ข่าวในประเทศ-ฟอร์ด เห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ฉบับใหม่ โดยยึดการปล่อยมลภาวะและความปลอดภัยเป็นหลัก ตามผลสรุปของการประชุมคณะรัฐมนตรีล่าสุด
จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ฉบับใหม่ ยึดหลักการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปล่อยมลภาวะและความปลอดภัย โดยค่ายรถยนต์ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ออกแถลงการสนับสนุนมติดังกล่าวอย่างเต็มที่
“โครงสร้างภาษีที่ยึดหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 จะเป็นการช่วยผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์ เช่น ฟอร์ด ยังคงนำเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุดมาสู่ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภคและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ด อาเซียน กล่าวและว่า
“เราจะติดตามความคืบหน้าของข้อเสนอด้านนโยบายฉบับเต็ม โดยจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป เราเข้าใจว่าจะมีองค์ประกอบบางอย่างในนโยบายนี้ และจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไปอีก ขณะเดียวกันฟอร์ดมีความยินดีถ้าหากมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อเสนอด้านนโยบายดังกล่าว”
สำหรับความคืบหน้าของผลการประชุม ครม. ได้สั่งให้ทั้ง 3 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม กลับไปทบทวนและจัดทำรายละเอียด เพื่อกลับมาเสนอที่ประชุมอีกครั้งภายใน 90 วัน
ขณะเดียวกัน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2554 โดยระบุว่าบริษัทมีรายได้สุทธิ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7.78 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 466 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.39 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา และหากนับเฉพาะภาคธุรกิจรถยนต์ มีผลกำไรก่อนหักภาษีรวมมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.28 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 936 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท) และมียอดค้าส่งโดยรวมอยู่ที่ 1.4 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 150,000 คัน
สำหรับผลประกอบการในประเทศไทยของฟอร์ด มีรายงานรวมอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ซึ่งมีกำไรก่อนหักภาษีที่ 33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 988 ล้านบาท) เทียบกับกำไรก่อนหักภาษีของปีก่อนที่ 23 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 688 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 300 ล้านบาท)
จากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบในการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ฉบับใหม่ ยึดหลักการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปล่อยมลภาวะและความปลอดภัย โดยค่ายรถยนต์ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ออกแถลงการสนับสนุนมติดังกล่าวอย่างเต็มที่
“โครงสร้างภาษีที่ยึดหลักของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 จะเป็นการช่วยผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์ เช่น ฟอร์ด ยังคงนำเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุดมาสู่ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภคและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” ปีเตอร์ ฟลีท ประธานฟอร์ด อาเซียน กล่าวและว่า
“เราจะติดตามความคืบหน้าของข้อเสนอด้านนโยบายฉบับเต็ม โดยจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป เราเข้าใจว่าจะมีองค์ประกอบบางอย่างในนโยบายนี้ และจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไปอีก ขณะเดียวกันฟอร์ดมีความยินดีถ้าหากมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อเสนอด้านนโยบายดังกล่าว”
สำหรับความคืบหน้าของผลการประชุม ครม. ได้สั่งให้ทั้ง 3 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม กลับไปทบทวนและจัดทำรายละเอียด เพื่อกลับมาเสนอที่ประชุมอีกครั้งภายใน 90 วัน
ขณะเดียวกัน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2554 โดยระบุว่าบริษัทมีรายได้สุทธิ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7.78 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 466 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.39 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา และหากนับเฉพาะภาคธุรกิจรถยนต์ มีผลกำไรก่อนหักภาษีรวมมูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 6.28 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 936 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท) และมียอดค้าส่งโดยรวมอยู่ที่ 1.4 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 150,000 คัน
สำหรับผลประกอบการในประเทศไทยของฟอร์ด มีรายงานรวมอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ซึ่งมีกำไรก่อนหักภาษีที่ 33 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 988 ล้านบาท) เทียบกับกำไรก่อนหักภาษีของปีก่อนที่ 23 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 688 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 300 ล้านบาท)