เดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่ 11 สำหรับ “โตโยต้า โคโรลล่า” และยังคงซับเนม “อัลติส” ต่อท้ายเป็นเครื่องหมายการค้า และด้วยจำนวนกว่า670,000 คันที่ขายไปตั้งแต่รุ่นแรก(นำเข้าจากญี่ปุ่น) จนถึงเจเนอเรชันที่ 10 เป็นเวลาร่วม 50 ปี น่าจะการันตีความนิยม หรือบ่งบอกอะไรได้หลายอย่างเกี่ยวกับการทำธุรกิจของโตโยต้า ในประเทศไทย
โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส โฉมใหม่ (All New Toyota Corolla Altis) จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา จุดเด่นประเด็นใหญ่อยู่ตรงการถอดเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตรออกไป เหลือเพียงเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.6 ลิตร 1.6 CNG และ 1.8 ลิตร ซึ่งทั้งหมดเป็นบล็อก 4 สูบ DOHC Dual VVT-i วาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT-i 7 สปีด ส่วนเกียร์ธรรมดา 5 สปีด จะมีในรุ่น 1.6J และ 1.6J CNG พร้อมแบ่งขายเป็น 8 รุ่นย่อย ราคา 769,000-1,069,000 บาท
รูปลักษณ์ภายนอกดูสปอร์ตโฉบเฉี่ยว ละทิ้งความเฉยเดิมๆไปหมดสิ้น ในรุ่นท็อป 1.8V Navi ที่ได้ลองขับ มากับชุดไฟหน้าแบบ LEDคุมลำแสงด้วยโปรเจคเตอร์เลนส์ ที่ปรับระดับสูง-ต่ำได้อัตโนมัติ พร้อมเสริมความโดดเด่นตามสมัยนิยมด้วยไฟ LED ขับกลางวันหรือ Daytime Running Light (ซึ่งถือเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง) เช่นเดียวกับไฟท้ายก็ใช้หลอดLED เติมแต่งให้รถดูดีมีระดับ
ขณะที่ตัวถังของโคโรลล่า อัลติส ใหม่ ใหญ่กว่ารุ่นเก่านิดๆ ด้วยความยาว 4,620 มม. เพิ่มขึ้น80 มม. ความกว้าง 1,775 มม. เพิ่มขึ้น15 มม. ระยะฐานล้อ ขยายอีก100 มม. เป็น2,700 มม. เว้นแต่ความสูงที่ลดลง 5 มม. เป็น1,460 มม. และมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (Cd) เพียง 0.296
สำหรับระยะฐานล้อที่ขยายขึ้นอีก 100 มิลลิเมตร ส่งผลโดยตรงกับพื้นที่ภายในห้องโดยสารครับ โดยเฉพาะคนนั่งด้านหลังจะมีระยะห่างช่วงขากับเบาะหน้าเพิ่มขึ้น 75 มิลลิเมตร และด้วยการวางโครงสร้างต่างๆและวางตำแหน่งเบาะนั่งใหม่ ระยะห่างช่วงหัวถึงเพดานยังเหลือๆ(แม้ความสูงของรถจะเตี้ยลง) หรือเพิ่มขึ้นจากรุ่นเก่าอีก 5 มิลลิเมตรด้วยซ้ำ
ส่วนพื้นห้องโดยสารก็มีอุโมงปูดขั้นกลางมานิดเดียว ไม่เกะกะเท้า ซึ่งการนั่งด้านหลัง “โคโรลล่า อัลติส” น่าจะกว้างขวาง ยืดแข้งยืดขาได้สบายที่สุดในคลาสแล้วละครับ
ในตำแหน่งผู้ขับ หลังเข้ามาแล้วก็พบกับความประหลาดใจว่าโตโยต้า แทบจะยกอารมณ์ของเลกซัสมาทั้งชุด(เอาแค่ตระกูล IS พอ) ทั้งการออกแบบสันเหลี่ยม แผงแดชบอร์ด พวงมาลัย หน้าปัด หน้าจอแสดงผล แฝงกลิ่นรถแบรนด์หรูมาตุๆ
ขณะเดียวกันหลังจากปรับตำแหน่งเบาะนั่งด้วยระบบไฟฟ้า และตำแหน่งพวงมาลัยที่สามารถเลื่อนขึ้น-ลง และเข้า-ออกจากตัวให้เหมาะสมกับการขับขี่แล้ว พบว่ากระจกบานหน้ากับเสาร์เอ-พิลลาร์ค่อนข้างลาดเอียง เหมือนทัศนวิสัยด้านหน้าจะบีบแคบลง เช่นเดียวกับแผงประตูข้างเหมือนจะสูง เหลือพื้นที่ให้กระจกน้อยลง (นั่งแล้วเหมือนตัวจมๆ)
เมื่อลองขับปรับตัวไปสักพัก มุมมองด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลังก็ไม่ได้เลวร้ายครับ ส่วนการวางปุ่มควบคุมต่างๆใช้งานง่าย ทั้งแอร์อัตโนมัติ และหน้าจอแบบทัชสกรีนขนาด 6.1 นิ้ว กดสั่งงานแม่นยำ เมนูเข้าใจง่าย
นอกจากนี้เรื่องระบบแอร์หนาวๆ ยังต้องยกให้โตโยต้าที่ทำออกมาได้โดนใจคนไทยเสมอมา อย่างรถคันที่นำมาให้ทดสอบอาจจะดีส่วนหนึ่ง เพราะติดฟิล์มกรองแสงมาด้วย ซึ่งผู้เขียนปรับความแรงพัดลมแค่เบอร์หนึ่ง(ขีดเดียว) พร้อมตั้งอุณหภูมิไว้ 25 องศาเซลเซียส เพียงเท่านี้บริเวณเบาะนั่งตอนหน้าก็ฉ่ำเย็น สามารถฝ่าสภาพแดดตอนเที่ยง ที่อุณหภูมิภายนอกกว่า 30 องศาเซลเซียสได้สบาย
ขณะที่การเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร อยู่ในระดับพอใช้ มีเสียงลมปะทะและการจราจรภายนอกเข้ามาเป็นปกติ แต่ที่เหมือนจะเงียบกว่ารุ่นเก่านิดๆ น่าจะเป็นเสียงยางและเสียงสะท้านจากพื้นถนนเบาลงกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามถ้าเอาความเงียบรวมๆต้องยกให้คอมแพกต์คาร์แบรนด์อเมริกาอย่างฟอร์ด โฟกัส และเชฟโรเลต ครูซ ที่ดูเก็บเสียงได้ละมุนละม่อมกว่า
ส่วนโครงสร้างตัวถัง โตโยต้ามีการเพิ่มจุดยึดและจุดเชื่อมต่อในหลายๆตำแหน่ง เช่นเดียวกับโครงสร้างด้านหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม พร้อมปรับค่าโช้คอัพ สปริงให้เหมาะสมกับโครงสร้างรถและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
การขับขี่จริงผู้เขียนว่าโคโรลล่า อัลติส รุ่นนี้ ช่วงล่างออกแนวนุ่มนวล ขับในเมืองเก็บแรงสั่นอาการสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ซึ่งล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 205/55 R16 ของโยโกฮามา แอดแวน เดซิเบล น่าจะเป็นตัวช่วยได้เป็นอย่างดี
เหนืออื่นใดการขับความเร็ว 80-100 กม./ชม. เสถียรภาพการทรงตัวยังดูมั่นคง แต่ถ้าเลย 120-140 กม./ชม. ขึ้นไป อาจจะรู้สึกว่ารถหวิวไปนิด ช่วงล่างและตัวถังแอบย้วยหน่อยๆ
ด้านพวงมาลัยแรคแอนด์พิเนียนผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า น้ำหนักกำลังดี มีตึงมือนิดๆเมื่อขับความเร็วสูง แม้การสั่งงานอาจไม่แม่นเท่ารุ่นเก่า(ไมเนอร์เชนจ์) แต่ไม่ถึงกับมีระยะฟรีจนน่าเกลียด การควบคุมยังตอบสนองได้คล่องแคล่วทั้งการขับขี่ในเมือง หรือออกนอกเมืองใช้ความเร็วสูง น้ำหนักพวงมาลัยยังแปรผันตามความเร็วรถ คือไม่เบาโหวง ขับแล้วไม่เครียดครับ
เครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร เป็นบล็อกเดียวกับรุ่นเก่า(ไมเนอร์เชนจ์) รหัส 2ZR-FBE แต่ปรับปรุงประสิทธิภาพประสิทธิผลใหม่ พร้อมรองรับแก็สโซฮอล์ E85 และผ่านมาตรฐานไอเสียยูโร 4
โดยเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร 4 สูบ DOHC Dual VVT-i วาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 141 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที (เดิม 139 แรงม้า ที่ 6,400 รอบต่อนาที) แรงบิดสูงสุด 177 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที (เดิม 173 ที่ 4,000 รอบต่อนาที) ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง CVT-i 7 สปีด
การออกตัวไม่ถึงกับพุ่งทยาน อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ทำได้ 11.13 วินาที ดีกว่าเดิมเล็กน้อย (11.72 วินาที) อารมณ์การขับเคลื่อนจะมาแบบเนียนๆ พลังมาทันใช้ช่วงอึดใจ ส่วนเกียร์ CVT ลูกนี้ ส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ได้ไหลลื่นนุ่มนวล ที่สำคัญไม่ลากรอบสูงๆนานๆ เหมือน CVT รุ่นโบราณแล้วนะครับ
โดยเกียร์จะพยายามรักษารอบให้สัมพันธ์กับความเร็ว คือไม่โดดดีดหรืออยู่แช่เกินไป แต่จะมีการชิฟท์อัพเปลี่ยนเกียร์ ลดรอบเครื่องยนต์แบบเกียร์อัตโนมัติทอร์คคอนเวอร์เตอร์ทั่วๆไป ซึ่งส่งผลให้การขับขี่เป็นธรรมชาติมากขึ้น แถมไม่ต้องทำความคุ้นเคยกันนาน
สำหรับเครื่องยนต์และเกียร์ที่ตอบสนองยอดเยี่ยม บุคลิกการขับขี่แบบผู้ดี เรี่ยวแรงเหลือใช้ แต่ผู้เขียนยังแอบประหลาดใจเรื่องอัตราบริโภคน้ำมัน อย่างการลองขับโดยวิ่งทางไกลใช้ความเร็ว 120 กม./ชม.เป็นหลัก และแอบมีเร่งกะทันหัน เข่นพลังแรงๆ ลองสมรรถนะตามสภาพถนนอำนวย ตัวเลขที่หน้าจอแสดงผลยังทำได้ระดับ 14-15 กม./ลิตรสบายๆ
อีกจุดที่ต้องชมอัลติส ใหม่ คือประสิทธิภาพของเบรกแบบดิสก์ทั้ง 4 ล้อ ตอบสนองการชะลอหยุดหนึบหนับ แม่นยำ ซึ่งโตโยต้ายังแจ้งตัวเลขว่า ในรุ่นใหม่มีระยะเบรกสั้นลงกว่าเดิม โดยเบรกจากความเร็ว 100 กม./ชม.จนรถหยุดนิ่ง จะใช้ระยะเพียง 43.10 เมตร ขณะที่ตัวเก่าในสภาพการเดียวกันทำได้ 50.93 เมตร
รวบรัดตัดความ...ตัวรถหล่อเข้ม ลบภาพโบราณเดิมๆ ส่วนเครื่องยนต์กับเกียร์ชุดนี้ทำงานกลมกลืน สื่อสารกันดี พลังมาแบบเนียนๆ ตอบสนองทันใช้ ช่วงล่างเน้นนุ่มขับสบาย แต่อาจจะโยกย้วยนิดๆเมื่อขับความเร็วสูง อัตราบริโภคน้ำมันถือว่าเป็นเก๋งเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรที่ประหยัดไม่เป็นรองใคร ส่วนใครเติมแก็สโซออล์ E85 น่าจะมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งลดลงอีกนิดหน่อย (ประมาณ 2.2 บาทต่อกิโลเมตร) เมื่อเทียบกับแก็สโซฮอล์ E10 และ E20....อย่างไรก็ตามตัวท็อป 1.8V Naviราคา 1.069 ล้านบาท อาจจะเป็นตัวเงินที่ทำใจซื้อลำบาก
โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส โฉมใหม่ (All New Toyota Corolla Altis) จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา จุดเด่นประเด็นใหญ่อยู่ตรงการถอดเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตรออกไป เหลือเพียงเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.6 ลิตร 1.6 CNG และ 1.8 ลิตร ซึ่งทั้งหมดเป็นบล็อก 4 สูบ DOHC Dual VVT-i วาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT-i 7 สปีด ส่วนเกียร์ธรรมดา 5 สปีด จะมีในรุ่น 1.6J และ 1.6J CNG พร้อมแบ่งขายเป็น 8 รุ่นย่อย ราคา 769,000-1,069,000 บาท
รูปลักษณ์ภายนอกดูสปอร์ตโฉบเฉี่ยว ละทิ้งความเฉยเดิมๆไปหมดสิ้น ในรุ่นท็อป 1.8V Navi ที่ได้ลองขับ มากับชุดไฟหน้าแบบ LEDคุมลำแสงด้วยโปรเจคเตอร์เลนส์ ที่ปรับระดับสูง-ต่ำได้อัตโนมัติ พร้อมเสริมความโดดเด่นตามสมัยนิยมด้วยไฟ LED ขับกลางวันหรือ Daytime Running Light (ซึ่งถือเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่ง) เช่นเดียวกับไฟท้ายก็ใช้หลอดLED เติมแต่งให้รถดูดีมีระดับ
ขณะที่ตัวถังของโคโรลล่า อัลติส ใหม่ ใหญ่กว่ารุ่นเก่านิดๆ ด้วยความยาว 4,620 มม. เพิ่มขึ้น80 มม. ความกว้าง 1,775 มม. เพิ่มขึ้น15 มม. ระยะฐานล้อ ขยายอีก100 มม. เป็น2,700 มม. เว้นแต่ความสูงที่ลดลง 5 มม. เป็น1,460 มม. และมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (Cd) เพียง 0.296
สำหรับระยะฐานล้อที่ขยายขึ้นอีก 100 มิลลิเมตร ส่งผลโดยตรงกับพื้นที่ภายในห้องโดยสารครับ โดยเฉพาะคนนั่งด้านหลังจะมีระยะห่างช่วงขากับเบาะหน้าเพิ่มขึ้น 75 มิลลิเมตร และด้วยการวางโครงสร้างต่างๆและวางตำแหน่งเบาะนั่งใหม่ ระยะห่างช่วงหัวถึงเพดานยังเหลือๆ(แม้ความสูงของรถจะเตี้ยลง) หรือเพิ่มขึ้นจากรุ่นเก่าอีก 5 มิลลิเมตรด้วยซ้ำ
ส่วนพื้นห้องโดยสารก็มีอุโมงปูดขั้นกลางมานิดเดียว ไม่เกะกะเท้า ซึ่งการนั่งด้านหลัง “โคโรลล่า อัลติส” น่าจะกว้างขวาง ยืดแข้งยืดขาได้สบายที่สุดในคลาสแล้วละครับ
ในตำแหน่งผู้ขับ หลังเข้ามาแล้วก็พบกับความประหลาดใจว่าโตโยต้า แทบจะยกอารมณ์ของเลกซัสมาทั้งชุด(เอาแค่ตระกูล IS พอ) ทั้งการออกแบบสันเหลี่ยม แผงแดชบอร์ด พวงมาลัย หน้าปัด หน้าจอแสดงผล แฝงกลิ่นรถแบรนด์หรูมาตุๆ
ขณะเดียวกันหลังจากปรับตำแหน่งเบาะนั่งด้วยระบบไฟฟ้า และตำแหน่งพวงมาลัยที่สามารถเลื่อนขึ้น-ลง และเข้า-ออกจากตัวให้เหมาะสมกับการขับขี่แล้ว พบว่ากระจกบานหน้ากับเสาร์เอ-พิลลาร์ค่อนข้างลาดเอียง เหมือนทัศนวิสัยด้านหน้าจะบีบแคบลง เช่นเดียวกับแผงประตูข้างเหมือนจะสูง เหลือพื้นที่ให้กระจกน้อยลง (นั่งแล้วเหมือนตัวจมๆ)
เมื่อลองขับปรับตัวไปสักพัก มุมมองด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลังก็ไม่ได้เลวร้ายครับ ส่วนการวางปุ่มควบคุมต่างๆใช้งานง่าย ทั้งแอร์อัตโนมัติ และหน้าจอแบบทัชสกรีนขนาด 6.1 นิ้ว กดสั่งงานแม่นยำ เมนูเข้าใจง่าย
นอกจากนี้เรื่องระบบแอร์หนาวๆ ยังต้องยกให้โตโยต้าที่ทำออกมาได้โดนใจคนไทยเสมอมา อย่างรถคันที่นำมาให้ทดสอบอาจจะดีส่วนหนึ่ง เพราะติดฟิล์มกรองแสงมาด้วย ซึ่งผู้เขียนปรับความแรงพัดลมแค่เบอร์หนึ่ง(ขีดเดียว) พร้อมตั้งอุณหภูมิไว้ 25 องศาเซลเซียส เพียงเท่านี้บริเวณเบาะนั่งตอนหน้าก็ฉ่ำเย็น สามารถฝ่าสภาพแดดตอนเที่ยง ที่อุณหภูมิภายนอกกว่า 30 องศาเซลเซียสได้สบาย
ขณะที่การเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร อยู่ในระดับพอใช้ มีเสียงลมปะทะและการจราจรภายนอกเข้ามาเป็นปกติ แต่ที่เหมือนจะเงียบกว่ารุ่นเก่านิดๆ น่าจะเป็นเสียงยางและเสียงสะท้านจากพื้นถนนเบาลงกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามถ้าเอาความเงียบรวมๆต้องยกให้คอมแพกต์คาร์แบรนด์อเมริกาอย่างฟอร์ด โฟกัส และเชฟโรเลต ครูซ ที่ดูเก็บเสียงได้ละมุนละม่อมกว่า
ส่วนโครงสร้างตัวถัง โตโยต้ามีการเพิ่มจุดยึดและจุดเชื่อมต่อในหลายๆตำแหน่ง เช่นเดียวกับโครงสร้างด้านหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม พร้อมปรับค่าโช้คอัพ สปริงให้เหมาะสมกับโครงสร้างรถและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
การขับขี่จริงผู้เขียนว่าโคโรลล่า อัลติส รุ่นนี้ ช่วงล่างออกแนวนุ่มนวล ขับในเมืองเก็บแรงสั่นอาการสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ซึ่งล้ออัลลอยขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 205/55 R16 ของโยโกฮามา แอดแวน เดซิเบล น่าจะเป็นตัวช่วยได้เป็นอย่างดี
เหนืออื่นใดการขับความเร็ว 80-100 กม./ชม. เสถียรภาพการทรงตัวยังดูมั่นคง แต่ถ้าเลย 120-140 กม./ชม. ขึ้นไป อาจจะรู้สึกว่ารถหวิวไปนิด ช่วงล่างและตัวถังแอบย้วยหน่อยๆ
ด้านพวงมาลัยแรคแอนด์พิเนียนผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า น้ำหนักกำลังดี มีตึงมือนิดๆเมื่อขับความเร็วสูง แม้การสั่งงานอาจไม่แม่นเท่ารุ่นเก่า(ไมเนอร์เชนจ์) แต่ไม่ถึงกับมีระยะฟรีจนน่าเกลียด การควบคุมยังตอบสนองได้คล่องแคล่วทั้งการขับขี่ในเมือง หรือออกนอกเมืองใช้ความเร็วสูง น้ำหนักพวงมาลัยยังแปรผันตามความเร็วรถ คือไม่เบาโหวง ขับแล้วไม่เครียดครับ
เครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร เป็นบล็อกเดียวกับรุ่นเก่า(ไมเนอร์เชนจ์) รหัส 2ZR-FBE แต่ปรับปรุงประสิทธิภาพประสิทธิผลใหม่ พร้อมรองรับแก็สโซฮอล์ E85 และผ่านมาตรฐานไอเสียยูโร 4
โดยเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร 4 สูบ DOHC Dual VVT-i วาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 141 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที (เดิม 139 แรงม้า ที่ 6,400 รอบต่อนาที) แรงบิดสูงสุด 177 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที (เดิม 173 ที่ 4,000 รอบต่อนาที) ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง CVT-i 7 สปีด
การออกตัวไม่ถึงกับพุ่งทยาน อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม.ทำได้ 11.13 วินาที ดีกว่าเดิมเล็กน้อย (11.72 วินาที) อารมณ์การขับเคลื่อนจะมาแบบเนียนๆ พลังมาทันใช้ช่วงอึดใจ ส่วนเกียร์ CVT ลูกนี้ ส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ได้ไหลลื่นนุ่มนวล ที่สำคัญไม่ลากรอบสูงๆนานๆ เหมือน CVT รุ่นโบราณแล้วนะครับ
โดยเกียร์จะพยายามรักษารอบให้สัมพันธ์กับความเร็ว คือไม่โดดดีดหรืออยู่แช่เกินไป แต่จะมีการชิฟท์อัพเปลี่ยนเกียร์ ลดรอบเครื่องยนต์แบบเกียร์อัตโนมัติทอร์คคอนเวอร์เตอร์ทั่วๆไป ซึ่งส่งผลให้การขับขี่เป็นธรรมชาติมากขึ้น แถมไม่ต้องทำความคุ้นเคยกันนาน
สำหรับเครื่องยนต์และเกียร์ที่ตอบสนองยอดเยี่ยม บุคลิกการขับขี่แบบผู้ดี เรี่ยวแรงเหลือใช้ แต่ผู้เขียนยังแอบประหลาดใจเรื่องอัตราบริโภคน้ำมัน อย่างการลองขับโดยวิ่งทางไกลใช้ความเร็ว 120 กม./ชม.เป็นหลัก และแอบมีเร่งกะทันหัน เข่นพลังแรงๆ ลองสมรรถนะตามสภาพถนนอำนวย ตัวเลขที่หน้าจอแสดงผลยังทำได้ระดับ 14-15 กม./ลิตรสบายๆ
อีกจุดที่ต้องชมอัลติส ใหม่ คือประสิทธิภาพของเบรกแบบดิสก์ทั้ง 4 ล้อ ตอบสนองการชะลอหยุดหนึบหนับ แม่นยำ ซึ่งโตโยต้ายังแจ้งตัวเลขว่า ในรุ่นใหม่มีระยะเบรกสั้นลงกว่าเดิม โดยเบรกจากความเร็ว 100 กม./ชม.จนรถหยุดนิ่ง จะใช้ระยะเพียง 43.10 เมตร ขณะที่ตัวเก่าในสภาพการเดียวกันทำได้ 50.93 เมตร
รวบรัดตัดความ...ตัวรถหล่อเข้ม ลบภาพโบราณเดิมๆ ส่วนเครื่องยนต์กับเกียร์ชุดนี้ทำงานกลมกลืน สื่อสารกันดี พลังมาแบบเนียนๆ ตอบสนองทันใช้ ช่วงล่างเน้นนุ่มขับสบาย แต่อาจจะโยกย้วยนิดๆเมื่อขับความเร็วสูง อัตราบริโภคน้ำมันถือว่าเป็นเก๋งเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรที่ประหยัดไม่เป็นรองใคร ส่วนใครเติมแก็สโซออล์ E85 น่าจะมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งลดลงอีกนิดหน่อย (ประมาณ 2.2 บาทต่อกิโลเมตร) เมื่อเทียบกับแก็สโซฮอล์ E10 และ E20....อย่างไรก็ตามตัวท็อป 1.8V Naviราคา 1.069 ล้านบาท อาจจะเป็นตัวเงินที่ทำใจซื้อลำบาก