ข่าวในประเทศ – จีเอ็ม เผยยอดขายในจีน-อินเดีย-อาเซียน กระฉูดส่งผลให้ตลาดเอเชีย แปซิฟิค สดใส ส่วนไทยปิดยอดขายปีที่แล้ว 23,343 คัน โต 9.9% เมื่อเทียบกับปี 2550 ย้ำปีนี้ต้องรัดเข็มขัด พร้อมพัฒนาบริการหลังการขาย และเป็นผู้นำยานยนต์พลังงานทางเลือก
สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์ เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 แต่จีเอ็มยังสามารถทำยอดขายได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยผลพวงหลักมาจากอัตราเติบโตอย่างยอดเยี่ยม ในจีน โดยมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 6.1% ยอดจำหน่ายรวม 1,094,561 คัน ผลมาจากความต้องการซื้อรถแบรนด์เชฟโรเลต และวู่หลิง ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มถึง 15.7% อยู่ที่ 199,155 คัน และ 17.4% อยู่ที่ 606,499 คัน ตามลำดับ
ขณะเดียวกันยอดขายในญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้น 32.0% เป็น 10,865 คันในปี 2551 ที่ผ่านมา โดยมีแบรนด์ชั้นนำของจีเอ็มที่ได้รับความนิยมคือ คาดิลแลค ซาบ และฮัมเมอร์
ส่วนในอินเดีย จีเอ็มมียอดขายเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ 9.4% ตัวเลขยอดขายอยู่ที่ 65,702 คันในปี 2551 นำโดยเชฟโรเลต สปาร์ก รถมินิคาร์ยอดนิยม ซึ่งมีสัดส่วนยอดขาย 48% จากยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นยังมีผลมาจากการเริ่มเปิดสายการผลิตในโรงงานทาเลโกน ซึ่งนับเป็นแห่งที่สองในอินเดีย มีกำลังการผลิต 140,000 คัน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ในเวียดนาม ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 45.6% อยู่ที่ 11,037 คัน มากที่สุดตั้งแต่จีเอ็มเข้ามาทำตลาดในเวียดนาม
ส่วนในเกาหลีใต้ จีเอ็ม และ จีเอ็ม แดวู มียอดขาย 117,374 คัน โดยจีเอ็ม แดวู ยังคงเป็นผู้นำในการผลิตรถจีเอ็มป้อนให้ทั่วโลก มีตัวเลขส่งออกถึง 1,788,568 คัน รวมถึงส่งออกรถซีเคดี สู่อีกหลายประเทศในเอเชีย แปซิฟิค และทั่วโลก เป็นสถิติใหม่ของจีเอ็ม แดวูเลยทีเดียว ส่งผลให้จีเอ็มมีกำไรในเอเชีย แปซิฟิค เพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2551
สำหรับตลาดภูมิภาคอาเซียน มียอดขายรวมถึง 32,023 คัน เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งมียอดขายอยู่ที่ 29,255 คัน ในส่วนของประเทศไทยมียอดขายรวม 23,343 คัน เพิ่มขึ้น 9.9 % เมื่อเทียบกับในปี 2550 ซึ่งมียอดขาย 21,240 คัน
อย่างไรก็ตามแผนยุทธศาสตร์ของจีเอ็ม และ เชฟโรเลตปีนี้ จะมุ่งมั่นดำเนินงานตามแผนการตลาดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ พร้อมพัฒนาการบริการหลังการขายให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจสูงสุดให้แก่เจ้าของรถเชฟโรเลต
“จีเอ็มและเชฟโรเลต ประเทศไทย ไม่เพียงมีแผนจะดำเนินงานตามปกติเท่านั้น หากเราจะทำงานอย่างเต็มที่เพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรค ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจในเวลานี้ไปให้ได้ โดยมุ่งเน้นการใช้มาตรการหลากหลายรูปแบบ ทั้ง การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดต้นทุน ซึ่งจีเอ็ม ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นบริษัทระดับโลก เราจะยังคงให้ความสำคัญกับ คุณภาพ ความปลอดภัย และต้นทุน ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงในอนาคต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าทุกคน โดยในปี 2552 นั้น เชฟโรเลต มีแผนงานพัฒนาในทุกด้าน รวมถึงการเป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือกอีกด้วย” นายคาร์ไลส์ กล่าว
สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์ เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 แต่จีเอ็มยังสามารถทำยอดขายได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยผลพวงหลักมาจากอัตราเติบโตอย่างยอดเยี่ยม ในจีน โดยมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 6.1% ยอดจำหน่ายรวม 1,094,561 คัน ผลมาจากความต้องการซื้อรถแบรนด์เชฟโรเลต และวู่หลิง ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มถึง 15.7% อยู่ที่ 199,155 คัน และ 17.4% อยู่ที่ 606,499 คัน ตามลำดับ
ขณะเดียวกันยอดขายในญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้น 32.0% เป็น 10,865 คันในปี 2551 ที่ผ่านมา โดยมีแบรนด์ชั้นนำของจีเอ็มที่ได้รับความนิยมคือ คาดิลแลค ซาบ และฮัมเมอร์
ส่วนในอินเดีย จีเอ็มมียอดขายเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ 9.4% ตัวเลขยอดขายอยู่ที่ 65,702 คันในปี 2551 นำโดยเชฟโรเลต สปาร์ก รถมินิคาร์ยอดนิยม ซึ่งมีสัดส่วนยอดขาย 48% จากยอดขายทั้งหมด นอกจากนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นยังมีผลมาจากการเริ่มเปิดสายการผลิตในโรงงานทาเลโกน ซึ่งนับเป็นแห่งที่สองในอินเดีย มีกำลังการผลิต 140,000 คัน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ในเวียดนาม ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 45.6% อยู่ที่ 11,037 คัน มากที่สุดตั้งแต่จีเอ็มเข้ามาทำตลาดในเวียดนาม
ส่วนในเกาหลีใต้ จีเอ็ม และ จีเอ็ม แดวู มียอดขาย 117,374 คัน โดยจีเอ็ม แดวู ยังคงเป็นผู้นำในการผลิตรถจีเอ็มป้อนให้ทั่วโลก มีตัวเลขส่งออกถึง 1,788,568 คัน รวมถึงส่งออกรถซีเคดี สู่อีกหลายประเทศในเอเชีย แปซิฟิค และทั่วโลก เป็นสถิติใหม่ของจีเอ็ม แดวูเลยทีเดียว ส่งผลให้จีเอ็มมีกำไรในเอเชีย แปซิฟิค เพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2551
สำหรับตลาดภูมิภาคอาเซียน มียอดขายรวมถึง 32,023 คัน เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบกับปี 2550 ซึ่งมียอดขายอยู่ที่ 29,255 คัน ในส่วนของประเทศไทยมียอดขายรวม 23,343 คัน เพิ่มขึ้น 9.9 % เมื่อเทียบกับในปี 2550 ซึ่งมียอดขาย 21,240 คัน
อย่างไรก็ตามแผนยุทธศาสตร์ของจีเอ็ม และ เชฟโรเลตปีนี้ จะมุ่งมั่นดำเนินงานตามแผนการตลาดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ พร้อมพัฒนาการบริการหลังการขายให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจสูงสุดให้แก่เจ้าของรถเชฟโรเลต
“จีเอ็มและเชฟโรเลต ประเทศไทย ไม่เพียงมีแผนจะดำเนินงานตามปกติเท่านั้น หากเราจะทำงานอย่างเต็มที่เพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรค ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจในเวลานี้ไปให้ได้ โดยมุ่งเน้นการใช้มาตรการหลากหลายรูปแบบ ทั้ง การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลดต้นทุน ซึ่งจีเอ็ม ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นบริษัทระดับโลก เราจะยังคงให้ความสำคัญกับ คุณภาพ ความปลอดภัย และต้นทุน ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงในอนาคต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าทุกคน โดยในปี 2552 นั้น เชฟโรเลต มีแผนงานพัฒนาในทุกด้าน รวมถึงการเป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือกอีกด้วย” นายคาร์ไลส์ กล่าว