ผ่านพ้นปีฉลูที่ไม่ฉลุย สำหรับตลาดรถยนต์เมืองไทย ซึ่งก็เป็นไปตามความคาดหมายของหลายค่ายที่เตรียมปรับทัพรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจไว่ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการรัดเข็มขัด คุมเข้มค่าใช้จ่าย พร้อมลดกำลังการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามแม้ช่วง 6 เดือนแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.2552) จะสาหัสด้วยยอดขายรวมที่ลดลงกว่า 30% แต่หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มสดใสตามลำดับ เพราะสัญญาณเศรษฐกิจมีแววฟื้นตัว ราคาน้ำมันไม่ผันผวน การเมืองเริ่มนิ่ง ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเอง เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ยอดขายแต่ละเดือนกลับมาดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายของปีที่มีดัชนีชี้วัดอย่างงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2009 ก็พิสูจน์ว่า อารมณ์ใช้เงินของผู้บริโภคกลับมาแล้ว ด้วยยอดจองรถยนต์ภายในงานถล่มทลายกว่า 2.52 หมื่นคัน
ส่วนปี 2553ตลาดรถยนต์ไทยจะเป็นเสือคำรามหรือเสือโหย และสถานการณ์ต่างๆจะกลับมาอยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็นอีกครั้งหรือไม่? รวมถึงปัจจัยใดที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ?....แม่ทัพของแต่ละค่ายรถยนต์จะเป็นผู้ให้คำตอบ
ราคาสินค้าเกษตรพุ่งส่งปิกอัพฟื้น
เริ่มจากพี่ใหญ่ “โตโยต้า” ที่ปัจจุบันครองส่วนแบ่งในตลาดรวมกว่า 40% ซึ่งการขยับตัวแต่ละครั้งย่อมน่าสนใจและมีอิทธิพลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยทั้งสิ้น โดยศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การผลิตรถยนต์รวมในปี 2553มีแนวโน้มเติบโต 20% ด้วยปริมาณ 1.2 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ 600,000 คัน และส่งออกอีก 600,000 คัน
“มีหลายปัจจัยหนุนให้ตลาดรถยนต์ปีนี้ขยายตัว ทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มมีการปรับตัวลดลง สภาพเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีการฟื้นตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการประกันราคาของภาครัฐ และมาตรการการปล่อยสินเชื่อที่มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่กระนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆที่ยังต้องจับตา โดยเฉพาะสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมือง และปัญหาภาคใต้”
สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในปีหน้า คาดว่าสัดส่วนการขายรถยนต์นั่งและปิกอัพขนาด 1 ตัน จะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ 50/50 เนื่องจากในกลุ่มของปิกอัพนั้นเชื่อว่าตลาดยังมีความต้องการอยู่มาก ส่วนหนึ่งเพราะราคาพืชผลในตลาดโลก โดยเฉพาะข้าวจะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่ม และมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามไปด้วย
ด้านเจ้าพ่อปิกอัพ “อีซูซุ” ถือว่าได้ผลกระทบพอสมควรจากสภาพตลาดรถเพื่อการพานิชย์ รวมถึงยอดขายปิกอัพ 1 ตันถดถอยมาตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นนี้ ปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า จริงๆแล้วในปี 2552 การที่ยอดขายรถยนต์ลดลงไปมากไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริง โดยเฉพาะเซกเมนท์ปิกอัพที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรหรือทำอาชีพค้าขาย ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ก็เป็นธรรมดาที่บริษัทไฟแนนซ์จำเป็นต้องเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ไม่มีเงินเดือนประจำหรือเอกสารรับรองเหมือนพนักงานบริษัททั่วไป
“ลูกค้าปิกอัพกว่า 90% จะซื้อรถด้วยระบบเงินผ่อน ดังนั้นเมื่อไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ย่อมส่งผลโดยตรงกับยอดขาย อย่างไรก็ตามในช่วงไตรามาสสุดท้ายของปี 2552 มีสัญญาณเศรฐกิจดีขึ้น สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับการเปิดตัว ดีแมคซ์ ซูเปอร์แพลททินั่ม ช่วงเดือนกันยายน พร้อมระบบนำทาง ไอ-จินนี่ ก็ได้การตอบรับเป็นอย่างดี”
ในปี 2553 สถาบันการเงินจะแข่งขันกันสูง โดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือสำคัญ ขณะเดียวกันด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พร้อมราคาพืชผลทางการเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น จะส่งผลให้ตลาดปิกอัพกลับมาคึกคักอีกครั้ง ส่วนตลาดรวมยอดขายน่าจะปิดถึง 6 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่ทำได้ 5.4-5.5 แสนคัน
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบที่ต้องจับตา ทั้งการผันผวนของราคาน้ำมัน การเมือง และการลดค่าเงินของประเทศอื่นๆ อันจะส่งผลกับภาคการส่งออกของประเทศ ในส่วนของการส่งออกรถยนต์ในปีนี้ยังคาดการณ์ลำบาก แต่เชื่อมั่นว่าจะดีกว่าปี 2552แน่นอน
ตลาดเก๋งเดือด
สำหรับรถยนต์นั่ง ยังเป็นเซกเมนท์ที่ร้อนแรงต่อเนื่อง โดยยอดขายรวมในปีที่ผ่านมาถือว่าทรงตัว เมื่อเทียบกับการตกหวบของตลาดรวมหรือปิกอัพ ทั้งนี้ค่ายที่นอนมาคงต้องยกให้ “ฮอนด้า” ที่มีโปรดักต์เก๋งล้วนๆในการทำตลาด ซึ่งหลังปิดยอดขายในปี 2552 ยังมีตัวเลขเป็นบวก ต่างจากค่ายอื่นๆที่ติดลบกันถ้วนหน้า
“การทำงานหนักของพนักงาน รวมถึงทีมงาน R&D (วิจัยและพัฒนา) ที่นำความต้องการของลูกค้ามาใส่ในตัวโปรดักต์ ซึ่งเห็นได้จากรถยนต์ของฮอนด้าที่ได้รับความนิยมมาก พร้อมสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง สวนทางกับสภาพตลาดรวมที่ถดถอย” อาซึชิ ฟูจิโมโต ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวและว่า
ราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ตลาดรถยนต์นั่งเติบโต โดยเฉพาะรถขนาดเล็กที่เตรียมทยอยเปิดตัวจากนี้ไป จะทำให้ตลาดคึกคักกว่าเดิม ขณะที่ฮอนด้าเองจะพยายามรักษายอดขายให้เท่ากับปีที่แล้ว หรืออย่างน้อย 90,000 คัน
“จากวิกฤตทั่วโลก ไทยถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก ที่สำคัญวิกฤตเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และคงไม่ต่ำมากไปกว่านี้ ในส่วนของตลาดรถยนต์คงจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 5-10 % เมื่อเทียบกับปี 2552” นายฟูจิโมโต กล่าว
ด้านมาสด้าที่ได้อาวุธใหม่คือ “มาสด้า 2” ก็ยิ้มไม่หุบเช่นกัน เมื่อเก๋งเล็กน้องใหม่กวาดยอดจองไปกว่า3,000 หลังการเปิดตัวไม่ถึง 1 เดือน โดย จอห์น เรย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า มาสด้าประสบความสำเร็จอย่างดี จากรถหลายรุ่นๆ รวมถึง มาสด้า 2 ที่เพิ่งเปิดตัวไป ส่วนปี 2553คาดว่าจะมีเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดรวมจาก 2.3% เป็น 4.5-5%
“ตลาดรถยนต์ปี 2552ปิดยอดขายสูงกว่าการคาดการณ์ในตอนแรก ส่วนปี 2553ที่เชื่อว่ายอดขายรวมทุกรุ่นจะทำได้ 5.6 แสนคัน แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์ยังมีปัจจัยลบที่ต้องจับตาคือ เศรษฐกิจโลก เช่น ปัญหาดูไบ และการเมืองภายในประเทศ”นายเรย์ กล่าว
หวังอีโคคาร์ดันตลาดคึกคัก
นิสสัน ถือเป็นค่ายรถยนต์แรกที่ประกาศความพร้อม ในการเปิดตัวรถยนต์โครงการอีโคคาร์ โดยโทรุ ฮาเซกาวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า อีโคคาร์ของนิสสันจะเริ่มขึ้นไลน์ผลิตช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นจะเปิดตัวกลางเดือนมีนาคม หรือพร้อมขายจริงตั้งแต่งานบางกอกมอเตอร์โชว์ 2010 เป็นต้นไป ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าผลิตปีแรก85,000-90,000 คัน โดย 1/3 รองรับตลาดในประเทศ และ 2/3 เป็นการส่งออก
ขณะที่ตลาดรถยนต์ปี 2553น่าจะปิดยอดขายถึง 6 แสนคัน เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น และเชื่อว่าตัวเลขจีดีพี จะเพิ่มขึ้น 4-5% ทั้งนี้การขยายตัวของตลาดรถยนต์จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วน หรือ อุตสาหกรรมวัตถุดิบดีขึ้นตามไปด้วย
โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทยปรัวตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ พร้อมกันนี้การเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ปลายปี 2552 และต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ทั้งหมดจะผลักดันให้ตลาดรถยนต์กลับมาฟื้นตัว
“คาดว่าตลาดรถยนต์ไทยปี 2553 ยอดขายจะเพิ่มขึ้น 3-5% หรืออยู่ที่ระดับ 520,000 -540,000 คัน ซึ่งปัจจัยบวกจะมาจากการเปิดตัวอีโคคาร์ ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความมั่นใจของผู้บริโภค ขณะที่การส่งออกมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งตลาดที่มีการฟื้นตัวน่าพอใจได้แก่ เอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา ทำให้ภาพรวมการส่งออกรถยนต์จากไทย จะปรับตัวดีขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับปีที่ 2552 ผ่านมา”
ด้านสตีฟ คาร์ไลส์ ประธานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าตลาดรถยนต์ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งปีนี้ก็มั่นใจว่าจะขยายตัวต่อไป แม้จะไม่มากนัก แต่ก็เชื่อว่าไม่ต่ำกว่า 10% อย่างแน่นอน เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รถหรูฉลุยเบนซ์-BMWชูบริการ
ต้องบอกว่าตลาดรถหรูเมืองไทย ไม่ได้เงียบเหงาไปตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะหลังปิดยอดสะสมถึงเดือนธันวาคม 2552 หลายยี่ห้อยังทำตัวเลขได้สวยงาม ไม่ว่าจะเป็น“เมอร์เซเดส-เบนซ์” หรือ “บีเอ็มดับเบิลยู”
เริ่มจาก ศ.ดร.อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยจะชะลอตัว แต่ในส่วนของเมอร์เซเดส-เบนซ์สามารถรักษายอดขายที่เป็นบวกไว้ได้ พร้อมรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดรถหรูต่อไป
“ปี 2553เราตั้งใจจะรักษาสถานะตรงนี้ไว้ แม้ยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจริงไม่ รวมถึงความผันผวนทางการเมืองของไทย ฉะนั้นเราจึงต้องทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะการเตรียมไลน์สินค้าที่จะทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ในประเทศ(CKD) รวมถึงรุ่นที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ(CBU)”
นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมรุกตลาดฟรีต หรือรถสำหรับลูกค้าองค์กร ด้วยการกระจายบทบาทให้ดีลเลอร์ได้ทำตลาดมากขึ้น โดยบริษัทจะสนับสนุนทั้งเรื่องของราคา และแพ็กเกจบริการต่างๆ รวมถึงใช้กลยุทธ์เปิดโชว์รูมเคลื่อนที่ไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งจะเน้นจุดที่บริษัทและดีลเลอร์ยังเข้าไม่ถึง และคาดว่าจากทุกแผนงานจะทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์มียอดขายเพิ่มขึ้นแน่นอน” ศ.ดร.เพาฟเลอร์กล่าว
ด้านคาร์ล รูดิเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดรถหรูในช่วงที่ผ่านมา ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับเรื่องของความประหยัดน้ำมัน ซึ่งกลายเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ซึ่งบริษัทเองมีการเตรียมแผนงานรองรับทั้งด้านผลิตภัณฑ์ และการบริการ ส่งผลให้สถานการณ์ด้านยอดขายของบริษัทมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างมาก
“เราได้การยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องของดีลเลอร์เน็ตเวิร์ค ก็มีการให้บริการลูกค้าที่ดี และปรับปรุงการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเปิดเซอร์วิสเอาท์เล็ตเพิ่มขึ้น ส่วนแผนการตลาดในปี 2553 เรายังคงเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยโปรดักต์ที่หลากหลาย ราคาสมเหตุสมผล”
ปิดท้ายด้วยค่ายรถหรูจากสวีเดน “วอลโว่” โดย ฉันทนา วัฒนารมย์ ประธาน บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทิศทางตลาดรถยนต์ในปี 2553 หากไม่มีปัญหาอะไรมาส่งผลกระทบ น่าจะทำให้ภาพรวมมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปี 2552
“ปัจจัยเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวทั่วโลก น่าจะส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์ไทย แต่การเมืองยังดูอึมครึมไม่ชัดเจน จึงต้องจับตาดูอย่างระมัดระวัง หากเกิดอะไรย่อมต้องส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และตลาดรถยนต์แน่นอน ในส่วนของตลาดรถยนต์หรูหรายังประเมินลำบาก แต่สถานการณ์ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก น่าจะขยายตัวตามตลาดรวมได้ ในส่วนของวอลโว่เองก็จะพยายามฟื้นยอดขายให้ได้มากที่สุด โดยมีรุ่นเอส80,วี50และเอส40 เป็นตัวขายหลัก” นางฉันทนา กล่าว
...ทั้งหมดเป็นมุมมองจากหลายค่ายรถยนต์ ที่ต่างเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีเสือคำราม 2553 นี้ ตลาดจะกลับมาฟื้นตัวสดใสอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามแม้ช่วง 6 เดือนแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.2552) จะสาหัสด้วยยอดขายรวมที่ลดลงกว่า 30% แต่หลังจากนั้นสถานการณ์ก็เริ่มสดใสตามลำดับ เพราะสัญญาณเศรษฐกิจมีแววฟื้นตัว ราคาน้ำมันไม่ผันผวน การเมืองเริ่มนิ่ง ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเอง เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้ยอดขายแต่ละเดือนกลับมาดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายของปีที่มีดัชนีชี้วัดอย่างงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2009 ก็พิสูจน์ว่า อารมณ์ใช้เงินของผู้บริโภคกลับมาแล้ว ด้วยยอดจองรถยนต์ภายในงานถล่มทลายกว่า 2.52 หมื่นคัน
ส่วนปี 2553ตลาดรถยนต์ไทยจะเป็นเสือคำรามหรือเสือโหย และสถานการณ์ต่างๆจะกลับมาอยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็นอีกครั้งหรือไม่? รวมถึงปัจจัยใดที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ?....แม่ทัพของแต่ละค่ายรถยนต์จะเป็นผู้ให้คำตอบ
ราคาสินค้าเกษตรพุ่งส่งปิกอัพฟื้น
เริ่มจากพี่ใหญ่ “โตโยต้า” ที่ปัจจุบันครองส่วนแบ่งในตลาดรวมกว่า 40% ซึ่งการขยับตัวแต่ละครั้งย่อมน่าสนใจและมีอิทธิพลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยทั้งสิ้น โดยศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การผลิตรถยนต์รวมในปี 2553มีแนวโน้มเติบโต 20% ด้วยปริมาณ 1.2 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ 600,000 คัน และส่งออกอีก 600,000 คัน
“มีหลายปัจจัยหนุนให้ตลาดรถยนต์ปีนี้ขยายตัว ทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มมีการปรับตัวลดลง สภาพเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีการฟื้นตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการประกันราคาของภาครัฐ และมาตรการการปล่อยสินเชื่อที่มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่กระนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆที่ยังต้องจับตา โดยเฉพาะสถานการณ์ความมั่นคงทางการเมือง และปัญหาภาคใต้”
สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในปีหน้า คาดว่าสัดส่วนการขายรถยนต์นั่งและปิกอัพขนาด 1 ตัน จะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ 50/50 เนื่องจากในกลุ่มของปิกอัพนั้นเชื่อว่าตลาดยังมีความต้องการอยู่มาก ส่วนหนึ่งเพราะราคาพืชผลในตลาดโลก โดยเฉพาะข้าวจะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่ม และมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามไปด้วย
ด้านเจ้าพ่อปิกอัพ “อีซูซุ” ถือว่าได้ผลกระทบพอสมควรจากสภาพตลาดรถเพื่อการพานิชย์ รวมถึงยอดขายปิกอัพ 1 ตันถดถอยมาตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นนี้ ปนัดดา เจณณวาสิน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า จริงๆแล้วในปี 2552 การที่ยอดขายรถยนต์ลดลงไปมากไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริง โดยเฉพาะเซกเมนท์ปิกอัพที่ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรหรือทำอาชีพค้าขาย ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ก็เป็นธรรมดาที่บริษัทไฟแนนซ์จำเป็นต้องเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ไม่มีเงินเดือนประจำหรือเอกสารรับรองเหมือนพนักงานบริษัททั่วไป
“ลูกค้าปิกอัพกว่า 90% จะซื้อรถด้วยระบบเงินผ่อน ดังนั้นเมื่อไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ย่อมส่งผลโดยตรงกับยอดขาย อย่างไรก็ตามในช่วงไตรามาสสุดท้ายของปี 2552 มีสัญญาณเศรฐกิจดีขึ้น สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับการเปิดตัว ดีแมคซ์ ซูเปอร์แพลททินั่ม ช่วงเดือนกันยายน พร้อมระบบนำทาง ไอ-จินนี่ ก็ได้การตอบรับเป็นอย่างดี”
ในปี 2553 สถาบันการเงินจะแข่งขันกันสูง โดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือสำคัญ ขณะเดียวกันด้วยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พร้อมราคาพืชผลทางการเกษตรมีแนวโน้มดีขึ้น จะส่งผลให้ตลาดปิกอัพกลับมาคึกคักอีกครั้ง ส่วนตลาดรวมยอดขายน่าจะปิดถึง 6 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่ทำได้ 5.4-5.5 แสนคัน
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบที่ต้องจับตา ทั้งการผันผวนของราคาน้ำมัน การเมือง และการลดค่าเงินของประเทศอื่นๆ อันจะส่งผลกับภาคการส่งออกของประเทศ ในส่วนของการส่งออกรถยนต์ในปีนี้ยังคาดการณ์ลำบาก แต่เชื่อมั่นว่าจะดีกว่าปี 2552แน่นอน
ตลาดเก๋งเดือด
สำหรับรถยนต์นั่ง ยังเป็นเซกเมนท์ที่ร้อนแรงต่อเนื่อง โดยยอดขายรวมในปีที่ผ่านมาถือว่าทรงตัว เมื่อเทียบกับการตกหวบของตลาดรวมหรือปิกอัพ ทั้งนี้ค่ายที่นอนมาคงต้องยกให้ “ฮอนด้า” ที่มีโปรดักต์เก๋งล้วนๆในการทำตลาด ซึ่งหลังปิดยอดขายในปี 2552 ยังมีตัวเลขเป็นบวก ต่างจากค่ายอื่นๆที่ติดลบกันถ้วนหน้า
“การทำงานหนักของพนักงาน รวมถึงทีมงาน R&D (วิจัยและพัฒนา) ที่นำความต้องการของลูกค้ามาใส่ในตัวโปรดักต์ ซึ่งเห็นได้จากรถยนต์ของฮอนด้าที่ได้รับความนิยมมาก พร้อมสร้างยอดขายได้อย่างต่อเนื่อง สวนทางกับสภาพตลาดรวมที่ถดถอย” อาซึชิ ฟูจิโมโต ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวและว่า
ราคาน้ำมันยังเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ตลาดรถยนต์นั่งเติบโต โดยเฉพาะรถขนาดเล็กที่เตรียมทยอยเปิดตัวจากนี้ไป จะทำให้ตลาดคึกคักกว่าเดิม ขณะที่ฮอนด้าเองจะพยายามรักษายอดขายให้เท่ากับปีที่แล้ว หรืออย่างน้อย 90,000 คัน
“จากวิกฤตทั่วโลก ไทยถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก ที่สำคัญวิกฤตเศรษฐกิจผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และคงไม่ต่ำมากไปกว่านี้ ในส่วนของตลาดรถยนต์คงจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายน่าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 5-10 % เมื่อเทียบกับปี 2552” นายฟูจิโมโต กล่าว
ด้านมาสด้าที่ได้อาวุธใหม่คือ “มาสด้า 2” ก็ยิ้มไม่หุบเช่นกัน เมื่อเก๋งเล็กน้องใหม่กวาดยอดจองไปกว่า3,000 หลังการเปิดตัวไม่ถึง 1 เดือน โดย จอห์น เรย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า มาสด้าประสบความสำเร็จอย่างดี จากรถหลายรุ่นๆ รวมถึง มาสด้า 2 ที่เพิ่งเปิดตัวไป ส่วนปี 2553คาดว่าจะมีเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดรวมจาก 2.3% เป็น 4.5-5%
“ตลาดรถยนต์ปี 2552ปิดยอดขายสูงกว่าการคาดการณ์ในตอนแรก ส่วนปี 2553ที่เชื่อว่ายอดขายรวมทุกรุ่นจะทำได้ 5.6 แสนคัน แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์ยังมีปัจจัยลบที่ต้องจับตาคือ เศรษฐกิจโลก เช่น ปัญหาดูไบ และการเมืองภายในประเทศ”นายเรย์ กล่าว
หวังอีโคคาร์ดันตลาดคึกคัก
นิสสัน ถือเป็นค่ายรถยนต์แรกที่ประกาศความพร้อม ในการเปิดตัวรถยนต์โครงการอีโคคาร์ โดยโทรุ ฮาเซกาวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า อีโคคาร์ของนิสสันจะเริ่มขึ้นไลน์ผลิตช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นจะเปิดตัวกลางเดือนมีนาคม หรือพร้อมขายจริงตั้งแต่งานบางกอกมอเตอร์โชว์ 2010 เป็นต้นไป ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าผลิตปีแรก85,000-90,000 คัน โดย 1/3 รองรับตลาดในประเทศ และ 2/3 เป็นการส่งออก
ขณะที่ตลาดรถยนต์ปี 2553น่าจะปิดยอดขายถึง 6 แสนคัน เนื่องจากทิศทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น และเชื่อว่าตัวเลขจีดีพี จะเพิ่มขึ้น 4-5% ทั้งนี้การขยายตัวของตลาดรถยนต์จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วน หรือ อุตสาหกรรมวัตถุดิบดีขึ้นตามไปด้วย
โนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทยปรัวตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ พร้อมกันนี้การเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ปลายปี 2552 และต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ทั้งหมดจะผลักดันให้ตลาดรถยนต์กลับมาฟื้นตัว
“คาดว่าตลาดรถยนต์ไทยปี 2553 ยอดขายจะเพิ่มขึ้น 3-5% หรืออยู่ที่ระดับ 520,000 -540,000 คัน ซึ่งปัจจัยบวกจะมาจากการเปิดตัวอีโคคาร์ ตลอดจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความมั่นใจของผู้บริโภค ขณะที่การส่งออกมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งตลาดที่มีการฟื้นตัวน่าพอใจได้แก่ เอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา ทำให้ภาพรวมการส่งออกรถยนต์จากไทย จะปรับตัวดีขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับปีที่ 2552 ผ่านมา”
ด้านสตีฟ คาร์ไลส์ ประธานบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าตลาดรถยนต์ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งปีนี้ก็มั่นใจว่าจะขยายตัวต่อไป แม้จะไม่มากนัก แต่ก็เชื่อว่าไม่ต่ำกว่า 10% อย่างแน่นอน เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รถหรูฉลุยเบนซ์-BMWชูบริการ
ต้องบอกว่าตลาดรถหรูเมืองไทย ไม่ได้เงียบเหงาไปตามภาวะเศรษฐกิจ เพราะหลังปิดยอดสะสมถึงเดือนธันวาคม 2552 หลายยี่ห้อยังทำตัวเลขได้สวยงาม ไม่ว่าจะเป็น“เมอร์เซเดส-เบนซ์” หรือ “บีเอ็มดับเบิลยู”
เริ่มจาก ศ.ดร.อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แม้ภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยจะชะลอตัว แต่ในส่วนของเมอร์เซเดส-เบนซ์สามารถรักษายอดขายที่เป็นบวกไว้ได้ พร้อมรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดรถหรูต่อไป
“ปี 2553เราตั้งใจจะรักษาสถานะตรงนี้ไว้ แม้ยังไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวจริงไม่ รวมถึงความผันผวนทางการเมืองของไทย ฉะนั้นเราจึงต้องทำงานอย่างหนัก โดยเฉพาะการเตรียมไลน์สินค้าที่จะทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ในประเทศ(CKD) รวมถึงรุ่นที่จะนำเข้าจากต่างประเทศ(CBU)”
นอกจากนี้บริษัทยังเตรียมรุกตลาดฟรีต หรือรถสำหรับลูกค้าองค์กร ด้วยการกระจายบทบาทให้ดีลเลอร์ได้ทำตลาดมากขึ้น โดยบริษัทจะสนับสนุนทั้งเรื่องของราคา และแพ็กเกจบริการต่างๆ รวมถึงใช้กลยุทธ์เปิดโชว์รูมเคลื่อนที่ไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ ซึ่งจะเน้นจุดที่บริษัทและดีลเลอร์ยังเข้าไม่ถึง และคาดว่าจากทุกแผนงานจะทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์มียอดขายเพิ่มขึ้นแน่นอน” ศ.ดร.เพาฟเลอร์กล่าว
ด้านคาร์ล รูดิเกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดรถหรูในช่วงที่ผ่านมา ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับเรื่องของความประหยัดน้ำมัน ซึ่งกลายเป็นปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ ซึ่งบริษัทเองมีการเตรียมแผนงานรองรับทั้งด้านผลิตภัณฑ์ และการบริการ ส่งผลให้สถานการณ์ด้านยอดขายของบริษัทมีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างมาก
“เราได้การยอมรับจากลูกค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องของดีลเลอร์เน็ตเวิร์ค ก็มีการให้บริการลูกค้าที่ดี และปรับปรุงการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเปิดเซอร์วิสเอาท์เล็ตเพิ่มขึ้น ส่วนแผนการตลาดในปี 2553 เรายังคงเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้วยโปรดักต์ที่หลากหลาย ราคาสมเหตุสมผล”
ปิดท้ายด้วยค่ายรถหรูจากสวีเดน “วอลโว่” โดย ฉันทนา วัฒนารมย์ ประธาน บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ทิศทางตลาดรถยนต์ในปี 2553 หากไม่มีปัญหาอะไรมาส่งผลกระทบ น่าจะทำให้ภาพรวมมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปี 2552
“ปัจจัยเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวทั่วโลก น่าจะส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์ไทย แต่การเมืองยังดูอึมครึมไม่ชัดเจน จึงต้องจับตาดูอย่างระมัดระวัง หากเกิดอะไรย่อมต้องส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และตลาดรถยนต์แน่นอน ในส่วนของตลาดรถยนต์หรูหรายังประเมินลำบาก แต่สถานการณ์ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก น่าจะขยายตัวตามตลาดรวมได้ ในส่วนของวอลโว่เองก็จะพยายามฟื้นยอดขายให้ได้มากที่สุด โดยมีรุ่นเอส80,วี50และเอส40 เป็นตัวขายหลัก” นางฉันทนา กล่าว
...ทั้งหมดเป็นมุมมองจากหลายค่ายรถยนต์ ที่ต่างเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ปีเสือคำราม 2553 นี้ ตลาดจะกลับมาฟื้นตัวสดใสอีกครั้ง