเอ็มพีวี เป็นตลาดที่ลดลงน้อยสุด 1.1% เพราะเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก เดือนมกราคมมีเพียงกว่า 700 คันเท่านั้น ขณะที่ตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีและพีพีวีลดลง 21.3% ซึ่งเทียบกับตลาดหลักอื่นๆ ถือว่าน้อยกว่า เพราะมีรถรุ่นใหม่ๆ เปิดตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นมาสด้า ซีเอ็กซ์-5, นิสสัน จู๊ค และอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มรถหรูหรา หรือรถจากยุโรป ไม่ได้ร่วมแจ้งการขายกับกลุ่มเจซีซีและสหรัฐอเมริกา แต่จะไม่ทำให้ตลาดรถยนต์เปลี่ยนแปลงชัดเจนนัก เพราะมียอดขายเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 คันเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรถในไทยเริ่มกังวล หากปัญหาการเมืองไม่คลี่คลายโดยเร็ว จะส่งผลซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ชะลอตัวยาว และกระทบต่อตลาดรถยนต์ไทยแน่นอน เพราะเบื้องต้นค่ายรถประเมินไว้ ปีนี้ยอดขายรถน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,200,000 คัน หรือเฉลี่ยเดือน 100,000 คัน แม้ปกติยอดขายมกราคมจะน้อยกว่าทุกๆ เดือนของแต่ละปี ถึงอย่างนั้นไม่น่าจะลงมาต่ำกว่า 80,000 คัน อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลาย ในช่วงไตรมาสสองเป็นต้นไป
รายงานข่าวจากกลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์ญี่ปุ่น(JCC) และสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ของกลุ่มฯ ในเดือนมกราคมของปี 2557 ค่อนข้างลดลงมากกว่าที่คาดไว้มาก โดยมียอดขายเพียง 67,395 คัน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ขายได้มากกว่า 124,000 คัน หรือลดลงถึง 45.9% แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากฐานตัวเลขยอดขายช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เติบโตแบบผิดปกติจากการส่งมอบรถในโครงการรถคันแรก แต่หากเทียบกับแต่ละเดือนในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา ซึ่งตลาดเริ่มปรับตัวลดลงจากผลกระทบของนโยบายดังกล่าว ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดด้วย
“นับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ที่ยอดขายเดือนมกราคม ลดลงอยู่ในระดับกว่า 60,000 คัน นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา นั่นทำให้ต้องจับตาตลาดรถยนต์ในปีนี้อย่างใกล้ชิด เพราะมีปัจจัยกระทบหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นว่ามีคนเดินเข้าโชว์รูมน้อยลงชัดเจน นอกจากนี้ยังมีกำลังซื้อล่วงหน้าที่ถูกดึงไป จากโครงการรถคันแรกอยู่อีกส่วน”
ทั้งนี้กลุ่มรถยนต์ที่ยอดขายลดลงมากสุด ยังเป็นกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กและคอมแพ็กต์ เพราะค่อนข้างอ่อนไหวต่อปัญหาต่างๆ รวมถึงจากผลของการแข่งขันจัดแคมเปญดุเดือดในปีที่ผ่านมา เป็นอีกตัวที่ดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบ้างเช่นกัน โดยรถยนต์นั่งหรือเก๋งขนาดเล็ก กลุ่มรถซับคอมแพ็กต์(บี-คาร์) และอีโคคาร์ มียอดขายเพียง 18,655 คัน ลดลง 58.8% จากช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มียอดขายมากถึงกว่า 45,000 คัน เช่นเดียวกับตลาดรถเก๋งคอมแพ็กต์(ซี-คาร์) หรือขนาด 1,600-2,000 ซีซี ซึ่งมียอดขาย 5,083 คัน ลดลง 51.5%
ในส่วนปิกอัพตลาดหลักของไทย มียอดขายลดลงเกือบหมื่นคัน ด้วยจำนวนที่ขายไปทั้งหมด 30,082 คัน หรือลดลง 38.8% โดยกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์แบบเอ็มพีวี เป็นตลาดที่ลดลงน้อยสุด 1.1% เพราะเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใหญ่มาก เดือนมกราคมมีเพียงกว่า 700 คันเท่านั้น ขณะที่ตลาดรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีและพีพีวีลดลง 21.3% ซึ่งเทียบกับตลาดหลักอื่นๆ ถือว่าน้อยกว่า เพราะมีรถรุ่นใหม่ๆ เปิดตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นมาสด้า ซีเอ็กซ์-5, นิสสัน จู๊ค และอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ เป็นต้น
สำหรับกลุ่มรถหรูหรา หรือรถจากยุโรป ไม่ได้ร่วมแจ้งการขายกับกลุ่มเจซีซีและสหรัฐอเมริกา แต่จะไม่ทำให้ตลาดรถยนต์เปลี่ยนแปลงชัดเจนนัก เพราะมียอดขายเฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 คันเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้กลุ่มผู้ประกอบการรถในไทยเริ่มกังวล หากปัญหาการเมืองไม่คลี่คลายโดยเร็ว จะส่งผลซ้ำเติมเศรษฐกิจให้ชะลอตัวยาว และกระทบต่อตลาดรถยนต์ไทยแน่นอน เพราะเบื้องต้นค่ายรถประเมินไว้ ปีนี้ยอดขายรถน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,200,000 คัน หรือเฉลี่ยเดือน 100,000 คัน แม้ปกติยอดขายมกราคมจะน้อยกว่าทุกๆ เดือนของแต่ละปี ถึงอย่างนั้นไม่น่าจะลงมาต่ำกว่า 80,000 คัน อย่างไรก็ตามคาดว่าสถานการณ์จะกลับมาคลี่คลาย ในช่วงไตรมาสสองเป็นต้นไป