กลายเป็นข่าวโด่งดังมานานหลังจากที่สหรัฐอเมริกา ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ (Hamburger Crisis) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างหนัก และมีชื่อของบริษัทผลิตรถยนต์ ยักษ์ใหญ่ ทั้ง 3 รายเข้ามาเป็นตัวเอก
ซึ่งจากข่าวที่ออกมา จีเอ็ม ดูจะเป็นบริษัทฯ ที่สถานการณ์น่าเป็นห่วงที่สุด แต่ล่าสุดกลับกลายเป็น “ไครส์เลอร์” ที่ออกมาประกาศล้มละลายและเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ล้มละลายตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา
เราลองมาย้อนอดีตดูกันว่า ไครส์เลอร์ กว่าจะมาถึงวันนี้มีจุดเริ่มต้นเป็นอย่างไร และได้ทำอะไรดีๆ แก่แวดวงยานยนต์เอาไว้บ้าง
สำหรับ ไครส์เลอร์ ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการโดย นาย วอลเตอร์ พี. ไครส์เลอร์ (Walter P. Chrysler) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ปีค.ศ. 1925 หลังจากที่เขาเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัท แมกซ์เวลล์ มอเตอร์ (ก่อตั้งเมื่อ คศ. 1904) ที่ขายรถภายใต้ยี่ห้อ แมกซ์เวลล์ (Maxwell)
ซึ่งจริงๆ วอลเตอร์ ไครส์เลอร์ เข้ามาดำเนินการปรับโครงสร้างของบริษัทตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1920 เนื่องจากขณะนั้นบริษัท แมกซ์เวลล์ กำลังประสบปัญหาด้านการบริหารอย่างหนัก โดยมีการรวมกิจการเข้ากับรถยี่ห้อ ชามเมอร์ (Chalmers) แต่จนแล้วจนรอดเพื่อรักษาบริษัทฯ เอาไว้ แมกซ์เวลล์ ยุติการทำตลาดรถ ชามเมอร์ (Chalmers) ลงเมื่อปี 1923
ทั้งนี้ แบรนด์ดังกล่าวถูกแทนที่ด้วยรถยนต์คันแรกภายใต้ชื่อการทำตลาด “ไครส์เลอร์” เมื่อปี 1924 โดยเป็นรถแบบ 6 สูบ รูปทรงทันสมัย เทคโนโลยีล้ำหน้าในยุคนั้นและที่สำคัญราคาซื้อหาได้ง่าย
สำหรับรถรุ่นดังกล่าว เป็นเครื่องยนต์แรงดันสูงแบบคาร์บูเรเตอร์ และกรองอากาศ มีระบบน้ำมันเครืองหล่อลื่นและกรองน้ำมันเครื่อง ซึ่งรถยนต์ส่วนมากในช่วงเวลานั้นยังไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้
ต่อมาในราวปี 1925 ยอดขายรถยี่ห้อ แมกซ์เวลล์ เริ่มลดลง ไครส์เลอร์ ตัดสินใจออกรถรุ่นใหม่ แบบ 4 สูบ ราคาถูก โดยเปิดตัวเมื่อปี 1926 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากนั้นแบรนด์รถ แมกซ์เวลล์ ก็ถูกกลืนเข้าไปอยู่ภายใต้แบรนด์ ไครส์เลอร์ อยางสมบูรณ์
ทั้งนื้ ไครส์เลอร์ ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกของโลก ที่ใส่ระบบเบรก ไฮดรอลิก 4 ล้อ ไว้ในรถที่ขายแบบแมสโปรดักซ์ และรวมถึงการใส่ยางรองแท่นเครื่องเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์อีกด้วย
นอกจากนั้น ไครส์เลอร์ ยังเป็นผู้พัฒนาล้อรถที่มีขอบร่อง โดยดีไซน์เพื่อป้องกันลมยางรั่วออกมาขณะวิ่ง ซึ่งการดีไซน์ดังกล่าวถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมยานยนต์มาจนถึงทุกวันนี้
ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมของตัวรถและการทดสอบรถที่ยอดเยี่ยมทำให้ ไครส์เลอร์ สามารถก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งอันดับ 2 ของรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1936 และยึดตำแหน่งนี้มายาวนานจนถึงปี 1949 ก่อนจะล่วงหล่นลงมาตามยุคสมัย
สถานการณ์ปัจจุบันอย่างที่ทราบกัน ไครส์เลอร์ แบรนด์ที่ได้ชื่อว่าเป็น บิ๊กทรี (Big 3) ของวงการอุตสหกรรมยานยนต์สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในกระบวนการขอล้มละลาย แต่ทว่า ไครส์เลอร์ ยังมีโอกาสอยู่โดยต้องรอลุ้นว่า จะหลุดออกจากภาวะล้มละลายได้หรือไม่ หลังการเข้ามาเจรจาตกลงซื้อกิจการของกลุ่ม เฟียต จากอิตาลี
ซึ่งจากข่าวที่ออกมา จีเอ็ม ดูจะเป็นบริษัทฯ ที่สถานการณ์น่าเป็นห่วงที่สุด แต่ล่าสุดกลับกลายเป็น “ไครส์เลอร์” ที่ออกมาประกาศล้มละลายและเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ล้มละลายตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา
เราลองมาย้อนอดีตดูกันว่า ไครส์เลอร์ กว่าจะมาถึงวันนี้มีจุดเริ่มต้นเป็นอย่างไร และได้ทำอะไรดีๆ แก่แวดวงยานยนต์เอาไว้บ้าง
สำหรับ ไครส์เลอร์ ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการโดย นาย วอลเตอร์ พี. ไครส์เลอร์ (Walter P. Chrysler) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ปีค.ศ. 1925 หลังจากที่เขาเข้ามาเทคโอเวอร์บริษัท แมกซ์เวลล์ มอเตอร์ (ก่อตั้งเมื่อ คศ. 1904) ที่ขายรถภายใต้ยี่ห้อ แมกซ์เวลล์ (Maxwell)
ซึ่งจริงๆ วอลเตอร์ ไครส์เลอร์ เข้ามาดำเนินการปรับโครงสร้างของบริษัทตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1920 เนื่องจากขณะนั้นบริษัท แมกซ์เวลล์ กำลังประสบปัญหาด้านการบริหารอย่างหนัก โดยมีการรวมกิจการเข้ากับรถยี่ห้อ ชามเมอร์ (Chalmers) แต่จนแล้วจนรอดเพื่อรักษาบริษัทฯ เอาไว้ แมกซ์เวลล์ ยุติการทำตลาดรถ ชามเมอร์ (Chalmers) ลงเมื่อปี 1923
ทั้งนี้ แบรนด์ดังกล่าวถูกแทนที่ด้วยรถยนต์คันแรกภายใต้ชื่อการทำตลาด “ไครส์เลอร์” เมื่อปี 1924 โดยเป็นรถแบบ 6 สูบ รูปทรงทันสมัย เทคโนโลยีล้ำหน้าในยุคนั้นและที่สำคัญราคาซื้อหาได้ง่าย
สำหรับรถรุ่นดังกล่าว เป็นเครื่องยนต์แรงดันสูงแบบคาร์บูเรเตอร์ และกรองอากาศ มีระบบน้ำมันเครืองหล่อลื่นและกรองน้ำมันเครื่อง ซึ่งรถยนต์ส่วนมากในช่วงเวลานั้นยังไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้
ต่อมาในราวปี 1925 ยอดขายรถยี่ห้อ แมกซ์เวลล์ เริ่มลดลง ไครส์เลอร์ ตัดสินใจออกรถรุ่นใหม่ แบบ 4 สูบ ราคาถูก โดยเปิดตัวเมื่อปี 1926 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากนั้นแบรนด์รถ แมกซ์เวลล์ ก็ถูกกลืนเข้าไปอยู่ภายใต้แบรนด์ ไครส์เลอร์ อยางสมบูรณ์
ทั้งนื้ ไครส์เลอร์ ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกของโลก ที่ใส่ระบบเบรก ไฮดรอลิก 4 ล้อ ไว้ในรถที่ขายแบบแมสโปรดักซ์ และรวมถึงการใส่ยางรองแท่นเครื่องเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์อีกด้วย
นอกจากนั้น ไครส์เลอร์ ยังเป็นผู้พัฒนาล้อรถที่มีขอบร่อง โดยดีไซน์เพื่อป้องกันลมยางรั่วออกมาขณะวิ่ง ซึ่งการดีไซน์ดังกล่าวถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมยานยนต์มาจนถึงทุกวันนี้
ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรมของตัวรถและการทดสอบรถที่ยอดเยี่ยมทำให้ ไครส์เลอร์ สามารถก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งอันดับ 2 ของรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1936 และยึดตำแหน่งนี้มายาวนานจนถึงปี 1949 ก่อนจะล่วงหล่นลงมาตามยุคสมัย
สถานการณ์ปัจจุบันอย่างที่ทราบกัน ไครส์เลอร์ แบรนด์ที่ได้ชื่อว่าเป็น บิ๊กทรี (Big 3) ของวงการอุตสหกรรมยานยนต์สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในกระบวนการขอล้มละลาย แต่ทว่า ไครส์เลอร์ ยังมีโอกาสอยู่โดยต้องรอลุ้นว่า จะหลุดออกจากภาวะล้มละลายได้หรือไม่ หลังการเข้ามาเจรจาตกลงซื้อกิจการของกลุ่ม เฟียต จากอิตาลี