น้องใหม่ “ซูซูกิ เออร์ติกา” (Suzuki Ertiga) เป็น“มินิเอ็มพีวี”ที่นำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับเอ็มพีวีหลายรุ่นที่ทำตลาดในไทยไล่ตั้งแต่ โตโยต้า อแวนซา-อินโนวา,ฮอนด้า ฟรีด และเชฟโรเลต สปิน
อย่างที่ทราบกันครับ คนอินโดนีเซียนิยมรถอเนกประสงค์แบบ เอ็มพีวี(MPV- Multi Purpose Vehicles) หรือรถระดับ “มินิแวน” ดังนั้น หลายค่ายรถยนต์จึงยึดดินแดนแห่งนี้เป็นฐานการผลิต ด้วยขนาดของตลาดพร้อมความคุ้มค่าในการลงทุนต่อหน่วยการผลิต
...ที่ผ่านมาการทำตลาดรถอเนกประสงค์แบบ“เอ็มพีวี”ในไทยค่อนข้าง“มึนๆ งงๆ” มีทั้งประสบความสำเร็จ (เชฟโรเลต ซาฟิร่า)และก็มีแป๊กกลับไป (ฮอนด้า สตรีม) หรือจำต้องเปลี่ยนแผนปรับกลยุทธ์บ้างเหมือนกัน (โตโยต้า อแวนซาเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก 1.3 ลิตร ไปเป็น 1.5 ลิตร)
แม้คนไทยจะถูกบิดความต้องการให้หันไปหารถแบบ “พีพีวี” คันโต หรือรถอเนกประสงค์ที่พัฒนาบนพื้นฐานปิกอัพ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการรถแบบ “เอ็มพีวี” ยังมีอยู่มาก เพียงแต่ที่ผ่านมา ความโดดเด่นของตัวโปรดักต์ และการทำตลาดยังไม่ชัด เช่นเดียวกับราคาที่บางครั้งก็มาแบบโหดไปนิด หรือให้ความคุ้มค่าน้อยเมื่อเทียบกับรถประเภทอื่นๆ
….มาถึงยุคนี้ไม่มีใครหลอกใครได้แล้วครับ ดังนั้น ถ้าโปรดักต์ไม่ดีจริงและแบรนด์ไม่แข็งพอ ขายยาก!
สำหรับ“ซูซูกิ เออร์ติกา” เน้นจับกลุ่มครอบครัวสมัยใหม่ ที่ต้องการใช้รถในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว ขณะที่วันหยุดสุดสัปดาห์ก็สามารถขนสมาชิกพร้อมสัมภาระ เดินทางไปพักผ่อนได้สบาย
ทั้งนี้ “ซูซูกิ เออร์ติกา” นำแพลตฟอร์มของ“ซูซูกิ สวิฟท์” มาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ได้ความยาวมากขึ้น รองรับความอเนกประสงค์ และเบาะแบบ 3 แถว 7 ที่นั่ง
โดยมิติตัวถังยาว 4,265 มม. กว้าง 1,695 มม. สูง 1,685 มม. ระยะฐานล้อ 2,740 มม. เหนือกว่า“โตโยต้า อแวนซา” เกือบทุกมิติ ยกเว้นความสูง และถ้าเทียบกับ “ฮอนด้า ฟรีด” แม้ตัวถังจะยาวกว่านิดหน่อย แต่ถ้าวัดที่ระยะฐานล้อจะเท่ากันพอดี (เออร์ติกา กับ ฟรีด ระยะฐานล้อยาวที่สุดในคลาส)
การเข้า-ออกภายในห้องโดยสารทำได้สะดวก ระยะต่ำสุดจากพื้นเพียง 185 มม.หรือเท่ากับอแวนซา แต่สูงกว่าฟรีดเล็กน้อย(ฟรีด 165 มม.) โดยตำแหน่งคนขับและผู้โดยสารแถวสองไม่มีปัญหา การขึ้นลงสบาย ส่วนเบาะนั่งแถวสามอาจจะต้องมุดตัวเข้าสักนิด
“ซูซูกิ เออร์ติกา” มีระบบเลื่อนเบาะแบบวันทัช คืองัดคันโยกที่ฝังอยู่ตรงพนักพิงเบาะนั่งแถวสองขึ้น ตัวพนักพิงจะพับลงทันที แต่จากนั้นเราต้องใช้แรงเลื่อนให้เบาะขยับไปข้างหน้าด้วยตนเอง
ส่วนความสามารถในการรองรับคนได้ถึง 7 ที่นั่ง ผู้เขียนมองว่าทำได้จริงแต่คงเบียดกันมาก เพราะพื้นที่ของเบาะนั่งแถว 3 นั้นแคบน่าจะเหมาะสำหรับเด็กน้อย (ผู้หญิงตัวเล็กยังนั่งลำบาก) หรือถ้าจะนั่งกันครบ 7 คนจริงๆ ผู้โดยสารแถวแรกและแถวสองต้องช่วยเลื่อนเบาะไปข้างหน้าอีกนิด สละความสบายส่วนตัวอีกคนละหน่อย
…เอาเป็นว่าถ้าเดินทางจริงนั่ง 4 - 5 คน(รวมขนขับ)กำลังดี และพับเบาะนั่งแถวสาม เอาไว้ขนของจะดีกว่าครับ
“ซูซูกิ เออร์ติกา” ยังเอาใจคนเมืองร้อนด้วยช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง โดยฝังเป็นแนวยาวเท่ากับความกว้างเพดานรถ แถมมีปุ่มปรับแรงลม 3 ระดับ ซึ่งจากการทดสอบ เส้นทางกรุงเทพ-พัทยา รถไม่ได้ติดฟิล์มกรองแสง ระบบแอร์ของเออร์ติกา ให้พลังลมแรง-ฉ่ำเร็ว รับรู้ได้ทุกที่นั่ง (ประมาณว่าถ้าเปิดพัดลมแอร์ระดับสูงสุดก็มีหนาวขั้วโลกเหนือกันเลยทีเดียว)
ด้านการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร อยู่ในระดับต้นๆของคลาส หรือเหนือกว่าผู้มาก่อนอย่างโตโยต้า อแวนซา ส่วนเบาะนั่งคู่หน้าขนาดใหญ่ รองนั่งเต็มก้นเต็มขา พนักพิงค่อนข้างนุ่ม ปรับระดับโดยใช้มือโยก ส่วนเบาะนั่งแถวสองออกแบบมาเผื่อการพับอเนกประสงค์แบบ 60:40 ยังนั่งสบายพอสมควร
การรองรับของช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม เซ็ทมานุ่มนวล อย่างทริปทดสอบนี้นั่งกันไป 4 คน ยังออกอาการยวบย้อยเมื่อใช้ความเร็วสูง ช่วงขึ้นลงคอสะพานนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลังจะรับรู้อาการได้ชัด
แต่ถ้าขับแบบเรื่อยๆผู้เขียนว่า “เออร์ติกา” ซับแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ไร้อาการสะท้านเด้ง ส่วนการบังคับควบคุมผ่านพวงมาลัยแร็คแอนด์พิเนียน ผ่อนแรงดีน้ำหนักกำลังพอเหมาะ ส่วนการสั่งงานซ้ายขวามีระยะฟรีอยู่พอสมควร ซึ่งไม่ถือเป็นข้อด้อยของรถประเภทนี้
ขณะที่ขุมพลัง“ซูซูกิ เออร์ติกา”(ขับเคลื่อนล้อหน้า)ตั้งใจคบหาเครื่องยนต์แค่ 1.4 ลิตร ต่างจากคู่แข่งเจ้าหลักที่วางบล็อก 1.5 ลิตรกันทั้งหมด
โดย “โทชิคัทสึ ฮิบิ” หัวหน้าวิศวกร ซึ่งเป็นตัวแทนของ ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น บอกถึงเหตุผลที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร หรือบล็อกเดิมที่เคยวางอยู่ในสวิฟท์รุ่นก่อนว่า เครื่องยนต์ 1.4 ลิตรใหม่นี้พัฒนามาทีหลังและทันสมัยกว่า ดังนั้นสมรรถนะจึงเทียบเคียงได้กับรุ่น 1.5 แถมประหยัดน้ำมันกว่าอีกด้วย
เครื่องยนต์รหัส K14B ขนาด 1.4 ลิตร หรือปริมาตรกระบอกสูบ1373 ซีซี 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วไอดีแปรผัน VVT ให้กำลังสูงสุด 95 แรงม้า (PS)ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 130 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และอัตโนมัติ 4 สปีด รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20
ในทริปทดสอบนี้นั่งกันไป 4 คน (รวมคนขับ) การออกตัวทำได้ดี แต่ถ้าเลยจังหวะนี้ไปแล้ว พละกำลังการตอบสนองค่อนข้างช้า จากความเร็ว 60 กม./ชม. จะเพิ่มขึ้นไปถึง 120-140 กม./ชม. ต้องมีเข่นคันเร่งและรอเวลาสักพัก แต่กระนั้น “เออร์ติกา เครื่องยนต์ 1.4” ก็ไม่ถึงกับอืดจนน่าเกลียด หรือถ้าเทียบกับ“อแวนซา” และ“ฟรีด” ที่วางเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ความกระฉับกระเฉงก็แทบไม่ต่างกันครับ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน ขับทางไกลใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. เป็นหลัก หน้าจออัจฉริยะแสดงตัวเลขไว้ 14.8 กม./ลิตร
สำหรับ “ซูซูกิ เออร์ติกา” มีขายใน 3 ประเทศคือ อินโดนีเซีย อินเดีย และไทย ซึ่งในไทยแบ่งการทำตลาดเป็น 3 รุ่นย่อย คือ GA เกียร์ธรรมดา ราคา 554,000 บาท และ GL เกียร์อัตโนมัติ ราคา 639,000 บาท และ GX เกียร์อัตโนมัติ ราคา 689,000 บาท
รวบรัดตัดความ...จากความรู้สึกในการขับขี่จริง เครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.4 ลิตร 95 แรงม้า ไม่ได้เป็นจุดด้อยถ้าเทียบกับเรี่ยวแรงของคู่แข่งที่วาง 1.5 ลิตร (ไม่ได้นับโปรตอน เอ็กซ์โซลา) ตีนต้นดี ย่านความเร็วกลางไม่เด่น แต่ความเร็วปลายถ้าขับความเร็วเกิน 120 กม./ชม.แล้วก็ลอยลมไปได้เรื่อยๆ ขณะที่ช่วงล่างยังเป็นจุดเด่น เน้นความนุ่มสบายไร้อาการกระด้าง ส่วนการทรงตัวดีพอสมควรตามโครงสร้างของรถประเภทนี้ ด้านความอเนกประสงค์และออปชันสมกับราคา เหมาะกับครอบครัวที่เน้นความคุ้มค่าซื้อหาไม่ลำบาก หรือใช้เป็นรถคันแรกและคันเดียวของบ้านได้เลย
อย่างที่ทราบกันครับ คนอินโดนีเซียนิยมรถอเนกประสงค์แบบ เอ็มพีวี(MPV- Multi Purpose Vehicles) หรือรถระดับ “มินิแวน” ดังนั้น หลายค่ายรถยนต์จึงยึดดินแดนแห่งนี้เป็นฐานการผลิต ด้วยขนาดของตลาดพร้อมความคุ้มค่าในการลงทุนต่อหน่วยการผลิต
...ที่ผ่านมาการทำตลาดรถอเนกประสงค์แบบ“เอ็มพีวี”ในไทยค่อนข้าง“มึนๆ งงๆ” มีทั้งประสบความสำเร็จ (เชฟโรเลต ซาฟิร่า)และก็มีแป๊กกลับไป (ฮอนด้า สตรีม) หรือจำต้องเปลี่ยนแผนปรับกลยุทธ์บ้างเหมือนกัน (โตโยต้า อแวนซาเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก 1.3 ลิตร ไปเป็น 1.5 ลิตร)
แม้คนไทยจะถูกบิดความต้องการให้หันไปหารถแบบ “พีพีวี” คันโต หรือรถอเนกประสงค์ที่พัฒนาบนพื้นฐานปิกอัพ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการรถแบบ “เอ็มพีวี” ยังมีอยู่มาก เพียงแต่ที่ผ่านมา ความโดดเด่นของตัวโปรดักต์ และการทำตลาดยังไม่ชัด เช่นเดียวกับราคาที่บางครั้งก็มาแบบโหดไปนิด หรือให้ความคุ้มค่าน้อยเมื่อเทียบกับรถประเภทอื่นๆ
….มาถึงยุคนี้ไม่มีใครหลอกใครได้แล้วครับ ดังนั้น ถ้าโปรดักต์ไม่ดีจริงและแบรนด์ไม่แข็งพอ ขายยาก!
สำหรับ“ซูซูกิ เออร์ติกา” เน้นจับกลุ่มครอบครัวสมัยใหม่ ที่ต้องการใช้รถในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว ขณะที่วันหยุดสุดสัปดาห์ก็สามารถขนสมาชิกพร้อมสัมภาระ เดินทางไปพักผ่อนได้สบาย
ทั้งนี้ “ซูซูกิ เออร์ติกา” นำแพลตฟอร์มของ“ซูซูกิ สวิฟท์” มาพัฒนาต่อยอด เพื่อให้ได้ความยาวมากขึ้น รองรับความอเนกประสงค์ และเบาะแบบ 3 แถว 7 ที่นั่ง
โดยมิติตัวถังยาว 4,265 มม. กว้าง 1,695 มม. สูง 1,685 มม. ระยะฐานล้อ 2,740 มม. เหนือกว่า“โตโยต้า อแวนซา” เกือบทุกมิติ ยกเว้นความสูง และถ้าเทียบกับ “ฮอนด้า ฟรีด” แม้ตัวถังจะยาวกว่านิดหน่อย แต่ถ้าวัดที่ระยะฐานล้อจะเท่ากันพอดี (เออร์ติกา กับ ฟรีด ระยะฐานล้อยาวที่สุดในคลาส)
การเข้า-ออกภายในห้องโดยสารทำได้สะดวก ระยะต่ำสุดจากพื้นเพียง 185 มม.หรือเท่ากับอแวนซา แต่สูงกว่าฟรีดเล็กน้อย(ฟรีด 165 มม.) โดยตำแหน่งคนขับและผู้โดยสารแถวสองไม่มีปัญหา การขึ้นลงสบาย ส่วนเบาะนั่งแถวสามอาจจะต้องมุดตัวเข้าสักนิด
“ซูซูกิ เออร์ติกา” มีระบบเลื่อนเบาะแบบวันทัช คืองัดคันโยกที่ฝังอยู่ตรงพนักพิงเบาะนั่งแถวสองขึ้น ตัวพนักพิงจะพับลงทันที แต่จากนั้นเราต้องใช้แรงเลื่อนให้เบาะขยับไปข้างหน้าด้วยตนเอง
ส่วนความสามารถในการรองรับคนได้ถึง 7 ที่นั่ง ผู้เขียนมองว่าทำได้จริงแต่คงเบียดกันมาก เพราะพื้นที่ของเบาะนั่งแถว 3 นั้นแคบน่าจะเหมาะสำหรับเด็กน้อย (ผู้หญิงตัวเล็กยังนั่งลำบาก) หรือถ้าจะนั่งกันครบ 7 คนจริงๆ ผู้โดยสารแถวแรกและแถวสองต้องช่วยเลื่อนเบาะไปข้างหน้าอีกนิด สละความสบายส่วนตัวอีกคนละหน่อย
…เอาเป็นว่าถ้าเดินทางจริงนั่ง 4 - 5 คน(รวมขนขับ)กำลังดี และพับเบาะนั่งแถวสาม เอาไว้ขนของจะดีกว่าครับ
“ซูซูกิ เออร์ติกา” ยังเอาใจคนเมืองร้อนด้วยช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง โดยฝังเป็นแนวยาวเท่ากับความกว้างเพดานรถ แถมมีปุ่มปรับแรงลม 3 ระดับ ซึ่งจากการทดสอบ เส้นทางกรุงเทพ-พัทยา รถไม่ได้ติดฟิล์มกรองแสง ระบบแอร์ของเออร์ติกา ให้พลังลมแรง-ฉ่ำเร็ว รับรู้ได้ทุกที่นั่ง (ประมาณว่าถ้าเปิดพัดลมแอร์ระดับสูงสุดก็มีหนาวขั้วโลกเหนือกันเลยทีเดียว)
ด้านการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร อยู่ในระดับต้นๆของคลาส หรือเหนือกว่าผู้มาก่อนอย่างโตโยต้า อแวนซา ส่วนเบาะนั่งคู่หน้าขนาดใหญ่ รองนั่งเต็มก้นเต็มขา พนักพิงค่อนข้างนุ่ม ปรับระดับโดยใช้มือโยก ส่วนเบาะนั่งแถวสองออกแบบมาเผื่อการพับอเนกประสงค์แบบ 60:40 ยังนั่งสบายพอสมควร
การรองรับของช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม เซ็ทมานุ่มนวล อย่างทริปทดสอบนี้นั่งกันไป 4 คน ยังออกอาการยวบย้อยเมื่อใช้ความเร็วสูง ช่วงขึ้นลงคอสะพานนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลังจะรับรู้อาการได้ชัด
แต่ถ้าขับแบบเรื่อยๆผู้เขียนว่า “เออร์ติกา” ซับแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ไร้อาการสะท้านเด้ง ส่วนการบังคับควบคุมผ่านพวงมาลัยแร็คแอนด์พิเนียน ผ่อนแรงดีน้ำหนักกำลังพอเหมาะ ส่วนการสั่งงานซ้ายขวามีระยะฟรีอยู่พอสมควร ซึ่งไม่ถือเป็นข้อด้อยของรถประเภทนี้
ขณะที่ขุมพลัง“ซูซูกิ เออร์ติกา”(ขับเคลื่อนล้อหน้า)ตั้งใจคบหาเครื่องยนต์แค่ 1.4 ลิตร ต่างจากคู่แข่งเจ้าหลักที่วางบล็อก 1.5 ลิตรกันทั้งหมด
โดย “โทชิคัทสึ ฮิบิ” หัวหน้าวิศวกร ซึ่งเป็นตัวแทนของ ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น บอกถึงเหตุผลที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ขนาด 1.5 ลิตร หรือบล็อกเดิมที่เคยวางอยู่ในสวิฟท์รุ่นก่อนว่า เครื่องยนต์ 1.4 ลิตรใหม่นี้พัฒนามาทีหลังและทันสมัยกว่า ดังนั้นสมรรถนะจึงเทียบเคียงได้กับรุ่น 1.5 แถมประหยัดน้ำมันกว่าอีกด้วย
เครื่องยนต์รหัส K14B ขนาด 1.4 ลิตร หรือปริมาตรกระบอกสูบ1373 ซีซี 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วไอดีแปรผัน VVT ให้กำลังสูงสุด 95 แรงม้า (PS)ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 130 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และอัตโนมัติ 4 สปีด รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20
ในทริปทดสอบนี้นั่งกันไป 4 คน (รวมคนขับ) การออกตัวทำได้ดี แต่ถ้าเลยจังหวะนี้ไปแล้ว พละกำลังการตอบสนองค่อนข้างช้า จากความเร็ว 60 กม./ชม. จะเพิ่มขึ้นไปถึง 120-140 กม./ชม. ต้องมีเข่นคันเร่งและรอเวลาสักพัก แต่กระนั้น “เออร์ติกา เครื่องยนต์ 1.4” ก็ไม่ถึงกับอืดจนน่าเกลียด หรือถ้าเทียบกับ“อแวนซา” และ“ฟรีด” ที่วางเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ความกระฉับกระเฉงก็แทบไม่ต่างกันครับ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน ขับทางไกลใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. เป็นหลัก หน้าจออัจฉริยะแสดงตัวเลขไว้ 14.8 กม./ลิตร
สำหรับ “ซูซูกิ เออร์ติกา” มีขายใน 3 ประเทศคือ อินโดนีเซีย อินเดีย และไทย ซึ่งในไทยแบ่งการทำตลาดเป็น 3 รุ่นย่อย คือ GA เกียร์ธรรมดา ราคา 554,000 บาท และ GL เกียร์อัตโนมัติ ราคา 639,000 บาท และ GX เกียร์อัตโนมัติ ราคา 689,000 บาท
รวบรัดตัดความ...จากความรู้สึกในการขับขี่จริง เครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.4 ลิตร 95 แรงม้า ไม่ได้เป็นจุดด้อยถ้าเทียบกับเรี่ยวแรงของคู่แข่งที่วาง 1.5 ลิตร (ไม่ได้นับโปรตอน เอ็กซ์โซลา) ตีนต้นดี ย่านความเร็วกลางไม่เด่น แต่ความเร็วปลายถ้าขับความเร็วเกิน 120 กม./ชม.แล้วก็ลอยลมไปได้เรื่อยๆ ขณะที่ช่วงล่างยังเป็นจุดเด่น เน้นความนุ่มสบายไร้อาการกระด้าง ส่วนการทรงตัวดีพอสมควรตามโครงสร้างของรถประเภทนี้ ด้านความอเนกประสงค์และออปชันสมกับราคา เหมาะกับครอบครัวที่เน้นความคุ้มค่าซื้อหาไม่ลำบาก หรือใช้เป็นรถคันแรกและคันเดียวของบ้านได้เลย