เปิดเส้นทางรถหรูจดประกอบ เลี่ยงภาษี-ชาติสูญหมื่นล้าน (1) คลิก
เปิดเส้นทางการนำเข้ารถหรูจดประกอบ รวมถึงขั้นตอนและรูปแบบการกระทำผิดไปแล้ว ได้เห็นกลโกงของรถจดประกอบ นอกจากการนำเข้ารถทั้งคัน หรือเกือบทั้งคัน ยังนำรถที่ประกอบแล้วไปติดแก๊ส โดยเฉพาะบรรดาซูเปอร์คาร์ จนมีการพูดเล่นๆ กันในวงการว่า “ซูเปอร์คาร์ชอบดมแก๊ส” และสิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำเรื่องดังกล่าว ล่าสุดดีเอสไอเปิดเผยจำนวนรถหรูและรายชื่อเจ้าของรถ เข้าข่ายต้องตรวจสอบจำนวน 488 คัน ปรากฏว่าส่วนใหญ่ติดแก๊สทั้งนั้น “ASTV ผู้จัดจัดการ” จึงจะพาไปเจาะลึก ทำไม? รถหรู/ซูเปอร์คาร์เหล่านี้ถึงชอบดมแก๊ส และการหลีกเลี่ยงภาษีของรถจดประกอบ ล้วนมีเจ้าหน้าที่รัฐมาเอี่ยวทุกขั้นตอน...
ทำไม? ซูเปอร์คาร์ต้องดมแก๊ส
จุดที่ทำให้รถไฟไหม้ 4 คัน ทราบว่าเป็นรถจดประกอบทันที มาจากถังแก๊สและอุปกรณ์ต่อพ่วงนั่นเอง เพราะในโลกนี้คงไม่มีซูเปอร์คาร์ระดับ 12 สูบ ติดตั้งแก๊สแน่นอน และในเชิงวิศวกรรมก็ไม่สามารถทำได้
ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงฟันธง!... เป็นรถนำเข้าไม่ถูกต้อง เป็นรถจดประกอบเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี!
งานนี้ผู้คนทั่วๆ ไป จึงเข้าใจว่ารถจดประกอบผิดกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงภาษี(ย้ำว่ารถจดประกอบ เป็นรถถูกต้องตามกฎหมาย) รวมถึงคิดว่าการติดแก๊สเป็นกระบวนหนึ่งของการทำผิด หรือต้องการหลีกเลี่ยงภาษี
ประเด็นที่กลุ่มผู้ค้าหรือผู้ซื้อผู้ใช้รถจดประกอบ ต้องติดแก๊สรถหรูและซูเปอร์คาร์ เพราะต้องการลดขั้นตอนในการตรวจสภาพรถกับสมอ. และอีกส่วนหนึ่งเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าตรวจสภาพรถ เพราะมีอัตราสูงเป็นแสนบาททีเดียว ที่สำคัญจะตรวจรถผ่านมาตรฐานสมอ. เรียกว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยากมาก โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรฐานมลพิษ ซึ่งหากตรวจไม่ผ่านก็ต้องสูญเงินไปเลย ไม่มีการคืนเงินแต่อย่างใด และหากตรวจใหม่ก็ต้องจ่ายตามอัตราอีก
เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่รถจดประกอบ แม้แต่รถใหม่ผู้นำเข้าอิสระหรือเกรย์มาร์เก็ต ยังมีปัญหากับสมอ.ในเรื่องนี้เช่นกัน มีรถใหม่นำเข้าจากเกรย์มาร์เก็ตหลายพันคัน ที่ยังไม่เข้ารับการตรวจสภาพรถกับสมอ. จนมีข่าวเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ลูกค้านับพันเคว้งไม่สามารถจดทะเบียนได้ เพราะไม่ผ่านการตรวจสภาพรถกับสมอ. และยังมีรถนำเข้าอีกกว่า 2 พันคัน รอตรวจสอบกับสมอ.อยู่
ปัญหานี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม, สมอ. และกรมขนส่งทางบก ต่างร่วมกันพยายามหาทางออกอยู่ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา สมอ.ได้มีการลดค่าตรวจสภาพรถเกรย์มาร์เก็ต อย่างรถเบนซินเดิมค่าตรวจสอบ 124,163 บาท ลดลงเป็น 49,755 บาท และรถดีเซลขนาดเล็กค่าตรวจสอบ 19,795 บาท จากเดิม 46,588 บาท
ในส่วนของสรรพสามิต รถจดประกอบติดแก๊สยังคงใช้อัตราภาษีปกติ เหมือนกับรถใหม่ทั่วไป อยู่ที่ประมาณ 30-50% (ยังมีภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะเป็นแก๊สแอลพีจี หรือไม่ใช่รถติดแก๊สซีเอ็นจีจากโรงงาน(Retrofit) ที่จะได้รับอัตราภาษีพิเศษ
การติดแก๊สของรถหรูขนาดใหญ่ หรือซูเปอร์คาร์จดประกอบ จุดประสงค์หลักจึงอยู่ที่เลี่ยงการตรวจสภาพรถของสมอ.เป็นสำคัญ และไม่ได้ต้องการใช้งานจริง ที่สำคัญรถเหล่านี้ไม่สามารถใช้เชื้อเพลิงแก๊ส โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ระดับ 8 หรือ 12 สูบ ยิ่งไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน...
ดังนั้นการติดตั้งแก๊สในรถจดประกอบดังกล่าว จึงเป็นการติดหลอกๆ เพื่อผ่านขั้นตอนไปจดทะเบียนเท่านั้น เหมือนอย่างกับซูเปอร์คาร์ที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งไม่มีการวางท่อ หรือเชื่อมเข้ากับเครื่องยนต์แต่อย่างใด และเมื่อจดทะเบียนเสร็จก็ถอดออก และหลังจากนั้นขอกลับมาเป็นใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และมีการล้างเล่มทะเบียนใหม่
นี่จึงเป็นเหตุผล... ทำไม? ซูเปอร์คาถึงดมแก๊ส!!
เจ้าหน้าที่รัฐมีเอี่ยวทุกขั้นตอน
จากกระบวนการของรถจดประกอบ จะเห็นว่ามีการหลีกเลี่ยง หรืออาศัยช่องโหว่กฎหมายในทุกขั้นตอน โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รัฐ(บางส่วน) แทบจะทุกกระบวนการ
เริ่มจากนำรถมาขึ้นท่าเรือ ผ่านกระบวนการตรวจสอบของกรมศุลกากร อย่างที่ทราบกันโดยเฉพาะรถหรูขนาดใหญ่/ซูเปอร์คาร์จะนำรถเข้ามาทั้งคัน หรือเพียงถอดล้อ และอย่างมากเพิ่มฝากระโปรง-ประตูรถ ถ้ารถเล็กญี่ปุ่นเทคโนโลยีไม่สูงมาก อาจจะมีการแยกเครื่องยนต์ด้วย
แม้กฎหมายจะไม่ชัด แต่อย่างน้อยก็มีการระบุให้พอเป็นฐานได้ว่า ชิ้นส่วนนำเข้าจดประกอบจะต้องแยกเครื่อง และโครงตัวถังมาทั้งคัน เพราะห้ามตัดครึ่ง หรือตัวหัวตัดท้าย แบบนั่นจะนำเข้ามาเป็นอะไหล่เซียงกง ซึ่งต้องเสียภาษีอีกแบบ(3%) แต่ถ้าเป็นโครงตัวถังภาษีอยู่ที่ 30% โดยต้องมีหมายเลขกำกับชัดเจน
แต่อย่างที่ทราบกัน แทบจะไม่มีการแยกชิ้นส่วนแต่อย่างใด ตรงนี้กลุ่มผู้นำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จึงต้องใช้กำลังภายใน ว่ากันว่าเป็นจุดที่จะต้องจ่ายสูงที่สุดของทุกระบวนการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรปิดหูปิดตา หรือแค่ดูให้เห็นว่าเป็นกองอะไหล่ เพราะการไปเสียภาษีสรรพสามิต และจดทะเบียนกับกรมขนส่ง ต้องมีใบแสดงรายการสินค้า หรืออินวอยซ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความต้องถูกต้อง
ผ่านด่านแรกมาที่กรมสรรพสามิต ซึ่งต้องประเมินราคาของรถคันนั้นๆ แม้จะมีเกณฑ์คร่าวๆ อยู่แล้ว แต่หากมีความใกล้ชิดและร่วมมือกัน ราคาประเมินก็อาจจะต่ำลงไปบ้าง
นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าบางราย ไม่ต้องการจ่ายภาษีสรรพสามิตเต็มการประเมิน จึงใช้วิธีนำรถไปให้สรรพสามิตต่างจังหวัดที่คุ้นเคยจับปรับ ซึ่งจะประเมินกันค่อนข้างต่ำ ยกตัวอย่างรถจดประกอบราคาประเมิน 10 ล้านบาท อัตราภาษี 30% ประมาณ 3 ล้านบาท แต่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตที่ร่วมกัน จะประเมินตีภาษีเพียง 5 แสนบาท ซึ่งรวมค่าปรับ 3 เท่า เบ็ดเสร็จจ่ายภาษีทั้งหมด 1.5 ล้านบาท
จะเห็นว่าถูกกว่าจ่ายภาษีโดยตรงเป็นเท่าตัว!... เมื่อจ่ายค่าปรับภาษีแล้ว สามารถนำใบเสร็จดังกล่าว ไปขอรับจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ถูกกฎหมายเช่นกัน
แต่วิธีนี้ก็ต้องมาลุ้น(หรือไม่) จะมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือไม่ เพราะหากตรวจพบว่าจ่ายภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง คราวนี้ล่ะโดน 3 เท่าของราคาภาษีประเมินจริง หรือ 9 ล้านบาท!!
ในส่วนของการตรวจสภาพกับสมอ.เช่นกัน ซึ่งรู้กันว่าเป็นด่านหินที่สุดของรถจดประกอบ เพราะมาตรฐานอุตสาหกรรมรถยนต์เบนซินและดีเซลค่อนข้างสูงมาก แม้แต่รถใหม่นำเข้าของเกรย์มาร์เก็ตยังหนาว โดยเฉพาะรถยนต์ญี่ปุ่น รถมือสองอย่างรถจดประกอบ แทบจะมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ผ่าน
นี่จึงมีข่าวกระเซ็นออกมา ทั้งจากผู้นำเข้าอิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ตว่า หากไม่อยากจะยุ่งยากมากนัก ต้องมีค่าตรวจพิเศษเป็นจำนวนหลักครึ่งแสนต่อคันกันเลย!
ขณะที่วงการรถจดประกอบ ไม่แตกต่างกันมากนัก นี่จึงเป็นที่มาของซูเปอร์คาร์อย่าง ลัมบอร์กินี หรือเฟอร์รารี่ ติดแก๊สหลอก หรือที่แซวๆ กันว่า... ซูเปอร์คาร์ชอบดมแก๊ส!!
เอาล่ะเมื่อผ่านทุกด่านเสร็จแล้ว เหลือขั้นตอนสุดท้าย จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะเป็นด่านที่รถจดประกอบ จะแปลงสภาพเป็นรถถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
เกี่ยวกับเรื่องซิกแซกให้เร็ว หรือตรวจสอบใบหลักฐานต่างๆ คงไม่ต้องพูดกัน มาว่ากันเรื่องที่การตีตรารับรองรถหรู/ซูเปอร์คาร์ติดแก๊สจดทะเบียนได้ เพราะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องใช้งานจริงได้หรือไม่ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องพิสูจน์อะไรมาก กับเหตุผลง่ายๆ...
รถหรูขนาดใหญ่ และซูเปอร์คาร์ ที่เครื่องยนต์ระดับ 8 หรือ 12 สูบ เป็นไปได้หรือที่จะใช้เชื้อเพลิงแก๊ส เพราะในโลกนี้เขาไม่ทำกัน และมันเป็นไปไม่ได้เลย!!
ไม่ว่าจะอย่างไร เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งก็มีการอนุมัติให้จดทะเบียน จากการมีอะไรมาปิดตาปิดหูเสีย และพอเสร็จขั้นตอนนี้ผู้ขอจดทะเบียนรถจดประกอบจะถอดแก๊สออก สักพักจึงขอเปลี่ยนเป็นใช้น้ำมันเชื้อเพลิงตามเดิม ถ้าจดต่างจังหวัด(กำลังนิยม) จะขอย้ายมากรุงเทพฯ และมีการแจ้งหาย หรือล้างเล่มทะเบียน ทำให้ไม่เห็นว่ามีการติดตั้งแก๊ส(หลอก) มาก่อน (ต้นฉบับที่ขนส่งยังสามารถตรวจสอบได้)
แต่จะว่าไปรถหรู/ซูเปอร์คาร์ติดแก๊สหลอก มีการเปิดโปงมาได้ 2-3 ปีแล้ว ทำให้ผู้บริหารของกรมการขนส่งทางบก ต้องแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ระมัดระวัง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่เป็นแหล่งของรถจดประกอบ
เหตุนี้ในช่วงหลังๆ ขบวนการรถจดประกอบ จึงเบนไปยังต่างจังหวัดแทน และโดยเฉพาะจังหวัดที่มีเครือข่ายร่วมมือกัน จึงไม่แปลกที่เมื่อหลายปีก่อน จะเห็นซูเปอร์คาร์ติดป้ายทะเบียนลำพูนเต็มไปหมด และปัจจุบันที่เป็นข่าวฮือฮา ย่อมต้องเป็นขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ เป้าหมายของรถหรู 6 คัน ก่อนที่จะเกิดไฟไหม้เสียก่อน จนกลายเป็นข่าวอื้อฉาว และมีการตรวจสอบพบว่า 2 ปีที่ผ่านมา ได้จดทะเบียนรถจดทะเบียน 19 คัน จนขนส่งจังหวัดถูกเด้งเข้ามาช่วยราชการในกรมฯ
เรียกว่า... กระบวนหลบเลี่ยงภาษีและกฎหมายของรถจดประกอบ มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายทางกันเลยทีเดียว
งานนี้ “นายธาริต เพ็งดิษฐ์” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ถึงกับบอกว่าขบวนการหลบเลี่ยงภาษีของรถจดประกอบ สร้างความเสียหายให้กับรัฐ ปีละไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท!!
เปิดเส้นทางรถหรูจดประกอบ เลี่ยงภาษี-ชาติสูญหมื่นล้าน (จบ)
เปิดเส้นทางการนำเข้ารถหรูจดประกอบ รวมถึงขั้นตอนและรูปแบบการกระทำผิดไปแล้ว ได้เห็นกลโกงของรถจดประกอบ นอกจากการนำเข้ารถทั้งคัน หรือเกือบทั้งคัน ยังนำรถที่ประกอบแล้วไปติดแก๊ส โดยเฉพาะบรรดาซูเปอร์คาร์ จนมีการพูดเล่นๆ กันในวงการว่า “ซูเปอร์คาร์ชอบดมแก๊ส” และสิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำเรื่องดังกล่าว ล่าสุดดีเอสไอเปิดเผยจำนวนรถหรูและรายชื่อเจ้าของรถ เข้าข่ายต้องตรวจสอบจำนวน 488 คัน ปรากฏว่าส่วนใหญ่ติดแก๊สทั้งนั้น “ASTV ผู้จัดจัดการ” จึงจะพาไปเจาะลึก ทำไม? รถหรู/ซูเปอร์คาร์เหล่านี้ถึงชอบดมแก๊ส และการหลีกเลี่ยงภาษีของรถจดประกอบ ล้วนมีเจ้าหน้าที่รัฐมาเอี่ยวทุกขั้นตอน...
ทำไม? ซูเปอร์คาร์ต้องดมแก๊ส
จุดที่ทำให้รถไฟไหม้ 4 คัน ทราบว่าเป็นรถจดประกอบทันที มาจากถังแก๊สและอุปกรณ์ต่อพ่วงนั่นเอง เพราะในโลกนี้คงไม่มีซูเปอร์คาร์ระดับ 12 สูบ ติดตั้งแก๊สแน่นอน และในเชิงวิศวกรรมก็ไม่สามารถทำได้
ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงฟันธง!... เป็นรถนำเข้าไม่ถูกต้อง เป็นรถจดประกอบเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี!
งานนี้ผู้คนทั่วๆ ไป จึงเข้าใจว่ารถจดประกอบผิดกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงภาษี(ย้ำว่ารถจดประกอบ เป็นรถถูกต้องตามกฎหมาย) รวมถึงคิดว่าการติดแก๊สเป็นกระบวนหนึ่งของการทำผิด หรือต้องการหลีกเลี่ยงภาษี
ประเด็นที่กลุ่มผู้ค้าหรือผู้ซื้อผู้ใช้รถจดประกอบ ต้องติดแก๊สรถหรูและซูเปอร์คาร์ เพราะต้องการลดขั้นตอนในการตรวจสภาพรถกับสมอ. และอีกส่วนหนึ่งเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าตรวจสภาพรถ เพราะมีอัตราสูงเป็นแสนบาททีเดียว ที่สำคัญจะตรวจรถผ่านมาตรฐานสมอ. เรียกว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยากมาก โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรฐานมลพิษ ซึ่งหากตรวจไม่ผ่านก็ต้องสูญเงินไปเลย ไม่มีการคืนเงินแต่อย่างใด และหากตรวจใหม่ก็ต้องจ่ายตามอัตราอีก
เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่รถจดประกอบ แม้แต่รถใหม่ผู้นำเข้าอิสระหรือเกรย์มาร์เก็ต ยังมีปัญหากับสมอ.ในเรื่องนี้เช่นกัน มีรถใหม่นำเข้าจากเกรย์มาร์เก็ตหลายพันคัน ที่ยังไม่เข้ารับการตรวจสภาพรถกับสมอ. จนมีข่าวเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ลูกค้านับพันเคว้งไม่สามารถจดทะเบียนได้ เพราะไม่ผ่านการตรวจสภาพรถกับสมอ. และยังมีรถนำเข้าอีกกว่า 2 พันคัน รอตรวจสอบกับสมอ.อยู่
ปัญหานี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม, สมอ. และกรมขนส่งทางบก ต่างร่วมกันพยายามหาทางออกอยู่ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา สมอ.ได้มีการลดค่าตรวจสภาพรถเกรย์มาร์เก็ต อย่างรถเบนซินเดิมค่าตรวจสอบ 124,163 บาท ลดลงเป็น 49,755 บาท และรถดีเซลขนาดเล็กค่าตรวจสอบ 19,795 บาท จากเดิม 46,588 บาท
ในส่วนของสรรพสามิต รถจดประกอบติดแก๊สยังคงใช้อัตราภาษีปกติ เหมือนกับรถใหม่ทั่วไป อยู่ที่ประมาณ 30-50% (ยังมีภาษีมหาดไทย และภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะเป็นแก๊สแอลพีจี หรือไม่ใช่รถติดแก๊สซีเอ็นจีจากโรงงาน(Retrofit) ที่จะได้รับอัตราภาษีพิเศษ
การติดแก๊สของรถหรูขนาดใหญ่ หรือซูเปอร์คาร์จดประกอบ จุดประสงค์หลักจึงอยู่ที่เลี่ยงการตรวจสภาพรถของสมอ.เป็นสำคัญ และไม่ได้ต้องการใช้งานจริง ที่สำคัญรถเหล่านี้ไม่สามารถใช้เชื้อเพลิงแก๊ส โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ระดับ 8 หรือ 12 สูบ ยิ่งไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน...
ดังนั้นการติดตั้งแก๊สในรถจดประกอบดังกล่าว จึงเป็นการติดหลอกๆ เพื่อผ่านขั้นตอนไปจดทะเบียนเท่านั้น เหมือนอย่างกับซูเปอร์คาร์ที่ถูกไฟไหม้ ซึ่งไม่มีการวางท่อ หรือเชื่อมเข้ากับเครื่องยนต์แต่อย่างใด และเมื่อจดทะเบียนเสร็จก็ถอดออก และหลังจากนั้นขอกลับมาเป็นใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และมีการล้างเล่มทะเบียนใหม่
นี่จึงเป็นเหตุผล... ทำไม? ซูเปอร์คาถึงดมแก๊ส!!
เจ้าหน้าที่รัฐมีเอี่ยวทุกขั้นตอน
จากกระบวนการของรถจดประกอบ จะเห็นว่ามีการหลีกเลี่ยง หรืออาศัยช่องโหว่กฎหมายในทุกขั้นตอน โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รัฐ(บางส่วน) แทบจะทุกกระบวนการ
เริ่มจากนำรถมาขึ้นท่าเรือ ผ่านกระบวนการตรวจสอบของกรมศุลกากร อย่างที่ทราบกันโดยเฉพาะรถหรูขนาดใหญ่/ซูเปอร์คาร์จะนำรถเข้ามาทั้งคัน หรือเพียงถอดล้อ และอย่างมากเพิ่มฝากระโปรง-ประตูรถ ถ้ารถเล็กญี่ปุ่นเทคโนโลยีไม่สูงมาก อาจจะมีการแยกเครื่องยนต์ด้วย
แม้กฎหมายจะไม่ชัด แต่อย่างน้อยก็มีการระบุให้พอเป็นฐานได้ว่า ชิ้นส่วนนำเข้าจดประกอบจะต้องแยกเครื่อง และโครงตัวถังมาทั้งคัน เพราะห้ามตัดครึ่ง หรือตัวหัวตัดท้าย แบบนั่นจะนำเข้ามาเป็นอะไหล่เซียงกง ซึ่งต้องเสียภาษีอีกแบบ(3%) แต่ถ้าเป็นโครงตัวถังภาษีอยู่ที่ 30% โดยต้องมีหมายเลขกำกับชัดเจน
แต่อย่างที่ทราบกัน แทบจะไม่มีการแยกชิ้นส่วนแต่อย่างใด ตรงนี้กลุ่มผู้นำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่จึงต้องใช้กำลังภายใน ว่ากันว่าเป็นจุดที่จะต้องจ่ายสูงที่สุดของทุกระบวนการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรปิดหูปิดตา หรือแค่ดูให้เห็นว่าเป็นกองอะไหล่ เพราะการไปเสียภาษีสรรพสามิต และจดทะเบียนกับกรมขนส่ง ต้องมีใบแสดงรายการสินค้า หรืออินวอยซ์ โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรรับรองความต้องถูกต้อง
ผ่านด่านแรกมาที่กรมสรรพสามิต ซึ่งต้องประเมินราคาของรถคันนั้นๆ แม้จะมีเกณฑ์คร่าวๆ อยู่แล้ว แต่หากมีความใกล้ชิดและร่วมมือกัน ราคาประเมินก็อาจจะต่ำลงไปบ้าง
นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าบางราย ไม่ต้องการจ่ายภาษีสรรพสามิตเต็มการประเมิน จึงใช้วิธีนำรถไปให้สรรพสามิตต่างจังหวัดที่คุ้นเคยจับปรับ ซึ่งจะประเมินกันค่อนข้างต่ำ ยกตัวอย่างรถจดประกอบราคาประเมิน 10 ล้านบาท อัตราภาษี 30% ประมาณ 3 ล้านบาท แต่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตที่ร่วมกัน จะประเมินตีภาษีเพียง 5 แสนบาท ซึ่งรวมค่าปรับ 3 เท่า เบ็ดเสร็จจ่ายภาษีทั้งหมด 1.5 ล้านบาท
จะเห็นว่าถูกกว่าจ่ายภาษีโดยตรงเป็นเท่าตัว!... เมื่อจ่ายค่าปรับภาษีแล้ว สามารถนำใบเสร็จดังกล่าว ไปขอรับจดทะเบียนกับกรมขนส่งได้ถูกกฎหมายเช่นกัน
แต่วิธีนี้ก็ต้องมาลุ้น(หรือไม่) จะมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังหรือไม่ เพราะหากตรวจพบว่าจ่ายภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง คราวนี้ล่ะโดน 3 เท่าของราคาภาษีประเมินจริง หรือ 9 ล้านบาท!!
ในส่วนของการตรวจสภาพกับสมอ.เช่นกัน ซึ่งรู้กันว่าเป็นด่านหินที่สุดของรถจดประกอบ เพราะมาตรฐานอุตสาหกรรมรถยนต์เบนซินและดีเซลค่อนข้างสูงมาก แม้แต่รถใหม่นำเข้าของเกรย์มาร์เก็ตยังหนาว โดยเฉพาะรถยนต์ญี่ปุ่น รถมือสองอย่างรถจดประกอบ แทบจะมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่ผ่าน
นี่จึงมีข่าวกระเซ็นออกมา ทั้งจากผู้นำเข้าอิสระ หรือเกรย์มาร์เก็ตว่า หากไม่อยากจะยุ่งยากมากนัก ต้องมีค่าตรวจพิเศษเป็นจำนวนหลักครึ่งแสนต่อคันกันเลย!
ขณะที่วงการรถจดประกอบ ไม่แตกต่างกันมากนัก นี่จึงเป็นที่มาของซูเปอร์คาร์อย่าง ลัมบอร์กินี หรือเฟอร์รารี่ ติดแก๊สหลอก หรือที่แซวๆ กันว่า... ซูเปอร์คาร์ชอบดมแก๊ส!!
เอาล่ะเมื่อผ่านทุกด่านเสร็จแล้ว เหลือขั้นตอนสุดท้าย จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะเป็นด่านที่รถจดประกอบ จะแปลงสภาพเป็นรถถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่?
เกี่ยวกับเรื่องซิกแซกให้เร็ว หรือตรวจสอบใบหลักฐานต่างๆ คงไม่ต้องพูดกัน มาว่ากันเรื่องที่การตีตรารับรองรถหรู/ซูเปอร์คาร์ติดแก๊สจดทะเบียนได้ เพราะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องใช้งานจริงได้หรือไม่ แต่เรื่องนี้ไม่ต้องพิสูจน์อะไรมาก กับเหตุผลง่ายๆ...
รถหรูขนาดใหญ่ และซูเปอร์คาร์ ที่เครื่องยนต์ระดับ 8 หรือ 12 สูบ เป็นไปได้หรือที่จะใช้เชื้อเพลิงแก๊ส เพราะในโลกนี้เขาไม่ทำกัน และมันเป็นไปไม่ได้เลย!!
ไม่ว่าจะอย่างไร เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งก็มีการอนุมัติให้จดทะเบียน จากการมีอะไรมาปิดตาปิดหูเสีย และพอเสร็จขั้นตอนนี้ผู้ขอจดทะเบียนรถจดประกอบจะถอดแก๊สออก สักพักจึงขอเปลี่ยนเป็นใช้น้ำมันเชื้อเพลิงตามเดิม ถ้าจดต่างจังหวัด(กำลังนิยม) จะขอย้ายมากรุงเทพฯ และมีการแจ้งหาย หรือล้างเล่มทะเบียน ทำให้ไม่เห็นว่ามีการติดตั้งแก๊ส(หลอก) มาก่อน (ต้นฉบับที่ขนส่งยังสามารถตรวจสอบได้)
แต่จะว่าไปรถหรู/ซูเปอร์คาร์ติดแก๊สหลอก มีการเปิดโปงมาได้ 2-3 ปีแล้ว ทำให้ผู้บริหารของกรมการขนส่งทางบก ต้องแจ้งให้หน่วยงานต่างๆ ระมัดระวัง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่เป็นแหล่งของรถจดประกอบ
เหตุนี้ในช่วงหลังๆ ขบวนการรถจดประกอบ จึงเบนไปยังต่างจังหวัดแทน และโดยเฉพาะจังหวัดที่มีเครือข่ายร่วมมือกัน จึงไม่แปลกที่เมื่อหลายปีก่อน จะเห็นซูเปอร์คาร์ติดป้ายทะเบียนลำพูนเต็มไปหมด และปัจจุบันที่เป็นข่าวฮือฮา ย่อมต้องเป็นขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ เป้าหมายของรถหรู 6 คัน ก่อนที่จะเกิดไฟไหม้เสียก่อน จนกลายเป็นข่าวอื้อฉาว และมีการตรวจสอบพบว่า 2 ปีที่ผ่านมา ได้จดทะเบียนรถจดทะเบียน 19 คัน จนขนส่งจังหวัดถูกเด้งเข้ามาช่วยราชการในกรมฯ
เรียกว่า... กระบวนหลบเลี่ยงภาษีและกฎหมายของรถจดประกอบ มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายทางกันเลยทีเดียว
งานนี้ “นายธาริต เพ็งดิษฐ์” อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ถึงกับบอกว่าขบวนการหลบเลี่ยงภาษีของรถจดประกอบ สร้างความเสียหายให้กับรัฐ ปีละไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท!!
เปิดเส้นทางรถหรูจดประกอบ เลี่ยงภาษี-ชาติสูญหมื่นล้าน (จบ)