ข่าวในประเทศ - บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด , มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธร และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก(WWF)ประเทศไทย ร่วมกันลงนามบันทึกความร่วมมือพัฒนาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เป็นศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งใหม่ของประเทศไทย
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธร ได้รับการพัฒนาขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณค่ายพระรามหก ทรงให้แนวทางในการดำเนินงานอุทยานให้เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ในพื้นที่กว่า 2,600 ไร่ ประกอบไปด้วยผืนป่าชายเลน ป่าเบญจพรรณ (ป่าบก) และป่าชายหาด ที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความสมบูรณ์ให้กลับคืนมา และพื้นที่ภายในอุทยานยังเป็นที่ตั้งของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สถานที่ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวไทย
“ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” นับเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติแห่งใหม่ ของเยาวชนและชุมชนใน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตลอดจนนักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไป ที่หลงใหลในธรรมชาติและต้องการศึกษาหาความรู้ ได้เดินทางเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจและเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ศูนย์ฯ แห่งนี้
นายนินนาท ไชยธีภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "โตโยต้าตระหนักดีถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกิหนึ่งในจกรรมหลักที่เราได้ทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด 4 ปี โดยนอกจากความพยายนามในการคิดค้นนวัตกรรมยานยนต์ที่เป้ฯมิตรกับสิ่งแลดล้อมและการดำเนินโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ยังได้ประกาศผ่าน Toyota Global 2020 หรือโลกทัศน์โตโยต้า 2020 เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบของโตโยต้าที่มีต่อโลกด้วย ทั้งนี้เรามีเป้าหมายในการเป็นมากกว่าผู้ผลิตยานยนต์นั่นเอง"
WWF ประเทศไทย จะเริ่มดำเนินงานพัฒนาศูนย์ฯ แห่งนี้นับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2551 เป็นเวลา 5 ปี โดยจะนำความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญในการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ที่ WWF ได้เข้าไปดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ มาแล้วหลายแห่ง อาทิ เช่น ศูนย์ศึกษาธรรมชาติไมโป ในประเทศฮ่องกง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติบางปู จ.สมุทรปราการ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตร จ. ปทุมธานี ดังนั้น ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จะถูกพัฒนาให้เปรียบเสมือนเป็นห้องเรียนธรรมชาติให้แก่เยาวชน ชุมชน ในพื้นที่ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติกับศูนย์ฯ แห่งนี้
ดร. วิลเลี่ยม เช็ดล่า ผู้อำนวยการ WWF ประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดีกับการริเริ่มพัฒนาศูนย์ฯว่า “นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ WWF ประเทศไทย ได้เข้ามาพัฒนาศูนย์ฯ แห่งนี้ ร่วมกับ โตโยต้า และมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในฐานะที่เราเป็นองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรามุ่งมั่นในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศที่นี่ ทั้งนี้ เราจะมีการจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพ ซึ่ง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน และชุมชนในพื้นที่ โดยเราจะพัฒนาศูนย์แห่งนี้ให้เป็นตัวอย่างในการดำเนินงานพัฒนาศูนย์อื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ”
นอกจากนี้ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวถึงการพัฒนาศูนย์ฯ ว่า “ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนการพัฒนาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จนมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เรามีความภาคภูมิใจเช่นเดียวกันกับ WWF ประเทศไทย และ โตโยต้า ในความร่วมมือกันพัฒนาศูนย์ฯไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ มีการฝึกอบรม การสร้างงานวิจัยนวัตกรรมพลังงานทดแทน ตลอดจนการสร้างจิตสำนักด้านการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ให้ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานโลก”
การส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของศูนย์ฯ จะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเยาวชน อายุ 6-18 ปี ซึ่งยังอยู่ในวัยเรียน โดยศูนย์ฯ จะทำงานร่วมกับโรงเรียนในการนำเยาวชนเหล่านี้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติจากทีมวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศของศูนย์ฯ อันจะสร้างความภาคภูมิใจให้พวกเขาเมื่อเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และได้มอบมรดกทางธรรมชาติไว้ให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธร ได้รับการพัฒนาขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระราชกรณียกิจที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณค่ายพระรามหก ทรงให้แนวทางในการดำเนินงานอุทยานให้เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ในพื้นที่กว่า 2,600 ไร่ ประกอบไปด้วยผืนป่าชายเลน ป่าเบญจพรรณ (ป่าบก) และป่าชายหาด ที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพความสมบูรณ์ให้กลับคืนมา และพื้นที่ภายในอุทยานยังเป็นที่ตั้งของ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน สถานที่ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวไทย
“ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” นับเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติแห่งใหม่ ของเยาวชนและชุมชนใน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ตลอดจนนักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไป ที่หลงใหลในธรรมชาติและต้องการศึกษาหาความรู้ ได้เดินทางเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจและเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ศูนย์ฯ แห่งนี้
นายนินนาท ไชยธีภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "โตโยต้าตระหนักดีถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกิหนึ่งในจกรรมหลักที่เราได้ทำอย่างต่อเนื่องมาตลอด 4 ปี โดยนอกจากความพยายนามในการคิดค้นนวัตกรรมยานยนต์ที่เป้ฯมิตรกับสิ่งแลดล้อมและการดำเนินโครงการต่างๆเพื่อส่งเสริมการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ยังได้ประกาศผ่าน Toyota Global 2020 หรือโลกทัศน์โตโยต้า 2020 เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบของโตโยต้าที่มีต่อโลกด้วย ทั้งนี้เรามีเป้าหมายในการเป็นมากกว่าผู้ผลิตยานยนต์นั่นเอง"
WWF ประเทศไทย จะเริ่มดำเนินงานพัฒนาศูนย์ฯ แห่งนี้นับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2551 เป็นเวลา 5 ปี โดยจะนำความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญในการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาธรรมชาติ ที่ WWF ได้เข้าไปดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ มาแล้วหลายแห่ง อาทิ เช่น ศูนย์ศึกษาธรรมชาติไมโป ในประเทศฮ่องกง ศูนย์ศึกษาธรรมชาติบางปู จ.สมุทรปราการ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศเกษตร จ. ปทุมธานี ดังนั้น ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จะถูกพัฒนาให้เปรียบเสมือนเป็นห้องเรียนธรรมชาติให้แก่เยาวชน ชุมชน ในพื้นที่ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติกับศูนย์ฯ แห่งนี้
ดร. วิลเลี่ยม เช็ดล่า ผู้อำนวยการ WWF ประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดีกับการริเริ่มพัฒนาศูนย์ฯว่า “นับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ WWF ประเทศไทย ได้เข้ามาพัฒนาศูนย์ฯ แห่งนี้ ร่วมกับ โตโยต้า และมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในฐานะที่เราเป็นองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรามุ่งมั่นในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศที่นี่ ทั้งนี้ เราจะมีการจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพ ซึ่ง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน และชุมชนในพื้นที่ โดยเราจะพัฒนาศูนย์แห่งนี้ให้เป็นตัวอย่างในการดำเนินงานพัฒนาศูนย์อื่นๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ”
นอกจากนี้ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กล่าวถึงการพัฒนาศูนย์ฯ ว่า “ด้วยพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนการพัฒนาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จนมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติ เรามีความภาคภูมิใจเช่นเดียวกันกับ WWF ประเทศไทย และ โตโยต้า ในความร่วมมือกันพัฒนาศูนย์ฯไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ มีการฝึกอบรม การสร้างงานวิจัยนวัตกรรมพลังงานทดแทน ตลอดจนการสร้างจิตสำนักด้านการใช้พลังงานทดแทน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ให้ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานโลก”
การส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของศูนย์ฯ จะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเยาวชน อายุ 6-18 ปี ซึ่งยังอยู่ในวัยเรียน โดยศูนย์ฯ จะทำงานร่วมกับโรงเรียนในการนำเยาวชนเหล่านี้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติจากทีมวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศของศูนย์ฯ อันจะสร้างความภาคภูมิใจให้พวกเขาเมื่อเติบโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และได้มอบมรดกทางธรรมชาติไว้ให้กับคนรุ่นต่อๆ ไป