ในปัจจุบัน บ้านเราอาจจะคุ้นเคยกับคอมแพ็กต์คาร์รุ่นโคโรลล่าของค่ายโตโยต้าเพียงแค่ตัวถังซีดานเท่านั้น (ทั้งที่เมื่อก่อนสมัยรหัส E80 ยังมีตัวถังแฮทช์แบ็กขายเลย) แต่ความจริงแล้วในตลาดต่างๆ ทั่วโลกโคโรลล่ามีความหลากหลายของตัวถังในการทำตลาด เช่น ญี่ปุ่นมีทั้งแวกอนในชื่อฟิลเดอร์ และแฮทช์แบ็กในชื่อออริส
ส่วนในยุโรปซึ่งไม่มีแวกอนขายเหมือนญี่ปุ่น ก็มีอีกทางเลือกที่ในตอนนี้ดูเหมือนว่าตลาดญี่ปุ่นจะไม่ให้ความสนใจกันแล้ว กับตัวถังมินิแวนที่ใช้ชื่อเวอร์โซในการทำตลาด
สำหรับรุ่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในเจนีวา มอเตอร์โชว์ โดยใช้พื้นฐานของโคโรลล่ารุ่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นเจนเนอเรชันที่ 10 (รหัส E140-150) ข่าวระบุว่าเวอร์ชันมินิแวนของโคโรลล่าที่เคยขายในญี่ปุ่นด้วยชื่อโคโรลล่า สปาซิโอถูกถอดออกจากตลาดแล้ว และทำให้ตัวถังนี้เน้นการทำตลาดยุโรปเป็นหลัก และใช้คำว่าเวอร์โซเพียงอย่างเดียวในการทำตลาดโดยที่ไม่มีชื่อโคโรลล่านำหน้าเหมือนเมื่อก่อน
ขนาดตัวถังมีความยาว 4,440 มิลลิเมตร เพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิม 20 มิลลิเมตร กว้าง 1,790 มิลลิเมตร (+20) ส่วนความเพรียวลมคงหวังยากหน่อยว่าจะมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียทาน หรือ Cd ต่ำ แต่อยู่ในระดับ 0.29 ก็ถือว่าเยี่ยมแล้วสำหรับรถยนต์ตัวถังแบบ 2 กล่อง
จุดเด่นของเวอร์โซอยู่ที่ความอเนกประสงค์ที่สามารถรองรับกับผู้ขับและผู้โดยสารรวม 7 ที่นั่งด้วยแนวคิดของการจัดวางเบาะที่เรียกว่า Easy Flat-7 ซึ่งเบาะทั้ง 3 แถวสามารถเลือกพับหรือปรับได้อย่างหลากหลายเพื่อรองรับกับความต้องการที่หลากหลาย
ในเรื่องความปลอดภัย แม้จะยังไม่มีการทดสอบโดยทาง EuroNCAP แต่โตโยต้ามั่นใจว่าการพัฒนาโครงสร้างตัวถังและระบบความปลอดภัยในเชิงปกป้องต่างๆ เน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เพื่อให้ผ่านมาตาฐานการทดสอบชนด้านหน้าด้วยคะแนนในระดับ 5 ดาวเหมือนกับรถยนต์รุ่นอื่นๆ ของโตโยต้า ซึ่งก็รวมถึงจิ๋วแจ๋วอย่าง iQ ด้วย
การขับเคลื่อนมากับเครื่องยนต์ใหม่ที่โตโยต้าเรียกว่า Toyota Optimal Drive เป็นแบบ 4 สูบเรียงเบนซิน พร้อม Valvematic ระบบวาล์วแปรผันรุ่นใหม่ควบคุมการทำงานทั้งฝั่งไอดีและไอเสีย ซึ่งมีการออกแบบกระเดื่องวาล์วใหม่ โดยเฉพาะฝั่งไอดี และใช้ลูกสูบที่มีน้ำหนักเบาลง ซึ่งโตโยต้าบอกว่ามีระดับของกำลังขับเคลื่อนมากกว่าเครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากันแบบ VVT-I ถึง 20% แต่ประหยัดน้ำมันขึ้น 12%
ในรุ่น 1,600 ซีซีมีกำลังขยับอีก 22 แรงม้าจากบล็อก 1,600 ซีซี VVT-I เป็น 130 แรงม้า ส่วนแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 16.3 กก.-ม. ที่ 4,400 รอบ/นาที และรุ่น 1,800 ซีซี มีกำลังเพิ่มขึ้น 18 แรงม้าเป็น 145 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 18.3 กก.-ม. ที่ 4,400 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ หรือแบบอัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง หรือ CVT รุ่นใหม่ที่โตโยต้าเรียกว่า Multidrive S
อีกทางเลือกเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลแบบ D4-D แบบ 4 สูบ 2,000 ซีซี 125 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 31.6 กก.-ม. ที่ 1,800-2,400 รอบ/นาที และอีกรุ่น 2,200 ซีซี 148 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 34.6 กก.-ม. ที่ 2,000-2,800 รอบ/นาที ซึ่งในรุ่นเทอร์โบดีเซลเลือกจับคู่ระหว่างเกียร์ธรรมดา หรืออัตโนมัติ 6 จังหวะ
ความอเนกประสงค์ของโตโยต้าพร้อมลุยตลาดยุโรปกลางปีนี้ ส่วนตลาดกลุ่มอื่นคงต้องรอลุ้นว่า จะมีโอกาสได้สัมผัสหรือไม่
ส่วนในยุโรปซึ่งไม่มีแวกอนขายเหมือนญี่ปุ่น ก็มีอีกทางเลือกที่ในตอนนี้ดูเหมือนว่าตลาดญี่ปุ่นจะไม่ให้ความสนใจกันแล้ว กับตัวถังมินิแวนที่ใช้ชื่อเวอร์โซในการทำตลาด
สำหรับรุ่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในเจนีวา มอเตอร์โชว์ โดยใช้พื้นฐานของโคโรลล่ารุ่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นเจนเนอเรชันที่ 10 (รหัส E140-150) ข่าวระบุว่าเวอร์ชันมินิแวนของโคโรลล่าที่เคยขายในญี่ปุ่นด้วยชื่อโคโรลล่า สปาซิโอถูกถอดออกจากตลาดแล้ว และทำให้ตัวถังนี้เน้นการทำตลาดยุโรปเป็นหลัก และใช้คำว่าเวอร์โซเพียงอย่างเดียวในการทำตลาดโดยที่ไม่มีชื่อโคโรลล่านำหน้าเหมือนเมื่อก่อน
ขนาดตัวถังมีความยาว 4,440 มิลลิเมตร เพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิม 20 มิลลิเมตร กว้าง 1,790 มิลลิเมตร (+20) ส่วนความเพรียวลมคงหวังยากหน่อยว่าจะมีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียทาน หรือ Cd ต่ำ แต่อยู่ในระดับ 0.29 ก็ถือว่าเยี่ยมแล้วสำหรับรถยนต์ตัวถังแบบ 2 กล่อง
จุดเด่นของเวอร์โซอยู่ที่ความอเนกประสงค์ที่สามารถรองรับกับผู้ขับและผู้โดยสารรวม 7 ที่นั่งด้วยแนวคิดของการจัดวางเบาะที่เรียกว่า Easy Flat-7 ซึ่งเบาะทั้ง 3 แถวสามารถเลือกพับหรือปรับได้อย่างหลากหลายเพื่อรองรับกับความต้องการที่หลากหลาย
ในเรื่องความปลอดภัย แม้จะยังไม่มีการทดสอบโดยทาง EuroNCAP แต่โตโยต้ามั่นใจว่าการพัฒนาโครงสร้างตัวถังและระบบความปลอดภัยในเชิงปกป้องต่างๆ เน้นประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน เพื่อให้ผ่านมาตาฐานการทดสอบชนด้านหน้าด้วยคะแนนในระดับ 5 ดาวเหมือนกับรถยนต์รุ่นอื่นๆ ของโตโยต้า ซึ่งก็รวมถึงจิ๋วแจ๋วอย่าง iQ ด้วย
การขับเคลื่อนมากับเครื่องยนต์ใหม่ที่โตโยต้าเรียกว่า Toyota Optimal Drive เป็นแบบ 4 สูบเรียงเบนซิน พร้อม Valvematic ระบบวาล์วแปรผันรุ่นใหม่ควบคุมการทำงานทั้งฝั่งไอดีและไอเสีย ซึ่งมีการออกแบบกระเดื่องวาล์วใหม่ โดยเฉพาะฝั่งไอดี และใช้ลูกสูบที่มีน้ำหนักเบาลง ซึ่งโตโยต้าบอกว่ามีระดับของกำลังขับเคลื่อนมากกว่าเครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากันแบบ VVT-I ถึง 20% แต่ประหยัดน้ำมันขึ้น 12%
ในรุ่น 1,600 ซีซีมีกำลังขยับอีก 22 แรงม้าจากบล็อก 1,600 ซีซี VVT-I เป็น 130 แรงม้า ส่วนแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 16.3 กก.-ม. ที่ 4,400 รอบ/นาที และรุ่น 1,800 ซีซี มีกำลังเพิ่มขึ้น 18 แรงม้าเป็น 145 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 18.3 กก.-ม. ที่ 4,400 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ หรือแบบอัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง หรือ CVT รุ่นใหม่ที่โตโยต้าเรียกว่า Multidrive S
อีกทางเลือกเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซลแบบ D4-D แบบ 4 สูบ 2,000 ซีซี 125 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 31.6 กก.-ม. ที่ 1,800-2,400 รอบ/นาที และอีกรุ่น 2,200 ซีซี 148 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 34.6 กก.-ม. ที่ 2,000-2,800 รอบ/นาที ซึ่งในรุ่นเทอร์โบดีเซลเลือกจับคู่ระหว่างเกียร์ธรรมดา หรืออัตโนมัติ 6 จังหวะ
ความอเนกประสงค์ของโตโยต้าพร้อมลุยตลาดยุโรปกลางปีนี้ ส่วนตลาดกลุ่มอื่นคงต้องรอลุ้นว่า จะมีโอกาสได้สัมผัสหรือไม่