xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อ“ขยะ”เปลี่ยนเป็น“พลังงาน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แล้ววันนี้ก็มาถึง ดุจดั่งนวนิยายวิทยาศาสตร์ เมื่อเราสามารถเปลี่ยนขยะทั้งหลายให้กลายมาเป็นพลังงาน ในรูปของ เอทานอล ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องพลังงานขาดแคลนหรือมีราคาแพงได้ในอนาคต โดย “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” มีโอกาสเข้าร่วมสัมภาษณ์ “เวส โบลเซน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และรัฐกิจ บริษัท คอสคาตา จำกัด ผู้ผลิตเอธานอลรายใหญ่ของของสหรัฐ ถึงเรื่องราวดังกล่าว
 “ เวส โบลเซน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และรัฐกิจ บริษัท คอสคาตา จำกัด
- ที่มาของเอทานอล?
สิ่งที่เรานำเสนอคือ เทคโนโลยี ใหม่ของโลกที่สามารถเปลี่ยนมวลของสิ่งของต่างจำพวกขยะเหลือใช้จากบ้านเรือน, พืชที่ให้เส้นใย,ยางรถยนต์เก่า, เศษไม้ต่างๆ เป็นต้น มาผ่านกระบวนการทางเคมีชีวภาพ ตามสูตรและเครื่องจักรของเรา ผลที่ได้ในขั้นตอนสุดท้ายก็คือ เอทานอล ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันดิบได้ในอนาคต

- วิธีการได้มา?
ขั้นตอนแรกจะนำวัตถุดิบทั้งหมดมาหมักรวมกัน แล้วจะได้แก๊ส จากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนสำคัญคือผลมแก๊สเข้ากับจุลินทรีย์ชนิดพิเศษที่คิดค้นขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับการย่อยสลายและเปลี่ยนรูปพลังงานแบบแก๊สให้กลายเป็นเอทานอล ที่เป็นพลังงานในรูปของเหลว ซึ่งจะสะดวกในด้านการขนส่งสำหรับผลิตจำนวนมาก
ตัวอย่างวัตถุดิบที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นเอทานอลได้
- จุดเด่น?
เป็นพลังงานที่จะไม่มีวันหมดไปจากโลก เพราะวัตถุดิบที่นำมาใช้หาดได้ทั่วไปจากบ้านเรือนและของเหลือใช้ต่างๆ รวมถึงพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นทางออกสำหรับการช่วยแก้ปัญหาเรื่องพลังงานทางเลือกที่ไปนำวัตถุดิบจากอาหารของมนุษย์มาใช้ได้
รวมถึงความสะดวกในแง่ของการขนส่งจากรูปแบบของของเหลวที่ขนส่งง่ายกว่าแก๊ส หากมองในระยะยาวแล้ว เทคโนโลยีใหม่นี้จะมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลโดยรวม ทำให้ราคาถูกลง ไม่ผันผวนไปตามกระแสราคาพืชผลทางการเกษตร

- ราคาต้นทุน?
สำหรับต้นทุนการผลิตเราไม่สามารถเผยตัวเลขชัดๆ ได้ รวมถึงมูลค่าการลงทุนของเครื่องจักร แต่พอจะบอกคร่าวๆ เพียงว่า จะสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอนหากราคาน้ำมันดิบอยู่ที่ระดับ 70-80 ดอลล่าร์สหรัฐ/บาร์เรล และถ้าได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ จะแข่งขันในราคาน้ำมันดิบที่ 40 ดอลล่าร์สหรัฐ/บาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่หวังผลในระยะยาว โดยมีจุดคุ้มทุนอยู่ราว 3-4 ปี สำหรับผู้สนใจลงทุนเทคโนโลยีดังกล่าว

- ใครสนใจบ้าง?
ขณะนี้ เราอยู่ในระหว่างการเดินสายแนะนำตัวและเทคโนโลยีดังกล่าวไปยังผู้สนใจลงทุนทั่วโลก โดยมี เจนเนอรัล มอเตอร์(GM) เป็นพาร์ตเนอร์สำคัญของโปเจคต์นี้ สำหรับประเทศไทย เรามีการเจรจากับทางกลุ่มของ ปตท. และกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลของไทย โดยยังไม่ได้ข้อสรุปอะไรเนื่องจากเป็นเพียงการพบกันครั้งแรกเท่านั้น ส่วนผู้ที่สนใจรายอื่นๆ จากทั่วโลก เช่น กลุ่มของเชลล์และบีพี เป็นต้น

การได้เห็นเทคโนโลยีเช่นนี้เกิดขึ้นมาบนโลกนับเป็นข่าวดีสำหรับเราทุกคน บนพื้นฐานความคาดหวังไร้กังวลกับสถานการณ์ “น้ำมันดิบ” จากใต้ผิวโลกที่นักวิชาการ และนักวิเคราะห์ ต่างให้ความเห็นกันว่ามีแต่จะหมดไปในเร็ววันจนดันราคาถีบสูงเป็นประวัติการณ์ก่อนจะล่วงลงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากเทคโนโลยีดังกล่าวแพร่หลาย ผู้ใช้รถอย่างเราคงไม่ต้องง้อ น้ำมันดิบอีกต่อไป

กำลังโหลดความคิดเห็น