ผู้ใช้รถแห่วางเครื่องใหม่รองรับการติดก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี โดยเครื่องยนต์เบนซินของ “โตโยต้า” เป็นที่นิยมสุด ซึ่งนอกจากเครื่องตระกูล JZ ที่ปิกอัพชอบเปลี่ยนกันแล้ว ล่าสุดเครื่องยนต์เก๋งตระกูล “4A-FA” ของโตโยต้า โคโรลล่า รุ่นโดเรมอน และไฮทอล์ก เกิดปัญหาขาดตลาดและราคาพุ่งเช่นกัน เมื่อบรรดาแท็กซี่ที่ใช้รถยนต์เชฟโรเลต ออพตร้า ซีเอ็นจี และรถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ โตโยต้า ลิโม่ หรือโคโรลล่า อัลติส ด้วยการนำมาติดแก๊สภายหลัง พอใช้งานไปได้เพียง 1 แสนกิโลเมตร เกิดปัญหาเครื่องพังและไม่สามารถหาอะไหล่ทดแทน จึงแห่มาวางเครื่องตระกูล 4A-FE ที่เป็นที่นิยมของรถบ้านด้วย จนปัจจุบันขาดตลาด และราคาพุ่งจาก 2 หมื่นบาท เป็นกว่า 3 หมื่นบาท แต่ถึงอย่างนั้นอู่ซ่อมแท็กซี่ยังยอมวางเงินจองซื้อกับร้านเชียงกงกันเลย ทำให้รถบ้านที่ต้องการวางเครื่องบล็อกนี้ปั่นป่วนไปด้วย ขณะเดียวกันอู่เตือนผู้ที่นำรถเปลี่ยนมาใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ระยะประมาณ 1 แสนกิโลเมตรระวังมีปัญหา เพราะเครื่องยนต์ไม่ได้ออกแบบมารองรับโดยตรง โดยเฉพาะเครื่อง VTEC ของฮอนด้า แต่งานนี้คงห้ามลำบากเมื่อน้ำมันพุ่งบ้าเลือด จนปัจจุบันมีตัวเลขทะลุล้านคันไปแล้ว ขณะที่สถิติแจ้งมีเพียงกว่า 3 แสนคันเท่านั้น ทำให้กรมการขนส่งทางบกต้องเข้มเรื่องความปลอดภัย ออกประกาศบังคับให้ผู้ใช้รถจดแจ้งเปลี่ยนใช้เชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี เริ่มดีเดย์บังคับ 1 ส.ค.นี้ หากฝ่าฝืนปรับ 1,000 บาท
การดิ้นรนฝ่าวิกฤตราคาน้ำมันแพงของผู้ใช้รถ โดยหันไปพึ่งพลังงานทดแทนไม่ว่าจะเป็นก๊าซแอลพีจี (LPG)และก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี(NGV) เป็นเชื้อเพลิงแทน ในขณะนี้ที่หน่วยงานเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือบริษัทน้ำมัน ล้วนไม่วางแผนพร้อมรับมือเท่าไหร่ ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย ทั้งก๊าซแอลพีจีขาดตลาด ราคาไม่ชัดเจนจะปรับขึ้นเท่าไหร่หรืออย่างไร และสถานีบริการรองรับไม่เพียงพอ เป็นต้น
ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เช่นถังก๊าซขาดตลาด และเครื่องยนต์เบนซินบางรุ่นที่นิยมนำมาเปลี่ยนแทนเครื่องดีเซลเดิมของปิกอัพ เพื่อรองรับการติดตั้งก๊าซหลังจากราคาน้ำมันดีเซลพุ่งทะลุเบนซิน เกิดปัญหาขาดตลาดและราคาปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเครื่องเบนซินโตโยต้ารหัส 1 เจแซด (1JZ) ขนาด 2.5 ลิตร ทั้งฝาขาว(เก่า)และฝาดำ(ใหม่) จากราคาเครื่องละประมาณ 2 หมื่นบาทเมื่อปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันพุ่งเป็น 5-6 หมื่นบาท ตามที่ได้เคยรายงานข่าวไปแล้ว
ล่าสุดไม่เฉพาะเครื่องยนต์ที่จะนำมาวางในปิกอัพเท่านั้นที่มีปัญหา ในส่วนของรถยนต์นั่งหรือเก๋งก็เช่นเดียวกัน เพราะเครื่องยนต์เบนซิน 1600 ซีซี ของโตโยต้าตระกูล 4A-FE ที่วางอยู่ในรถโตโยต้า โคโรลล่า รุ่น AE101 หรือที่เรียกกันว่ารุ่นสามห่วง และรุ่น AE112 หรือรุ่นไฮทอล์ก เวอร์ชั่นก่อนรุ่นโคโรลล่า อัลติส ซึ่งรถบ้านและแท็กซี่ที่ต้องการเปลี่ยนเครื่องใหม่นิยมกัน เพราะสามารถวางในรถได้หลายยี่ห้อ เพียงปรับแท่นนิดหน่อยเท่านั้น ปัจจุบันได้ขาดตลาดและราคาพุ่งเช่นกัน
ทั้งนี้มีรายงานจากอู่ซ่อมรถว่า บรรดารถแท็กซี่ของจากสหกรณ์ที่ซื้อรถยนต์ติดก๊าซเอ็นจีวีจากโรงงาน เช่น รถยนต์เชฟโรเลต ออพตร้า หรือรถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่โตโยต้า ลิโม่ หรือโคโรลล่า อัลติส ใช้งานเพียงประมาณ 1 แสนกิโลเมตร หรือเกือบสองปีเท่านั้น เครื่องยนต์ก็เกิดปัญหาและพังเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะระบบวาล์วที่ไม่ได้ออกแบบให้สามารถรองรับความร้อนจากก๊าซแอลพีจี หรือเอ็นจีวีโดยตรง ซึ่งถ้าเป็นเครื่องยนต์โตโยต้าจะใช้งานได้นานประมาณ 3-4 แสนกิโลเมตร
นอกจากนี้แท็กซี่ที่เกิดปัญหา ยังไม่สามารถหาอะไหล่เก่ามาเปลี่ยนทดแทนได้ ทำให้ต้องพากันยกเครื่องใหม่ เปลี่ยนมาใช้เครื่องตระกูล 4A-FE ของโตโยต้าแทน ซึ่งปกติเครื่องบล็อกนี้จะมีขายมากมายตามร้านเชียงกง เป็นที่นิยมของแท็กซี่และรถบ้านที่อยากวางเครื่องใหม่ เพราะสามารถปรับแต่งแท่นวางได้ง่าย และคุณภาพสมรรถนะการใช้งานทนทาน
แต่ปรากฏว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บรรดาแท็กซี่ได้กว้านซื้อเครื่องยนต์บล็อกนี้จากเชียงกง จนเกิดปัญหาขาดตลาด และมีราคาปรับสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 2 หมื่นบาท เพิ่มเป็นกว่า 3 หมื่นบาทแล้ว ซึ่งจากผลดังกล่าวให้ปัจจุบันอู่แท็กซี่ต้องวางเงินจองซื้อจากเชียงกงกันเลยทีเดียว และยังทำให้รถบ้านที่ต้องการวางเครื่องยนต์ใหม่หาของไม่ได้เช่นกัน
โดยอู่ซ่อมยังได้กล่าวถึงปัจจุบันที่ผู้ใช้รถหันมาติดตั้งก๊าซเป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันว่า การที่รถยนต์หลายยี่ห้อไม่ได้ออกแบบเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับความร้อนองก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี ในอนาคตอีกไม่นานเชื่อว่าจะเกิดปัญหากับรถที่ติดตั้งก๊าซแน่นอน เมื่อใช้งานไปได้ประมาณ 1 แสนกิโลเมตร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ VTEC ของฮอนด้าที่ไม่มีน้ำมันหล่อลื่นระบบวาล์ว
สำหรับผลจากการหันมานิยมติดตั้งก๊าซมากขึ้น ไม่เพียงส่งผลต่อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องเท่านั้น ยังมีเรื่องของความปลอดภัยที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะปัจจุบันมีสถานบริการติดตั้งก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีเกิดขึ้นมามากมาย และย่อมมีบางแห่งที่ได้มาตรฐาน ทั้งเรื่องของการติดตั้งและอุปกรณ์ที่นำมาใช้
ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ปัจจุบัน (30 มิถุนายน 2551) มีสถิติจำนวนรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงทั่วประเทศ 309,064 คัน แบ่งเป็นรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจี 256,083 คัน และก๊าซเอ็นจีวี 52,981 คัน แต่จากการตรวจสอบข้อมูลจากผู้ติดตั้งและรายงานการตรวจและทดสอบอุปกรณ์กลับพบว่า ควมจริงมีปริมาณสูงกว่าจำนวนผู้มาแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงมากและอาจจะมากกว่า 1 ล้านคันแล้ว ตรงนี้จึงทำให้กรมการขนส่งเป็นห่วงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย และได้ออกกฎคุมเข้มรถติดก๊าซให้มาตรวจสอบและจดแจ้งเปลี่ยนเชื่อเพลิงในเดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศให้เจ้าของรถยนต์ที่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมัน ต้องนำรถเข้ามารับตรวจสภาพเพื่อแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันผ่านการตรวจสอบ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้ เพื่อควบคุมความปลอดภัยให้ได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากขณะนี้การติดตั้งโดยเฉพาะก๊าซแอลพีจีบางแห่งไม่ได้มาตรฐาน
โดยภายหลังประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ให้เจ้าของรถจะต้องนำรถและสมุดคู่มือ พร้อมเอกสารการติดตั้งและทดสอบจากผู้ตรวจและทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบไปตรวจสภาพและแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงยังสำนักงานขนส่งภายใน 15 วัน หลังจากวันตรวจและทดสอบ โดยมีค่าดำเนินการจำนวน 105 บาท หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นี่คือความเคลื่อนไหวในแวดวงผู้ใช้รถยนต์ปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง โดยที่ภาครัฐไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือแบ่งเบาภาระได้ทันท่วงที จนทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย!!
การดิ้นรนฝ่าวิกฤตราคาน้ำมันแพงของผู้ใช้รถ โดยหันไปพึ่งพลังงานทดแทนไม่ว่าจะเป็นก๊าซแอลพีจี (LPG)และก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี(NGV) เป็นเชื้อเพลิงแทน ในขณะนี้ที่หน่วยงานเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือบริษัทน้ำมัน ล้วนไม่วางแผนพร้อมรับมือเท่าไหร่ ทำให้เกิดผลกระทบตามมามากมาย ทั้งก๊าซแอลพีจีขาดตลาด ราคาไม่ชัดเจนจะปรับขึ้นเท่าไหร่หรืออย่างไร และสถานีบริการรองรับไม่เพียงพอ เป็นต้น
ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งผลถึงวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เช่นถังก๊าซขาดตลาด และเครื่องยนต์เบนซินบางรุ่นที่นิยมนำมาเปลี่ยนแทนเครื่องดีเซลเดิมของปิกอัพ เพื่อรองรับการติดตั้งก๊าซหลังจากราคาน้ำมันดีเซลพุ่งทะลุเบนซิน เกิดปัญหาขาดตลาดและราคาปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเครื่องเบนซินโตโยต้ารหัส 1 เจแซด (1JZ) ขนาด 2.5 ลิตร ทั้งฝาขาว(เก่า)และฝาดำ(ใหม่) จากราคาเครื่องละประมาณ 2 หมื่นบาทเมื่อปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันพุ่งเป็น 5-6 หมื่นบาท ตามที่ได้เคยรายงานข่าวไปแล้ว
ล่าสุดไม่เฉพาะเครื่องยนต์ที่จะนำมาวางในปิกอัพเท่านั้นที่มีปัญหา ในส่วนของรถยนต์นั่งหรือเก๋งก็เช่นเดียวกัน เพราะเครื่องยนต์เบนซิน 1600 ซีซี ของโตโยต้าตระกูล 4A-FE ที่วางอยู่ในรถโตโยต้า โคโรลล่า รุ่น AE101 หรือที่เรียกกันว่ารุ่นสามห่วง และรุ่น AE112 หรือรุ่นไฮทอล์ก เวอร์ชั่นก่อนรุ่นโคโรลล่า อัลติส ซึ่งรถบ้านและแท็กซี่ที่ต้องการเปลี่ยนเครื่องใหม่นิยมกัน เพราะสามารถวางในรถได้หลายยี่ห้อ เพียงปรับแท่นนิดหน่อยเท่านั้น ปัจจุบันได้ขาดตลาดและราคาพุ่งเช่นกัน
ทั้งนี้มีรายงานจากอู่ซ่อมรถว่า บรรดารถแท็กซี่ของจากสหกรณ์ที่ซื้อรถยนต์ติดก๊าซเอ็นจีวีจากโรงงาน เช่น รถยนต์เชฟโรเลต ออพตร้า หรือรถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่โตโยต้า ลิโม่ หรือโคโรลล่า อัลติส ใช้งานเพียงประมาณ 1 แสนกิโลเมตร หรือเกือบสองปีเท่านั้น เครื่องยนต์ก็เกิดปัญหาและพังเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะระบบวาล์วที่ไม่ได้ออกแบบให้สามารถรองรับความร้อนจากก๊าซแอลพีจี หรือเอ็นจีวีโดยตรง ซึ่งถ้าเป็นเครื่องยนต์โตโยต้าจะใช้งานได้นานประมาณ 3-4 แสนกิโลเมตร
นอกจากนี้แท็กซี่ที่เกิดปัญหา ยังไม่สามารถหาอะไหล่เก่ามาเปลี่ยนทดแทนได้ ทำให้ต้องพากันยกเครื่องใหม่ เปลี่ยนมาใช้เครื่องตระกูล 4A-FE ของโตโยต้าแทน ซึ่งปกติเครื่องบล็อกนี้จะมีขายมากมายตามร้านเชียงกง เป็นที่นิยมของแท็กซี่และรถบ้านที่อยากวางเครื่องใหม่ เพราะสามารถปรับแต่งแท่นวางได้ง่าย และคุณภาพสมรรถนะการใช้งานทนทาน
แต่ปรากฏว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บรรดาแท็กซี่ได้กว้านซื้อเครื่องยนต์บล็อกนี้จากเชียงกง จนเกิดปัญหาขาดตลาด และมีราคาปรับสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 2 หมื่นบาท เพิ่มเป็นกว่า 3 หมื่นบาทแล้ว ซึ่งจากผลดังกล่าวให้ปัจจุบันอู่แท็กซี่ต้องวางเงินจองซื้อจากเชียงกงกันเลยทีเดียว และยังทำให้รถบ้านที่ต้องการวางเครื่องยนต์ใหม่หาของไม่ได้เช่นกัน
โดยอู่ซ่อมยังได้กล่าวถึงปัจจุบันที่ผู้ใช้รถหันมาติดตั้งก๊าซเป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันว่า การที่รถยนต์หลายยี่ห้อไม่ได้ออกแบบเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับความร้อนองก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี ในอนาคตอีกไม่นานเชื่อว่าจะเกิดปัญหากับรถที่ติดตั้งก๊าซแน่นอน เมื่อใช้งานไปได้ประมาณ 1 แสนกิโลเมตร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ VTEC ของฮอนด้าที่ไม่มีน้ำมันหล่อลื่นระบบวาล์ว
สำหรับผลจากการหันมานิยมติดตั้งก๊าซมากขึ้น ไม่เพียงส่งผลต่อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องเท่านั้น ยังมีเรื่องของความปลอดภัยที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะปัจจุบันมีสถานบริการติดตั้งก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีเกิดขึ้นมามากมาย และย่อมมีบางแห่งที่ได้มาตรฐาน ทั้งเรื่องของการติดตั้งและอุปกรณ์ที่นำมาใช้
ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ปัจจุบัน (30 มิถุนายน 2551) มีสถิติจำนวนรถที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงทั่วประเทศ 309,064 คัน แบ่งเป็นรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจี 256,083 คัน และก๊าซเอ็นจีวี 52,981 คัน แต่จากการตรวจสอบข้อมูลจากผู้ติดตั้งและรายงานการตรวจและทดสอบอุปกรณ์กลับพบว่า ควมจริงมีปริมาณสูงกว่าจำนวนผู้มาแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงมากและอาจจะมากกว่า 1 ล้านคันแล้ว ตรงนี้จึงทำให้กรมการขนส่งเป็นห่วงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย และได้ออกกฎคุมเข้มรถติดก๊าซให้มาตรวจสอบและจดแจ้งเปลี่ยนเชื่อเพลิงในเดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป
ชัยรัตน์ สงวนชื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศให้เจ้าของรถยนต์ที่เปลี่ยนมาใช้ก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมัน ต้องนำรถเข้ามารับตรวจสภาพเพื่อแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันผ่านการตรวจสอบ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้ เพื่อควบคุมความปลอดภัยให้ได้อย่างครอบคลุม เนื่องจากขณะนี้การติดตั้งโดยเฉพาะก๊าซแอลพีจีบางแห่งไม่ได้มาตรฐาน
โดยภายหลังประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ให้เจ้าของรถจะต้องนำรถและสมุดคู่มือ พร้อมเอกสารการติดตั้งและทดสอบจากผู้ตรวจและทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบไปตรวจสภาพและแจ้งเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงยังสำนักงานขนส่งภายใน 15 วัน หลังจากวันตรวจและทดสอบ โดยมีค่าดำเนินการจำนวน 105 บาท หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 36 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นี่คือความเคลื่อนไหวในแวดวงผู้ใช้รถยนต์ปัจจุบัน ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง โดยที่ภาครัฐไม่สามารถเข้ามาช่วยเหลือแบ่งเบาภาระได้ทันท่วงที จนทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย!!