สภาพตลาดรถยนต์ไทยปัจจุบัน กลุ่มรถตลาดกำลังเปิดศึกชิงยอดขายกันดุเดือด ผ่านแคมเปญต่างๆ รวมมูลค่าแทบจะไม่ต่างจากยอดเงินคืน 1 แสนบาท ในโครงการรถคันแรกเลย และเมื่อมองไปยังตลาดรถหรู อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ในความเป็นจริงการแข่งขันร้อนแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะกลยุทธ์การกดราคา ผ่านรูปแบบต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้แทบทุกค่าย และไม่น่าจะใช้เฉพาะช่วง หรือระยะสั้น เพราะดูจะเป็นการปรับแนวทางธุรกิจ เพื่อรับมือคู่แข่งจากทุกทิศทาง ดังนั้นที่มีคนในวงการเคยพูดว่า... อนาคตอาจจะได้เห็นรถยุโรป ราคาใกล้เคียงรถญี่ปุ่นระดับบน ชักจะมีเค้ารางให้เห็นแล้ว?
อย่างเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ได้มีการขยายสายการประกอบรถยนต์ “มินิ คันทรีแมน” ในประเทศไทย ภายในโรงงานประกอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะ จังหวัดระยอง ซึ่งรถยนต์ “มินิ” เป็นแบรนด์ที่อยู่ในเครือของบีเอ็มดับเบิลยู โดยจะเริ่มทำการขึ้นไลน์ประกอบ 3 รุ่น และจะเริ่มส่งมอบได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
ทั้งนี้การประกอบรถยนต์ครอสโอเวอร์ มินิ คันทรีแมนในไทย หรือรุ่นซีเคดี(CKD) สิ่งที่สร้างความฮือฮาเห็นจะเป็นเรื่องราคา หากเทียบกับตัวนำเข้า (CBU) ที่ขายในช่วงที่ผ่านมา ปรับลดลง 24-29% หรือประมาณ 7.5-8.0 แสนบาท อย่างมินิ คูเปอร์ คันทรีแมน เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร รุ่นนำเข้าราคา 2.59 ล้านบาท ปรับลงมาเป็น 1.84 ล้านบาท ในรุ่นรถประกอบซีเคดี และคูเปอร์ เอส คันทรีแมน 2.0 ลิตร เทอร์โบชาร์จเจอร์ จากราคานำเข้า 2.84 ล้านบาท เหลือ 2.04 ล้านบาท หรือรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล คูเปอร์เอสดี ALL4 คันทรีแมน จากราคา 3.29 ล้าน มาเป็นรุ่นประกอบในไทยเหลือ 2.49 ล้านบาท
การประกอบรถในประเทศของ มินิ คันทรีแมน จนส่งผลให้ราคาลดลง 7.5-8.0 แสนบาท แน่นอนย่อมจะผลักดันให้ยอดขายของมินิในไทยเติบโตก้าวกระโดด เช่นเดียวกับที่บีเอ็มดับเบิลยูประสบความสำเร็จมาแล้ว กับการประกอบซีเคดี “บีเอ็มดัเบิลยู เอ็กซ์1” ซึ่งเป็นรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีเหมือนกัน โดยกดราคาลงมาเริ่มต้นเพียง 1.99 ล้านบาท จนทำให้แทบจะผลิตไม่ทัน
ส่วนที่โดดลงมาเล่นเรื่องราคาแบบชัดเจน เห็นจะเป็นยักษ์ใหญ่อีกราย “เมอร์เซเดส-เบนซ์” เพราะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้นำกลยุทธ์ปรับราคาลงมาใช้ ตามนโยบายที่ต้องการให้ลูกค้าเข้าถึงรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้ง่าย และเป็นการขยายกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะลดอุปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นกับสภาพของเมืองไทย แต่สิ่งสำคัญอย่างอุปกรณ์ความปลอดภัยยังมีมาให้ครบ หรือเพิ่มมูลค่าให้กับตัวรถ ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ขณะที่ขายในราคาเท่าเดิม
แนวทางการดำเนินงานดังกล่าว เมอร์เซเดส-เบนซ์ได้นำมาใช้ระยะหนึ่ง อย่างเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่มีการเปิดตัว เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส คูเป้ & คาบริโอเลต” (E-Class Coupé & Cabriolet) ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์ตามรุ่นอี-คลาส แม้จะเป็นรถสปอร์ตนำเข้า (CBU) แต่เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย เปิดราคารุ่นอี-คลาส คูเป้ ใหม่ ออกมาที่ 3.79 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 4.399 ล้านบาท หรือรุ่นเปิดประทุน อี-คลาส คาบริโอเลต ราคารุ่นก่อนอยู่ที่ร่วม 5 ล้านบาท แต่รุ่นใหม่กดลงมาเหลือเพียง 3.99 ล้านบาท
ล่าสุดเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ได้เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการแนะนำ “C200 Style AMG” ซึ่งเป็นการนำรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ รุ่น C200 Style มาแต่งชุด AMG ด้านหน้าเป็นแบบสปอร์ต ตกแต่งด้วยกระจังหน้าสีเงินเสริมโครเมียมลาย 2 แถบ และล้ออัลลอยดีไซน์สปอร์ตแบบ 5 ก้าน พร้อมตราสัญลักษณ์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ทำให้รถดูสปอร์ต สวยสะดุดตา และเหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยยังคงยืนราคารุ่นปกติเดิม C200 อยู่ที่ 2.25 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ในราคาเท่าเดิม
แน่นอนต่อไปคงต้องจับตา “เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส” โฉมใหม่ ที่จะมีการเปิดตัวรุ่นนำเข้า(CBU) เข้ามาสกัดผู้นำเข้าอิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ตในช่วงปลายปีนี้ หลังจากนั้นจึงจะเป็นรุ่นประกอบในประเทศ หรือซีเคดี ซึ่งหากดูกลยุทธ์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยที่ผ่านมา จึงน่าลุ้นว่าราคาของเอส-คลาสใหม่ จะสร้างความฮือฮาขนาดไหน? และเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ได้หั่นราคารุ่นเอส-คลาส โฉมปัจจุบันลงไปคันละ 1 ล้านบาทมาแล้ว เพื่อระบายสต็อกก่อนโฉมใหม่จะมาแทน
เกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ “วอลโว่” เป็นอีกค่ายที่ได้นำมาใช้ จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการแนะนำ “วอลโว่ วี40” ที่วางเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เช่นเดียวกับรุ่นซีดานเอส40 (ราคา 1.69 ล้านบาท) แต่ติดตั้งเทอร์โบชาร์จจนรีดกำลังได้ถึง 213 แรงม้า มากกว่ากันเกือบ 70 แรงม้า แต่เปิดราคาเริ่มต้นเพียง 1.68 ล้านบาท
เมื่อเดือนที่ผ่านมาวอลโว่ ประเทศไทย ได้เดินหน้ารุกตลาดรถอเนกประสงค์ แนะนำ “วอลโว่ XC60” ที่มาพร้อมกับแพคเกจอุปกรณ์ตกแต่ง 6-Pack มูลค่ากว่า 2 แสนบาท ประกอบด้วย 1.แผงกันชนด้านหน้า 2.ท่อไอเสียคู่พร้อมแผ่นกันชนหลัง 3.แผ่นรองบันไดข้าง 4.จอฝังบนเบาะคู่หน้า 5.กล้องด้านหน้า และ 6.แผ่นรองปูพื้นสำหรับขนสัมภาระที่ด้านหลัง แต่ขายในราคา 3.149 ล้านบาท จากรุ่นปกติราคาอยู่ที่ 3.05 ล้านบาท
ในส่วนของค่ายรถญี่ปุ่น “ซูบารุ” ล่าสุดมีรายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า ซูบารุกำลังพิจารณาที่จะปรับตำแหน่งสินค้า ให้เป็นรถตลาดที่มีราคาถูกลง จากปัจจุบันจะเน้นเป็นรถเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche ทำให้ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งในตลาดเล็กน้อย ยิ่งในตลาดไทยราคาแทบไม่แตกต่างจากรถยุโรปเลย ซึ่งมีความเป็นไปได้เช่นกัน แม้เสียงจะแตกเป็นสองฝ่ายอยู่ เห็นได้จากรถรุ่นใหม่ “ซูบารุ เอ็กซ์วี 2.0ไอ” ขึ้นไลน์ประกอบที่มาเลเซีย และนำเข้ามาทำตลาดในไทย เปิดราคาออกมา 1.35 ล้านบาท ชนกับรถเอสยูวีกลุ่มรถตลาดเลย หรือล่าสุดโฉมใหม่ “ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์” รุ่น 2.5XT เคาะราคาอยู่ที่ 2.42 ล้านบาท ลดลงจากรุ่นเดิมนิดหน่อย แต่กลับได้กำลังเป็น 240 แรงม้า (เดิม210 แรงม้า) และรูปโฉมใหม่หมดทั้งคัน
ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวบางส่วนในตลาดรถหรู สะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันที่ร้อนแรงไม่แพ้กลุ่มรถตลาดทั่วไป แน่นอนในส่วนของแคมเปญย่อมมีอยู่แล้ว แต่การที่ค่ายรถหรูนำกลยุทธ์ราคามาใช้ ไม่แน่ต่อไปอาจจะได้เห็นรถหรู ราคาขยับเข้ามาใกล้รถญี่ปุ่นก็เป็นได้?!
อย่างเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ได้มีการขยายสายการประกอบรถยนต์ “มินิ คันทรีแมน” ในประเทศไทย ภายในโรงงานประกอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะ จังหวัดระยอง ซึ่งรถยนต์ “มินิ” เป็นแบรนด์ที่อยู่ในเครือของบีเอ็มดับเบิลยู โดยจะเริ่มทำการขึ้นไลน์ประกอบ 3 รุ่น และจะเริ่มส่งมอบได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
ทั้งนี้การประกอบรถยนต์ครอสโอเวอร์ มินิ คันทรีแมนในไทย หรือรุ่นซีเคดี(CKD) สิ่งที่สร้างความฮือฮาเห็นจะเป็นเรื่องราคา หากเทียบกับตัวนำเข้า (CBU) ที่ขายในช่วงที่ผ่านมา ปรับลดลง 24-29% หรือประมาณ 7.5-8.0 แสนบาท อย่างมินิ คูเปอร์ คันทรีแมน เครื่องยนต์ 1.6 ลิตร รุ่นนำเข้าราคา 2.59 ล้านบาท ปรับลงมาเป็น 1.84 ล้านบาท ในรุ่นรถประกอบซีเคดี และคูเปอร์ เอส คันทรีแมน 2.0 ลิตร เทอร์โบชาร์จเจอร์ จากราคานำเข้า 2.84 ล้านบาท เหลือ 2.04 ล้านบาท หรือรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล คูเปอร์เอสดี ALL4 คันทรีแมน จากราคา 3.29 ล้าน มาเป็นรุ่นประกอบในไทยเหลือ 2.49 ล้านบาท
การประกอบรถในประเทศของ มินิ คันทรีแมน จนส่งผลให้ราคาลดลง 7.5-8.0 แสนบาท แน่นอนย่อมจะผลักดันให้ยอดขายของมินิในไทยเติบโตก้าวกระโดด เช่นเดียวกับที่บีเอ็มดับเบิลยูประสบความสำเร็จมาแล้ว กับการประกอบซีเคดี “บีเอ็มดัเบิลยู เอ็กซ์1” ซึ่งเป็นรถอเนกประสงค์แบบเอสยูวีเหมือนกัน โดยกดราคาลงมาเริ่มต้นเพียง 1.99 ล้านบาท จนทำให้แทบจะผลิตไม่ทัน
ส่วนที่โดดลงมาเล่นเรื่องราคาแบบชัดเจน เห็นจะเป็นยักษ์ใหญ่อีกราย “เมอร์เซเดส-เบนซ์” เพราะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้นำกลยุทธ์ปรับราคาลงมาใช้ ตามนโยบายที่ต้องการให้ลูกค้าเข้าถึงรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้ง่าย และเป็นการขยายกลุ่มเป้าหมาย ภายใต้การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะลดอุปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็นกับสภาพของเมืองไทย แต่สิ่งสำคัญอย่างอุปกรณ์ความปลอดภัยยังมีมาให้ครบ หรือเพิ่มมูลค่าให้กับตัวรถ ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ขณะที่ขายในราคาเท่าเดิม
แนวทางการดำเนินงานดังกล่าว เมอร์เซเดส-เบนซ์ได้นำมาใช้ระยะหนึ่ง อย่างเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่มีการเปิดตัว เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส คูเป้ & คาบริโอเลต” (E-Class Coupé & Cabriolet) ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นปรับโฉม หรือไมเนอร์เชนจ์ตามรุ่นอี-คลาส แม้จะเป็นรถสปอร์ตนำเข้า (CBU) แต่เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย เปิดราคารุ่นอี-คลาส คูเป้ ใหม่ ออกมาที่ 3.79 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 4.399 ล้านบาท หรือรุ่นเปิดประทุน อี-คลาส คาบริโอเลต ราคารุ่นก่อนอยู่ที่ร่วม 5 ล้านบาท แต่รุ่นใหม่กดลงมาเหลือเพียง 3.99 ล้านบาท
ล่าสุดเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ได้เพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้า ด้วยการแนะนำ “C200 Style AMG” ซึ่งเป็นการนำรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ รุ่น C200 Style มาแต่งชุด AMG ด้านหน้าเป็นแบบสปอร์ต ตกแต่งด้วยกระจังหน้าสีเงินเสริมโครเมียมลาย 2 แถบ และล้ออัลลอยดีไซน์สปอร์ตแบบ 5 ก้าน พร้อมตราสัญลักษณ์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ทำให้รถดูสปอร์ต สวยสะดุดตา และเหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยยังคงยืนราคารุ่นปกติเดิม C200 อยู่ที่ 2.25 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ในราคาเท่าเดิม
แน่นอนต่อไปคงต้องจับตา “เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส-คลาส” โฉมใหม่ ที่จะมีการเปิดตัวรุ่นนำเข้า(CBU) เข้ามาสกัดผู้นำเข้าอิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ตในช่วงปลายปีนี้ หลังจากนั้นจึงจะเป็นรุ่นประกอบในประเทศ หรือซีเคดี ซึ่งหากดูกลยุทธ์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทยที่ผ่านมา จึงน่าลุ้นว่าราคาของเอส-คลาสใหม่ จะสร้างความฮือฮาขนาดไหน? และเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ได้หั่นราคารุ่นเอส-คลาส โฉมปัจจุบันลงไปคันละ 1 ล้านบาทมาแล้ว เพื่อระบายสต็อกก่อนโฉมใหม่จะมาแทน
เกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ “วอลโว่” เป็นอีกค่ายที่ได้นำมาใช้ จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการแนะนำ “วอลโว่ วี40” ที่วางเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เช่นเดียวกับรุ่นซีดานเอส40 (ราคา 1.69 ล้านบาท) แต่ติดตั้งเทอร์โบชาร์จจนรีดกำลังได้ถึง 213 แรงม้า มากกว่ากันเกือบ 70 แรงม้า แต่เปิดราคาเริ่มต้นเพียง 1.68 ล้านบาท
เมื่อเดือนที่ผ่านมาวอลโว่ ประเทศไทย ได้เดินหน้ารุกตลาดรถอเนกประสงค์ แนะนำ “วอลโว่ XC60” ที่มาพร้อมกับแพคเกจอุปกรณ์ตกแต่ง 6-Pack มูลค่ากว่า 2 แสนบาท ประกอบด้วย 1.แผงกันชนด้านหน้า 2.ท่อไอเสียคู่พร้อมแผ่นกันชนหลัง 3.แผ่นรองบันไดข้าง 4.จอฝังบนเบาะคู่หน้า 5.กล้องด้านหน้า และ 6.แผ่นรองปูพื้นสำหรับขนสัมภาระที่ด้านหลัง แต่ขายในราคา 3.149 ล้านบาท จากรุ่นปกติราคาอยู่ที่ 3.05 ล้านบาท
ในส่วนของค่ายรถญี่ปุ่น “ซูบารุ” ล่าสุดมีรายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า ซูบารุกำลังพิจารณาที่จะปรับตำแหน่งสินค้า ให้เป็นรถตลาดที่มีราคาถูกลง จากปัจจุบันจะเน้นเป็นรถเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche ทำให้ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งในตลาดเล็กน้อย ยิ่งในตลาดไทยราคาแทบไม่แตกต่างจากรถยุโรปเลย ซึ่งมีความเป็นไปได้เช่นกัน แม้เสียงจะแตกเป็นสองฝ่ายอยู่ เห็นได้จากรถรุ่นใหม่ “ซูบารุ เอ็กซ์วี 2.0ไอ” ขึ้นไลน์ประกอบที่มาเลเซีย และนำเข้ามาทำตลาดในไทย เปิดราคาออกมา 1.35 ล้านบาท ชนกับรถเอสยูวีกลุ่มรถตลาดเลย หรือล่าสุดโฉมใหม่ “ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์” รุ่น 2.5XT เคาะราคาอยู่ที่ 2.42 ล้านบาท ลดลงจากรุ่นเดิมนิดหน่อย แต่กลับได้กำลังเป็น 240 แรงม้า (เดิม210 แรงม้า) และรูปโฉมใหม่หมดทั้งคัน
ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวบางส่วนในตลาดรถหรู สะท้อนให้เห็นถึงการแข่งขันที่ร้อนแรงไม่แพ้กลุ่มรถตลาดทั่วไป แน่นอนในส่วนของแคมเปญย่อมมีอยู่แล้ว แต่การที่ค่ายรถหรูนำกลยุทธ์ราคามาใช้ ไม่แน่ต่อไปอาจจะได้เห็นรถหรู ราคาขยับเข้ามาใกล้รถญี่ปุ่นก็เป็นได้?!