กระหน่ำหนักเสริมทัพเป็นระลอก สำหรับรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆของนิสสัน ไล่เรียงตั้งแต่อีโคคาร์ “มาร์ช-อัลเมร่า” ล่าสุดคอมแพกต์ซีดาน“ซิลฟี” และต้นปีหน้ายังมีคอมแพกต์แฮทช์แบ็กใหม่ที่ไม่น่าจะใช้ชื่อรุ่นว่า“ทีด้า”มาทำตลาดอีกหนึ่งรุ่น
...เรียกว่าทยอยเปิดตัวกันทุกปี พร้อมลบลืมอดีตอันเจ็บช้ำกับเก๋งทีด้าไว้เบื้องหลัง แล้วมุ่งหน้าต่อกับไลน์อัพโปรดักต์ใหม่ๆ ซึ่งมีตำแหน่งการทำตลาดที่ชัดเจนมากขึ้น
ที่สำคัญหลังจากผู้เขียนได้พูดคุยกับ“ทาคายูกิ คิมูระ”ประธาน นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ในทริปทดสอบนิสสัน ซิลฟีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ประธานหนุ่มไฟแรงคนนี้เข้าใจในทิศทางและความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยพอสมควร กล่าวคือนิสสันมีโปรดักต์ดีๆเทคโนโลยีเด่นๆมากมาย ดังนั้นการจะแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่รุ่นใดรุ่นหนึ่งเข้าสู่ตลาดไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ขอเวลาศึกษาพัฒนาและอยากให้แน่ชัดว่ามีปริมาณความต้องการที่มากพอแก่การลงทุนเท่านั้น
อย่างแผนรถยนต์นั่งนั้นลอยตัวไปแล้ว และแม้จะไม่มีซับคอมแพกต์ (เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร) สู้กับคู่แข่งโดยตรง แต่“คิมูระซัง”เชื่อว่าโปรดักต์ที่มีอยู่ในมือสามารถรองรับทุกความต้องการในกลุ่มเก๋งเล็กไปจนถึงเก๋งกลางได้สบาย หากแต่จากนี้ไปจะต้องเพิ่มเติมความเข้มข้นในรถประเภทเอสยูวี รวมถึงเสริมรถติดก๊าซซีเอ็นจีในซิลฟี 1.6 และปิกอัพนาวารา ขณะที่พีพีวีก็อยากทำแต่ต้องรอปิกอัพโมเดลใหม่ (เปิดตัวอย่างเร็วปี 2014) ส่วนความอเนกประสงค์แบบ“เอ็มพีวี”นั้นยังปิดประตูตายอยู่ แต่แอบแย้มว่าถ้าตลาดใหญ่กว่านี้ การนำรถจากอินโดนีเซียเข้ามาขายในไทยก็ง่ายนิดเดียว
...ตามดูกันครับว่าหลังการผ่าตัดใหญ่ และได้มือดีที่เข้าใจโลกอย่าง“ทาคายูกิ คิมูระ”มาบริหารธุรกิจ นิสสันในไทยจะกลับมารุ่งเรื่องขนาดไหน?
กลับมาที่เรื่องของกลุ่มรถยนต์นั่งที่ตอนนี้กลายเป็นเส้นเลือดหลักของ นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ซึ่ง“มาร์ช” และ“อัลเมร่า” นั้นติดลมบนและไม่ต้องไปกังวลมาก แต่กับ “ซิลฟี ใหม่” ที่จะเข้ามาท้าชนกับโตโยต้า อัลติส, ฮอนด้า ซีวิค,ฟอร์ด โฟกัส, มาสด้า3 และเชฟโรเลต ครูซ มีดีขนาดไหน? แล้วคุ้มค่าน่าซื้อหามาใช้หรือไม่?
โดยความโดดเด่นของซิลฟีต้องยกให้การนำหลอดไฟ LED มาแต้มแต่งทั้ง ไฟหรี่ด้านหน้า ชุดไฟท้าย ไฟเบรคดวงที่สาม ส่วนไฟเลี้ยวบริเวณกระจกมองข้างจะมีในรุ่น1.6E 1.6V1.8V 1.8V Navi ตลอดจนตัวถังยาวใหญ่ดูจะเป็นเก๋งคอมแพกต์ที่มิติเกือบจะขึ้นไปเทียบเคียงกับเก๋งขนาดกลางได้เลย ดังนั้นถ้าวัดกับพวกคู่แข่งระดับเดียวกันแล้ว ซิลฟีจึงมีความสูง-ยาว-ระยะฐานล้อมากที่สุด หรือ 1,495 4,615 และ2,700 มม. ตามลำดับ ส่วนความกว้างนั้นยังเป็นรองโฟกัสกับครูซอยู่นิดๆ
ด้วยมิติดังกล่าวบวกกับโครงสร้างกันสะเทือนหลังแบบคานหรือทอร์ชันบีม (เสริมเหล็กกันโคลง)ไม่กินพื้นที่เหมือนกับพวกอิสระแบบมัลติลิงค์ จึงสะท้อนความดีความชอบมาภายในห้องโดยสารเต็มๆ โดยเฉพาะด้านหลังที่กว้างขวางนั่งสบายที่สุดในคลาส ทั้งเบาะใหญ่หนา พนักพิงหลังเอนองศาไปด้านหลังมาก ระยะเฮดรูม เลกรูมยังเหลือเฟือ แถมเย็นช่ำกับช่องแอร์หลังซึ่งซิลฟีถือเป็นเก๋งคอมแพกต์รุ่นเดียวที่มีมาให้ (เดิมโฟกัสรุ่นเก่าก็มี) ขณะเดียวกันที่เก็บสัมภาระด้านท้ายยังจุถึง 510 ลิตร มากกว่ารุ่นพี่อย่างเทียน่าที่จุ 506 ลิตร
ด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก-ปลอดภัยมาเต็มในรุ่น V ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยมัลติฟังก์ชันสามารถปรับระดับได้ 4 ทิศทาง แอร์อัตโนมัติพร้อมแยกปรับอุณหภูมิซ้าย -ขวา ส่วนเครื่องเสียงเล่น CD MP3 ได้ 1 แผ่น พร้อมช่อง AUX USB ระบบเชื่อมต่อบลูทูธ ขับพลังเสียงด้วยลำโพง 6 ตัว และกล้องมองหลังที่แสดงผลผ่านหน้าจอขนาด 4.3นิ้ว ส่วนรุ่นท็อป V Navi จะให้เป็นหน้าจอ 5.8นิ้ว ตลอดจนกุญแจอัจริยะ Keyless เข้า-ออกห้องโดยสาร สตาร์ท-ดับเครื่องยนต์โดยไม่ง้อกุญแจ
ส่วนมาตรฐานที่ให้เหมือนกันทุกรุ่นคือถุงลมนิรภัยคู่หน้า ส่วนระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบเสริมแรงเบรก BA จะเริ่มใส่ในรุ่น 1.6 E (ราคา 7.99 แสนบาท)ขึ้นไป
ทั้งนี้เมื่อดูจากออปชันต่างๆแล้วนิสสันจะเน้นไปที่มูลค่าความสวยและความสะดวกสบายที่ได้เห็นหรือใช้งานบ่อยไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ LED ช่องแอร์ด้านหลัง กุญแจอัจริยะ และเมินระบบความปลอดภัยอย่าง เทรคชันคอนโทรล และระบบควบคุมการทรงตัว หรือครูสคอนโทรล ซึ่งต่างจากค่ายรถอเมริกาที่มักจะเน้นมาตรฐานความปลอดภัยตรงนี้มากกว่า
ในส่วนของการทดสอบผู้เขียนได้รุ่น 1.8V (ราคา 8.99 แสนบาท)เป็นพาหนะ โดยนิสสันหันมาคบกับเครื่องยนต์ MRA8DE แทนที่จะเป็น HR18DE ที่ประจำการในทีด้า ซึ่งนิสสันคงจะพิจารณาเรื่องความเหมาะสมของประสิทธิผลที่ได้รับและมาตรฐานการปล่อยไอเสียเป็นหลัก
โดยเครื่องยนต์ 4 สูบ 16 วาล์ว ขนาด 1,798 ซีซี พร้อมระบบวาล์วแปรผันคู่ Twin C-VTC (ไอดี-ไอเสียแปรผัน) ให้กำลังสูงสุด 131 แรงม้า (ทีด้า 126 แรงม้า)ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 174 นิวตัน-เมตรที่ 3,600รอบต่อนาที ซึ่งเจ้าหน้าที่นิสสันแจ้งว่าประหยัดน้ำมันกว่าทีด้า1.8 ถึง 12%
การขับขี่จริงเมื่อมาประกบกับเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง หรือ XTRONIC CVT ทำให้บุคลิกของซิลฟีไม่จี๊ดจ๊าดไปโดยปริยาย ภาพรวมสัมผัสได้ถึงความเนิบนุ่มของการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ลงสู่ล้อหน้า แม้จะว่าไปการออกตัวไม่อืด แต่ถ้าต้องการเร่งแซงแบบกระชั้นชิดในย่านความเร็วปานกลาง คงต้องรอให้รอบดีดสูงเกิน 4,000 สักหนึ่งวินาทีจากนั้นถึงจะรับรู้ถึงแรงกระทำ
อย่างไรก็ตามถ้าขับความเร็วสูงเกิน 100-120 กม./ชม.ไปแล้ว ตัวรถก็ลอยลมเร่งแรงแซงฉลุยใช้ได้ ขณะเดียวกันซิลฟียังมีโหมดรีบร้อนคือผู้ขับสามารถกดปุ่มพิเศษที่หัวเกียร์ โดยระบบจะเลือกอัตราทดที่จัดขึ้นหรือให้รอบอยู่ในระดับ 3,000-4,000 เพื่อรอการตอบสนองที่ทันใจ
ทั้งนี้ในการขับแบบปกติทั่วไป ไม่บี้ไม่เข่นคันเร่งโดยไม่จำเป็น การทำงานของระบบเกียร์ CVT ยังช่วยให้รอบเครื่องยนต์จะไม่สวิงขึ้นลงมาก เช่นเดียวกับการขับความเร็ว 120 กม./ชม.นิ่งๆ ผู้เขียนสังเกตเห็นรอบอยู่เพียง 2,000 รอบ ดังนั้นจึงเชื่อใจเรื่องความประหยัดน้ำมันได้พอสมควร
ด้านพวงมาลัยแรคแอนด์พิเนียนแบบผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า ยังเบามือตามสไตล์นิสสัน ส่วนการบังคับควบคุมไม่ถึงกับเนี้ยบมากนัก หลายครั้งเหมือนจะดีแต่บางจังหวะเหมือนจะเกินๆ เช่นเดียวกับการขับความเร็วสูงก็น่าจะหน่วงมือขึ้นมาอีกสักนิดเพื่อความมั่นใจ
ส่วนช่วงล่างและการเก็บเสียงที่นิสสันภูมิใจนำเสนอว่า นิ่งเงียบและสุนทรีย์ผู้เขียนก็เห็นจริงระดับหนึ่งครับ โดยโครงสร้างการรองรับนั้นลงตัวกว่า “ทีด้า ลาติโอ้” หรือ “ทีด้า แฮทช์แบ็ก”หลายขุม อย่างรายแรกนั้นออกแข็งๆ ส่วนรายหลังนั้นนุ่มย้อย ซึ่งซิลฟีจะอยู่ตรงกลางระหว่างนั้น
โดยช่วงผ่านรอยต่อของถนนยังสัมผัสถึงแรงสะเทือนจากพื้นและเสียงของยาง 195/90R16 เข้ามานิดๆ หรือถ้าใครคาดหวังว่าจะนิ่งเนียนเหมือน“เทียน่า” ต้องบอกว่าซิลฟียังห่างไกล และถ้าจะให้เทียบความหนึบแน่นก็คงไม่ถึงกับ “ฟอร์ด โฟกัส”หรือ“เชฟโรเลต ครูซ”
ด้านเบรกเป็นแบบดิสก์ 4 ล้อ แต่ช่วงแรกของการขับแป้นเบรกแข็งและต้านเท้ามากไปนิด จึงต้องกดน้ำหนักและรักษาสมดุลให้มากหน่อย แถมการตอบสนองยังออกแนวหน้าทิ่มหัวจิกอยู่เหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่รถญี่ปุ่น พ.ศ.นี้ไม่น่าจะเป็นกันแล้ว
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันจากการขับทางไกลๆที่จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านรถติดและทางตรงใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. รวมถึงช่วงขึ้น-ลงเขา โดยทริปทดสอบนี้ผู้เขียนได้หมายเลขรถท้ายๆ จึงต้องขับตามขบวนพร้อมเร่งเครื่องแบบกระชากให้ทันคันหน้าบ่อยครั้ง สรุปได้ตัวเลขประมาณ 12.6 กม./ลิตร ซึ่งผิดกับคันนำขบวนที่สามารถขับได้นิ่งกว่า และได้ตัวเลข 13-14 กม./ลิตร
ทั้งนี้นิสสันเคลมอัตราบริโภคน้ำมันจากการทดสอบภายในบริษัทว่ารุ่น 1.8 CVT จะทำได้ประมาณ14.9 กม./ลิตร ส่วน1.6 เกียร์ธรรมดา15.2 กม./ลิตร และ1.6 เกียร์ CVT 16.1 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...ถ้าเอาขับแบบสปอร์ตจัดจ้านต้องเลือก “ซีวิค” ช่วงล่างเนียนออปชันหนักต้อง “โฟกัส” ส่วน “อัลติส” แม้จะติดว่าโบราณไปนิดแต่เครื่องยนต์ 1.8 กับเกียร์ CVT ใหม่ตอบสนองดีไม่เป็นรองใคร ขณะที่“ซิลฟี” น่าขายเอกลักษณ์หรูเรียบ ขับขี่แบบเรื่อยๆสบายๆ ส่วนช่วงล่างซับแรงสะเทือนดีแต่ไม่ถึงกับนุ่มนวลมากมาย ด้านการเก็บเสียงค่อนข้างเงียบโดยเฉพาะเสียงลมปะทะ และที่เด่นสุดคือพื้นที่ภายในห้องโดยสารและตำแหน่งนั่งด้านหลังที่สบายกว่าคู่แข่งทุกยี่ห้อ...ใครชอบสไตล์นี้ซื้อโลด!
...เรียกว่าทยอยเปิดตัวกันทุกปี พร้อมลบลืมอดีตอันเจ็บช้ำกับเก๋งทีด้าไว้เบื้องหลัง แล้วมุ่งหน้าต่อกับไลน์อัพโปรดักต์ใหม่ๆ ซึ่งมีตำแหน่งการทำตลาดที่ชัดเจนมากขึ้น
ที่สำคัญหลังจากผู้เขียนได้พูดคุยกับ“ทาคายูกิ คิมูระ”ประธาน นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ในทริปทดสอบนิสสัน ซิลฟีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ประธานหนุ่มไฟแรงคนนี้เข้าใจในทิศทางและความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยพอสมควร กล่าวคือนิสสันมีโปรดักต์ดีๆเทคโนโลยีเด่นๆมากมาย ดังนั้นการจะแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่รุ่นใดรุ่นหนึ่งเข้าสู่ตลาดไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ขอเวลาศึกษาพัฒนาและอยากให้แน่ชัดว่ามีปริมาณความต้องการที่มากพอแก่การลงทุนเท่านั้น
อย่างแผนรถยนต์นั่งนั้นลอยตัวไปแล้ว และแม้จะไม่มีซับคอมแพกต์ (เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร) สู้กับคู่แข่งโดยตรง แต่“คิมูระซัง”เชื่อว่าโปรดักต์ที่มีอยู่ในมือสามารถรองรับทุกความต้องการในกลุ่มเก๋งเล็กไปจนถึงเก๋งกลางได้สบาย หากแต่จากนี้ไปจะต้องเพิ่มเติมความเข้มข้นในรถประเภทเอสยูวี รวมถึงเสริมรถติดก๊าซซีเอ็นจีในซิลฟี 1.6 และปิกอัพนาวารา ขณะที่พีพีวีก็อยากทำแต่ต้องรอปิกอัพโมเดลใหม่ (เปิดตัวอย่างเร็วปี 2014) ส่วนความอเนกประสงค์แบบ“เอ็มพีวี”นั้นยังปิดประตูตายอยู่ แต่แอบแย้มว่าถ้าตลาดใหญ่กว่านี้ การนำรถจากอินโดนีเซียเข้ามาขายในไทยก็ง่ายนิดเดียว
...ตามดูกันครับว่าหลังการผ่าตัดใหญ่ และได้มือดีที่เข้าใจโลกอย่าง“ทาคายูกิ คิมูระ”มาบริหารธุรกิจ นิสสันในไทยจะกลับมารุ่งเรื่องขนาดไหน?
กลับมาที่เรื่องของกลุ่มรถยนต์นั่งที่ตอนนี้กลายเป็นเส้นเลือดหลักของ นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย ซึ่ง“มาร์ช” และ“อัลเมร่า” นั้นติดลมบนและไม่ต้องไปกังวลมาก แต่กับ “ซิลฟี ใหม่” ที่จะเข้ามาท้าชนกับโตโยต้า อัลติส, ฮอนด้า ซีวิค,ฟอร์ด โฟกัส, มาสด้า3 และเชฟโรเลต ครูซ มีดีขนาดไหน? แล้วคุ้มค่าน่าซื้อหามาใช้หรือไม่?
โดยความโดดเด่นของซิลฟีต้องยกให้การนำหลอดไฟ LED มาแต้มแต่งทั้ง ไฟหรี่ด้านหน้า ชุดไฟท้าย ไฟเบรคดวงที่สาม ส่วนไฟเลี้ยวบริเวณกระจกมองข้างจะมีในรุ่น1.6E 1.6V1.8V 1.8V Navi ตลอดจนตัวถังยาวใหญ่ดูจะเป็นเก๋งคอมแพกต์ที่มิติเกือบจะขึ้นไปเทียบเคียงกับเก๋งขนาดกลางได้เลย ดังนั้นถ้าวัดกับพวกคู่แข่งระดับเดียวกันแล้ว ซิลฟีจึงมีความสูง-ยาว-ระยะฐานล้อมากที่สุด หรือ 1,495 4,615 และ2,700 มม. ตามลำดับ ส่วนความกว้างนั้นยังเป็นรองโฟกัสกับครูซอยู่นิดๆ
ด้วยมิติดังกล่าวบวกกับโครงสร้างกันสะเทือนหลังแบบคานหรือทอร์ชันบีม (เสริมเหล็กกันโคลง)ไม่กินพื้นที่เหมือนกับพวกอิสระแบบมัลติลิงค์ จึงสะท้อนความดีความชอบมาภายในห้องโดยสารเต็มๆ โดยเฉพาะด้านหลังที่กว้างขวางนั่งสบายที่สุดในคลาส ทั้งเบาะใหญ่หนา พนักพิงหลังเอนองศาไปด้านหลังมาก ระยะเฮดรูม เลกรูมยังเหลือเฟือ แถมเย็นช่ำกับช่องแอร์หลังซึ่งซิลฟีถือเป็นเก๋งคอมแพกต์รุ่นเดียวที่มีมาให้ (เดิมโฟกัสรุ่นเก่าก็มี) ขณะเดียวกันที่เก็บสัมภาระด้านท้ายยังจุถึง 510 ลิตร มากกว่ารุ่นพี่อย่างเทียน่าที่จุ 506 ลิตร
ด้านอุปกรณ์อำนวยความสะดวก-ปลอดภัยมาเต็มในรุ่น V ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยมัลติฟังก์ชันสามารถปรับระดับได้ 4 ทิศทาง แอร์อัตโนมัติพร้อมแยกปรับอุณหภูมิซ้าย -ขวา ส่วนเครื่องเสียงเล่น CD MP3 ได้ 1 แผ่น พร้อมช่อง AUX USB ระบบเชื่อมต่อบลูทูธ ขับพลังเสียงด้วยลำโพง 6 ตัว และกล้องมองหลังที่แสดงผลผ่านหน้าจอขนาด 4.3นิ้ว ส่วนรุ่นท็อป V Navi จะให้เป็นหน้าจอ 5.8นิ้ว ตลอดจนกุญแจอัจริยะ Keyless เข้า-ออกห้องโดยสาร สตาร์ท-ดับเครื่องยนต์โดยไม่ง้อกุญแจ
ส่วนมาตรฐานที่ให้เหมือนกันทุกรุ่นคือถุงลมนิรภัยคู่หน้า ส่วนระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบเสริมแรงเบรก BA จะเริ่มใส่ในรุ่น 1.6 E (ราคา 7.99 แสนบาท)ขึ้นไป
ทั้งนี้เมื่อดูจากออปชันต่างๆแล้วนิสสันจะเน้นไปที่มูลค่าความสวยและความสะดวกสบายที่ได้เห็นหรือใช้งานบ่อยไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟ LED ช่องแอร์ด้านหลัง กุญแจอัจริยะ และเมินระบบความปลอดภัยอย่าง เทรคชันคอนโทรล และระบบควบคุมการทรงตัว หรือครูสคอนโทรล ซึ่งต่างจากค่ายรถอเมริกาที่มักจะเน้นมาตรฐานความปลอดภัยตรงนี้มากกว่า
ในส่วนของการทดสอบผู้เขียนได้รุ่น 1.8V (ราคา 8.99 แสนบาท)เป็นพาหนะ โดยนิสสันหันมาคบกับเครื่องยนต์ MRA8DE แทนที่จะเป็น HR18DE ที่ประจำการในทีด้า ซึ่งนิสสันคงจะพิจารณาเรื่องความเหมาะสมของประสิทธิผลที่ได้รับและมาตรฐานการปล่อยไอเสียเป็นหลัก
โดยเครื่องยนต์ 4 สูบ 16 วาล์ว ขนาด 1,798 ซีซี พร้อมระบบวาล์วแปรผันคู่ Twin C-VTC (ไอดี-ไอเสียแปรผัน) ให้กำลังสูงสุด 131 แรงม้า (ทีด้า 126 แรงม้า)ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 174 นิวตัน-เมตรที่ 3,600รอบต่อนาที ซึ่งเจ้าหน้าที่นิสสันแจ้งว่าประหยัดน้ำมันกว่าทีด้า1.8 ถึง 12%
การขับขี่จริงเมื่อมาประกบกับเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง หรือ XTRONIC CVT ทำให้บุคลิกของซิลฟีไม่จี๊ดจ๊าดไปโดยปริยาย ภาพรวมสัมผัสได้ถึงความเนิบนุ่มของการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ลงสู่ล้อหน้า แม้จะว่าไปการออกตัวไม่อืด แต่ถ้าต้องการเร่งแซงแบบกระชั้นชิดในย่านความเร็วปานกลาง คงต้องรอให้รอบดีดสูงเกิน 4,000 สักหนึ่งวินาทีจากนั้นถึงจะรับรู้ถึงแรงกระทำ
อย่างไรก็ตามถ้าขับความเร็วสูงเกิน 100-120 กม./ชม.ไปแล้ว ตัวรถก็ลอยลมเร่งแรงแซงฉลุยใช้ได้ ขณะเดียวกันซิลฟียังมีโหมดรีบร้อนคือผู้ขับสามารถกดปุ่มพิเศษที่หัวเกียร์ โดยระบบจะเลือกอัตราทดที่จัดขึ้นหรือให้รอบอยู่ในระดับ 3,000-4,000 เพื่อรอการตอบสนองที่ทันใจ
ทั้งนี้ในการขับแบบปกติทั่วไป ไม่บี้ไม่เข่นคันเร่งโดยไม่จำเป็น การทำงานของระบบเกียร์ CVT ยังช่วยให้รอบเครื่องยนต์จะไม่สวิงขึ้นลงมาก เช่นเดียวกับการขับความเร็ว 120 กม./ชม.นิ่งๆ ผู้เขียนสังเกตเห็นรอบอยู่เพียง 2,000 รอบ ดังนั้นจึงเชื่อใจเรื่องความประหยัดน้ำมันได้พอสมควร
ด้านพวงมาลัยแรคแอนด์พิเนียนแบบผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า ยังเบามือตามสไตล์นิสสัน ส่วนการบังคับควบคุมไม่ถึงกับเนี้ยบมากนัก หลายครั้งเหมือนจะดีแต่บางจังหวะเหมือนจะเกินๆ เช่นเดียวกับการขับความเร็วสูงก็น่าจะหน่วงมือขึ้นมาอีกสักนิดเพื่อความมั่นใจ
ส่วนช่วงล่างและการเก็บเสียงที่นิสสันภูมิใจนำเสนอว่า นิ่งเงียบและสุนทรีย์ผู้เขียนก็เห็นจริงระดับหนึ่งครับ โดยโครงสร้างการรองรับนั้นลงตัวกว่า “ทีด้า ลาติโอ้” หรือ “ทีด้า แฮทช์แบ็ก”หลายขุม อย่างรายแรกนั้นออกแข็งๆ ส่วนรายหลังนั้นนุ่มย้อย ซึ่งซิลฟีจะอยู่ตรงกลางระหว่างนั้น
โดยช่วงผ่านรอยต่อของถนนยังสัมผัสถึงแรงสะเทือนจากพื้นและเสียงของยาง 195/90R16 เข้ามานิดๆ หรือถ้าใครคาดหวังว่าจะนิ่งเนียนเหมือน“เทียน่า” ต้องบอกว่าซิลฟียังห่างไกล และถ้าจะให้เทียบความหนึบแน่นก็คงไม่ถึงกับ “ฟอร์ด โฟกัส”หรือ“เชฟโรเลต ครูซ”
ด้านเบรกเป็นแบบดิสก์ 4 ล้อ แต่ช่วงแรกของการขับแป้นเบรกแข็งและต้านเท้ามากไปนิด จึงต้องกดน้ำหนักและรักษาสมดุลให้มากหน่อย แถมการตอบสนองยังออกแนวหน้าทิ่มหัวจิกอยู่เหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่รถญี่ปุ่น พ.ศ.นี้ไม่น่าจะเป็นกันแล้ว
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันจากการขับทางไกลๆที่จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านรถติดและทางตรงใช้ความเร็ว 120 กม./ชม. รวมถึงช่วงขึ้น-ลงเขา โดยทริปทดสอบนี้ผู้เขียนได้หมายเลขรถท้ายๆ จึงต้องขับตามขบวนพร้อมเร่งเครื่องแบบกระชากให้ทันคันหน้าบ่อยครั้ง สรุปได้ตัวเลขประมาณ 12.6 กม./ลิตร ซึ่งผิดกับคันนำขบวนที่สามารถขับได้นิ่งกว่า และได้ตัวเลข 13-14 กม./ลิตร
ทั้งนี้นิสสันเคลมอัตราบริโภคน้ำมันจากการทดสอบภายในบริษัทว่ารุ่น 1.8 CVT จะทำได้ประมาณ14.9 กม./ลิตร ส่วน1.6 เกียร์ธรรมดา15.2 กม./ลิตร และ1.6 เกียร์ CVT 16.1 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...ถ้าเอาขับแบบสปอร์ตจัดจ้านต้องเลือก “ซีวิค” ช่วงล่างเนียนออปชันหนักต้อง “โฟกัส” ส่วน “อัลติส” แม้จะติดว่าโบราณไปนิดแต่เครื่องยนต์ 1.8 กับเกียร์ CVT ใหม่ตอบสนองดีไม่เป็นรองใคร ขณะที่“ซิลฟี” น่าขายเอกลักษณ์หรูเรียบ ขับขี่แบบเรื่อยๆสบายๆ ส่วนช่วงล่างซับแรงสะเทือนดีแต่ไม่ถึงกับนุ่มนวลมากมาย ด้านการเก็บเสียงค่อนข้างเงียบโดยเฉพาะเสียงลมปะทะ และที่เด่นสุดคือพื้นที่ภายในห้องโดยสารและตำแหน่งนั่งด้านหลังที่สบายกว่าคู่แข่งทุกยี่ห้อ...ใครชอบสไตล์นี้ซื้อโลด!