xs
xsm
sm
md
lg

“เชลล์” เบื้องหลังพลังแชมป์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ปิดฉากไปอย่างสวยงามกับการแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลกสนามที่ 16 “เชลล์ แอ๊ดวานซ์ มาเลเซียน มอเตอร์ไซค์เคิล กรังด์ปรีซ์” ณ สนามเซปัง เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กับการฉลองในฐานะแชมป์โลก โมโต จีพี(Moto GP) ครั้งที่ 7 ของ “เดอะ ดอกเตอร์” วาเลนติโน รอซซี่ เมื่อคว้าตำแหน่งอันดับ 3 ในการแข่งรายการนี้ ขณะที่แชมป์สนามตกเป็นของ “เคซี่ สโตนเนอร์” จากทีม ดูคาติ
เติมน้ำมันเชลล์ วี-พาวเวอร์ ที่มีข้อจำกัดด้วยปริมาณเพียง 21 ลิตรต่อการแข่งขันแต่ละครั้ง
การคว้าชัยชนะของทีม ดูคาติ นอกจากฝีมือของตัวนักบิดกับการร่วมมือของทีมงานดูคาติแล้ว ยังมีอีกหนึ่งเบื้องหลังสำคัญที่ช่วยทำให้รถแข่งสามารถบรรลุเป้าหมายถึงเส้นชัยได้โดยไม่พังหรือเสียหายไประหว่างการแข่งขันนั่นคือ เชลล์ แอ็ดว้านซ์
“ดูคาติ” คบหากับ “เชลล์” ในการร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์น้ำมันเครื่องที่สามารถช่วยปกป้องรถจักรยานยนต์ของดูคาติได้ โดยทั้งคู่ถือเป็นพันธมิตรที่จับมือกันมานานถึง 10 ปี สำหรับการเข้าร่วมชิงชัยรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก

สำหรับปีนี้ ทางดูคาติ ใช้รถ “ดูคาติ เดสโมซีดิซี จีพี9” (Ducati Desmosedici GP9) ขณะที่เชลล์ ใช้น้ำมันเครื่อง เชลล์ แอ๊ดว้านซ์ อัลตร้า 4 (Shell Advance Ultra4) หล่อลื่นเครื่องยนต์และชุดเกียร์ พร้อมกับสนับสนุน เชลล์ วีพาวเวอร์ (Shell V-power) เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
ภายในพิตของทีมดูคาติ
อย่างไรก็ตามช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางผู้จัดการแข่งขันมีการปรับเปลี่ยนกฎกติกามาตรฐานของตัวรถสำหรับการแข่งขันอย่างหลากหลาย ทำให้ทั้ง ดูคาติ และเชลล์ ต้องร่วมมือกัน สร้างสรรค์เทคโนโลยีต่างๆ ให้เหมาะสมเช่นฤดูกาลนี้(ปี 2009) กฎใหม่กำหนดให้นักแข่งแต่ละคนสามารถใช้เครื่องยนต์ได้ไม่เกิน 5 เครื่องในการแข่งขัน 7 สนามสุดท้ายของโมโตจีพี

หมายความว่า เครื่องยนต์จะต้องมีอายุการใช้งานมากกว่าเดิม ทีมแข่งต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น นั่นคือ หน้าที่หลักของน้ำมันเครื่อง และถือเป็นเรื่องท้าทายทีมนักวิจัยและวิศวกรด้านน้ำมันเป็นอย่างยิ่ง
ขุมพลังของดูคาติ
ไมเคิล แน็ค ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาน้ำมันหล่อลื่นและหัวหน้าโครงการความร่วมมือกับดูคาติ เชลล์ โกลบอล โซลูชั่น อธิบายถึงหน้าที่ของน้ำมันเครื่องว่า มีหน้าที่หลัก 3 ประการได้แก่ หนึ่งลดแรงเสียดทาน สองช่วยคงประสิทธิภาพของชุดเกียร์ และสุดท้ายปกป้องชิ้นส่วนที่เครื่องไหวทุกชิ้นในเครื่องยนต์ ซึ่งน้ำมันเครื่องเชลล์ แอดวานซ์ ทำทุกอย่างที่กล่าวมากับเครื่องยนต์ของรถดูคาติ ในการแข่งขัน

ทั้งนี้ การพัฒนาน้ำมันหล่อลื่น เชลล์ แอ๊ดว้านซ์ สำหรับรถแข่งเป็นอย่างไร แน็ค เปิดเผยว่า มีกระบวนการที่ซับซ้อน โดยนักวิจัยของเชลล์จะเริ่มต้นจากการคิดค้นสูตรน้ำมันเครื่องต้นแบบขึ้นในห้องทดลองที่เมืองฮัมบูร์ก หลังจากนั้นส่งน้ำมันสูตรทดสอบไปให้กับทีม ดูคาติ คอร์ส เพื่อทดสอบในห้องจำลองสภาพการใช้งาน ก่อนจะถูกส่งต่อไปทดสอบภายใต้สภาพการใช้งานจริงอีกครั้ง
ดูชัดๆ ถังน้ำมันมีความจุเพียง 21 ลิตร
กระบวนการทดสอบทั้งหมดจะกินเวลารวมกันกว่า 2,500 ชั่วโมง โดยใช้ทีมนักวิจัยและวิศวกรถึง 12 คนร่วมกันดูแล เมื่อทีมวิศวกรของเชลล์และดูคาติ คอร์ส มีความเห็นพ้องกันและพึงพอใจแล้วน้ำมันเครื่องสูตรดังกล่าวจึงจะมีสิทธิถูกนำมาใช้เพื่อแข่งขันได้

แน่นอนว่า น้ำมันเครื่องและน้ำมันเชื้อเพลิงที่เชลล์ใช้กับดูคาติในการแข่งขันจะแตกต่างกับที่เชลล์ขายในตลาด แต่เทคโนโลยีต่างๆ จะถูกรวบรวมและนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการขายให้ลูกค้าทั่วไป โดยมีทีมงานมาดูแลและเก็บตัวอย่างน้ำมันที่ภายหลังการใช้งาน พร้อมกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างกันและกัน
ที่เก็บยางของรถแข่งของนักบิดทั้ง 2 คนของทีม
ด้าน ลิวิโอ ซัปโป ผู้จัดการโครงการโมโตจีพีของทีมดูคาติ คอร์ส ให้ความเห็นว่า กฎใหม่ที่เริ่มใช้ในฤดูการแข่งขันปีนี้ ทำให้ เชลล์ แอ็ดว้านซ์ พุ่งความสนใจไปที่การปกป้องเครื่องยนต์เป็นหลัก เพราะในสนามแข่งเครื่องยนต์ต้องรับบทหนักที่สุด แต่ก็ยังคงไม่ละทิ้งเป้าหมายเดิมคือ เพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด

ความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างเชลล์กับดูคาติ ผ่านบทพิสูจน์ด้วยความสำเร็จสูงสุดมาแล้ว เมื่อปี 2007 กับการคว้าแชมป์ทั้ง 3 ประเภท ผู้ขับขี่ (เคซี่ สโตเนอร์), ผู้ผลิต(ดูคาติ) และทีมแข่ง(ดูคาติ คอร์ส) พร้อมกับตัวเลขชัยชนะถึง 150 สนามตลอดเวลา 10 ปีของการจับมือกันแข่งขันรายการโมโตจีพีและซูเปอร์ไบค์ชิงแชมป์โลก
แล็บวิจัยเคลื่อนที่ของเชลล์
การคว้าแชมป์ครั้งนั้นของทีมดูคาติ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีของผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์สัญชาติอื่นที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น ส่วนในฤดูกาลนี้ แม้ว่าตำแหน่งแชมป์โลกจะตกไปอยู่กับทีมยามาฮ่าก็ตาม แต่ยังเหลือการแข่งขันอีกหนึ่งสนาม และแน่นอนเส้นทางของดูคาติ กับเชลล์จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาร่วมกันต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ทั่วโลก

ตัวอย่างน้ำมันเครื่องที่ถูกเก็บมาหลังจากการใช้งานในภาพเป็นของ เคซี่ สโตเนอร์
เชลล์กับการแข่งขันโมโตจีพี
ปี 2009 นับเป็นปีที่ครบรอบ 10 ปี ความร่วมมือกันทางเทคนิคระหว่างเชลล์และดูคาติ คอร์ส การมีส่วนร่วมของเชลล์ในการแข่งขันรถจักรยานยนต์ระดับสูงสุดของโลกส่งผลต่อการพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิง เชลล์ วี พาวเวอร์ และน้ำมันเครื่อง เชลล์ แอ็ดว้านซ์ โดยถ่ายทอดความรู้ที่ได้มาจากสนามแข่งสู่ผลิตภัณฑ์เชลล์เพื่อการใช้งานบนท้องถนน อันเป็นวัตถุประสงค์หลักของการร่วมมือกันดังปรัชญา “จากสนามแข่งสู่ท้องถนน” เนื่องจากโมโตจีพีถือเป็นเวทีทดสอบผลิตภัณฑ์ของเชลล์ได้เป็นอย่างดี จากการแข่งขัน 17 สนามในกว่า 14 ประเทศทั่วโลก
นักวิจัยเก็บข้อมูลทันที
เชลล์ วี-พาวเวอร์
การพัฒนาสูตรน้ำมันเชื้อเพลิงวี-พาวเวอร์ นอกจากการให้พละกำลังสูงสุดของเครื่องยนต์แล้วเรื่องความประหยัดถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะ กฎของการแข่งขันโมโตจีพีจะไม่อนุญาตให้เติมน้ำมันระหว่างการแข่งขันได้และกำหนดให้ถังน้ำมันมีขนาดความจุสูงสุดไม่เกิน 21 ลิตร (การแข่งต่อครั้งมีระยะทางราว 100 กม.) ดังนั้นการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ไมเคิล แน็ค (ขวาสุด) และทีมนักวิจัย&วิศวกรของเชลล์
เชลล์ แอ๊ดว้านซ์
ข้อบังคับฉบับใหม่ของสหพันธ์การแข่งขันรถจักรยานยนต์สากลปี 2009 (FIM - Federation Internationale de Motocyclisme ) บัญญัติไว้ว่า สำหรับฤดูการแข่งขันโมโตจีพี 2009 ใน 7 สนามสุดท้ายนักแข่งแต่ละคนสามารถใช้เครื่องยนต์ได้จำนวน 5 เครื่อง ดังนั้น เชลล์ แอ็ดว้านซ์ จึงถูกออกแบบเพื่อปกป้องและดูแลรักษาสมรรถนะเครื่องยนต์ จีพี 9 เดสโมซีดีซี่ ตลอดทุกช่วงการแข่งขัน
สองนักแข่งของทีมดูคาติ เคซี่ สโตเนอร์(รถหมายเลข 27) และ นิคกี้ เฮเดน (รถหมายเลข 69)
กำลังโหลดความคิดเห็น