สาวกมิตซูบิชิ เตรียมนั่งนับวันรอ พ.ศ.ที่คิดถึง“แลนเซอร์ ใหม่”กันได้แล้ว เพราะแว่วมาว่าค่ายตราเพชรเตรียมทำตลาดรูปแบบประกอบในประเทศแน่นอน ส่วนระยะเวลานั้นคาดว่าจะอยู่ช่วงกลางปี และอย่างช้าคงไม่เกินไตรมาสสามปีนี้แน่นอน โดยรุ่นใหม่หน้าฉลามจะมากับเครื่องยนต์บล็อกใหม่รหัส 4B ขนาด 2.0 และ 1.8 ลิตร ขณะเดียวกันยังคงขุมพลัง 1.6 ลิตร และรุ่นซีเอ็นจีเอาไว้ ในตัวถังเก่า(รุ่นปัจจุบัน) แต่อาจมีการปรับโฉมตามสภาพนิดหน่อย

...แต่ก่อนที่จะก้าวไปถึง แลนเซอร์ เจเนอเรชันที่ 8 “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” นึกได้ว่ามีอีกหนึ่งโมเดลของมิตซูบิชิที่เรายังไม่ได้ขับนั่นคือ ‘แลนเซอร์ ซีเอ็นจี’ ซึ่งการจะปล่อยให้เลยข้ามไปคงไม่ถูก แม้ช่วงนี้กระแส ก๊าซ-แก็ส ฟีเวอร์ จะซาไปแล้วเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง แต่กระนั้นเราเชื่อว่ายังมีผู้บริโภคที่สนใจยนตรกรรมนามสกุล ซีเอ็นจี (เอ็นจีวี) อยู่ไม่น้อย
แลนเซอร์ ซีเอ็นจี เปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนกันยายนปีที่แล้ว และจะว่าไปก่อนหน้านี้สักระยะ มิตซูบิชิก็ให้ไฟเขียว ดีลเลอร์ติดตั้งระบบซีเอ็นจีเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า พร้อมการรับประกันในรูปแบบดีลเลอร์ออปชันอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถประกาศอย่างเป็นทางการได้ เพราะต้องรอให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นรับรองเสียก่อน จนทุกอย่างเรียบร้อย ก็ได้ฤกษ์ลุยตลาดตามเวลาดังกล่าว
โดยเปิดตัวมากับสามรุ่นย่อย 1.6GLX เกียร์ธรรมดา ราคา704,000 บาท GLX เกียร์อัตโนมัติราคา 744,000 บาท และรุ่นที่เราได้ลองคือ SEi เกียร์อัตโนมัติ ราคา 847,000 บาท

สำหรับรูปลักษณ์ภายนอกและสเปกทั่วไปแทบไม่ต่างจากรุ่นปกติ และมีเพียงอักษร “CNG” แปะอยู่ด้านท้ายฝากระโปรงเพื่อบ่งบอกประเภทของรถ ขณะที่รุ่นท็อป SEi ยังมาพร้อมชุดแต่งรอบคัน สปอยเลอร์หลังพร้อมไฟเบรกLED มือจับประตูโครเมี่ยม ปลายท่อไอเสียสเตนเลส รวมถึงไฟหน้าโคมดำ ไฟตัดหมอก และล้ออัลลอยลาย 5 ก้านขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 195/55 R16

ภายในเน้นอารมณ์สปอร์ตด้วยโทนสีดำ เบาะหนังสีดำ แผงคอนโซลลายคาร์บอน พวงมาลัยหุ้มหนังแบบ 3 ก้าน หัวเกียร์และด้ามจับเบรกมือหุ้มหนัง กระจกมองหลังแบบปรับสะท้อนแสง พร้อมความสุนทรีจากเครื่องเล่นวิทยุซีดี MP3 ที่มีรีโมทคอนโทรลมาให้ด้วย


ด้านเครื่องยนต์รหัส 4G18 ขนาด 1.6 ลิตร SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 102 แรงม้าที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 150 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ใช้เชื้อเพลิงได้ 2 ระบบทั้งก๊าซธรรมชาติซีเอ็นจีและน้ำมันเบนซินที่รองรับแก๊สโซฮอล์ อี20 ขณะที่ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์อัตโนมัติ INVECS III CVT 6 สปีด
สำหรับการติดตั้งระบบซีเอ็นจีนั้น แม้จะไม่ได้ออกมาจากสายการผลิตโดยตรงอย่าง โตโยต้า ลิโม่ หรือ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอ็นจีวี กล่าวคือ แลนเซอร์ นั้นคลอดออกมาทั้งคัน แล้วค่อยไปติดตั้งระบบนี้เพิ่มเติม (เหมือน ออพตร้า ซีเอ็นจี)แต่กระนั้นทุกอย่างก็ดำเนินการภายใต้มาตรฐานของมิตซูบิชิ ขณะเดียวกันลูกค้ายังได้การประกันคุณภาพ 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร เหมือนรถรุ่นปกติ
สำหรับระบบซีเอ็นจีของ แลนเซอร์นั้นเป็นแบบหัวฉีด ส่วนถังบรรจุก๊าซใบโตเป็นแบบ Type II น้ำหนักเบา (หุ้มไฟเบอร์) ขนาด 65 ลิตร วางไว้ในห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง มีวัสดุปกปิดไว้ ไม่ให้ดูเกะกะลูกตา แต่นั่นก็ทำให้พื้นที่เก็บของลดลงไปนิดหน่อย


ทั้งนี้ แลนเซอร์ ซีเอ็นจี เติมก๊าซได้ 13 กิโลกรัม และถ้าใช้ก๊าซอย่างเดียวจะวิ่งได้ประมาณ 150-180 กิโลเมตร อันนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุกและความเร็วที่ใช้
เมื่อเริ่มนั่งหลังพวงมาลัย ยังพบจุดด้อยเดิมๆ คือ การปรับเบาะที่ยาก และไม่ว่าจะเลื่อนไปทิศทางไหนก็ดูไม่ เหมาะสมกับสรีระกับผู้ขับนัก ขณะที่พวงมาลับแบบ 3 ก้านก็ดูดาดๆไปนิด ไม่มีปุ่มเสริมหรือออปชันความสะดวกใดๆ เรียกว่าความอเนกประสงค์ในห้องโดยสารนั้นมีข้อจำกัดพอสมควร และแม้พยายามตกแต่งให้ออกแนวสปอร์ตแล้ว แต่นั่นมันเป็นคนละเรื่องกัน
หลังสตาร์ทเครื่อง ที่ระบบจะเซ็ทให้เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยน้ำมันก่อน จากนั้นถ้าเราเลือกสวิทซ์ใช้ก๊าซไว้ มันก็จะกลับมาเผาไหม้ด้วยก๊าซเองอัตโนมัติ ส่วนความรู้สึกการขับ ที่แม้การออกตัวจะออกแนวเอื่อยๆไปเรื่อยๆไม่กระโชกกระชาก แต่ในย่านความเร็วกลางๆนั้นรอบเครื่องไม่ค่อยตก ส่งให้อัตราเร่งยังมาใช้ได้ ส่วนปลายนั้นก็ไหลไปได้พอประมาณ...เรียกว่ากับคอมแพกต์คาร์ 102 แรงม้า คงไม่โดนใจพวกวัยซิ่งแน่นอน แต่จะปรามาสเป็นรถจ่ายกับข้าวก็ดูถูกกันเกินไป เรียกว่าต้องยอมรับในคุณลักษณะ และบุคลิกที่มิตซูบิชิตั้งใจมาขายความประหยัดมากกว่า
อย่างไรก็ตามต้องชื่นชม การจูนระบบก๊าซ ที่แม้จะอยู่ในรอบเดินเบา ก็ไม่มีอาการวูบวาบสะอึก รถยังวิ่งฉิวตั้งแต่รอบต่ำไปยันรอบสูง และบวกความดีความชอบอย่างเกียร์เทพ CVT ก็ยิ่งส่งกำลังได้นิ่งเรียบลงตัว(ส่วนหนึ่งที่ทำให้รอบไม่สวิงมาก)
นอกจากนี้กับระบบกันสะเทือนหน้า แบบแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง และหลังมัลติลิงค์ พร้อมเหล็กกันโคลง ที่ปรับให้รองรับกับการแบกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นความรู้สึกจึงแทบไม่ต่างจากรุ่นปกติ ทั้งการทรงตัว การเข้า-ออกโค้ง ยังให้ความมั่นใจ ควบคุมได้สบายมือ

รวบรัดตัดความ…ถ้ามองไปที่ตัวโปรดักต์กับสถานการณ์ตลาดตอนนี้ ดูจะไม่ค่อยเป็นใจให้แลนเซอร์ ซีเอ็นจี นักเพราะราคาน้ำมันที่ลดลง กอปรกับกระแสการเตรียมขึ้นราคาก๊าซของ ปตท.และรัฐบาล ขณะเดียวกันในแง่สมรรถนะ คงจะหาความสะใจจากพละกำลัง รวมถึงรูปโฉมโนมพันธุ์ ที่อยู่ในตลาดมานานได้ลำบาก(แม้จะมีการไมเนอร์เชนจ์)
ดังนั้นคงต้องมองที่ความคุ้มค่าล้วนๆ เมื่อเทียบราคากับออปชันที่ได้รับ ทั้งระบบซีเอ็นจี แบบหัวฉีด และถังก๊าซอย่างดี Type II น้ำหนักเบา ช่วงล่างเยี่ยมๆแบบอิสระสี่ล้อ เกียร์อัจฉริยะ INVECS III CVT 6 สปีด ที่ส่งกำลังราบรื่น รวมถึงความปลอดภัยระดับดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อม ABS EBD ทั้งยังรองรับพลังทางเลือกอย่าง แก็สโซฮอล์ อี20(อันนี้ต้องนึกว่าช่วยชาติ)...โดยรวม แลนเซอร์ ซีเอ็นจี จึงเป็นรถที่เหมาะจะทำตลาดฟลีต(รุ่น GLX เกียร์ธรรมดา) หรือน่าจะเป็นทางเลือกให้ลูกค้า ที่มองหารถขับเรื่อยๆสบายใจ คุ้มค่าเงินในกระเป๋า
...ปล. : หลังมิตซูบิชิ ยุติการทำตลาดเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรไป ทำให้ “แลนเซอร์ ซีเอ็นจี SEi” รุ่นนี้เป็นตัวที่แพงสุดในไลน์อัพของแลนเซอร์ทันที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็หวังว่านี่ จะเป็นการทดสอบคอมแพกต์คาร์คันเก๋า (รูปโฉมนี้)เป็นครั้งสุดท้าย...เพราะเราก็รอเจ้าหน้าฉลามมานานแล้วเหมือนกัน
...แต่ก่อนที่จะก้าวไปถึง แลนเซอร์ เจเนอเรชันที่ 8 “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” นึกได้ว่ามีอีกหนึ่งโมเดลของมิตซูบิชิที่เรายังไม่ได้ขับนั่นคือ ‘แลนเซอร์ ซีเอ็นจี’ ซึ่งการจะปล่อยให้เลยข้ามไปคงไม่ถูก แม้ช่วงนี้กระแส ก๊าซ-แก็ส ฟีเวอร์ จะซาไปแล้วเนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลง แต่กระนั้นเราเชื่อว่ายังมีผู้บริโภคที่สนใจยนตรกรรมนามสกุล ซีเอ็นจี (เอ็นจีวี) อยู่ไม่น้อย
แลนเซอร์ ซีเอ็นจี เปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนกันยายนปีที่แล้ว และจะว่าไปก่อนหน้านี้สักระยะ มิตซูบิชิก็ให้ไฟเขียว ดีลเลอร์ติดตั้งระบบซีเอ็นจีเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า พร้อมการรับประกันในรูปแบบดีลเลอร์ออปชันอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถประกาศอย่างเป็นทางการได้ เพราะต้องรอให้บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นรับรองเสียก่อน จนทุกอย่างเรียบร้อย ก็ได้ฤกษ์ลุยตลาดตามเวลาดังกล่าว
โดยเปิดตัวมากับสามรุ่นย่อย 1.6GLX เกียร์ธรรมดา ราคา704,000 บาท GLX เกียร์อัตโนมัติราคา 744,000 บาท และรุ่นที่เราได้ลองคือ SEi เกียร์อัตโนมัติ ราคา 847,000 บาท
สำหรับรูปลักษณ์ภายนอกและสเปกทั่วไปแทบไม่ต่างจากรุ่นปกติ และมีเพียงอักษร “CNG” แปะอยู่ด้านท้ายฝากระโปรงเพื่อบ่งบอกประเภทของรถ ขณะที่รุ่นท็อป SEi ยังมาพร้อมชุดแต่งรอบคัน สปอยเลอร์หลังพร้อมไฟเบรกLED มือจับประตูโครเมี่ยม ปลายท่อไอเสียสเตนเลส รวมถึงไฟหน้าโคมดำ ไฟตัดหมอก และล้ออัลลอยลาย 5 ก้านขนาด 16 นิ้ว ประกบยาง 195/55 R16
ภายในเน้นอารมณ์สปอร์ตด้วยโทนสีดำ เบาะหนังสีดำ แผงคอนโซลลายคาร์บอน พวงมาลัยหุ้มหนังแบบ 3 ก้าน หัวเกียร์และด้ามจับเบรกมือหุ้มหนัง กระจกมองหลังแบบปรับสะท้อนแสง พร้อมความสุนทรีจากเครื่องเล่นวิทยุซีดี MP3 ที่มีรีโมทคอนโทรลมาให้ด้วย
ด้านเครื่องยนต์รหัส 4G18 ขนาด 1.6 ลิตร SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 102 แรงม้าที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 150 นิวตัน-เมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที ใช้เชื้อเพลิงได้ 2 ระบบทั้งก๊าซธรรมชาติซีเอ็นจีและน้ำมันเบนซินที่รองรับแก๊สโซฮอล์ อี20 ขณะที่ระบบส่งกำลังเป็นเกียร์อัตโนมัติ INVECS III CVT 6 สปีด
สำหรับการติดตั้งระบบซีเอ็นจีนั้น แม้จะไม่ได้ออกมาจากสายการผลิตโดยตรงอย่าง โตโยต้า ลิโม่ หรือ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอ็นจีวี กล่าวคือ แลนเซอร์ นั้นคลอดออกมาทั้งคัน แล้วค่อยไปติดตั้งระบบนี้เพิ่มเติม (เหมือน ออพตร้า ซีเอ็นจี)แต่กระนั้นทุกอย่างก็ดำเนินการภายใต้มาตรฐานของมิตซูบิชิ ขณะเดียวกันลูกค้ายังได้การประกันคุณภาพ 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร เหมือนรถรุ่นปกติ
สำหรับระบบซีเอ็นจีของ แลนเซอร์นั้นเป็นแบบหัวฉีด ส่วนถังบรรจุก๊าซใบโตเป็นแบบ Type II น้ำหนักเบา (หุ้มไฟเบอร์) ขนาด 65 ลิตร วางไว้ในห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง มีวัสดุปกปิดไว้ ไม่ให้ดูเกะกะลูกตา แต่นั่นก็ทำให้พื้นที่เก็บของลดลงไปนิดหน่อย
ทั้งนี้ แลนเซอร์ ซีเอ็นจี เติมก๊าซได้ 13 กิโลกรัม และถ้าใช้ก๊าซอย่างเดียวจะวิ่งได้ประมาณ 150-180 กิโลเมตร อันนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักบรรทุกและความเร็วที่ใช้
เมื่อเริ่มนั่งหลังพวงมาลัย ยังพบจุดด้อยเดิมๆ คือ การปรับเบาะที่ยาก และไม่ว่าจะเลื่อนไปทิศทางไหนก็ดูไม่ เหมาะสมกับสรีระกับผู้ขับนัก ขณะที่พวงมาลับแบบ 3 ก้านก็ดูดาดๆไปนิด ไม่มีปุ่มเสริมหรือออปชันความสะดวกใดๆ เรียกว่าความอเนกประสงค์ในห้องโดยสารนั้นมีข้อจำกัดพอสมควร และแม้พยายามตกแต่งให้ออกแนวสปอร์ตแล้ว แต่นั่นมันเป็นคนละเรื่องกัน
หลังสตาร์ทเครื่อง ที่ระบบจะเซ็ทให้เครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยน้ำมันก่อน จากนั้นถ้าเราเลือกสวิทซ์ใช้ก๊าซไว้ มันก็จะกลับมาเผาไหม้ด้วยก๊าซเองอัตโนมัติ ส่วนความรู้สึกการขับ ที่แม้การออกตัวจะออกแนวเอื่อยๆไปเรื่อยๆไม่กระโชกกระชาก แต่ในย่านความเร็วกลางๆนั้นรอบเครื่องไม่ค่อยตก ส่งให้อัตราเร่งยังมาใช้ได้ ส่วนปลายนั้นก็ไหลไปได้พอประมาณ...เรียกว่ากับคอมแพกต์คาร์ 102 แรงม้า คงไม่โดนใจพวกวัยซิ่งแน่นอน แต่จะปรามาสเป็นรถจ่ายกับข้าวก็ดูถูกกันเกินไป เรียกว่าต้องยอมรับในคุณลักษณะ และบุคลิกที่มิตซูบิชิตั้งใจมาขายความประหยัดมากกว่า
อย่างไรก็ตามต้องชื่นชม การจูนระบบก๊าซ ที่แม้จะอยู่ในรอบเดินเบา ก็ไม่มีอาการวูบวาบสะอึก รถยังวิ่งฉิวตั้งแต่รอบต่ำไปยันรอบสูง และบวกความดีความชอบอย่างเกียร์เทพ CVT ก็ยิ่งส่งกำลังได้นิ่งเรียบลงตัว(ส่วนหนึ่งที่ทำให้รอบไม่สวิงมาก)
นอกจากนี้กับระบบกันสะเทือนหน้า แบบแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง และหลังมัลติลิงค์ พร้อมเหล็กกันโคลง ที่ปรับให้รองรับกับการแบกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นความรู้สึกจึงแทบไม่ต่างจากรุ่นปกติ ทั้งการทรงตัว การเข้า-ออกโค้ง ยังให้ความมั่นใจ ควบคุมได้สบายมือ
รวบรัดตัดความ…ถ้ามองไปที่ตัวโปรดักต์กับสถานการณ์ตลาดตอนนี้ ดูจะไม่ค่อยเป็นใจให้แลนเซอร์ ซีเอ็นจี นักเพราะราคาน้ำมันที่ลดลง กอปรกับกระแสการเตรียมขึ้นราคาก๊าซของ ปตท.และรัฐบาล ขณะเดียวกันในแง่สมรรถนะ คงจะหาความสะใจจากพละกำลัง รวมถึงรูปโฉมโนมพันธุ์ ที่อยู่ในตลาดมานานได้ลำบาก(แม้จะมีการไมเนอร์เชนจ์)
ดังนั้นคงต้องมองที่ความคุ้มค่าล้วนๆ เมื่อเทียบราคากับออปชันที่ได้รับ ทั้งระบบซีเอ็นจี แบบหัวฉีด และถังก๊าซอย่างดี Type II น้ำหนักเบา ช่วงล่างเยี่ยมๆแบบอิสระสี่ล้อ เกียร์อัจฉริยะ INVECS III CVT 6 สปีด ที่ส่งกำลังราบรื่น รวมถึงความปลอดภัยระดับดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อม ABS EBD ทั้งยังรองรับพลังทางเลือกอย่าง แก็สโซฮอล์ อี20(อันนี้ต้องนึกว่าช่วยชาติ)...โดยรวม แลนเซอร์ ซีเอ็นจี จึงเป็นรถที่เหมาะจะทำตลาดฟลีต(รุ่น GLX เกียร์ธรรมดา) หรือน่าจะเป็นทางเลือกให้ลูกค้า ที่มองหารถขับเรื่อยๆสบายใจ คุ้มค่าเงินในกระเป๋า
...ปล. : หลังมิตซูบิชิ ยุติการทำตลาดเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรไป ทำให้ “แลนเซอร์ ซีเอ็นจี SEi” รุ่นนี้เป็นตัวที่แพงสุดในไลน์อัพของแลนเซอร์ทันที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็หวังว่านี่ จะเป็นการทดสอบคอมแพกต์คาร์คันเก๋า (รูปโฉมนี้)เป็นครั้งสุดท้าย...เพราะเราก็รอเจ้าหน้าฉลามมานานแล้วเหมือนกัน