หากพูดถึงรถที่มีดีไซน์ หรือเอกลักษณ์เฉพาะตัว คงต้องยกให้กับ “มาสด้า” ซึ่งเป็นค่ายที่ให้ความสำคัญและขายเรื่องดีไซน์ชัดเจน แต่ในช่วงนี้รถยนต์มาสด้ากำลังอยู่ในช่วงรอยต่อ ของการพัฒนาดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะเมื่อมาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ประกาศจะเปิดตัวรถใหม่ภายใต้แนวทางดังกล่าว เป็นจำนวนมากถึง 8 รุ่น ภายใน3ปี จึงน่าสนใจว่ามาสด้าในประเทศไทย จะเดินไปและมีส่วนร่วมอย่างไร? ที่สำคัญคนไทยจะได้สัมผัสเทคโนโลยีใหม่ “สกายแอคทีฟ” (SKYACTIV) เมื่อไหร่?...
การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ “ทาคาชิ ยามานูชิ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์นี้ ส่วนหนึ่งย่อมมาสำรวจและดูความพร้อมของไทย ว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับแผนใหม่ของมาสด้าได้มากน้อยแค่ไหน?
แต่นั่นย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะเห็นได้ในช่วงปีนี้แน่นอน เพราะอย่างน้อยจะเห็นรถภายใต้ดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ คงอีกราวๆ เกือบปี หรือภายในปี 2556 เป็นต้นไป ดังนั้นในช่วงรอยต่อเช่นนี้ มาสด้า เซลส์ ในประเทศไทย จึงเน้นความชัดเจนในกลยุทธ์การทำตลาด ซึ่งไม่เพียงรักษายอดขาย แต่จะต้องบรรลุเป้าหมายการขายด้วย เพราะมาสด้าเพิ่งประกาศปรับเป้าการขายปีนี้ เพิ่มอีก 1 หมื่นคัน จากเดิมที่ตั้งไว้ 6 หมื่นคัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่ทำให้มาสด้าในประเทศไทยประสบความสำเร็จเช่นนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ถึงการออกแบบรูปลักษณ์ของรถ ตั้งแต่การเปิดตัวมาสด้า3 เวอร์ชั่นที่ผ่านมา และมาสู่รุ่นปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลการออกแบบ ภายใต้แนวทางเรียกขานว่า “นากาเร่” และเช่นเดียวกับ “มาสด้า2” ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน รวมถึงปิกอัพ “มาสด้า บีที-50 โปร” ที่เพิ่งเปิดตัวสู่ตลาดในปัจจุบัน
ทั้งหมดมากับรูปลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ เส้นสายโฉบเฉี่ยวสปอร์ต ภายใต้ภาพลักษณ์แบรนด์ “ซูม-ซูม” แม้ปัจจุบันหากเทียบสมรรถนะกับคู่แข่งอาจจะไม่เด่นมากนัก เพราะถือว่าเป็นช่วงท้ายของเทคโนโลยี และคู่แข่งก็ได้มีการแนะนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ด้วย แต่หากย้อนกลับไปในช่วงก่อนหน้า มาสด้าถือเป็นรถที่เด่นในเรื่องของสมรรถนะเครื่องยนต์และช่วงล่างทีเดียว
เรื่องนี้มาสด้าเองก็ดูเหมือนจะรู้ดี เพราะนอกจากปิกอัพ “มาสด้า บีที-50 โปร” ที่ถึงแม้หลักๆ จะออกแบบในแนวทางนากาเร่ แต่ก็ได้ดึงเอาดีไซน์ใหม่ที่เรียกว่า “โคโดะ” (KODO - Soul of Motion) ซึ่งจะเป็นแนวทางการออกแบบรถมาสด้าในรุ่นต่อๆ ไปเข้ามาร่วมด้วย ขณะที่สมรรถนะเครื่องยนต์และช่วงล่างนับว่าไม่แพ้ใคร จึงถือว่าเป็นการเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ได้ระดับหนึ่ง
แต่ในส่วนของมาสด้า 2 และมาสด้า 3 ซึ่งกว่าจะเปลี่ยนแปลงสู่ดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่เต็มตัว คงต้องรอโมเดลเชนจ์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มาสด้า เซลส์ ในประเทศไทย จึงต้องสื่อสารกับผู้บริโภค ถึงสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากรถยนต์มาสด้า คือเรื่องของดีไซน์ที่ค่อนข้างโดดเด่นกว่าคู่แข่ง
เพื่อเป็นการตอกย้ำแนวทางดังกล่าว กิจกรรมที่มาสด้ามุ่งจึงแสดงให้เห็นจุดเด่นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นร่วมงานบางกอกฯ ออโตซาลอน 2012 ที่ผ่านมา หรือการจัดกิจกรรม Mazda Show-Off Contest เวทีในการแสดงออกสิ่งที่หลงใหลผ่านทางรถแต่งของลูกค้าที่ส่งรถเข้าประกวด และกิจกรรมต่างๆ ที่จะทยอยออกมาหลังจากนี้
นอกจากนี้ในส่วนของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ด้วยปรับปรุงคุณภาพบริการและพัฒนาเครือข่ายการขายให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยมีเป้าหมายขยายโชว์รูมให้ครบ 150 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบัน 130 แห่ง พร้อมกับปรับโฉมโชว์รูมภายใต้ภาพลักษณ์ใหม่ MCI (Mazda Corporation Identity) ให้ครบ 100% เช่นเดียวกัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรในทุกส่วนๆ ของมาสด้าด้วย
ขณะที่ในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์ ในครึ่งปีหลังนี้มาสด้าจะมีการแนะนำรถแต่งเวอร์ชั่นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น มาสด้า2, มาสด้า3 และมาสด้า บีที-50 โปร ออกมาตอบสนองลูกค้าที่ชอบดีไซน์และความแตกต่าง และจะเห็นรถนำเข้ารุ่นใหม่ๆ ที่เริ่มได้รับอิทธิพลของแนวทาง “โคโดะ ดีไซน์” มาบ้างแล้ว อย่างรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของ “มาสด้า เอ็มเอ็กซ์-5” และ “มาสด้า ซีเอ็กซ์-9” ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2012 ปลายปีนี้
จากปิกอัพ มาสด้า บีที-50 โปร สู่ไมเนอร์เชนจ์รถสปอร์ตเอ็มเอ็กซ์-5 (โฉมใหม่จะร่วมกับบริษัทเฟี๊ยต) และเอสยูวีรุ่นใหญ่ มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 นับเป็นการนำร่องสู่รถภายใต้ดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ในรถยนต์เอสยูวี “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ซึ่งจะเผยโฉมในไทยช่วงครึ่งแรกของปีหน้า นับเป็นรถยนต์ที่ได้รับการออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ “โคโดะ ดีไซน์” และเทคโนโลยี “สกายแอคทีฟ” แบบ 100%
เกี่ยวกับ “โคโดะ ดีไซน์” ที่เป็นการออกแบบผสานระหว่างความแข็งแรง และความปราดเปรียวในการเคลื่อนที่ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านรถต้นแบบ “มาสด้า ชินาริ” (Mazda Shinari) และกลายมาเป็น “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” รถรุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบภายคอนเซ็ปต์ดังกล่าว และชาวไทยบางส่วนได้สัมผัสใกล้ชิดผ่าน “มินางิ”(Minagi) รถต้นแบบของรุ่นซีเอ็กซ์-5” ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2012 ที่ผ่านมา
นอกจากแนวทางออกแบบใหม่ “โคโดะ” แล้ว คอมแพ็กต์เอสยูวี “ซีเอ็กซ์-5” ยังได้นำเทคโนโลยีสกายแอคทีฟมาใส่ไว้เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ ทั้งเบนซินและดีเซลที่ไทยจะนำมาทำตลาดครบ ยังมีระบบขับเคลื่อน หรือเกียร์ “สกายไดร์ฟ”, ระบบการออกแบบตัวถัง และระบบช่วงล่าง ซึ่งทั้งหมดมีเป้าหมายให้รถยนต์มาสด้า ภายใต้เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำลง สมรรถนะสูงขึ้น และมีน้ำหนักเบา แต่ปลอดภัยกว่าเดิม
หลังจากมาสด้า ซีเอ็กซ์-5 แฟนๆ ชาวไทยยังจะได้พบกับ “มาสด้า6” เก๋งซีดานขนาดกลาง รถยนต์ภายใต้แนวทางการดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ที่พัฒนามาจากรถต้นแบบ “ทาเกริ”(Takeri Concept) โดยจะเผยโฉมคันจริงในต่างประเทศช่วงปลายปีนี้ และจะเข้ามาทำตลาดในไทย เป็นโมเดลตัวถัดไปจากซีเอ็กซ์-5 ซึ่งทั้ง 2 โมเดลนี้คงต้องจับตาการมาเยือนไทยของประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาสด้า มอเตอร์ในสัปดาห์นี้ ว่าจะเลือกไทยเป็นฐานการผลิต หรือประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และนำเข้ามาขายในไทยแทน
นี่เป็นทิศทางการทำตลาดของมาสด้าในประเทศไทย ในช่วงรอยต่อของดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ส่วนรถธงอย่าง “มาสด้า2” และ “มาสด้า3” ก่อนโมเดลเชนจ์ ในไทยน่าจะเห็นการนำเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ มาใส่ในการบิ๊กไมเนอร์เชนจ์ครั้งสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นภายในไม่เกินปี 2557 เป็นอย่างช้า...
การเดินทางมาเยือนประเทศไทยของ “ทาคาชิ ยามานูชิ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์นี้ ส่วนหนึ่งย่อมมาสำรวจและดูความพร้อมของไทย ว่าจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับแผนใหม่ของมาสด้าได้มากน้อยแค่ไหน?
แต่นั่นย่อมไม่ใช่สิ่งที่จะเห็นได้ในช่วงปีนี้แน่นอน เพราะอย่างน้อยจะเห็นรถภายใต้ดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ คงอีกราวๆ เกือบปี หรือภายในปี 2556 เป็นต้นไป ดังนั้นในช่วงรอยต่อเช่นนี้ มาสด้า เซลส์ ในประเทศไทย จึงเน้นความชัดเจนในกลยุทธ์การทำตลาด ซึ่งไม่เพียงรักษายอดขาย แต่จะต้องบรรลุเป้าหมายการขายด้วย เพราะมาสด้าเพิ่งประกาศปรับเป้าการขายปีนี้ เพิ่มอีก 1 หมื่นคัน จากเดิมที่ตั้งไว้ 6 หมื่นคัน ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่อย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่ทำให้มาสด้าในประเทศไทยประสบความสำเร็จเช่นนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ถึงการออกแบบรูปลักษณ์ของรถ ตั้งแต่การเปิดตัวมาสด้า3 เวอร์ชั่นที่ผ่านมา และมาสู่รุ่นปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลการออกแบบ ภายใต้แนวทางเรียกขานว่า “นากาเร่” และเช่นเดียวกับ “มาสด้า2” ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน รวมถึงปิกอัพ “มาสด้า บีที-50 โปร” ที่เพิ่งเปิดตัวสู่ตลาดในปัจจุบัน
ทั้งหมดมากับรูปลักษณ์ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ เส้นสายโฉบเฉี่ยวสปอร์ต ภายใต้ภาพลักษณ์แบรนด์ “ซูม-ซูม” แม้ปัจจุบันหากเทียบสมรรถนะกับคู่แข่งอาจจะไม่เด่นมากนัก เพราะถือว่าเป็นช่วงท้ายของเทคโนโลยี และคู่แข่งก็ได้มีการแนะนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ด้วย แต่หากย้อนกลับไปในช่วงก่อนหน้า มาสด้าถือเป็นรถที่เด่นในเรื่องของสมรรถนะเครื่องยนต์และช่วงล่างทีเดียว
เรื่องนี้มาสด้าเองก็ดูเหมือนจะรู้ดี เพราะนอกจากปิกอัพ “มาสด้า บีที-50 โปร” ที่ถึงแม้หลักๆ จะออกแบบในแนวทางนากาเร่ แต่ก็ได้ดึงเอาดีไซน์ใหม่ที่เรียกว่า “โคโดะ” (KODO - Soul of Motion) ซึ่งจะเป็นแนวทางการออกแบบรถมาสด้าในรุ่นต่อๆ ไปเข้ามาร่วมด้วย ขณะที่สมรรถนะเครื่องยนต์และช่วงล่างนับว่าไม่แพ้ใคร จึงถือว่าเป็นการเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ได้ระดับหนึ่ง
แต่ในส่วนของมาสด้า 2 และมาสด้า 3 ซึ่งกว่าจะเปลี่ยนแปลงสู่ดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่เต็มตัว คงต้องรอโมเดลเชนจ์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มาสด้า เซลส์ ในประเทศไทย จึงต้องสื่อสารกับผู้บริโภค ถึงสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากรถยนต์มาสด้า คือเรื่องของดีไซน์ที่ค่อนข้างโดดเด่นกว่าคู่แข่ง
เพื่อเป็นการตอกย้ำแนวทางดังกล่าว กิจกรรมที่มาสด้ามุ่งจึงแสดงให้เห็นจุดเด่นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นร่วมงานบางกอกฯ ออโตซาลอน 2012 ที่ผ่านมา หรือการจัดกิจกรรม Mazda Show-Off Contest เวทีในการแสดงออกสิ่งที่หลงใหลผ่านทางรถแต่งของลูกค้าที่ส่งรถเข้าประกวด และกิจกรรมต่างๆ ที่จะทยอยออกมาหลังจากนี้
นอกจากนี้ในส่วนของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ด้วยปรับปรุงคุณภาพบริการและพัฒนาเครือข่ายการขายให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ โดยมีเป้าหมายขยายโชว์รูมให้ครบ 150 แห่งภายในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบัน 130 แห่ง พร้อมกับปรับโฉมโชว์รูมภายใต้ภาพลักษณ์ใหม่ MCI (Mazda Corporation Identity) ให้ครบ 100% เช่นเดียวกัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรในทุกส่วนๆ ของมาสด้าด้วย
ขณะที่ในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์ ในครึ่งปีหลังนี้มาสด้าจะมีการแนะนำรถแต่งเวอร์ชั่นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น มาสด้า2, มาสด้า3 และมาสด้า บีที-50 โปร ออกมาตอบสนองลูกค้าที่ชอบดีไซน์และความแตกต่าง และจะเห็นรถนำเข้ารุ่นใหม่ๆ ที่เริ่มได้รับอิทธิพลของแนวทาง “โคโดะ ดีไซน์” มาบ้างแล้ว อย่างรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของ “มาสด้า เอ็มเอ็กซ์-5” และ “มาสด้า ซีเอ็กซ์-9” ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2012 ปลายปีนี้
จากปิกอัพ มาสด้า บีที-50 โปร สู่ไมเนอร์เชนจ์รถสปอร์ตเอ็มเอ็กซ์-5 (โฉมใหม่จะร่วมกับบริษัทเฟี๊ยต) และเอสยูวีรุ่นใหญ่ มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 นับเป็นการนำร่องสู่รถภายใต้ดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ในรถยนต์เอสยูวี “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ซึ่งจะเผยโฉมในไทยช่วงครึ่งแรกของปีหน้า นับเป็นรถยนต์ที่ได้รับการออกแบบภายใต้คอนเซ็ปต์ “โคโดะ ดีไซน์” และเทคโนโลยี “สกายแอคทีฟ” แบบ 100%
เกี่ยวกับ “โคโดะ ดีไซน์” ที่เป็นการออกแบบผสานระหว่างความแข็งแรง และความปราดเปรียวในการเคลื่อนที่ ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านรถต้นแบบ “มาสด้า ชินาริ” (Mazda Shinari) และกลายมาเป็น “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” รถรุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบภายคอนเซ็ปต์ดังกล่าว และชาวไทยบางส่วนได้สัมผัสใกล้ชิดผ่าน “มินางิ”(Minagi) รถต้นแบบของรุ่นซีเอ็กซ์-5” ในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2012 ที่ผ่านมา
นอกจากแนวทางออกแบบใหม่ “โคโดะ” แล้ว คอมแพ็กต์เอสยูวี “ซีเอ็กซ์-5” ยังได้นำเทคโนโลยีสกายแอคทีฟมาใส่ไว้เต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ ทั้งเบนซินและดีเซลที่ไทยจะนำมาทำตลาดครบ ยังมีระบบขับเคลื่อน หรือเกียร์ “สกายไดร์ฟ”, ระบบการออกแบบตัวถัง และระบบช่วงล่าง ซึ่งทั้งหมดมีเป้าหมายให้รถยนต์มาสด้า ภายใต้เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำลง สมรรถนะสูงขึ้น และมีน้ำหนักเบา แต่ปลอดภัยกว่าเดิม
หลังจากมาสด้า ซีเอ็กซ์-5 แฟนๆ ชาวไทยยังจะได้พบกับ “มาสด้า6” เก๋งซีดานขนาดกลาง รถยนต์ภายใต้แนวทางการดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ที่พัฒนามาจากรถต้นแบบ “ทาเกริ”(Takeri Concept) โดยจะเผยโฉมคันจริงในต่างประเทศช่วงปลายปีนี้ และจะเข้ามาทำตลาดในไทย เป็นโมเดลตัวถัดไปจากซีเอ็กซ์-5 ซึ่งทั้ง 2 โมเดลนี้คงต้องจับตาการมาเยือนไทยของประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาสด้า มอเตอร์ในสัปดาห์นี้ ว่าจะเลือกไทยเป็นฐานการผลิต หรือประเทศอื่นๆ ในอาเซียน และนำเข้ามาขายในไทยแทน
นี่เป็นทิศทางการทำตลาดของมาสด้าในประเทศไทย ในช่วงรอยต่อของดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ ส่วนรถธงอย่าง “มาสด้า2” และ “มาสด้า3” ก่อนโมเดลเชนจ์ ในไทยน่าจะเห็นการนำเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ มาใส่ในการบิ๊กไมเนอร์เชนจ์ครั้งสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะได้เห็นภายในไม่เกินปี 2557 เป็นอย่างช้า...