ข่าวต่างประเทศ - ฟอร์ด มอเตอร์มั่นใจบริษัทยังสามารถดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเงินสดที่เหลืออยู่ในคลังจะลดน้อยลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับที่เคยมีอยู่ช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ โดยประธานออกแถลงเพิ่มความมั่นใจว่าจะสามารถพาบริษัทให้อยู่รอดปลอดภัยโดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางเหมือนกับที่คู่แข่งร่วมชาติกำลังทำอยู่ตอนนี้ สวนทางกับความเชื่อของนักวิเคราะห์ที่ชี้ว่า โอกาสที่ฟอร์ดจะต้องพึ่งเงินจากทางรัฐบาลเริ่มมีมากขึ้น
อลัน มูลัลลี่ ประธานของฟอร์ดเปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทกำลังพยายามอุดรอยรั่วที่เกิดขึ้นในระบบปฏิบัติการเพื่อลดการใช้จ่าย และมั่นใจว่าถ้าทุกอย่างสามารถดำเนินต่อไปตามแผนการฟื้นฟูกิจการที่วางเอาไว้ ฟอร์ดจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
"ตอนนี้เรากำลังลดต้นทุนในการทำงานของเราอยู่ และนั่นส่งผลดีอย่างมากต่อการปฏิบัติการของเรา โดยเราพยายามอย่างมากในการลดการผลาญเงินสดทุกช่วงไตรมาสของปีนี้ และเชื่อว่าเราจะสามารถอุดรอยรั่วนี้ได้อย่างแน่นอน" มูลัลลี่กล่าวกับเว็บไซต์ Detroit Free Press
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรสมาสแรกของปีที่แล้ว ถือว่าฟอร์ดประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยตัวเลขค่าใช้จ่ายลดลงจาก 7,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 252,000 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2008 ลงมาอยู่ที่ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 92,000 ล้านบาท
นับจากปี 2006 เป็นต้นมา ฟอร์ดพยายามอย่างหนักในการลดต้นทุนของบริษัทส่วนต่างๆ และช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีการปลดคนงานไปแล้วมากกว่า 50,000 คน และก็มีการเจรจากับทางสหภาพคนงาน หรือ UAW หลายต่อหลายครั้งเพื่อเปลี่ยนรายละเอียดในข้อตกลง รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งการพยายามทำ 2 เรื่องนี้ช่วยให้ฟอร์ดประหยัดเงินไปได้จำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 35,000 ล้านบาทต่อปี
ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฟอร์ดสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 66,500 ล้านบาท โดยเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วยการปรับโครงสร้างการทำงานในส่วนต่างๆ เช่น ระบบการผลิต การทำงานเชิงวิศวกรรม การตลาด และการโฆษณา และมูลัลลี่กล่าวว่าเมื่อถึงปลายปีนี้ ฟอร์ดจะสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมกันเป็นจำนวนเงินถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 140,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งถ้าตามแผนการนี้ดำเนินไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ ฟอร์ดจะกลับมามีกำไรในปี 2011
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์กลับไม่เชื่อเหมือนอย่างที่มูลัลลี่บอกกล่าวออกมา เพราะว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับฟอร์ดในตอนนี้ คือ จำนวนเงินสดคงคลัง เนื่องจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีตัวเลขลดลงอย่างมาก จาก 21,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 745,500 ล้านบาทลงมาอยู่ที่ 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 353,000 ล้านบาท
นั่นจึงทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่า ภายใต้รูปแบบการดำเนินงานอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เงินสดที่เหลืออยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการพยุงบริษัทให้เดินหน้าต่อไปได้ เพราะว่าฟอร์ดต้องการเงินสดและเครดิตรวมกันจำนวน 8,000-10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 280,000350,000 ล้านบาทสำหรับการใช้จ่ายสำหรับระบบปฏิบัติการทั้งหมดต่อ 1 วัน และจากข้อมูลที่เปิดเผยออกมานี้ ทำให้เชื่อว่า ฟอร์ดกำลังจะอยู่ใกล้จุดวิกฤตแล้ว
กับสภาพที่เกิดขึ้นและเงินที่เหลืออยู่ บวกกับเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวัน ความเป็นไปได้ในการที่ฟอร์ดจะต้องขอความช่วยเหลือนั้นเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ จอห์น โวลโคโนวิคซ์ นักวิเคราะห์อาวุโสของ HIS Global Insight กล่าว และเขาเชื่อว่าอีกไม่นาน ฟอร์ดจะต้องร้องขอความช่วยเหลืออย่างแน่นอน
สำหรับประเทศไทยล่าสุด จิม ฟาร์ลีย์ ผู้บริหารระดับสูงด้านการตลาดและการสื่อสาร บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี อเมริกา เพิ่งมาเยือนเมืองไทย และร่วมประชุมกับบรรดาผู้จำหน่าย ถึงแนวโน้มของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคไทยในปัจจุบัน
นายฟาร์ลีย์ กล่าวว่า ฟอร์ดยังคงมุ่งมั่นต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสะท้อนจากการที่บริษัทขยายการลงทุนเพิ่มเติมมูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการขยายโรงงาน ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก เฟียสต้าใหม่
"เรารู้สึกตื่นเต้นไปกับกลยุทธ์การขยายการลงทุนที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ และการเดินหน้าเปิดตัว เฟียสต้าใหม่ ซึ่งได้กลายเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในยุโรป และเตรียมทำตลาดในไทยช่วงต้นปีหน้า"
นายฟาร์ลีย์ ยังได้กระตุ้นให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จำหน่ายรถฟอร์ดมากยิ่งขึ้น จากการชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของฟอร์ดในต่างประเทศว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฟอร์ดสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดตอดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 แล้ว ขณะที่ผู้บริโภคล้วนชื่นชมในคุณภาพและประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงที่ฟอร์ดบรรจุไว้ในรถรุ่นใหม่ๆ แม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่ฟอร์ดเป็นบริษัทรถที่ยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยีระดับโลกใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
อลัน มูลัลลี่ ประธานของฟอร์ดเปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทกำลังพยายามอุดรอยรั่วที่เกิดขึ้นในระบบปฏิบัติการเพื่อลดการใช้จ่าย และมั่นใจว่าถ้าทุกอย่างสามารถดำเนินต่อไปตามแผนการฟื้นฟูกิจการที่วางเอาไว้ ฟอร์ดจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือ
"ตอนนี้เรากำลังลดต้นทุนในการทำงานของเราอยู่ และนั่นส่งผลดีอย่างมากต่อการปฏิบัติการของเรา โดยเราพยายามอย่างมากในการลดการผลาญเงินสดทุกช่วงไตรมาสของปีนี้ และเชื่อว่าเราจะสามารถอุดรอยรั่วนี้ได้อย่างแน่นอน" มูลัลลี่กล่าวกับเว็บไซต์ Detroit Free Press
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรสมาสแรกของปีที่แล้ว ถือว่าฟอร์ดประสบความสำเร็จอย่างมากในการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยตัวเลขค่าใช้จ่ายลดลงจาก 7,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 252,000 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2008 ลงมาอยู่ที่ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 92,000 ล้านบาท
นับจากปี 2006 เป็นต้นมา ฟอร์ดพยายามอย่างหนักในการลดต้นทุนของบริษัทส่วนต่างๆ และช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีการปลดคนงานไปแล้วมากกว่า 50,000 คน และก็มีการเจรจากับทางสหภาพคนงาน หรือ UAW หลายต่อหลายครั้งเพื่อเปลี่ยนรายละเอียดในข้อตกลง รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งการพยายามทำ 2 เรื่องนี้ช่วยให้ฟอร์ดประหยัดเงินไปได้จำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 35,000 ล้านบาทต่อปี
ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ฟอร์ดสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 66,500 ล้านบาท โดยเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้วยการปรับโครงสร้างการทำงานในส่วนต่างๆ เช่น ระบบการผลิต การทำงานเชิงวิศวกรรม การตลาด และการโฆษณา และมูลัลลี่กล่าวว่าเมื่อถึงปลายปีนี้ ฟอร์ดจะสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมกันเป็นจำนวนเงินถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 140,000 ล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งถ้าตามแผนการนี้ดำเนินไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ ฟอร์ดจะกลับมามีกำไรในปี 2011
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์กลับไม่เชื่อเหมือนอย่างที่มูลัลลี่บอกกล่าวออกมา เพราะว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับฟอร์ดในตอนนี้ คือ จำนวนเงินสดคงคลัง เนื่องจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีตัวเลขลดลงอย่างมาก จาก 21,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 745,500 ล้านบาทลงมาอยู่ที่ 10,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 353,000 ล้านบาท
นั่นจึงทำให้นักวิเคราะห์เชื่อว่า ภายใต้รูปแบบการดำเนินงานอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เงินสดที่เหลืออยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการพยุงบริษัทให้เดินหน้าต่อไปได้ เพราะว่าฟอร์ดต้องการเงินสดและเครดิตรวมกันจำนวน 8,000-10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 280,000350,000 ล้านบาทสำหรับการใช้จ่ายสำหรับระบบปฏิบัติการทั้งหมดต่อ 1 วัน และจากข้อมูลที่เปิดเผยออกมานี้ ทำให้เชื่อว่า ฟอร์ดกำลังจะอยู่ใกล้จุดวิกฤตแล้ว
กับสภาพที่เกิดขึ้นและเงินที่เหลืออยู่ บวกกับเวลาที่ผ่านไปในแต่ละวัน ความเป็นไปได้ในการที่ฟอร์ดจะต้องขอความช่วยเหลือนั้นเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ จอห์น โวลโคโนวิคซ์ นักวิเคราะห์อาวุโสของ HIS Global Insight กล่าว และเขาเชื่อว่าอีกไม่นาน ฟอร์ดจะต้องร้องขอความช่วยเหลืออย่างแน่นอน
สำหรับประเทศไทยล่าสุด จิม ฟาร์ลีย์ ผู้บริหารระดับสูงด้านการตลาดและการสื่อสาร บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี อเมริกา เพิ่งมาเยือนเมืองไทย และร่วมประชุมกับบรรดาผู้จำหน่าย ถึงแนวโน้มของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคไทยในปัจจุบัน
นายฟาร์ลีย์ กล่าวว่า ฟอร์ดยังคงมุ่งมั่นต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสะท้อนจากการที่บริษัทขยายการลงทุนเพิ่มเติมมูลค่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการขยายโรงงาน ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก เฟียสต้าใหม่
"เรารู้สึกตื่นเต้นไปกับกลยุทธ์การขยายการลงทุนที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ และการเดินหน้าเปิดตัว เฟียสต้าใหม่ ซึ่งได้กลายเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในยุโรป และเตรียมทำตลาดในไทยช่วงต้นปีหน้า"
นายฟาร์ลีย์ ยังได้กระตุ้นให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จำหน่ายรถฟอร์ดมากยิ่งขึ้น จากการชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของฟอร์ดในต่างประเทศว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฟอร์ดสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดตอดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 แล้ว ขณะที่ผู้บริโภคล้วนชื่นชมในคุณภาพและประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงที่ฟอร์ดบรรจุไว้ในรถรุ่นใหม่ๆ แม้ว่าเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่ฟอร์ดเป็นบริษัทรถที่ยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยีระดับโลกใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง