ช่วงปลายปี 2553 เชฟโรเลตภูมิใจเสนอเก๋งคอมแพกต์รุ่นใหม่ “ครูซ” ที่เข้ามาทำตลาดในฐานะตัวแทน “ออพตร้า” โมเดลโบราณที่ตกรุ่นไปตามอายุขัย
ด้วยรูปลักษณ์สดใหม่ ออกแบบได้โฉบเฉี่ยวทั้งภายนอก-ภายใน แถมยังมีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 แบบ 3 ขนาดคือ เบนซิน 1.6, 1.8 ลิตร และดีเซล 2.0 ลิตร ที่สำคัญยังอัดระบบความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ มาเต็มเหนี่ยว
แม้เทียบสเปกต่างๆ แล้ว ช่วงนั้น “เชฟโรเลต ครูซ” สามารถสู้กับรถคู่แข่งที่เข้าสู่ปลายอายุโมเดลได้สบาย (บางด้านเหนือกว่าด้วยซ้ำ) ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ด โฟกัส,มาสด้า 3, ฮอนด้า ซีวิค และโตโยต้า อัลติส แต่ทว่าหลังทำตลาดไปสองปีกว่ายอดขายกลับไม่หวือหวา โดยสรุปรวมตัวเลขได้ประมาณ 2 หมื่นกว่าคันเท่านั้นเอง
ขณะที่รุ่นใหม่ “ไมเนอร์เชนจ์” เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุดผู้เขียนมีโอกาสได้ลองขับทั้งรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร ที่ปรับให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 และเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตรบล็อกใหม่
...ในส่วนของหน้าตาจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดกับกันชนหน้าและเบ้ารับไฟตัดหมอกที่โดดเด่นกว่าเดิม กันชนหลังมีการเล่นลวดลาย ออกแบบคล้ายๆ มีแผงดิฟฟิวเซอร์อยู่ด้านล่าง (แต่เป็นสีเดียวกับตัวรถ) รวมถึงล้ออัลลอยด์ลาย 5 ก้านใหม่
ทั้งนี้ในรุ่นท็อป LTZ เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ถ้ามองภายนอกก็ไม่เห็นความแตกต่างครับ เพราะเชฟโรเลตไม่ได้ติดสัญลักษณ์ใดๆ บอกไว้ (อย่าง 1.8 หรือ 2.0 VCDi) แต่กระนั้นถ้าละเอียดตรวจสอบจริงๆจะพบว่ารุ่นดีเซล 2.0 LTZ จะใช้ยางหน้ากว้างกว่าคือ 225/50 R17 ขณะที่ 1.8LTZ เป็น 215/50 R17
ภายใน “เชฟโรเลต ครูซ” ยังปรับรายละเอียดของวัสดุการตกแต่ง อย่างการเปลี่ยนพื้นผิวสัมผัสบริเวณคอนโซลกลาง และเปลี่ยนปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ให้เป็นทรงกลม ซึ่งดูดีกว่าเดิมที่เป็นแบบเหลี่ยมไร้อารมณ์ ตลอดจนเลือกใช้สีภายในใหม่ อย่างในรุ่น LTZ ที่เดิมเป็นโทนดำ-แดงกับเบาะหนังและแผงแดชบอร์ด แต่โฉมไมเนอร์เชนจ์จะหันมาใช้สีน้ำตาลเข้ม ก็ดูหรูหราไปอีกแบบครับ
ด้านเครื่องยนต์เบนซินอีโคเทค ขนาด 1.8 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว มาพร้อมระบบวาล์วแปรผันคู่ต่อเนื่อง (Double CVC - Double Continuous Variable Cam Phasing) และระบบท่อร่วมไอดีแปรผัน (VIM - Variable Intake Manifold) ที่จะคอยปรับการทำงานของท่อร่วมไอดีและไอเสียให้สัมพันธ์กันในทุกรอบเครื่องยนต์
อย่างไรก็ตามทีมวิศวกรได้ปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 ไล่ตั้งแต่ ระบบซอฟต์แวร์และกล่องควบคุมอีซียู พร้อมใช้หัวฉีดขนาดใหญ่ขึ้นหวังให้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงมีการไหลเวียนสูงกว่าเดิม รวมถึงการใช้สเตนเลสในบางชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ปรับปรุงวาล์วและบ่าวาล์ว และเปลี่ยนสายเชื้อเพลิงใหม่ให้รองรับการกัดกร่อนของเอทานอล
...จะว่าไปถ้าเป็นพวกฮาร์ดแวร์ หรือชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ที่ทำให้รองรับแก๊สโซฮอล์ อี85 เชฟโรเลตเตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรก (โฉมก่อนไมเนอร์เชนจ์) แต่หลักๆ ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงเป็นเรื่องของสมองกล “อีซียู” ที่ต้องประมวลผลให้ฉลาดและรวดเร็วมากขึ้น ด้วยระดับของเอทานอลที่หลากหลาย ทั้ง เบนซินล้วนๆ แก๊สโซฮอล์ อี10 อี20
แม้ตัวเลขประสิทธิผลที่ได้จะเท่าเดิม หรือให้กำลังสูงสุด141 แรงม้าที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 177 นิวตันเมตรที่ 3,800 รอบต่อนาที แต่การทดสอบ “ครูซ ไมเนอร์เชนจ์” รุ่น 1.8 LTZ ครั้งนี้ เราเติมแก็สโซฮอล์ อี85 ที่ให้ค่าออกเทนทะลุ 100 (น่าจะประมาณ104-105 ) ประกอบกับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดรุ่นใหม่ ที่เชฟโรเลตบอกว่าพัฒนามาเป็นเจเนอเรชันที่สอง จึงส่งผลโดยตรงต่อสมรรถนะการขับขี่ที่เปลี่ยนไป
โดยเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ผสานการทำงานอย่างไหลลื่น เกียร์ส่งกำลังได้แม่นยำและฉับไว ผู้เขียนรู้สึกถึงอัตราเร่งและแรงกระชากที่ดีกว่าเดิม
...ขับสนุกครับ ไม่ว่าจะเร่งจะแซง หรือทางตรงถนนยาว “ครูซ 1.8 LTZ” พาไปได้ฉลุย ขณะเดียวกันการตอบสนองของพวงมาลัยยังแม่นยำและสัมพันธ์กับความเร็วของรถ บวกกับการเซตช่วงล่างที่หนึบแน่น แต่ไม่แข็งกระด้าง ยิ่งทำให้การขับขี่มั่นใจมากขึ้น
นอกจากนี้สำหรับคนที่ชอบสมรรถนะและความประหยัดของเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นบล็อกเดียวกับที่วางใน “แคปติวา” (จริงๆ เชฟโรเลตนำเครื่องยนต์บล็อกนี้มาวางในครูซ โฉมก่อนไมเนอร์เชนจ์ และเริ่มขายไปตั้งแต่ปีที่แล้ว) พอนำมาวางใต้ฝากระโปรงของ “ครูซ” ต้องบอกว่าเป็นความลงตัวอย่างแท้จริง
ผู้เขียนยังจำได้ว่า “ครูซ โฉมเก่า” รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลให้สมรรถนะการขับขี่ไม่น่าประทับใจนัก (ถ้าเทียบกับ โฟกัส ดีเซลในสมัยนั้น) เพราะหลายจังหวะยังต้องรอรอบ หรือออกอาการ Turbo lag อยู่นิดๆ
แต่สำหรับเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลใหม่ขนาด2.0 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 163 แรงม้า (เดิม 150 แรงม้า) ที่ 3,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 360 นิวตันเมตร (เดิม 320 นิวตันเมตร) ที่ 2,000 รอบต่อนาที เรี่ยวแรงดีกว่ารุ่นเดิมมาก
โดยพละกำลังฉุดดึงมีให้ตั้งแต่ 2,000-3,000 รอบ อัตราเร่งมาเนียนๆ ตามแรงกดคันเร่ง จังหวะออกตัวของรถ และการเร่งแซงในย่านความเร็วต่ำก็คล่องแคล่วทันใจ
ขณะที่น้ำหนักพวงมาลัยอาจจะมากกว่ารุ่นเครื่องยนต์เบนซิน เพราะยังใช้ระบบผ่อนแรงแบบไฮดรอลิก (รุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ของครูซจะใช้พวงมาลัยผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า) ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัวของผู้เขียนอยู่แล้วครับ เพราะพวงมาลัยแบบนี้ให้การควบคุมที่เป็นธรรมชาติ พร้อมสั่งงานได้หนึบหนับกระชับมือ
ด้านเสียงของเครื่องยนต์ดีเซลเล็ดลอดเข้ามาในห้องโดยสารน้อยมาก การจอดรถนิ่งๆไม่รู้สึกถึงแรงสั่นอาการสะเทือน เรียกว่าถ้าให้เข้าไปนั่งเฉยๆ ก็แยกไม่ออกว่ารุ่นไหนวางเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล (จอดนิ่งๆมองข้างนอกก็แยกไม่ออกเหมือนกัน)
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ผู้เขียนทำได้ 13 กม./ลิตร (ใช้ความเร็ว 120-140 กม./ชม. และมีช่วงเร่งแซงรถสิบล้อบ่อยครั้ง) ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 LTZ เติมน้ำมันแก๊สโซฮออล์ อี85 ทำได้ 9 กม./ลิตร และคำนวนกลับเป็นค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งได้ประมาณ 2.3 บาทต่อ กม.(คำนวณจากราคาแก๊สโซฮอล์ อี85 ลิตรละ 21.38 บาท)
….อย่างที่เคยนำเสนอบทความไปหลายครั้งและขอย้ำอีกทีว่า การเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 เครื่องยนต์จะเผาผลาญมากกว่าการเติมน้ำมันเบนซิน(ล้วนๆ)อยู่ 30% แต่เมื่อพิจารณาราคาขายปลีกที่ถูกกว่ามาก จึงส่งผลให้การเติมแก๊สโซฮอล์ อี85 จะประหยัดเงินในกระเป๋ากว่าแน่นอน หรือถ้าเทียบกับการเติมแก็สโซฮอล์ อี10 และ อี20 ก็ยังคุ้มค่าและมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งถูกกว่าพอสมควร
รวบรัดตัดความ...ประเด็นหลักของ“ครูซ ไมเนอร์เชนจ์” อยู่ที่การปรับสมรรถนะขุมพลัง ที่คำนึงถึงอัตราบริโภคน้ำมัน และตอบสนองการขับขี่ที่ดีขึ้น โดยรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร จะประหยัดเงินจากราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 แน่ๆ ถ้าคุณหาปั๊มเติมได้ ส่วนตัวดีเซลนั้นด้วยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ก็กินน้ำมันน้อยอยู่แล้ว แถมรุ่นใหม่ยังเร่งแรงขับสนุกมากขึ้น แต่ติดที่ราคาโดดไปถึง 1.248 ล้านบาท ขณะที่รุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร รองรับแก็สโซฮอลล์ อี85 (เสียภาษีสรรพสามิตลดลง 3%) แต่ราคาขายไม่ได้ถูกลงเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม (1.8LTZ ราคา 9.98 แสนบาท) ซึ่งเชฟโรเลตแจ้งว่าเป็นผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ด้วยออปชันทันสมัยหลากหลายที่ใส่เข้ามาในรุ่นไมเนอร์เชนจ์นั่นเอง
ด้วยรูปลักษณ์สดใหม่ ออกแบบได้โฉบเฉี่ยวทั้งภายนอก-ภายใน แถมยังมีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 แบบ 3 ขนาดคือ เบนซิน 1.6, 1.8 ลิตร และดีเซล 2.0 ลิตร ที่สำคัญยังอัดระบบความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ มาเต็มเหนี่ยว
แม้เทียบสเปกต่างๆ แล้ว ช่วงนั้น “เชฟโรเลต ครูซ” สามารถสู้กับรถคู่แข่งที่เข้าสู่ปลายอายุโมเดลได้สบาย (บางด้านเหนือกว่าด้วยซ้ำ) ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ด โฟกัส,มาสด้า 3, ฮอนด้า ซีวิค และโตโยต้า อัลติส แต่ทว่าหลังทำตลาดไปสองปีกว่ายอดขายกลับไม่หวือหวา โดยสรุปรวมตัวเลขได้ประมาณ 2 หมื่นกว่าคันเท่านั้นเอง
ขณะที่รุ่นใหม่ “ไมเนอร์เชนจ์” เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุดผู้เขียนมีโอกาสได้ลองขับทั้งรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร ที่ปรับให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 และเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ลิตรบล็อกใหม่
...ในส่วนของหน้าตาจะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดกับกันชนหน้าและเบ้ารับไฟตัดหมอกที่โดดเด่นกว่าเดิม กันชนหลังมีการเล่นลวดลาย ออกแบบคล้ายๆ มีแผงดิฟฟิวเซอร์อยู่ด้านล่าง (แต่เป็นสีเดียวกับตัวรถ) รวมถึงล้ออัลลอยด์ลาย 5 ก้านใหม่
ทั้งนี้ในรุ่นท็อป LTZ เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ถ้ามองภายนอกก็ไม่เห็นความแตกต่างครับ เพราะเชฟโรเลตไม่ได้ติดสัญลักษณ์ใดๆ บอกไว้ (อย่าง 1.8 หรือ 2.0 VCDi) แต่กระนั้นถ้าละเอียดตรวจสอบจริงๆจะพบว่ารุ่นดีเซล 2.0 LTZ จะใช้ยางหน้ากว้างกว่าคือ 225/50 R17 ขณะที่ 1.8LTZ เป็น 215/50 R17
ภายใน “เชฟโรเลต ครูซ” ยังปรับรายละเอียดของวัสดุการตกแต่ง อย่างการเปลี่ยนพื้นผิวสัมผัสบริเวณคอนโซลกลาง และเปลี่ยนปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ให้เป็นทรงกลม ซึ่งดูดีกว่าเดิมที่เป็นแบบเหลี่ยมไร้อารมณ์ ตลอดจนเลือกใช้สีภายในใหม่ อย่างในรุ่น LTZ ที่เดิมเป็นโทนดำ-แดงกับเบาะหนังและแผงแดชบอร์ด แต่โฉมไมเนอร์เชนจ์จะหันมาใช้สีน้ำตาลเข้ม ก็ดูหรูหราไปอีกแบบครับ
ด้านเครื่องยนต์เบนซินอีโคเทค ขนาด 1.8 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว มาพร้อมระบบวาล์วแปรผันคู่ต่อเนื่อง (Double CVC - Double Continuous Variable Cam Phasing) และระบบท่อร่วมไอดีแปรผัน (VIM - Variable Intake Manifold) ที่จะคอยปรับการทำงานของท่อร่วมไอดีและไอเสียให้สัมพันธ์กันในทุกรอบเครื่องยนต์
อย่างไรก็ตามทีมวิศวกรได้ปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 ไล่ตั้งแต่ ระบบซอฟต์แวร์และกล่องควบคุมอีซียู พร้อมใช้หัวฉีดขนาดใหญ่ขึ้นหวังให้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงมีการไหลเวียนสูงกว่าเดิม รวมถึงการใช้สเตนเลสในบางชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ปรับปรุงวาล์วและบ่าวาล์ว และเปลี่ยนสายเชื้อเพลิงใหม่ให้รองรับการกัดกร่อนของเอทานอล
...จะว่าไปถ้าเป็นพวกฮาร์ดแวร์ หรือชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ที่ทำให้รองรับแก๊สโซฮอล์ อี85 เชฟโรเลตเตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรก (โฉมก่อนไมเนอร์เชนจ์) แต่หลักๆ ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คงเป็นเรื่องของสมองกล “อีซียู” ที่ต้องประมวลผลให้ฉลาดและรวดเร็วมากขึ้น ด้วยระดับของเอทานอลที่หลากหลาย ทั้ง เบนซินล้วนๆ แก๊สโซฮอล์ อี10 อี20
แม้ตัวเลขประสิทธิผลที่ได้จะเท่าเดิม หรือให้กำลังสูงสุด141 แรงม้าที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 177 นิวตันเมตรที่ 3,800 รอบต่อนาที แต่การทดสอบ “ครูซ ไมเนอร์เชนจ์” รุ่น 1.8 LTZ ครั้งนี้ เราเติมแก็สโซฮอล์ อี85 ที่ให้ค่าออกเทนทะลุ 100 (น่าจะประมาณ104-105 ) ประกอบกับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดรุ่นใหม่ ที่เชฟโรเลตบอกว่าพัฒนามาเป็นเจเนอเรชันที่สอง จึงส่งผลโดยตรงต่อสมรรถนะการขับขี่ที่เปลี่ยนไป
โดยเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ผสานการทำงานอย่างไหลลื่น เกียร์ส่งกำลังได้แม่นยำและฉับไว ผู้เขียนรู้สึกถึงอัตราเร่งและแรงกระชากที่ดีกว่าเดิม
...ขับสนุกครับ ไม่ว่าจะเร่งจะแซง หรือทางตรงถนนยาว “ครูซ 1.8 LTZ” พาไปได้ฉลุย ขณะเดียวกันการตอบสนองของพวงมาลัยยังแม่นยำและสัมพันธ์กับความเร็วของรถ บวกกับการเซตช่วงล่างที่หนึบแน่น แต่ไม่แข็งกระด้าง ยิ่งทำให้การขับขี่มั่นใจมากขึ้น
นอกจากนี้สำหรับคนที่ชอบสมรรถนะและความประหยัดของเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นบล็อกเดียวกับที่วางใน “แคปติวา” (จริงๆ เชฟโรเลตนำเครื่องยนต์บล็อกนี้มาวางในครูซ โฉมก่อนไมเนอร์เชนจ์ และเริ่มขายไปตั้งแต่ปีที่แล้ว) พอนำมาวางใต้ฝากระโปรงของ “ครูซ” ต้องบอกว่าเป็นความลงตัวอย่างแท้จริง
ผู้เขียนยังจำได้ว่า “ครูซ โฉมเก่า” รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลให้สมรรถนะการขับขี่ไม่น่าประทับใจนัก (ถ้าเทียบกับ โฟกัส ดีเซลในสมัยนั้น) เพราะหลายจังหวะยังต้องรอรอบ หรือออกอาการ Turbo lag อยู่นิดๆ
แต่สำหรับเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลใหม่ขนาด2.0 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 163 แรงม้า (เดิม 150 แรงม้า) ที่ 3,800 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 360 นิวตันเมตร (เดิม 320 นิวตันเมตร) ที่ 2,000 รอบต่อนาที เรี่ยวแรงดีกว่ารุ่นเดิมมาก
โดยพละกำลังฉุดดึงมีให้ตั้งแต่ 2,000-3,000 รอบ อัตราเร่งมาเนียนๆ ตามแรงกดคันเร่ง จังหวะออกตัวของรถ และการเร่งแซงในย่านความเร็วต่ำก็คล่องแคล่วทันใจ
ขณะที่น้ำหนักพวงมาลัยอาจจะมากกว่ารุ่นเครื่องยนต์เบนซิน เพราะยังใช้ระบบผ่อนแรงแบบไฮดรอลิก (รุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ของครูซจะใช้พวงมาลัยผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า) ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัวของผู้เขียนอยู่แล้วครับ เพราะพวงมาลัยแบบนี้ให้การควบคุมที่เป็นธรรมชาติ พร้อมสั่งงานได้หนึบหนับกระชับมือ
ด้านเสียงของเครื่องยนต์ดีเซลเล็ดลอดเข้ามาในห้องโดยสารน้อยมาก การจอดรถนิ่งๆไม่รู้สึกถึงแรงสั่นอาการสะเทือน เรียกว่าถ้าให้เข้าไปนั่งเฉยๆ ก็แยกไม่ออกว่ารุ่นไหนวางเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล (จอดนิ่งๆมองข้างนอกก็แยกไม่ออกเหมือนกัน)
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ผู้เขียนทำได้ 13 กม./ลิตร (ใช้ความเร็ว 120-140 กม./ชม. และมีช่วงเร่งแซงรถสิบล้อบ่อยครั้ง) ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 LTZ เติมน้ำมันแก๊สโซฮออล์ อี85 ทำได้ 9 กม./ลิตร และคำนวนกลับเป็นค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งได้ประมาณ 2.3 บาทต่อ กม.(คำนวณจากราคาแก๊สโซฮอล์ อี85 ลิตรละ 21.38 บาท)
….อย่างที่เคยนำเสนอบทความไปหลายครั้งและขอย้ำอีกทีว่า การเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 เครื่องยนต์จะเผาผลาญมากกว่าการเติมน้ำมันเบนซิน(ล้วนๆ)อยู่ 30% แต่เมื่อพิจารณาราคาขายปลีกที่ถูกกว่ามาก จึงส่งผลให้การเติมแก๊สโซฮอล์ อี85 จะประหยัดเงินในกระเป๋ากว่าแน่นอน หรือถ้าเทียบกับการเติมแก็สโซฮอล์ อี10 และ อี20 ก็ยังคุ้มค่าและมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งถูกกว่าพอสมควร
รวบรัดตัดความ...ประเด็นหลักของ“ครูซ ไมเนอร์เชนจ์” อยู่ที่การปรับสมรรถนะขุมพลัง ที่คำนึงถึงอัตราบริโภคน้ำมัน และตอบสนองการขับขี่ที่ดีขึ้น โดยรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ลิตร จะประหยัดเงินจากราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี85 แน่ๆ ถ้าคุณหาปั๊มเติมได้ ส่วนตัวดีเซลนั้นด้วยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ก็กินน้ำมันน้อยอยู่แล้ว แถมรุ่นใหม่ยังเร่งแรงขับสนุกมากขึ้น แต่ติดที่ราคาโดดไปถึง 1.248 ล้านบาท ขณะที่รุ่นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร รองรับแก็สโซฮอลล์ อี85 (เสียภาษีสรรพสามิตลดลง 3%) แต่ราคาขายไม่ได้ถูกลงเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม (1.8LTZ ราคา 9.98 แสนบาท) ซึ่งเชฟโรเลตแจ้งว่าเป็นผลจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ด้วยออปชันทันสมัยหลากหลายที่ใส่เข้ามาในรุ่นไมเนอร์เชนจ์นั่นเอง