ข่าวต่างประเทศ - แม้ยังเหลือเวลาอีกร่วม 2 เดือนสำหรับการโอนย้ายสินทรัพย์ของไครสเลอร์ แอลแอลซีมายังบริษัทแห่งใหม่ แต่ในตอนนี้มีการประกาศออกมาอย่างชัดเจนแล้วว่า ผู้ที่จะนั่งแท่นเป็นซีอีโอคนใหม่ของบริษัทใหม่ที่เกิดจากการรวมกิจการของเฟียตกับไครสเลอร์ คือ แซร์โจ้ มาร์ชิโอนเน่ ซีอีโอของเฟียต เอส.พี.เอ.
"ตอนนี้ไครสเลอร์กลับมาอยู่ในสภาพที่เข้าที่เข้าทางแล้ว และเราต้องรอเวลาอีก 60 วันในการสะสางเรื่องที่เกิดขึ้นจากการประกาศล้มละลาย และแน่นอนว่า ผมจะมาเป็นซีอีโอของทางไครสเลอร์อย่างแน่นอน" มาร์ชิโอนเน่กล่าวให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Detroit News โดยเขาอ้างว่า ไอเดียนี้มาจากการได้พูดคุยและเจรจากับทางกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา
แม้ในช่วงแรกทางเฟียตจะถือหุ้นเพียง 20% ของบริษัทแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมกิจการ แต่ทว่ามาร์ชิโอนเน่น่าจะเป็นชื่อที่บรรดาผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เชื่อมั่น เพราะว่าเขาคือผู้ที่ช่วยกอบกู้กิจการของเฟียตจากสภาพย่ำแย่ในช่วงปี 2000 ให้กลับมายืนอยู่บนแข้งของตัวเองได้หลังจากเข้ามานั่งเป็นซีอีโอของเฟียต เอส.พี.เอ.ในปี 2004
นอกจากนั้น มาร์ชิโอนเน่ยังกล่าวถึงเรื่องของการเทคโอเวอร์กิจการบริษัทรถยนต์แห่งอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะความสนใจในแบรนด์ยุโรปในเครือจีเอ็ม อย่าง ซาบ และโอเปิล/วอกซ์ฮอลล์ ซึ่งเขาต้องการผลักดันให้อาณาจักรรถยนต์ของตัวเองกลายเป็นแบรนด์ระดับโลก เพื่อลุยตลาดทั้งในยุโรป, สหรัฐอเมริกา และอเมริกาใต้
"ซาบเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก แต่ทว่ามีข้อด้อยตรงที่เป็นบริษัทรถยนต์ที่เล็กเกินไปสำหรับการทำตลาดขนาดใหญ่ หรือ Mass Market"มาร์ชิโอนเน่กล่าว
"เราสามารถจับซาบเข้ารวมกับบริษัทอื่นๆ ในเครือและในสหรัฐอเมริกา เครือข่ายจำหน่ายของซาบถือว่าอยู่ในระดับดีมาก และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากว่าปล่อยให้หลุดมือไป"
ซาบได้รับการคุ้มครองจากบรรดาเจ้าหนี้นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์หลังจากที่ทางจีเอ็มประกาศว่า จะเก็บรักษาบริษัทแห่งนี้เอาไว้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทจนกระทั่งถึงปี 2010 แต่จากการประกาศนโยบายใหม่ของฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ซีอีโอคนใหม่เชื่อว่า ซาบจะต้องถูกขายออกจากเครืออย่างแน่นอน เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่มีแค่เฟียตเท่านั้นที่สนใจซาบ เพราะจากการเปิดเผยของเอริก เกียร์ส์ โฆษกของทางซาบระบุว่า ในตอนนี้เราได้รับการติดต่อและทาบทามจากผู้ที่สนใจสนับสิบรายแล้ว แต่เขาเชื่อว่าการรวมกิจการกับเฟียตน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
"ถ้ามีเฟียตรวมอยู่ด้วย สถานการณ์ของเราก็น่าจะดีขึ้นอย่างแน่นอน" เกียร์ส์กล่าว
"ตอนนี้ไครสเลอร์กลับมาอยู่ในสภาพที่เข้าที่เข้าทางแล้ว และเราต้องรอเวลาอีก 60 วันในการสะสางเรื่องที่เกิดขึ้นจากการประกาศล้มละลาย และแน่นอนว่า ผมจะมาเป็นซีอีโอของทางไครสเลอร์อย่างแน่นอน" มาร์ชิโอนเน่กล่าวให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Detroit News โดยเขาอ้างว่า ไอเดียนี้มาจากการได้พูดคุยและเจรจากับทางกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา
แม้ในช่วงแรกทางเฟียตจะถือหุ้นเพียง 20% ของบริษัทแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมกิจการ แต่ทว่ามาร์ชิโอนเน่น่าจะเป็นชื่อที่บรรดาผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เชื่อมั่น เพราะว่าเขาคือผู้ที่ช่วยกอบกู้กิจการของเฟียตจากสภาพย่ำแย่ในช่วงปี 2000 ให้กลับมายืนอยู่บนแข้งของตัวเองได้หลังจากเข้ามานั่งเป็นซีอีโอของเฟียต เอส.พี.เอ.ในปี 2004
นอกจากนั้น มาร์ชิโอนเน่ยังกล่าวถึงเรื่องของการเทคโอเวอร์กิจการบริษัทรถยนต์แห่งอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะความสนใจในแบรนด์ยุโรปในเครือจีเอ็ม อย่าง ซาบ และโอเปิล/วอกซ์ฮอลล์ ซึ่งเขาต้องการผลักดันให้อาณาจักรรถยนต์ของตัวเองกลายเป็นแบรนด์ระดับโลก เพื่อลุยตลาดทั้งในยุโรป, สหรัฐอเมริกา และอเมริกาใต้
"ซาบเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมาก แต่ทว่ามีข้อด้อยตรงที่เป็นบริษัทรถยนต์ที่เล็กเกินไปสำหรับการทำตลาดขนาดใหญ่ หรือ Mass Market"มาร์ชิโอนเน่กล่าว
"เราสามารถจับซาบเข้ารวมกับบริษัทอื่นๆ ในเครือและในสหรัฐอเมริกา เครือข่ายจำหน่ายของซาบถือว่าอยู่ในระดับดีมาก และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายหากว่าปล่อยให้หลุดมือไป"
ซาบได้รับการคุ้มครองจากบรรดาเจ้าหนี้นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์หลังจากที่ทางจีเอ็มประกาศว่า จะเก็บรักษาบริษัทแห่งนี้เอาไว้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทจนกระทั่งถึงปี 2010 แต่จากการประกาศนโยบายใหม่ของฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ซีอีโอคนใหม่เชื่อว่า ซาบจะต้องถูกขายออกจากเครืออย่างแน่นอน เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่มีแค่เฟียตเท่านั้นที่สนใจซาบ เพราะจากการเปิดเผยของเอริก เกียร์ส์ โฆษกของทางซาบระบุว่า ในตอนนี้เราได้รับการติดต่อและทาบทามจากผู้ที่สนใจสนับสิบรายแล้ว แต่เขาเชื่อว่าการรวมกิจการกับเฟียตน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
"ถ้ามีเฟียตรวมอยู่ด้วย สถานการณ์ของเราก็น่าจะดีขึ้นอย่างแน่นอน" เกียร์ส์กล่าว