ASTVผู้จัดการรายวัน- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค.แตะ 88 ลดลงเล็กน้อยจากก.ค.เหตุจากปัจจัยน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่ปัจจัยด้านการเมืองเริ่มมาแรงเอกชนวิตกกังวลมากกว่าเดือนก่อน แต่แนวโน้ม 3 เดือนข้างหน้าดัชนีฯอยู่ระดับเกิน 100 ครั้งแรกในรอบ 20 เดือนเหตุจากคาดการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนสิงหาคม 2552 จาก 1,128 ตัวอย่างครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม ที่ระดับ 89.9 มาอยู่ที่ระดับ 88.0 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากบางอุตสาหกรรมเริ่มมีการปรับสต๊อกสินค้าสูงขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว ประกอบกับวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรมมีราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานได้กลับไปทำงานในภาคการเกษตร ทำให้ปริมาณการผลิตและผลประกอบการลดลงด้วย
ทั้งนี้ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังอยู่ในระดับที่ไม่ดี โดยผลสำรวจระบุถึงด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผลกระทบด้านราคาน้ำมันเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรกในช่วงเดือนสิงหาคม รองลงมาคือ คือผลกระทบจากการเมืองในประเทศ สภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
“ปัจจัยต่อความเชื่อมั่นส.ค.ที่เปลี่ยนไปจากก.ค.ก็คือ เรื่องของการเมืองในประเทศ ที่ผู้ประกอบการแสดงถึงกังวลมากกว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้มาจากข่าวการเมืองที่ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มไม่มั่นใจในความมั่นคงของรัฐบาล ส่วนประเด็นเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการมีความกังวลเรื่องสภาวะเศรษฐกิจโลกลดลงจากอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงแสดงความกังวลอยู่ในด้านของเสถียรภาพของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”นายสันติกล่าว
สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่เกินระดับ 100 ครั้งแรกในรอบ 20 เดือน โดยขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 102. 1 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่อยู่ในระดับ 96.7 โดยผู้ประกอบการคาดการณ์ว่า สถานการณ์การค้าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งสอดคล้องกับการวัดปัจจัยที่มีผลต่อความกังวลของผู้ประกอบการของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกลดลง และมีความคาดหวังต่อสถานการณ์ฟื้นตัวที่ชัดเจน
นายสันติกล่าวว่า ผลสำรวจทางเอกชนได้เสนอแนะต่อภาครัฐที่ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ ให้ภาครัฐควบคุมราคาน้ำมัน และในขณะเดียวกันให้มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบการวางแผนได้อย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับผู้ผลิตยานยนต์ที่ต้องการให้รัฐมีนโยบายที่ชัดเจนกับรถที่ใช้พลังงานทางเลือกเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้อง ทั้งเร่งสร้างเสถียรภาพของรัฐบาลโดยการร่วมมือกันทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่ามากกว่านี้ รวมทั้งควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากหน่วยงานของภาครัฐ ฯลฯ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทยเดือนสิงหาคม 2552 จาก 1,128 ตัวอย่างครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม ที่ระดับ 89.9 มาอยู่ที่ระดับ 88.0 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากบางอุตสาหกรรมเริ่มมีการปรับสต๊อกสินค้าสูงขึ้นในระดับหนึ่งแล้ว ประกอบกับวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรมมีราคาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานได้กลับไปทำงานในภาคการเกษตร ทำให้ปริมาณการผลิตและผลประกอบการลดลงด้วย
ทั้งนี้ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการยังอยู่ในระดับที่ไม่ดี โดยผลสำรวจระบุถึงด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผลกระทบด้านราคาน้ำมันเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการอุตสาหกรรมเป็นอันดับแรกในช่วงเดือนสิงหาคม รองลงมาคือ คือผลกระทบจากการเมืองในประเทศ สภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
“ปัจจัยต่อความเชื่อมั่นส.ค.ที่เปลี่ยนไปจากก.ค.ก็คือ เรื่องของการเมืองในประเทศ ที่ผู้ประกอบการแสดงถึงกังวลมากกว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้มาจากข่าวการเมืองที่ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มไม่มั่นใจในความมั่นคงของรัฐบาล ส่วนประเด็นเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการมีความกังวลเรื่องสภาวะเศรษฐกิจโลกลดลงจากอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงแสดงความกังวลอยู่ในด้านของเสถียรภาพของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ”นายสันติกล่าว
สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ได้ปรับตัวขึ้นมาอยู่เกินระดับ 100 ครั้งแรกในรอบ 20 เดือน โดยขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 102. 1 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่อยู่ในระดับ 96.7 โดยผู้ประกอบการคาดการณ์ว่า สถานการณ์การค้าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งสอดคล้องกับการวัดปัจจัยที่มีผลต่อความกังวลของผู้ประกอบการของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกลดลง และมีความคาดหวังต่อสถานการณ์ฟื้นตัวที่ชัดเจน
นายสันติกล่าวว่า ผลสำรวจทางเอกชนได้เสนอแนะต่อภาครัฐที่ส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ ให้ภาครัฐควบคุมราคาน้ำมัน และในขณะเดียวกันให้มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ประกอบการวางแผนได้อย่างเหมาะสม เช่นเดียวกับผู้ผลิตยานยนต์ที่ต้องการให้รัฐมีนโยบายที่ชัดเจนกับรถที่ใช้พลังงานทางเลือกเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้อง ทั้งเร่งสร้างเสถียรภาพของรัฐบาลโดยการร่วมมือกันทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่ามากกว่านี้ รวมทั้งควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากหน่วยงานของภาครัฐ ฯลฯ