นอกจากการใช้น้ำมันเบนซินแบบปกติแล้ว ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายต่างพยายามพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดในส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายในให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้พลังงานแบบอื่นๆ เช่น น้ำมันดีเซล ไปจนถึงแก๊สโซฮอล์แบบ E85
แต่นั่นยังดูธรรมดาเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตใหม่ล่าสุดของโตโยต้าซึ่งจัดการนำระบบก๊าซธรรมชาติอัดหรือ CNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการขับเคลื่อนในรถยนต์ไฮบริด
ผลผลิตนี้ถูกเปิดตัวออกมาในแอลเอ มอเตอร์โชว์ 2008 เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และสามารถเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย เพราะว่าเป็นการนำโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด รถยนต์ขนาดกลางยอดนิยมในตลาดสหรัฐอเมริกาและมีข่าวว่าจะขึ้นไลน์ผลิตในบ้านเราช่วงปีหน้า มาดัดแปลงในส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเมินน้ำมันเบนซินและหันมาใช้ก๊าซ CNG เป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนแทน
โตโยต้าเคยเปิดเผยโปรเจ็กต์นี้ออกมาที่งานสัมมนา Sustainable Mobility Seminar โดยเอิร์ฟ มิลเลอร์ รองประธานกลุ่มบริษัท โตโยต้า กล่าวว่า โตโยต้าพยายามหาทางออกในการนำเสนอทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าในอเมริกาเหนือ และการนำเครื่องยนต์สันดาปภายในของระบบไฮบริดมาจับคู่กับก๊าซธรรมชาติถือเป็นอีกทางออกทางด้านวิกฤตพลังงานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
และตัวจริงของจริงที่เปิดตัวในแอลเอ มอเตอร์โชว์คือสิ่งที่ยืนยันถึงการเอาจริงของโตโยต้า ซึ่งแม้ว่าตอนนี้จะเป็นแค่ต้นแบบสำหรับจัดแสดงเพื่อหยั่งเชิงกระแสความต้องการในตลาด แต่โอกาสที่จะผลิตจริงในอนาคตก็พอมีความเป็นไปได้ เมื่อการให้บริการด้านสถานีบริการก๊าซธรรมชาติในเมืองลุงแซมเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อไม่ให้ดูเรียบและธรรมดาเกินไป โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด ซีเอ็นจี คอนเซ็ปต์ จึงมากับรูปลักษณ์สุดสปอร์ตด้วยการติดตั้งชุดแต่งและปรับรูปลักษณ์ภายนอกให้แตกต่างจากเวอร์ชันปกติที่ขายอยู่ในตลาด และเสริมความเร้าใจด้วยล้อแม็กขนาด 7.5X19 นิ้ว แถมลดความสูงเพื่อความปราดเปรียวอีกด้วย โดยที่กันชนท้ายมีการติดสติกเกอร์คำว่า Compressed Natural Gas Hybrid หรือ CNGH เพื่อระบุถึงประเภทของตัวรถ
การปรับปรุงเรื่องของตัวถังมีแน่นอนและเป็นหน้าที่ของ TMS Advanced Product Strategy เพราะว่าโตโยต้าต้องติดตั้งถังเก็บ CNG ถึง 2 ใบ (ซึ่งมีความจุเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 8 แกลลอน หรือ 31.8 ลิตรเอาไว้ในรถ ซึ่งถังนี้สามารถทนแรงดันสูงและได้รับการผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์คอมโพสิตสามารถรับแรงดันได้ 3,600 psi และถูกจัดวางอยู่ในตำแหน่งของยางอะไหล่ จึงไม่เบียดบังพื้นที่ใช้สอยในห้องโดยสารและห้องเก็บสัมภาระ ส่วนปัญหาเรื่องยางอะไหล่ถูกถอดออกไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่อย่างไร เพราะว่าเลือกใช้ยาง 225/30ZR19 ของบริดจสโตนรุ่นโพเทนซ่าที่เป็นแบบ Run Flat
งานทั้งหมดเกิดขึ้นที่ Metal Crafters of Fountain Valley ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายในมีการดัดแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะการถอดชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเชื้อเพลิงออกและแทนที่ด้วยชิ้นส่วนสำหรับใช้กับก๊าซ CNG ซึ่งรถยนต์ต้นแบบรุ่นนี้วิ่งโดยใช้เชื้อเพลิงแบบเดียว ไม่ใช่ 2 ระบบ หรือ Bi-Fuel
ในส่วนการทำงานของระบบไฮบริดก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เครื่องยนต์ 4 สูบ 2,400 ซีซี VVT-I ที่เป็นขุมพลังหลักของการขับเคลื่อนมาพร้อมกับความประหยัด และเมื่อจับคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงาน สามารถรีดกำลังออกมาได้ 170 แรงม้า แต่นั่นยังไม่เท่ากับความประหยัดที่จะได้รับซึ่งเหนือกว่าระบบไฮบริดที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง เพราะ CNG 1 ชุดจากการเติมจนเต็ม สามารถแล่นทำระยะทางได้มากกว่า 250 ไมล์ หรือกว่า 400 กิโลเมตร
ส่วนตัวเลขความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 13.4 กิโลเมตรต่อลิตรสำหรับการขับในเมือง 13.8 กิโลเมตรต่อลิตร และแบบผสมในระดับ 13.4 กิโลเมตรต่อลิตร แน่นอนว่าไม่ใช่ตัวเลขที่หวือหวาหรือน่าตกใจแต่อย่างใด เพราะคัมรี่ ไฮบริดที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็ทำได้ประมาณนี้ แต่ถ้ามองในแง่ที่ของความพยายามในการมองหาพลังงานทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับตลาดสำหรับแทนที่การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ถือว่า CNG ทำผลงานได้ดี
นอกจากนั้นเรื่องของตัวเลขของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็น่าสนใจ เพราะว่าคัมรี่ ไฮบริด ซีเอ็นจี คอนเซ็ปต์มีระดับของการปลดปล่อยทั้งไนตรัสออกไซด์, คาร์บอนมอนออกไซด์, คาร์บอนไดออกไซด์ และนอน-มีเธน ออร์แกนิก แก๊ส หรือ NMOG น้อยกว่ารุ่นไฮบริดธรรมดา เพราะว่าจุดวาบไฟ (Flash Point) หรืออุณหภูมิของการจุดระเบิดของ CNG สูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง ก็เลยทำให้สามารถออกแบบเครื่องยนต์ให้มีอัตราส่วนการอัดได้ ทำให้การเผาไหม้มีความสมบูรณ์มากกว่า
โปรเจ็กต์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่โตโยต้าให้ความสนใจกับการนำก๊าซธรรมชาติอัดมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เพราะว่าในปี 1999 โตโยต้าเคยพัฒนารถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงออกสู่ตลาด ซึ่งเครื่องยนต์ 4 สูบของรถยนต์คัมรี่ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงเพื่อส่งขายให้กับลูกค้าแบบ Fleet เฉพาะมลรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ก็ขายได้ไม่นานเพราะว่าในปีต่อมา โครงการนี้ถูกยกเลิกเพราะว่ามีความยุ่งยากในการหาสถานีบริการ และราคาน้ำมันตอนนั้นก็ยังไม่แพง แต่สำหรับสภาพปัจจุบัน ที่สถานีบริการ CNG มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้พลังงานทางเลือกประเภทนี้ได้รับความสนใจอีกครั้ง
นอกจากนั้น โตโยต้าเชื่อว่า CNG จะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในอนาคตทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก เพราะว่ามีแหล่งสำรองในธรรมชาติเป็นจำนวนมาก และด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถนำมาใช้ได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปี 2100 แต่ถ้ามีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีขึ้น ก็น่าจะใช้กันยาวจนถึงปี 2200 เลยทีเดียว
แต่นั่นยังดูธรรมดาเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตใหม่ล่าสุดของโตโยต้าซึ่งจัดการนำระบบก๊าซธรรมชาติอัดหรือ CNG มาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการขับเคลื่อนในรถยนต์ไฮบริด
ผลผลิตนี้ถูกเปิดตัวออกมาในแอลเอ มอเตอร์โชว์ 2008 เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และสามารถเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย เพราะว่าเป็นการนำโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด รถยนต์ขนาดกลางยอดนิยมในตลาดสหรัฐอเมริกาและมีข่าวว่าจะขึ้นไลน์ผลิตในบ้านเราช่วงปีหน้า มาดัดแปลงในส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเมินน้ำมันเบนซินและหันมาใช้ก๊าซ CNG เป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนแทน
โตโยต้าเคยเปิดเผยโปรเจ็กต์นี้ออกมาที่งานสัมมนา Sustainable Mobility Seminar โดยเอิร์ฟ มิลเลอร์ รองประธานกลุ่มบริษัท โตโยต้า กล่าวว่า โตโยต้าพยายามหาทางออกในการนำเสนอทางเลือกใหม่ให้กับลูกค้าในอเมริกาเหนือ และการนำเครื่องยนต์สันดาปภายในของระบบไฮบริดมาจับคู่กับก๊าซธรรมชาติถือเป็นอีกทางออกทางด้านวิกฤตพลังงานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
และตัวจริงของจริงที่เปิดตัวในแอลเอ มอเตอร์โชว์คือสิ่งที่ยืนยันถึงการเอาจริงของโตโยต้า ซึ่งแม้ว่าตอนนี้จะเป็นแค่ต้นแบบสำหรับจัดแสดงเพื่อหยั่งเชิงกระแสความต้องการในตลาด แต่โอกาสที่จะผลิตจริงในอนาคตก็พอมีความเป็นไปได้ เมื่อการให้บริการด้านสถานีบริการก๊าซธรรมชาติในเมืองลุงแซมเริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อไม่ให้ดูเรียบและธรรมดาเกินไป โตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด ซีเอ็นจี คอนเซ็ปต์ จึงมากับรูปลักษณ์สุดสปอร์ตด้วยการติดตั้งชุดแต่งและปรับรูปลักษณ์ภายนอกให้แตกต่างจากเวอร์ชันปกติที่ขายอยู่ในตลาด และเสริมความเร้าใจด้วยล้อแม็กขนาด 7.5X19 นิ้ว แถมลดความสูงเพื่อความปราดเปรียวอีกด้วย โดยที่กันชนท้ายมีการติดสติกเกอร์คำว่า Compressed Natural Gas Hybrid หรือ CNGH เพื่อระบุถึงประเภทของตัวรถ
การปรับปรุงเรื่องของตัวถังมีแน่นอนและเป็นหน้าที่ของ TMS Advanced Product Strategy เพราะว่าโตโยต้าต้องติดตั้งถังเก็บ CNG ถึง 2 ใบ (ซึ่งมีความจุเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 8 แกลลอน หรือ 31.8 ลิตรเอาไว้ในรถ ซึ่งถังนี้สามารถทนแรงดันสูงและได้รับการผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์คอมโพสิตสามารถรับแรงดันได้ 3,600 psi และถูกจัดวางอยู่ในตำแหน่งของยางอะไหล่ จึงไม่เบียดบังพื้นที่ใช้สอยในห้องโดยสารและห้องเก็บสัมภาระ ส่วนปัญหาเรื่องยางอะไหล่ถูกถอดออกไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่อย่างไร เพราะว่าเลือกใช้ยาง 225/30ZR19 ของบริดจสโตนรุ่นโพเทนซ่าที่เป็นแบบ Run Flat
งานทั้งหมดเกิดขึ้นที่ Metal Crafters of Fountain Valley ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายในมีการดัดแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะการถอดชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเชื้อเพลิงออกและแทนที่ด้วยชิ้นส่วนสำหรับใช้กับก๊าซ CNG ซึ่งรถยนต์ต้นแบบรุ่นนี้วิ่งโดยใช้เชื้อเพลิงแบบเดียว ไม่ใช่ 2 ระบบ หรือ Bi-Fuel
ในส่วนการทำงานของระบบไฮบริดก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เครื่องยนต์ 4 สูบ 2,400 ซีซี VVT-I ที่เป็นขุมพลังหลักของการขับเคลื่อนมาพร้อมกับความประหยัด และเมื่อจับคู่กับมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงาน สามารถรีดกำลังออกมาได้ 170 แรงม้า แต่นั่นยังไม่เท่ากับความประหยัดที่จะได้รับซึ่งเหนือกว่าระบบไฮบริดที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง เพราะ CNG 1 ชุดจากการเติมจนเต็ม สามารถแล่นทำระยะทางได้มากกว่า 250 ไมล์ หรือกว่า 400 กิโลเมตร
ส่วนตัวเลขความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ 13.4 กิโลเมตรต่อลิตรสำหรับการขับในเมือง 13.8 กิโลเมตรต่อลิตร และแบบผสมในระดับ 13.4 กิโลเมตรต่อลิตร แน่นอนว่าไม่ใช่ตัวเลขที่หวือหวาหรือน่าตกใจแต่อย่างใด เพราะคัมรี่ ไฮบริดที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็ทำได้ประมาณนี้ แต่ถ้ามองในแง่ที่ของความพยายามในการมองหาพลังงานทดแทนเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับตลาดสำหรับแทนที่การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ถือว่า CNG ทำผลงานได้ดี
นอกจากนั้นเรื่องของตัวเลขของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็น่าสนใจ เพราะว่าคัมรี่ ไฮบริด ซีเอ็นจี คอนเซ็ปต์มีระดับของการปลดปล่อยทั้งไนตรัสออกไซด์, คาร์บอนมอนออกไซด์, คาร์บอนไดออกไซด์ และนอน-มีเธน ออร์แกนิก แก๊ส หรือ NMOG น้อยกว่ารุ่นไฮบริดธรรมดา เพราะว่าจุดวาบไฟ (Flash Point) หรืออุณหภูมิของการจุดระเบิดของ CNG สูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง ก็เลยทำให้สามารถออกแบบเครื่องยนต์ให้มีอัตราส่วนการอัดได้ ทำให้การเผาไหม้มีความสมบูรณ์มากกว่า
โปรเจ็กต์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่โตโยต้าให้ความสนใจกับการนำก๊าซธรรมชาติอัดมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เพราะว่าในปี 1999 โตโยต้าเคยพัฒนารถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงออกสู่ตลาด ซึ่งเครื่องยนต์ 4 สูบของรถยนต์คัมรี่ได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงเพื่อส่งขายให้กับลูกค้าแบบ Fleet เฉพาะมลรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ก็ขายได้ไม่นานเพราะว่าในปีต่อมา โครงการนี้ถูกยกเลิกเพราะว่ามีความยุ่งยากในการหาสถานีบริการ และราคาน้ำมันตอนนั้นก็ยังไม่แพง แต่สำหรับสภาพปัจจุบัน ที่สถานีบริการ CNG มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้พลังงานทางเลือกประเภทนี้ได้รับความสนใจอีกครั้ง
นอกจากนั้น โตโยต้าเชื่อว่า CNG จะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในอนาคตทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา และทั่วโลก เพราะว่ามีแหล่งสำรองในธรรมชาติเป็นจำนวนมาก และด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถนำมาใช้ได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปี 2100 แต่ถ้ามีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีขึ้น ก็น่าจะใช้กันยาวจนถึงปี 2200 เลยทีเดียว