กระแสโลกร้อน ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม และความพยายามดิ้นรนหาทางหลุดพ้นจากห่วงของการพึ่งพาพลังงานจากใต้โลกอย่างน้ำมันดิบด้วยการคิดค้นเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกใหม่ๆ ยังเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตไม่เฉพาะรถยนต์เท่านั้น ที่ให้ความสนใจ แต่ยังรวมถึงผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงประเภทนี้อีกด้วย
ไฮบริดยังถูกมองว่าเป็นแค่ตัวชะลอและยืดระยะเวลาในการเดินหน้าสู่ปัญหาที่แท้จริง นั่นก็คือ น้ำมันหมดโลก แต่ไม่ได้ลดการพึ่งพาอย่างแท้จริง ส่วนเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell ก็ยังมีข้อจำกัดที่น่าห่วงอย่างเรื่องของต้นทุนและความสะดวกในการใช้งาน
ขณะที่ EREV ซึ่งจะเรียกอย่างสวยหรูว่า Extended Range Electric Vehicle หรือรถยนต์พลังไฟฟ้าแบบขับได้ระยะทางเพิ่มขึ้น และจะเปิดตัวกับเชฟโรเลต โวลต์ในปีหน้า ก็ยังถูกมองว่าคลุมเคลือระหว่างการเป็นเทคโนโลยีใหม่ หรือเป็นแค่ของเก่าเอามาทำใหม่ เพราะรูปแบบที่เป็นอยู่หลายฝ่ายมองว่าเป็นระบบไฮบริดแบบ Series Hybrid ชัดๆ เพราะจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีไฮบริดเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้วด้วยมันสมองของเฟอร์ดินันด์ พอร์ชก็ใช้รูปแบบของการขับเคลื่อนในลักษณะนี้ และสุดท้ายก็ไม่ได้ตัดขาดการพึ่งพาน้ำมันในระหว่างการใช้งานอย่างแท้จริง
ยิ่งพยายามคิดหรือหาทางออก แต่ดูเหมือนว่าสุดท้ายแล้วทุกอย่างจะวนกลับมายืนอยู่หน้าเทคโนโลยีแบบเดิมอย่างการใช้พลังไฟฟ้าในการเป็นพลังงานสำหรับการขับเคลื่อน และไม่น่าเชื่อเลยว่าเพียงแค่ 2 เดือนเศษๆ ที่ผ่านมา จะมีรถยนต์พลังไฟฟ้า หรือ EV สำหรับทำตลาดในเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการผลิตโดยผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังและคุ้นหูคนทั่วไปถูกเปิดตัวออกมาหลายรุ่น เช่น มิตซูบิชิ MiEV, ซูบารุ สเตลล่า EV, คอร์ด้า EV, มินิ E และก็รวมถึงนิสสันกับผลผลิตใหม่ล่าสุดในชื่อ LEAF ทั้งที่ก่อนหน้านี้แทบไม่มีใครให้ความสนใจกับเรื่องนี้เลย
ทำให้ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีที่น่าจะดับไปพร้อมกับการสิ้นยุคของจีเอ็ม EV1 ที่เปิดตัวขายในปี 1996-1999 สามารถกลับมาแจ้งเกิดใหม่อีกครั้ง เพราะปัจจัยหลักของเรื่องต้นทุนเทคโนโลยีที่ถูกลงส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาขาย แบตเตอรี่และตัวระบบได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จุดเชื่อมต่อ หรือ Plug-in ตามพื้นที่สาธารณะมีมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ความสะดวกและความง่ายในการใช้งานจนแทบไม่ต่างจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้ๆ กันอยู่
นั่นก็เลยทำให้การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากลายมาเป็นทางออกแห่งความหวังในยุคที่น้ำมันกำลังนับถอยหลังสู่การสูญพันธุ์ และไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่จำกัดการใช้งานเฉพาะรถยนต์เท่านั้น แต่ยังถูกนำไปประยุกต์สู่การใช้งานในผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกด้วย
Zero DS&S : สองล้อหัวใจสีเขียว
การขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่รถยนต์เท่านั้น แต่ในตอนนี้ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ก็ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้อย่างดูคาตี้ แบรนด์มอเตอร์ไซค์สปอร์ตก็เล็งๆ เรื่องนี้เหมือนกัน แต่ที่มีผลิตออกมาขายก่อนใครเพื่อคือ ค่าย Zero Motorcycle ซึ่งพวกเขาบอกว่าสนใจเปิดตลาดมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว
ตัวรถเป็นมอเตอร์ไซค์วิบาก แต่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีพลังไฟฟ้าที่ทางบริษัทเรียกว่า Z-Force เข้าไปกับการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังสูงสุด 32 แรงม้า (เทียบเท่ากับ 50 แรงม้าสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน) และแรงบิดในระดับ 8.62 กก.-ม.ตั้งแต่เริ่มหมุนเลย
แต่เรื่องของระยะทางในการเดินทางอาจจะน้อยหน่อย เพราะว่าขนาดของตัวรถที่เป็นมอเตอร์ไซค์ ไม่ใช่รถยนต์ทำให้มีพื้นที่ไม่มากนักในการติดตั้งแบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนขนาด 4kWh โดยที่ตัวรถมีน้ำหนักเบาเพียง 102 กิโลกรัม
ในตอนแรก Zero ทำตลาดด้วยรุ่น S ก่อนจากนั้นจึงเผยโฉมรุ่น DS ซึ่งแชร์พื้นฐานเดียวกัน แต่เป็นรุ่นที่เน้นการใช้งานที่สมบุกสมบันมากกว่าด้วยช่วงล่างและยางแบบสปอร์ต ซึ่งทำให้สมรรถนะลดลงไปนิดหน่อย อย่างความเร็วสูงสุดทำได้แค่ 88 กิโลเมตร/ชั่วโมงจากเดิม 96 กิโลเมตร/ชั่วโมง และระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งลดลงจาก 96 กิโลเมตรมาอยู่ที่ 80 กิโลเมตร
เปิดตัวและขายในสหรัฐอเมริกาแล้ว ในช่วงแรกเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด ทางภาครัฐจะช่วยลดภาษีทำให้ราคาลดลงไป 1,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 35,000 บาท แต่ก็ยังถือว่าเอาเรื่องเหมือนกัน เพราะอยู่ที่ 9,950 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 350,000 บาท
นอกจากในบ้านตัวเองแล้ว Zero Motorcycle ยังวางแผนเจาะตลาดยุโรปอีกด้วย ส่วนจะบินไกลมาถึงบ้านเราหรือไม่นั้น คงต้องติดตามดูกันต่อไป
Yuneec E430 : เหินฟ้าด้วยพลังไฟฟ้า
ไม่ได้แค่ยานพาหนะที่อยู่บนดินเท่านั้น พลังไฟฟ้าได้รุกคืบไปยังยานพาหนะรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งที่ฮือฮาเอาเรื่องคือ การพัฒนาเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าออกมา และมีข่าวว่ากำลังจะผลิตออกขายในอนาคตอีกด้วย
ตัวเครื่องบินถูกนำมาโชว์ครั้งแรกในงาน 2009 EAA AirVenture Oshkosh และในตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบบินเพื่อร้องขอใบรับรองจาก FAA ในการอนุญาตให้มีการผลิตออกขายในท้องตลาด ซึ่งถ้าทำได้ E430 จะเป็นเครื่องบินแบบ LSA หรือ Light-Sport Aircraft แบบ 2 ที่นั่งลำแรกของโลกที่ใช้พลังไฟฟ้าในการขับเคลื่อนที่มีการวางขาย ซึ่งตรงนี้ทางบริษัทวางเป้าหมายเอาไว้ที่จะต้องทำให้ได้
E430 ถูกออกแบบในลักษณะเป็นเครื่องบินเล็กที่มีส่วนคล้ายกับเครื่องร่อนมากกว่า เพราะเมื่อรวมความกว้างของปีกเข้าไปด้วยแล้วมีตัวเลขถึง 13.8 เมตรเลยทีเดียว โดยสิ่งที่ขับเคลื่อนใบพัดที่วางอยู่ด้านหน้า คือ มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 54 แรงม้า พร้อมแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำให้เครื่องบินสามารถบินต่อเนื่องได้ 3 ชั่วโมง ก่อนที่จะร่อนลงมาชาร์จกระแสไฟฟ้าอีกครั้ง ส่วนจะใช้เวลาในการชาร์จขนาดไหน ทาง Yuneec ไม่เปิดเผยออกมาในตอนนี้
ขณะที่ความเร็วจากการทดสอบครั้งล่าสุดมีการเปิดเผยว่าสามารถทำความเร็วได้ในระดับ 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง จุดเด่นนอกจากเรื่องของความเป็มมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว เรื่องเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินเล็กแบบใบพัดแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย แถมยังประหยัดน้ำมัน และมีค่าดูแลรักษาที่ต่ำมาก ซึ่งทาง Yuneec เชื่อว่าจะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ E430 ได้รับความสนใจจากลูกค้า จนลืมสิ่งที่น่าหวาดเสียวในเชิงความคิดที่ว่าจะต้องขับเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะถ้าแบตเตอรี่หมดไฟ คงเสียวกว่ารถยนต์พลังไฟฟ้าถ่านหมดอย่างแน่นอน
ไฮบริดยังถูกมองว่าเป็นแค่ตัวชะลอและยืดระยะเวลาในการเดินหน้าสู่ปัญหาที่แท้จริง นั่นก็คือ น้ำมันหมดโลก แต่ไม่ได้ลดการพึ่งพาอย่างแท้จริง ส่วนเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell ก็ยังมีข้อจำกัดที่น่าห่วงอย่างเรื่องของต้นทุนและความสะดวกในการใช้งาน
ขณะที่ EREV ซึ่งจะเรียกอย่างสวยหรูว่า Extended Range Electric Vehicle หรือรถยนต์พลังไฟฟ้าแบบขับได้ระยะทางเพิ่มขึ้น และจะเปิดตัวกับเชฟโรเลต โวลต์ในปีหน้า ก็ยังถูกมองว่าคลุมเคลือระหว่างการเป็นเทคโนโลยีใหม่ หรือเป็นแค่ของเก่าเอามาทำใหม่ เพราะรูปแบบที่เป็นอยู่หลายฝ่ายมองว่าเป็นระบบไฮบริดแบบ Series Hybrid ชัดๆ เพราะจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีไฮบริดเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้วด้วยมันสมองของเฟอร์ดินันด์ พอร์ชก็ใช้รูปแบบของการขับเคลื่อนในลักษณะนี้ และสุดท้ายก็ไม่ได้ตัดขาดการพึ่งพาน้ำมันในระหว่างการใช้งานอย่างแท้จริง
ยิ่งพยายามคิดหรือหาทางออก แต่ดูเหมือนว่าสุดท้ายแล้วทุกอย่างจะวนกลับมายืนอยู่หน้าเทคโนโลยีแบบเดิมอย่างการใช้พลังไฟฟ้าในการเป็นพลังงานสำหรับการขับเคลื่อน และไม่น่าเชื่อเลยว่าเพียงแค่ 2 เดือนเศษๆ ที่ผ่านมา จะมีรถยนต์พลังไฟฟ้า หรือ EV สำหรับทำตลาดในเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการผลิตโดยผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังและคุ้นหูคนทั่วไปถูกเปิดตัวออกมาหลายรุ่น เช่น มิตซูบิชิ MiEV, ซูบารุ สเตลล่า EV, คอร์ด้า EV, มินิ E และก็รวมถึงนิสสันกับผลผลิตใหม่ล่าสุดในชื่อ LEAF ทั้งที่ก่อนหน้านี้แทบไม่มีใครให้ความสนใจกับเรื่องนี้เลย
ทำให้ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีที่น่าจะดับไปพร้อมกับการสิ้นยุคของจีเอ็ม EV1 ที่เปิดตัวขายในปี 1996-1999 สามารถกลับมาแจ้งเกิดใหม่อีกครั้ง เพราะปัจจัยหลักของเรื่องต้นทุนเทคโนโลยีที่ถูกลงส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาขาย แบตเตอรี่และตัวระบบได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จุดเชื่อมต่อ หรือ Plug-in ตามพื้นที่สาธารณะมีมากขึ้น และที่สำคัญ คือ ความสะดวกและความง่ายในการใช้งานจนแทบไม่ต่างจากรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้ๆ กันอยู่
นั่นก็เลยทำให้การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากลายมาเป็นทางออกแห่งความหวังในยุคที่น้ำมันกำลังนับถอยหลังสู่การสูญพันธุ์ และไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่จำกัดการใช้งานเฉพาะรถยนต์เท่านั้น แต่ยังถูกนำไปประยุกต์สู่การใช้งานในผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกด้วย
Zero DS&S : สองล้อหัวใจสีเขียว
การขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่รถยนต์เท่านั้น แต่ในตอนนี้ผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ก็ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้อย่างดูคาตี้ แบรนด์มอเตอร์ไซค์สปอร์ตก็เล็งๆ เรื่องนี้เหมือนกัน แต่ที่มีผลิตออกมาขายก่อนใครเพื่อคือ ค่าย Zero Motorcycle ซึ่งพวกเขาบอกว่าสนใจเปิดตลาดมาตั้งแต่ปี 2006 แล้ว
ตัวรถเป็นมอเตอร์ไซค์วิบาก แต่ได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีพลังไฟฟ้าที่ทางบริษัทเรียกว่า Z-Force เข้าไปกับการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังสูงสุด 32 แรงม้า (เทียบเท่ากับ 50 แรงม้าสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน) และแรงบิดในระดับ 8.62 กก.-ม.ตั้งแต่เริ่มหมุนเลย
แต่เรื่องของระยะทางในการเดินทางอาจจะน้อยหน่อย เพราะว่าขนาดของตัวรถที่เป็นมอเตอร์ไซค์ ไม่ใช่รถยนต์ทำให้มีพื้นที่ไม่มากนักในการติดตั้งแบตเตอรี่แบบลิเธียม-ไอออนขนาด 4kWh โดยที่ตัวรถมีน้ำหนักเบาเพียง 102 กิโลกรัม
ในตอนแรก Zero ทำตลาดด้วยรุ่น S ก่อนจากนั้นจึงเผยโฉมรุ่น DS ซึ่งแชร์พื้นฐานเดียวกัน แต่เป็นรุ่นที่เน้นการใช้งานที่สมบุกสมบันมากกว่าด้วยช่วงล่างและยางแบบสปอร์ต ซึ่งทำให้สมรรถนะลดลงไปนิดหน่อย อย่างความเร็วสูงสุดทำได้แค่ 88 กิโลเมตร/ชั่วโมงจากเดิม 96 กิโลเมตร/ชั่วโมง และระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งลดลงจาก 96 กิโลเมตรมาอยู่ที่ 80 กิโลเมตร
เปิดตัวและขายในสหรัฐอเมริกาแล้ว ในช่วงแรกเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด ทางภาครัฐจะช่วยลดภาษีทำให้ราคาลดลงไป 1,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 35,000 บาท แต่ก็ยังถือว่าเอาเรื่องเหมือนกัน เพราะอยู่ที่ 9,950 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 350,000 บาท
นอกจากในบ้านตัวเองแล้ว Zero Motorcycle ยังวางแผนเจาะตลาดยุโรปอีกด้วย ส่วนจะบินไกลมาถึงบ้านเราหรือไม่นั้น คงต้องติดตามดูกันต่อไป
Yuneec E430 : เหินฟ้าด้วยพลังไฟฟ้า
ไม่ได้แค่ยานพาหนะที่อยู่บนดินเท่านั้น พลังไฟฟ้าได้รุกคืบไปยังยานพาหนะรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งที่ฮือฮาเอาเรื่องคือ การพัฒนาเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าออกมา และมีข่าวว่ากำลังจะผลิตออกขายในอนาคตอีกด้วย
ตัวเครื่องบินถูกนำมาโชว์ครั้งแรกในงาน 2009 EAA AirVenture Oshkosh และในตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบบินเพื่อร้องขอใบรับรองจาก FAA ในการอนุญาตให้มีการผลิตออกขายในท้องตลาด ซึ่งถ้าทำได้ E430 จะเป็นเครื่องบินแบบ LSA หรือ Light-Sport Aircraft แบบ 2 ที่นั่งลำแรกของโลกที่ใช้พลังไฟฟ้าในการขับเคลื่อนที่มีการวางขาย ซึ่งตรงนี้ทางบริษัทวางเป้าหมายเอาไว้ที่จะต้องทำให้ได้
E430 ถูกออกแบบในลักษณะเป็นเครื่องบินเล็กที่มีส่วนคล้ายกับเครื่องร่อนมากกว่า เพราะเมื่อรวมความกว้างของปีกเข้าไปด้วยแล้วมีตัวเลขถึง 13.8 เมตรเลยทีเดียว โดยสิ่งที่ขับเคลื่อนใบพัดที่วางอยู่ด้านหน้า คือ มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 54 แรงม้า พร้อมแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำให้เครื่องบินสามารถบินต่อเนื่องได้ 3 ชั่วโมง ก่อนที่จะร่อนลงมาชาร์จกระแสไฟฟ้าอีกครั้ง ส่วนจะใช้เวลาในการชาร์จขนาดไหน ทาง Yuneec ไม่เปิดเผยออกมาในตอนนี้
ขณะที่ความเร็วจากการทดสอบครั้งล่าสุดมีการเปิดเผยว่าสามารถทำความเร็วได้ในระดับ 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง จุดเด่นนอกจากเรื่องของความเป็มมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว เรื่องเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกับเครื่องบินเล็กแบบใบพัดแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย แถมยังประหยัดน้ำมัน และมีค่าดูแลรักษาที่ต่ำมาก ซึ่งทาง Yuneec เชื่อว่าจะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ E430 ได้รับความสนใจจากลูกค้า จนลืมสิ่งที่น่าหวาดเสียวในเชิงความคิดที่ว่าจะต้องขับเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะถ้าแบตเตอรี่หมดไฟ คงเสียวกว่ารถยนต์พลังไฟฟ้าถ่านหมดอย่างแน่นอน