ข่าวต่างประเทศ - กลายเป็นเรื่องที่สร้างความเจ็บปวดให้กับแบรนด์รถยนต์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่างจีเอ็ม หรือเจนเนอรัล มอเตอร์ส ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมยานยนต์มานาน เมื่อผลวิจัยจากการสำรวจโดยบริษัทอิสระชี้ให้เห็นว่า กว่า 70% ของคนอเมริกันเชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศยังเดินหน้าต่อไปได้ แม้ว่าจะไม่มีบริษัทแห่งนี้อยู่ในตลาดอีกต่อไป
โพลล์ชี้นนี้จัดทำโดย Rasmussen Reports โดยเปิดโอกาสให้คนเข้าร่วมโหวตในช่วงวันจันทร์ที่ 30-31 มีนาคมที่ผ่านมา และมีคนเข้ามาร่วมโหวตมากกว่า 1,000 คน ซึ่ง 76% ของคนที่เข้ามาออกเสียงยืนยันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และฟื้นตัวโดยปราศจากการมีบริษัทจีเอ็มอยู่ในตลาด ขณะที่ 15% กล่าวว่าพวกเขาไม่มั่นใจ และมีเพียงแค่ 9% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย
นอกจากนั้นจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกันนี้ 62% ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้เงินช่วยเหลือเพื่อพยุงกิจการของจีเอ็ม และไครสเลอร์ โดยเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้เพิ่อให้บริษัททั้ง 2 แห่งกู้ยืมเพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ โดยที่ 59% มั่นใจว่า ในที่สุดแล้วทั้ง 2 บริษัทจะไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ แม้ว่าจะสามารถพยุงบริษัทให้พ้นจากวิกฤตในช่วงปีนี้ไปได้ แต่สุดท้ายไม่เกิน 2-3 ปีข้างหน้า ก็จะกลับมามีปัญหาเหมือนเดิม และก็ประสบปัญหาล้มละลายในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ทางด้านจีเอ็มและไครสเลอร์ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับโพลล์สำรวจความเห็นชิ้นนี้ และก่อนหน้านี้มีข่าวว่าริค แวโกเนอร์ ซีอีโอของจีเอ็มกำลังจะเตรียมประกาศลาออกจากบริษัทในเร็วๆ นี้ หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลืออีกก้อนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามากล่าวถึงก่อนการเดินทางไปยุโรป เพราะว่าไม่พอใจกับแผนการฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างบริหารของทั้งจีเอ็ม และไครสเลอร์ โดยยังให้โอกาสอีกครั้งด้วยการยื่นข้อเสนอใหม่ พร้อมกับมีการพูดโน้มน้าวให้นายแวโกเนอร์ลงจากตำแหน่ง
ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา นายแวโกเนอร์จึงมีการประกาศผ่านเว็บไซต์ของจีเอ็มอย่างเป็นทางการว่าจะขอลงจากตำแหน่งนี้ พร้อมกับประกาศว่านายฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ประธานและซีโอโอของบริษัท จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งซีอีโอของจีเอ็มแทนที่ โดยทางนายแวโกเนอร์จะยังเป็นพนักงานของจีเอ็มต่อไป แต่จะไม่มีส่วนในเรื่องของการให้คำปรึกษากับทางบริษัทเกี่ยวกับการอยู่รอดอีกต่อไป
ในเรื่องของรายได้ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะในปัจจุบัน แม้ว่าเฮนเดอร์สันจะมีรายได้ต่อปีหลังจากถูกปรับลดลงถึง 30% จาก 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 63 ล้านบาทมาอยู่ที่ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 45.5 ล้านบาทตามแผนการฟื้นฟูกิจการที่ประกาศใช้ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่ทว่าก็ยังสร้างความไม่พอใจให้กับคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามาอยู่ดี และทั้งเฮนเดอร์สันกับคณะทำงานชุดใหม่จะต้องเจอกับการกดดันเพื่อลดเงินค่าจ้างต่อปีให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 17.5 ล้านบาทตามที่รัฐบาลต้องการ โดยถ้าบริษัทอยากให้เงินเดือนมากกว่านั้น ส่วนที่เกินขึ้นมาจะต้องจ่ายในรูปแบบอื่น เช่น หุ้นของบริษัทไปแทน
ว่ากันว่านอกจากการบริหารที่ผิดพลาดของนายแวโกเนอร์แล้ว เหตุผลที่ทำให้แผนการขอเงินอีกรอบของจีเอ็มต้องโดนตีกลับก็เพราะเรื่องค่าจ้างของนายแวโกเนอร์ที่ไม่มีการถูกปรับลดลงให้เหมาะสมกับสภาพของบริษัท
โพลล์ชี้นนี้จัดทำโดย Rasmussen Reports โดยเปิดโอกาสให้คนเข้าร่วมโหวตในช่วงวันจันทร์ที่ 30-31 มีนาคมที่ผ่านมา และมีคนเข้ามาร่วมโหวตมากกว่า 1,000 คน ซึ่ง 76% ของคนที่เข้ามาออกเสียงยืนยันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และฟื้นตัวโดยปราศจากการมีบริษัทจีเอ็มอยู่ในตลาด ขณะที่ 15% กล่าวว่าพวกเขาไม่มั่นใจ และมีเพียงแค่ 9% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย
นอกจากนั้นจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกันนี้ 62% ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้เงินช่วยเหลือเพื่อพยุงกิจการของจีเอ็ม และไครสเลอร์ โดยเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้เพิ่อให้บริษัททั้ง 2 แห่งกู้ยืมเพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ โดยที่ 59% มั่นใจว่า ในที่สุดแล้วทั้ง 2 บริษัทจะไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้ แม้ว่าจะสามารถพยุงบริษัทให้พ้นจากวิกฤตในช่วงปีนี้ไปได้ แต่สุดท้ายไม่เกิน 2-3 ปีข้างหน้า ก็จะกลับมามีปัญหาเหมือนเดิม และก็ประสบปัญหาล้มละลายในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ทางด้านจีเอ็มและไครสเลอร์ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับโพลล์สำรวจความเห็นชิ้นนี้ และก่อนหน้านี้มีข่าวว่าริค แวโกเนอร์ ซีอีโอของจีเอ็มกำลังจะเตรียมประกาศลาออกจากบริษัทในเร็วๆ นี้ หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลืออีกก้อนที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามากล่าวถึงก่อนการเดินทางไปยุโรป เพราะว่าไม่พอใจกับแผนการฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างบริหารของทั้งจีเอ็ม และไครสเลอร์ โดยยังให้โอกาสอีกครั้งด้วยการยื่นข้อเสนอใหม่ พร้อมกับมีการพูดโน้มน้าวให้นายแวโกเนอร์ลงจากตำแหน่ง
ในที่สุดเมื่อถึงวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา นายแวโกเนอร์จึงมีการประกาศผ่านเว็บไซต์ของจีเอ็มอย่างเป็นทางการว่าจะขอลงจากตำแหน่งนี้ พร้อมกับประกาศว่านายฟริตซ์ เฮนเดอร์สัน ประธานและซีโอโอของบริษัท จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งซีอีโอของจีเอ็มแทนที่ โดยทางนายแวโกเนอร์จะยังเป็นพนักงานของจีเอ็มต่อไป แต่จะไม่มีส่วนในเรื่องของการให้คำปรึกษากับทางบริษัทเกี่ยวกับการอยู่รอดอีกต่อไป
ในเรื่องของรายได้ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะในปัจจุบัน แม้ว่าเฮนเดอร์สันจะมีรายได้ต่อปีหลังจากถูกปรับลดลงถึง 30% จาก 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 63 ล้านบาทมาอยู่ที่ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 45.5 ล้านบาทตามแผนการฟื้นฟูกิจการที่ประกาศใช้ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว แต่ทว่าก็ยังสร้างความไม่พอใจให้กับคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามาอยู่ดี และทั้งเฮนเดอร์สันกับคณะทำงานชุดใหม่จะต้องเจอกับการกดดันเพื่อลดเงินค่าจ้างต่อปีให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 17.5 ล้านบาทตามที่รัฐบาลต้องการ โดยถ้าบริษัทอยากให้เงินเดือนมากกว่านั้น ส่วนที่เกินขึ้นมาจะต้องจ่ายในรูปแบบอื่น เช่น หุ้นของบริษัทไปแทน
ว่ากันว่านอกจากการบริหารที่ผิดพลาดของนายแวโกเนอร์แล้ว เหตุผลที่ทำให้แผนการขอเงินอีกรอบของจีเอ็มต้องโดนตีกลับก็เพราะเรื่องค่าจ้างของนายแวโกเนอร์ที่ไม่มีการถูกปรับลดลงให้เหมาะสมกับสภาพของบริษัท