ครั้งถูกปลุกจากหลุม ฟื้นทำตลาดในประเทศไทยราว 4 ปีที่แล้ว ค่ายรถยนต์“ฮุนได”เลือกโปรดักต์ใหม่ 3 รุ่น 3 สไตล์อย่างเก๋งกลาง “โซนาต้า” เอสยูวี “ซานตาเฟ” และสปอร์ตคาร์“คูเป้” ซึ่งล้วนเป็นโมเดลใหญ่ราคาขายเกินล้านทั้งนั้น
ส่วนหนึ่งเพราะ บริษัท ฮุนได มอเตอร์(ไทยแลนด์) จำกัด หวังชูภาพลักษณ์ใหม่ด้วยโปรดักต์คุณภาพ หรือเน้นไปที่ตลาดระดับบน พร้อมปูทางสร้างเครือข่ายการขาย-บริการหลังการขายให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในระยะยาว
อย่างไรก็ตามโปรดักต์ 3 รุ่นที่กล่าวมาถือว่าไม่ได้การตอบรับจากตลาดเท่าใดนัก โดยเฉพาะ “โซนาต้า” ที่ฮุนไดลงทุนจ้างบริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ให้ขึ้นสายการผลิตในเมืองไทย (ซานตาเฟ กับ คูเป้ นำเข้าทั้งคันจากประเทศเกาหลี)แต่ด้วยจังหวะเวลาเปิดตัวไม่ค่อยเป็นใจ เพราะต้องมาเจอกับโมเดลสดใหม่ของ “โตโยต้า คัมรี่” และ “ฮอนด้า แอคคอร์ด”
ขณะเดียวกัน “โซนาต้า” ที่ถือว่าอยู่ในช่วงปลายอายุการทำตลาด หรือจะเรียกง่ายๆก็คือโมเดลโบราณกว่าสองคู่แข่งจากญี่ปุ่น ดังนั้นเราจึงเห็นวิธีโละสต็อกด้วยการทำรุ่นติดก๊าซ “ซีเอ็นจี” ออกมาขาย และสุดท้ายต้องประกาศยุติการผลิตไปช่วงต้นปี 2553
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยอดขาย “โซนาต้า” ชะลอตัวในช่วงดังกล่าว เพราะคาบเกี่ยวจังหวะเดียวกับ ฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี ดันเผยโฉม “โซนาต้า โมเดลเชนจ์” (กันยายน 2552) ที่มากับรูปลักษณ์สวยสด พร้อมวิศวกรรมยานยนต์ทันสมัย ซึ่งใครเห็นรุ่นใหม่แล้วก็คงทำใจซื้อรุ่นเก่าไม่ลงแน่นอน
สำหรับ “โซนาต้า โฉมใหม่” เจเนอเรชันที่ 6 รหัสตัวถัง YF ถือเป็นการปฏิวัติการออกแบบรถยนต์ในกลุ่ม ดี-เซกเมนต์ ซึ่งสร้างชื่อเสียงและทำยอดขายให้ฮุนไดประสบความสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดในสหรัฐอเมริกาที่สู้กับเจ้าตลาด “คัมรี่” (ปลายอายุทำตลาด)ได้อย่างสูสี หรือบางเดือนสามารถขายแซงได้ด้วยซ้ำ
สำหรับคนไทยมีโอกาสได้สัมผัส “โซนาต้า โฉมใหม่” เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยฮุนได มอเตอร์ไทยแลนด์ นำไปเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่งานบางกอกฯมอเตอร์โชว์ 2011 ซึ่งครั้งนี้ทำตลาดในรูปแบบรถนำเข้าทั้งคัน แบ่งเป็นสองรุ่นย่อย คือ S ราคา 1.55 ล้านบาท และ G ราคา 1.87 ล้านบาท
“ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รุ่น S มาลองขับ ซึ่งจะตัดออปชันให้ต่างจากรุ่น G ไล่ตั้งแต่ ไฟหน้าแบบ HID ปรับระดับอัตโนมัติ เบาะหนัง (รุ่น S เป็นหนังสลับผ้า) เบาะนั่งผู้โดยสารด้านหน้าปรับไฟฟ้า (รุ่น S ปรับได้แต่ฝั่งคนขับ) กระจกมองหลังตัดแสง เครื่องเสียงเล่น ซีดี เอ็มพี3 ได้ 6 แผ่น (รุ่น S ได้ 1 แผ่น) ครูสคอนโทรล ระบบแอร์อัตโนมัติ รวมถึงระบบควบคุมการทรงตัว ระบบช่วยขึ้นทางลาดชัน พนักพิงศรีษะนิรภัย และสัญญาณกะระยะช่วยจอด
ทั้งนี้รุ่น S ยังโดดเด่นด้วยหลังคาแก้ว Panoramic Sunroof ล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว (รุ่นG ขนาด18 นิ้ว) ไฟเลี้ยว LED ฝังที่กระจกมองข้าง รวมถึงออปชันอย่างกุญแจอัจฉริยะ (กดปุ่มสตาร์ท) ปุ่มควบคุมเครื่องเสียงที่พวงมาลัย ช่องต่อ USB AUX แพดเดิลชิฟท์เปลี่ยนเกียร์ ช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง ตลอดจนความปลอดภัยมาตรฐานระดับ ดิสก์เบรก 4 ล้อ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD และถุงลมนิรภัยคู่หน้า
...พลันกระโดดเข้าไปนั่งในตำแหน่งผู้ขับ รู้สึกถึงการตกแต่งภายในที่เร้าอารมณ์ผสมกลิ่นเอเชียและยุโรป เลือกใช้วัสดุชั้นดีเก็บงานปราณีต ปุ่มควบคุมต่างๆวางอยู่ในตำแหน่งใช้งานง่ายถนัดมือ ส่วนเบรกมือย้ายไปอยู่ที่เท้า ขณะที่คันเกียร์เหมือนจะวางตำแหน่งขยับเข้ามาใกล้(ขา)คนขับมากไปนิด
เบาะหนังสลับผ้านั่งสบายโอบกระฉับ แต่ทัศนวิสัยบด้านหน้าดูบีบไปนิด ส่วนหนึ่งเพราะรูปทรงสปร์อต และเสาร์เอ-พิลลาร์ที่ลาดเอียง ซึ่งจุดนี้จะรู้สึกอึดอัดเวลาเข้าโค้งที่เหมือนจะมีมุมอับมองได้ไม่เต็มตา
การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารดีเยี่ยม ถ้าให้เกรดก็อยู่ในระดับรถยุโรปราคาแพง เสียงรบกวนภายนอกและเสียงเครื่องยนต์แทบไม่เข้ามาระคายหู แม้จะขับช้า ขับเร็ว หรือเร่งความเร็วก็ตาม
เครื่องยนต์เบนซิน Theta-II ขนาด 2.0 ลิตร 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วแปรผัน D-CVVT ให้กำลังสูงสุด 165 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 198 นิวตันเมตร ที่ 4,600 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด การออกตัวทำกระฉับกระเฉง พารถไปข้างหน้าแบบพุ่งนิดๆ
ช่วงตีนต้นถือว่าขับสบาย เครื่องยนต์และเกียร์ตอบสนองดี แต่กระนั้นถ้าขับอยู่ช่วงความเร็ว 80 กม./ชม. แล้วต้องการความเร็วไปถึง 120-140 กม./ชม. พละกำลังอาจจะมาช้าสักนิด และอาจจะต้องเข่นคันเร่งมากหน่อย
บล็อกเกียร์แบบขั้นบันไดใช้งานคล่อง แต่ติดที่หัวเกียร์เล็กไปนิดจับไม่ถนัดมือผู้เขียนนัก (ตัวผู้เขียนอาจจะมือใหญ่) การไล่ความเร็วจากเกียร์ 1 ไปถึง เกียร์ 6 ทำได้ต่อเนื่องแบบนุ่มเรียบ
สิ่งหนึ่งที่ลดความสปอร์ตของรถรุ่นนี้คือการเซ็ทพวงมาลัยครับ แม้น้ำหนักอาจไม่เบาโหวงเสียทีเดียว แต่การการสั่งงานซ้ายขวาไม่แม่นยำนัก จังหวะเข้าโค้งหนักๆระยะพวงมาลัยออกแนวขาดๆเกินๆ และต้องคอยเลี้ยงการควบคุมตลอด ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนก็เคยติในรุ่นเก่ามาแล้ว
อย่างไรก็ตามเจ้าของฉายา Camry Killer ชดเชยด้วยการเซ็ทช่วงล่าง ที่โครงสร้างด้านหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแบบมัลติลิงค์ ผู้เขียนรับรู้ถึงความสมดุลระหว่างความนุ่มนวล กับความหนึบแข็ง เพราะถ้าขับเรื่อยๆใช้งานทั่วไปก็นั่งสบายไร้ความด้าง หรือช่วงขับความเร็วสูง ยังให้ความหนึบแน่น วิ่งทางไกลต่างจังหวัดใช้ความเร็วเกิน 120 กม./ชม. รู้สึกมั่นใจ ช่วงเข้า-ออกโค้งก็ส่งผ่านน้ำหนักตัวรถได้เนียนๆ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน ทั้งวิ่งรถติดในเมือง และทางไกลต่างจังหวัดใช้ความเร็วสูงเกิน 120 กม./ชม. ทำได้เฉลี่ย 9-10 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือตก 10-11 กิโลเมตรต่อลิตร
รวบรัดตัดความ... ขึ้นชื่อว่าเป็น “ดาราสาวเกาหลี” ต้องนำด้วยความสวย-หุ่นดี พร้อมความสามารถพอตัว ทั้งร้องเล่นเต้นพูด ฉันใดฉันนั้นกับ “ฮุนได โซนาต้า” ที่รูปลักษณ์เซ็กซี่โฉบเฉี่ยวทุกมุมมอง แต่เรื่องสมรรถนะการขับขี่อาจไม่สนุกเร้าใจเหมือนหน้าตา เรี่ยวแรงกำลัง-การควบคุมไม่โดดเด่น ส่วนราคานั้นสูงกว่าคู่แข่งเนื่องจากเป็นรถนำเข้าทั้งคัน แต่ก็อัดออปชันมาให้พอสมควร เอาเป็นว่าถ้าชอบหน้าตาสวยสด เส้นสายเฉียบคมให้อารมณ์ใหม่ที่แตกต่าง...คิดแค่นี้ก็ซื้อได้สบายใจครับ
ส่วนหนึ่งเพราะ บริษัท ฮุนได มอเตอร์(ไทยแลนด์) จำกัด หวังชูภาพลักษณ์ใหม่ด้วยโปรดักต์คุณภาพ หรือเน้นไปที่ตลาดระดับบน พร้อมปูทางสร้างเครือข่ายการขาย-บริการหลังการขายให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในระยะยาว
อย่างไรก็ตามโปรดักต์ 3 รุ่นที่กล่าวมาถือว่าไม่ได้การตอบรับจากตลาดเท่าใดนัก โดยเฉพาะ “โซนาต้า” ที่ฮุนไดลงทุนจ้างบริษัทธนบุรีประกอบรถยนต์ให้ขึ้นสายการผลิตในเมืองไทย (ซานตาเฟ กับ คูเป้ นำเข้าทั้งคันจากประเทศเกาหลี)แต่ด้วยจังหวะเวลาเปิดตัวไม่ค่อยเป็นใจ เพราะต้องมาเจอกับโมเดลสดใหม่ของ “โตโยต้า คัมรี่” และ “ฮอนด้า แอคคอร์ด”
ขณะเดียวกัน “โซนาต้า” ที่ถือว่าอยู่ในช่วงปลายอายุการทำตลาด หรือจะเรียกง่ายๆก็คือโมเดลโบราณกว่าสองคู่แข่งจากญี่ปุ่น ดังนั้นเราจึงเห็นวิธีโละสต็อกด้วยการทำรุ่นติดก๊าซ “ซีเอ็นจี” ออกมาขาย และสุดท้ายต้องประกาศยุติการผลิตไปช่วงต้นปี 2553
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยอดขาย “โซนาต้า” ชะลอตัวในช่วงดังกล่าว เพราะคาบเกี่ยวจังหวะเดียวกับ ฮุนได มอเตอร์ ประเทศเกาหลี ดันเผยโฉม “โซนาต้า โมเดลเชนจ์” (กันยายน 2552) ที่มากับรูปลักษณ์สวยสด พร้อมวิศวกรรมยานยนต์ทันสมัย ซึ่งใครเห็นรุ่นใหม่แล้วก็คงทำใจซื้อรุ่นเก่าไม่ลงแน่นอน
สำหรับ “โซนาต้า โฉมใหม่” เจเนอเรชันที่ 6 รหัสตัวถัง YF ถือเป็นการปฏิวัติการออกแบบรถยนต์ในกลุ่ม ดี-เซกเมนต์ ซึ่งสร้างชื่อเสียงและทำยอดขายให้ฮุนไดประสบความสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงตลาดในสหรัฐอเมริกาที่สู้กับเจ้าตลาด “คัมรี่” (ปลายอายุทำตลาด)ได้อย่างสูสี หรือบางเดือนสามารถขายแซงได้ด้วยซ้ำ
สำหรับคนไทยมีโอกาสได้สัมผัส “โซนาต้า โฉมใหม่” เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยฮุนได มอเตอร์ไทยแลนด์ นำไปเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่งานบางกอกฯมอเตอร์โชว์ 2011 ซึ่งครั้งนี้ทำตลาดในรูปแบบรถนำเข้าทั้งคัน แบ่งเป็นสองรุ่นย่อย คือ S ราคา 1.55 ล้านบาท และ G ราคา 1.87 ล้านบาท
“ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รุ่น S มาลองขับ ซึ่งจะตัดออปชันให้ต่างจากรุ่น G ไล่ตั้งแต่ ไฟหน้าแบบ HID ปรับระดับอัตโนมัติ เบาะหนัง (รุ่น S เป็นหนังสลับผ้า) เบาะนั่งผู้โดยสารด้านหน้าปรับไฟฟ้า (รุ่น S ปรับได้แต่ฝั่งคนขับ) กระจกมองหลังตัดแสง เครื่องเสียงเล่น ซีดี เอ็มพี3 ได้ 6 แผ่น (รุ่น S ได้ 1 แผ่น) ครูสคอนโทรล ระบบแอร์อัตโนมัติ รวมถึงระบบควบคุมการทรงตัว ระบบช่วยขึ้นทางลาดชัน พนักพิงศรีษะนิรภัย และสัญญาณกะระยะช่วยจอด
ทั้งนี้รุ่น S ยังโดดเด่นด้วยหลังคาแก้ว Panoramic Sunroof ล้ออัลลอยด์ขนาด 17 นิ้ว (รุ่นG ขนาด18 นิ้ว) ไฟเลี้ยว LED ฝังที่กระจกมองข้าง รวมถึงออปชันอย่างกุญแจอัจฉริยะ (กดปุ่มสตาร์ท) ปุ่มควบคุมเครื่องเสียงที่พวงมาลัย ช่องต่อ USB AUX แพดเดิลชิฟท์เปลี่ยนเกียร์ ช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารด้านหลัง ตลอดจนความปลอดภัยมาตรฐานระดับ ดิสก์เบรก 4 ล้อ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD และถุงลมนิรภัยคู่หน้า
...พลันกระโดดเข้าไปนั่งในตำแหน่งผู้ขับ รู้สึกถึงการตกแต่งภายในที่เร้าอารมณ์ผสมกลิ่นเอเชียและยุโรป เลือกใช้วัสดุชั้นดีเก็บงานปราณีต ปุ่มควบคุมต่างๆวางอยู่ในตำแหน่งใช้งานง่ายถนัดมือ ส่วนเบรกมือย้ายไปอยู่ที่เท้า ขณะที่คันเกียร์เหมือนจะวางตำแหน่งขยับเข้ามาใกล้(ขา)คนขับมากไปนิด
เบาะหนังสลับผ้านั่งสบายโอบกระฉับ แต่ทัศนวิสัยบด้านหน้าดูบีบไปนิด ส่วนหนึ่งเพราะรูปทรงสปร์อต และเสาร์เอ-พิลลาร์ที่ลาดเอียง ซึ่งจุดนี้จะรู้สึกอึดอัดเวลาเข้าโค้งที่เหมือนจะมีมุมอับมองได้ไม่เต็มตา
การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารดีเยี่ยม ถ้าให้เกรดก็อยู่ในระดับรถยุโรปราคาแพง เสียงรบกวนภายนอกและเสียงเครื่องยนต์แทบไม่เข้ามาระคายหู แม้จะขับช้า ขับเร็ว หรือเร่งความเร็วก็ตาม
เครื่องยนต์เบนซิน Theta-II ขนาด 2.0 ลิตร 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมระบบวาล์วแปรผัน D-CVVT ให้กำลังสูงสุด 165 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 198 นิวตันเมตร ที่ 4,600 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด การออกตัวทำกระฉับกระเฉง พารถไปข้างหน้าแบบพุ่งนิดๆ
ช่วงตีนต้นถือว่าขับสบาย เครื่องยนต์และเกียร์ตอบสนองดี แต่กระนั้นถ้าขับอยู่ช่วงความเร็ว 80 กม./ชม. แล้วต้องการความเร็วไปถึง 120-140 กม./ชม. พละกำลังอาจจะมาช้าสักนิด และอาจจะต้องเข่นคันเร่งมากหน่อย
บล็อกเกียร์แบบขั้นบันไดใช้งานคล่อง แต่ติดที่หัวเกียร์เล็กไปนิดจับไม่ถนัดมือผู้เขียนนัก (ตัวผู้เขียนอาจจะมือใหญ่) การไล่ความเร็วจากเกียร์ 1 ไปถึง เกียร์ 6 ทำได้ต่อเนื่องแบบนุ่มเรียบ
สิ่งหนึ่งที่ลดความสปอร์ตของรถรุ่นนี้คือการเซ็ทพวงมาลัยครับ แม้น้ำหนักอาจไม่เบาโหวงเสียทีเดียว แต่การการสั่งงานซ้ายขวาไม่แม่นยำนัก จังหวะเข้าโค้งหนักๆระยะพวงมาลัยออกแนวขาดๆเกินๆ และต้องคอยเลี้ยงการควบคุมตลอด ซึ่งประเด็นนี้ผู้เขียนก็เคยติในรุ่นเก่ามาแล้ว
อย่างไรก็ตามเจ้าของฉายา Camry Killer ชดเชยด้วยการเซ็ทช่วงล่าง ที่โครงสร้างด้านหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแบบมัลติลิงค์ ผู้เขียนรับรู้ถึงความสมดุลระหว่างความนุ่มนวล กับความหนึบแข็ง เพราะถ้าขับเรื่อยๆใช้งานทั่วไปก็นั่งสบายไร้ความด้าง หรือช่วงขับความเร็วสูง ยังให้ความหนึบแน่น วิ่งทางไกลต่างจังหวัดใช้ความเร็วเกิน 120 กม./ชม. รู้สึกมั่นใจ ช่วงเข้า-ออกโค้งก็ส่งผ่านน้ำหนักตัวรถได้เนียนๆ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน ทั้งวิ่งรถติดในเมือง และทางไกลต่างจังหวัดใช้ความเร็วสูงเกิน 120 กม./ชม. ทำได้เฉลี่ย 9-10 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร หรือตก 10-11 กิโลเมตรต่อลิตร
รวบรัดตัดความ... ขึ้นชื่อว่าเป็น “ดาราสาวเกาหลี” ต้องนำด้วยความสวย-หุ่นดี พร้อมความสามารถพอตัว ทั้งร้องเล่นเต้นพูด ฉันใดฉันนั้นกับ “ฮุนได โซนาต้า” ที่รูปลักษณ์เซ็กซี่โฉบเฉี่ยวทุกมุมมอง แต่เรื่องสมรรถนะการขับขี่อาจไม่สนุกเร้าใจเหมือนหน้าตา เรี่ยวแรงกำลัง-การควบคุมไม่โดดเด่น ส่วนราคานั้นสูงกว่าคู่แข่งเนื่องจากเป็นรถนำเข้าทั้งคัน แต่ก็อัดออปชันมาให้พอสมควร เอาเป็นว่าถ้าชอบหน้าตาสวยสด เส้นสายเฉียบคมให้อารมณ์ใหม่ที่แตกต่าง...คิดแค่นี้ก็ซื้อได้สบายใจครับ