ข่าวในประเทศ - จังหวะเหมาะ-เงื่อนไขลงทุนเข้าทาง จับตา! “โฟล์คสวาเกน เอจี” ทุ่มหมื่นล้านดันไทยฐานผลิตแห่งใหม่ หลังบีโอไอเปิดประเภทกิจการประกอบรถยนต์ใหม่ จัดแพกเกจพิเศษสุดล่อใจให้เข้ามาลงทุน แต่เงื่อนไขดูเหมือนปิดประตูรายเก่าที่อยู่ในไทย จัดให้เฉพาะผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่เท่านั้น แม้โฟล์คสวาเกนจะเคยชักเข้าชักออกไทยหลายรอบ แต่คราวนี้โอกาสเปิดมากกว่า “อีโคคาร์” เสียอีก และยิ่งดูความเคลื่อนไหวคู่ค้าสำคัญ “คอนติเนนทอล” และ “ZF” ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของยุโรป เพิ่งจะพากันตัดริบบิ้นเปิดโรงงานในไทยอย่างเป็นทางการ แถมข่าวลือสะพัดภาครัฐและบีโอไอจับเข่าคุยกับโฟล์คสวาเกนมาแล้ว ทำให้โฟกัส 1 ใน 2 ราย ที่รับคำสนใจลงทุน ต่างพุ่งไปที่เบอร์หนึ่งค่ายรถเมืองเบียร์ทันที
ด้วยยอดขายระดับ 6.3 ล้านคันทั่วโลกในปี 2551 เป็นรองเพียงแค่ โตโยต้า กับ จีเอ็ม ที่สำคัญผลประกอบการยังออกมาแบบฟันกำไรสูงสุดเป็นประวิติการณ์ 4,700 ล้านยูโร หรือประมาณ 235,000 ล้านบาท และแม้จะอยู่ท่ามกลางวิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่“โฟล์คสวาเกน”แห่งเยอรมนี ยังมั่นใจในศักยภาพว่าไม่เกิน 9 ปีนับจากนี้ จะขึ้นแท่นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก!
เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ค่ายรถยนต์เบอร์หนึ่งของยุโรป ที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยียานยนต์และเงินทุน (มีปอร์เช่ถือหุ้นเกิน 50%) เล็งแผนเพิ่มกำลังผลิตในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน หรืออเมริกาใต้ ขณะเดียวกันในแถบอาเซียน “โฟล์คสวาเกน”ก็ไม่ละทิ้งความสำคัญเช่นกัน เพราะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามเจรจากับรัฐบาลในหลายประเทศแถบนี้ เพื่อตั้งฐานการผลิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อป้อนตลาดในประเทศ พร้อมส่งออกไปในทั่วเอเชียแปซิฟิก
ในไทยแม้โฟล์คสวาเกน ยังออก “ลูกกั๊ก”พอสมควร ดังจะเห็นได้จากการไม่ตัดสินใจลงทุนขึ้นไลน์ผลิตปิกอัพในไทย รวมถึงการไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการอีโคคาร์ (ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ดี) แต่การที่โฟล์คสวาเกนยังไม่เลือกฐานผลิตแห่งใหม่ในภูมิอาเซียน นั่นจึงยังไม่ใช่การตัดไทยออกจากตัวเลือกแต่อย่างใด เพียงอาจจะรอเงื่อนไข หรือโครงการที่ให้สิทธิ์ประโยชน์คุ้มกับการลงทุนเท่านั้น
ดังนั้นการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ (10 มิ.ย.) เห็นชอบให้เปิดประเภทกิจการประกอบรถยนต์ขึ้นใหม่ ภายใต้เงื่อนไขต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท สร้างไลน์ผลิตรถยนต์ใหม่ และเป็นรถที่ใช้เทคโนโลยีใหม่(อาทิ ไฮบริด, ไฟฟ้า หรือพลังงานทดแทน) มีกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ภายใน 5 ปีแรก โดยต้องยื่นโครงการภายในปี 2553 ทั้งยังเปิดเผยอีกว่ามีผู้ประกอบการสนใจแล้ว 2 ราย
ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ค่ายรถยนต์จะได้รับหากเข้าร่วมโครงการนี้ คลอบคลุมทั้งยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 5 ปี หากมีขนาดการลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 6 ปี หากมีขนาดการลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะตั้งในเขตใด ทั้งนี้ ให้ได้รับเพิ่มเติมอีก 1 ปี หากยื่นคำขอภายในปี 2552
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขการลงทุน ที่วางระดับเม็ดเงินไว้มหาศาลกว่า 10,000 ล้านบาท ที่สำคัญต้องยื่นของส่งเสริมภายในปี 2553 ก็พอจะมองได้ว่าด้วยเงื่อนเวลาและเงินลงทุน คงยากที่ผู้ผลิตรถยนต์ในไทย(รายเดิม) จะเข้าโครงการ ส่วนหนึ่งเพราะได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และโปรเจกต์อื่นๆไปมากแล้ว รวมถึงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและตลาดรถซบเซาคงมีสภาพคล่องทางการเงินจำกัด และที่สำคัญยังมีการบ้านใหญ่อย่างอีโคคาร์ รออยู่เต็มๆ...
ดังนั้นน่าจะสรุปว่า โปรเจ็กต์นี้ไม่ใช่เรื่องของค่ายรถที่ดำเนินธุรกิจอยู่เดิม แต่เป็นเรื่องของน้องใหม่ล้วนๆ และนั่นจึงทำให้ทุกสายตา...โฟกัสไปที่ค่าย “โฟล์คสวาเกน”
ประเด็นนี้ “วัลลภ เตียศิริ” ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยกับ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ว่า เดิมรัฐบาลและ บีโอไอ มีการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจรถยนต์ อยู่ 3 ประเภทหลักคือ 1. โครงการอีโคคาร์ที่ถือว่าเงื่อนไขหินสุด เพราะบังคับทั้งเงินลงทุน สเปครถ และจำนวนผลิต แต่ก็ได้สิทธิประโยชน์สูงสุด อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 8 ปี รวมถึงเก็บภาษีสรรพสามิต อัตราพิเศษเพียง 17%
2.โครงการรถยนต์นั่ง ที่ไม่ได้กำหนดสเปก แต่ต้องมีเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท พร้อมได้สิทธิประโยชน์อย่างยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 5 ปี (แต่ไม่ได้ภาษีสรรพสามิตอัตราพิเศษ) ซึ่งโครงการนี้ เอเอที (ฟอร์ด-มาสด้า)ขอรับไปเรียบร้อย และ 3. โครงการผลิตรถยนต์ทั่วไป ที่ต้องมีเงินลงทุนหลักหมื่นล้านบาท( อาทิ โครงการไอเอ็มวีของโตโยต้า) ซึ่งไม่ถูกยกเว้นภาษีเงินได้ฯ แต่ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร
ส่วนโครงการที่เพิ่งออกมาล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นประเภทที่ 4 นั้น บีโอไอมองว่า ในวิกฤตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์โลก หลายค่ายรถยนต์ชั้นนำ ต่างเล็งย้ายฐานการผลิตใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน จึงต้องเปิดขึ้นมาอีกประเภทเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน เพื่อไม่ให้ค่ายรถมองเพียงแค่จีนและอินเดียเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการลงทุนที่ต้องผลิต 100,000 คัน ภายใน 5 ปี จะไม่กำหนดว่าจะต้องทำเพียงรุ่นเดียว(ต่างจากอีโคคาร์ และบีคาร์ของฟอร์ด-มาสด้า) เพราะอาจจะผลิตหลายรุ่นรวมกัน และหนึ่งในนั้นจะต้องเป็นรถรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ก็ได้
“ช่วงนี้หลายค่ายอยากย้ายฐานการผลิตมายังประเทศที่มีต้นทุนต่ำ โดยมีจีนและอินเดีย เป็นตลาดที่น่าสนใจ แต่กระนั้นการลงทุนในสองประเทศนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตและรองรับความต้องการในประเทศเท่านั้น เนื่องจากตลาดมีความใหญ่มาก ขณะที่ไทยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทักษะแรงงาน ศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ไม่เป็นรองใคร รวมถึงการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ดังนั้นคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าไทยพลาดการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของค่ายรถต่างชาติไป ”วัลลภกล่าว
แหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยกับ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง”ว่า กว่าจะได้กรอบประเภทกิจการประกอบรถยนต์ขึ้นใหม่ ทางรัฐบาลไทยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบและบีโอไอได้เริ่มเจรจากับทางโฟล์คสวาเกน เอจี ไปบ้างแล้ว และการประกาศสิทธิประโยชน์ครั้งนี้ จะถือเป็นการสร้างความมั่นใจและ เร่งให้การตัดสินใจง่ายขึ้น
นอกจากนี้ในการเข้ามาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ของโฟล์คสวาเกนในไทย นับว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะวานนี้(16 มิ.ย.) ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของโลกสัญชาติเยอรมันอย่าง “คอนติเนนทอล จีที” เพิ่งทำพิธีเปิดโรงงานมูลค่า 5,000 ล้านบาท ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง อย่างเป็นทางการ และในสัปดาห์ถัดไป บริษัทผู้ผลิตระบบส่งกำลังชั้นนำของโลก ZF ก็เตรียมเปิดโรงงานแห่งใหม่เช่นกัน
โดยทั้งคอนติเนนทอล และ ZF ถือเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรายสำคัญของยุโรป และเป็นคู่ค้าสำคัญของโฟล์คสวาเกนมาโดยตลอด การเคลื่อนไหวของผู้ผลิตชิ้นส่วนคู่บุญ จึงเสมือนกับการขยับของโฟล์คสวาเกนนั่นเอง?!
ด้วยยอดขายระดับ 6.3 ล้านคันทั่วโลกในปี 2551 เป็นรองเพียงแค่ โตโยต้า กับ จีเอ็ม ที่สำคัญผลประกอบการยังออกมาแบบฟันกำไรสูงสุดเป็นประวิติการณ์ 4,700 ล้านยูโร หรือประมาณ 235,000 ล้านบาท และแม้จะอยู่ท่ามกลางวิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่“โฟล์คสวาเกน”แห่งเยอรมนี ยังมั่นใจในศักยภาพว่าไม่เกิน 9 ปีนับจากนี้ จะขึ้นแท่นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก!
เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ค่ายรถยนต์เบอร์หนึ่งของยุโรป ที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยียานยนต์และเงินทุน (มีปอร์เช่ถือหุ้นเกิน 50%) เล็งแผนเพิ่มกำลังผลิตในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน หรืออเมริกาใต้ ขณะเดียวกันในแถบอาเซียน “โฟล์คสวาเกน”ก็ไม่ละทิ้งความสำคัญเช่นกัน เพราะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามเจรจากับรัฐบาลในหลายประเทศแถบนี้ เพื่อตั้งฐานการผลิตรถยนต์ใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อป้อนตลาดในประเทศ พร้อมส่งออกไปในทั่วเอเชียแปซิฟิก
ในไทยแม้โฟล์คสวาเกน ยังออก “ลูกกั๊ก”พอสมควร ดังจะเห็นได้จากการไม่ตัดสินใจลงทุนขึ้นไลน์ผลิตปิกอัพในไทย รวมถึงการไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการอีโคคาร์ (ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ดี) แต่การที่โฟล์คสวาเกนยังไม่เลือกฐานผลิตแห่งใหม่ในภูมิอาเซียน นั่นจึงยังไม่ใช่การตัดไทยออกจากตัวเลือกแต่อย่างใด เพียงอาจจะรอเงื่อนไข หรือโครงการที่ให้สิทธิ์ประโยชน์คุ้มกับการลงทุนเท่านั้น
ดังนั้นการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ (10 มิ.ย.) เห็นชอบให้เปิดประเภทกิจการประกอบรถยนต์ขึ้นใหม่ ภายใต้เงื่อนไขต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท สร้างไลน์ผลิตรถยนต์ใหม่ และเป็นรถที่ใช้เทคโนโลยีใหม่(อาทิ ไฮบริด, ไฟฟ้า หรือพลังงานทดแทน) มีกำลังการผลิตไม่น้อยกว่า 100,000 คันต่อปี ภายใน 5 ปีแรก โดยต้องยื่นโครงการภายในปี 2553 ทั้งยังเปิดเผยอีกว่ามีผู้ประกอบการสนใจแล้ว 2 ราย
ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ค่ายรถยนต์จะได้รับหากเข้าร่วมโครงการนี้ คลอบคลุมทั้งยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรทุกเขต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 5 ปี หากมีขนาดการลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 6 ปี หากมีขนาดการลงทุนที่ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท ไม่ว่าจะตั้งในเขตใด ทั้งนี้ ให้ได้รับเพิ่มเติมอีก 1 ปี หากยื่นคำขอภายในปี 2552
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขการลงทุน ที่วางระดับเม็ดเงินไว้มหาศาลกว่า 10,000 ล้านบาท ที่สำคัญต้องยื่นของส่งเสริมภายในปี 2553 ก็พอจะมองได้ว่าด้วยเงื่อนเวลาและเงินลงทุน คงยากที่ผู้ผลิตรถยนต์ในไทย(รายเดิม) จะเข้าโครงการ ส่วนหนึ่งเพราะได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และโปรเจกต์อื่นๆไปมากแล้ว รวมถึงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและตลาดรถซบเซาคงมีสภาพคล่องทางการเงินจำกัด และที่สำคัญยังมีการบ้านใหญ่อย่างอีโคคาร์ รออยู่เต็มๆ...
ดังนั้นน่าจะสรุปว่า โปรเจ็กต์นี้ไม่ใช่เรื่องของค่ายรถที่ดำเนินธุรกิจอยู่เดิม แต่เป็นเรื่องของน้องใหม่ล้วนๆ และนั่นจึงทำให้ทุกสายตา...โฟกัสไปที่ค่าย “โฟล์คสวาเกน”
ประเด็นนี้ “วัลลภ เตียศิริ” ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยกับ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” ว่า เดิมรัฐบาลและ บีโอไอ มีการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจรถยนต์ อยู่ 3 ประเภทหลักคือ 1. โครงการอีโคคาร์ที่ถือว่าเงื่อนไขหินสุด เพราะบังคับทั้งเงินลงทุน สเปครถ และจำนวนผลิต แต่ก็ได้สิทธิประโยชน์สูงสุด อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 8 ปี รวมถึงเก็บภาษีสรรพสามิต อัตราพิเศษเพียง 17%
2.โครงการรถยนต์นั่ง ที่ไม่ได้กำหนดสเปก แต่ต้องมีเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท พร้อมได้สิทธิประโยชน์อย่างยกเว้นภาษีเงินได้ฯ 5 ปี (แต่ไม่ได้ภาษีสรรพสามิตอัตราพิเศษ) ซึ่งโครงการนี้ เอเอที (ฟอร์ด-มาสด้า)ขอรับไปเรียบร้อย และ 3. โครงการผลิตรถยนต์ทั่วไป ที่ต้องมีเงินลงทุนหลักหมื่นล้านบาท( อาทิ โครงการไอเอ็มวีของโตโยต้า) ซึ่งไม่ถูกยกเว้นภาษีเงินได้ฯ แต่ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร
ส่วนโครงการที่เพิ่งออกมาล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นประเภทที่ 4 นั้น บีโอไอมองว่า ในวิกฤตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์โลก หลายค่ายรถยนต์ชั้นนำ ต่างเล็งย้ายฐานการผลิตใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน จึงต้องเปิดขึ้นมาอีกประเภทเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน เพื่อไม่ให้ค่ายรถมองเพียงแค่จีนและอินเดียเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการลงทุนที่ต้องผลิต 100,000 คัน ภายใน 5 ปี จะไม่กำหนดว่าจะต้องทำเพียงรุ่นเดียว(ต่างจากอีโคคาร์ และบีคาร์ของฟอร์ด-มาสด้า) เพราะอาจจะผลิตหลายรุ่นรวมกัน และหนึ่งในนั้นจะต้องเป็นรถรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ก็ได้
“ช่วงนี้หลายค่ายอยากย้ายฐานการผลิตมายังประเทศที่มีต้นทุนต่ำ โดยมีจีนและอินเดีย เป็นตลาดที่น่าสนใจ แต่กระนั้นการลงทุนในสองประเทศนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตและรองรับความต้องการในประเทศเท่านั้น เนื่องจากตลาดมีความใหญ่มาก ขณะที่ไทยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทักษะแรงงาน ศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ไม่เป็นรองใคร รวมถึงการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ดังนั้นคงเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าไทยพลาดการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของค่ายรถต่างชาติไป ”วัลลภกล่าว
แหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เปิดเผยกับ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง”ว่า กว่าจะได้กรอบประเภทกิจการประกอบรถยนต์ขึ้นใหม่ ทางรัฐบาลไทยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบและบีโอไอได้เริ่มเจรจากับทางโฟล์คสวาเกน เอจี ไปบ้างแล้ว และการประกาศสิทธิประโยชน์ครั้งนี้ จะถือเป็นการสร้างความมั่นใจและ เร่งให้การตัดสินใจง่ายขึ้น
นอกจากนี้ในการเข้ามาตั้งฐานการผลิตรถยนต์ของโฟล์คสวาเกนในไทย นับว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะวานนี้(16 มิ.ย.) ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ของโลกสัญชาติเยอรมันอย่าง “คอนติเนนทอล จีที” เพิ่งทำพิธีเปิดโรงงานมูลค่า 5,000 ล้านบาท ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง อย่างเป็นทางการ และในสัปดาห์ถัดไป บริษัทผู้ผลิตระบบส่งกำลังชั้นนำของโลก ZF ก็เตรียมเปิดโรงงานแห่งใหม่เช่นกัน
โดยทั้งคอนติเนนทอล และ ZF ถือเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรายสำคัญของยุโรป และเป็นคู่ค้าสำคัญของโฟล์คสวาเกนมาโดยตลอด การเคลื่อนไหวของผู้ผลิตชิ้นส่วนคู่บุญ จึงเสมือนกับการขยับของโฟล์คสวาเกนนั่นเอง?!