สถาบันยานยนต์ สุดมั่นรัฐบาลใหม่ฟื้นประชานิยม ลงทุนเมกาโปรเจกท์กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งตลาดรถยนต์กลับมาสดใส ชี้เก๋ง-ปิกอัพแข่งดุทุกค่ายพลิกตำรากระหน่ำแคมเปญ คาดยอดขายรวมถึง 6.5- 7 แสนคัน ส่วนโครงการอีโคคาร์ อีก 3 ค่าย โตโยต้า มิตซูบิชิ ตาต้า ยังต้องรอบอร์ดบีโอไอโดยเจ้ากระทรวงอุตฯคนใหม่อนุมัติ ส่วนโฟล์คสวาเกน มาใหญ่มูลค่าลงทุนเป็นหมื่นล้านยังไม่ผ่านอนุกรรมการ เชื่อแผนแม่บทฉบับสองสนับสนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย พร้อมพัฒนา-เพิ่มบุคลากรอีก 1 แสนคนรองรับการเติบโต
“สถาบันยานยนต์”ถือเป็นหนึ่งองค์กรสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือ กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายใต้การกับกำดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันมี“วัลลภ เตียศิริ”นั่งแท่นผู้อำนวยการ และในฐานะเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลรวมถึงเป็นผู้คลุกคลีกับธุรกิจนี้มานาน ดังนั้นมุมมองต่อทิศทางยานยนต์ไทยจึงน่าสนใจ... “ผู้จัดการมอเตอริ่ง”สัมภาษณ์
ตลาดรถยนต์หลังได้รัฐบาลใหม่
หลังได้รัฐบาลใหม่พร้อมการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือนโยบายประชานิยมอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่รากหญ้า จะส่งผลต่อความมั่นใจและกำลังซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจรวมถึงตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ยอดขายคงอยู่ระดับ 6.5-7.0 แสนคัน ขณะที่การส่งออกจะเพิ่มเป็น 7.7 แสนคัน จาก 6.9 แสนคันในปี 2550
“ปีที่แล้วยอดขายรถยนต์รวมทุกประเภททำได้ 6.3 แสนคันนั้น ถือว่าต่ำมากและไม่ควรจะตกลงไปกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งปีนี้ยอดขายน่าจะเติบโตขึ้น อันเป็นผลมากจากความชัดเจนทางการเมือง รวมถึงการทำตลาดของรถยนต์ใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ อี20 ที่จะกระตุ้นให้คนหันมาซื้อด้วยราคารถและค่าเชื้อเพลิงถูกลง อย่างไรก็ตามคงต้องระวังปัจจัยลบอย่างเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะอยู่ระดับ 4-5% และพิษซับไพร์ม(หนี้ด้อยคุณภาพ)ของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย"
การแข่งขันในตลาดรถยนต์
อย่างที่ทราบว่าปีที่แล้วตลาดเก๋ง-ปิกอัพ ตกถ้วนหน้า ซึ่งตลาดปิกอัพนั้นถ้ามองจริงๆ ยอดขายในรุ่นตัวถังดับเบิ้ลแค็บยังขยายตัว แต่ที่ร่วงลงไปเป็นปิกอัพซิงเกิ้ลแค็บ(ตอนเดียว) นั่นแสดงให้เห็นถึงความซบเซาของเศรษฐกิจรากหญ้า แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลใหม่ประกอบกับการเปิดตัว นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ซิงเกิ้ลแค็บเร็วๆนี้ จะสร้างความคึกคัก และคาดว่าตลาดปิกอัพจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง
ส่วนรถยนต์นั่งคงจะสู้กันสนุกสูสี ระหว่าง โตโยต้า กับ ฮอนด้า ที่ต่างมีอาวุธครบมือไม่ว่าจะเป็น อัลติส ใหม่ กับซีวิค หรือ แอคคอร์ด ใหม่ กับ คัมรี่ รวมถึง “แจ็ซ ใหม่” ที่ใกล้เปิดตัว ขณะเดียวกันค่ายรถอื่นๆคงพยายามงัดกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆแคมเปญสุดพิเศษออกมายั่วผู้บริโภค คาดว่าปีนี้การแข่งขันจะดุเดือดมาก และ 1-2 ปีข้างหน้า ตลาดรถยนต์นั่งคงน่าสนใจมากขึ้น จากความหลากหลายของโปรดักส์ ทั้งฟอร์ด-มาสด้า ลุยรถบีเซ็กเมนท์(ยาริส,แจ็ซ,วีออส,ซิตี้) รวมถึงการทำตลาดของรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ “อีโคคาร์”
ความคืบหน้าอีโคคาร์
หลังบอร์ดบีโอไอ(คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)ของรัฐบาลชุดก่อน โดยโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการของ ฮอนด้า นิสสัน ซูซูกิ ไปแล้ว ล่าสุดคณะอนุกรรมการบีโอไอได้ผ่านการพิจารณาส่งเสริมการลงทุนให้บริษัทอีก 3 ราย คือ โตโยต้า มิตซูบิชิ ตาต้า แต่กระนั้นคงต้องรอบอร์ดบีโอไอชุดใหม่(รัฐบาลปัจจุบัน) เข้ามาอนุมัติโครงการต่อไป
สำหรับค่ายโฟล์คสวาเกนนั้น ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการ เนื่องจากโครงการที่ยื่นมามีมูลค่าสูงมาก เพราะค่ายรถจากเยอรมันไม่มีฐานผลิตเดิมในไทย ดังนั้นแพ็กเกจการลงทุนจึงอยู่ระดับหมื่นล้าน และกำลังผลิตมากกว่าแสนคันแน่นอน คาดว่าอนาคตจะใช้ไทยเป็นฐานผลิตสำคัญเพื่อส่งออกรถยนต์นั่งขนาดเล็กไปประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
ตลาดรถจักรยานยนต์
ปี 2550 ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศตก 17% ด้วยยอดขาย 1.57 ล้านคัน แสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มอิ่มตัวจากที่เราเคยขายอยู่ระดับ 2 ล้านคัน และคาดว่าต่อไปยอดขายจะนิ่งอยู่ระดับ 1.6 ล้านคัน บวก,ลบไม่มากไปกว่านี้ ส่วนโปรดักส์ที่มีอัตราเติบโตต่อเนื่องคงต้องยกให้รถจักรยานยนต์ออโตเมติก
“เมื่อหลายปีก่อนเราแบ่งเซ็กเมนท์รถจักรยานยนต์ง่ายๆคือ แบบสปอร์ต(รถผู้ชาย) และรถครอบครัว(รถผู้หญิง,กะเทย) ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายต่างกันไม่มาก แต่ปัจจุบันรถจักรยานยนต์ออโตเมติกได้รับความนิยมมากโดยครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า40% ส่วนรถสปอร์ตมีให้เห็นน้อย ย่อมแสดงให้เห็นถึงการรับความทันสมัยของผู้บริโภค และความต้องการสินค้าคุณภาพ สะดวกสบายต่อการใช้ชีวิตประจำวัน”
แผนแม่บทฉบับใหม่
สถาบันยานยนต์ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ศึกษาทำแผนแม่บทระยะที่สอง ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2554 เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งแผนแม่บทฉบับนี้เรายังคงวิสัยทัศน์หลัก คือ ไทยต้องเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญ และเน้นความแข็งแกร่งของผู้ผลิตชิ้นส่วน สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ โดยแบ่งเป็น 5 กลยุทธ์
ประการแรก ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการผลิต คือต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพ พัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่ผู้ผลิตระดับต้น(First Tier)ไปจนถึงผู้ผลิตขั้นสอง ขั้นสาม หรือลำดับสุดท้ายโดยแต่ละโรงงานจะต้องเดินหน้าไปพร้อมๆกัน
ประการที่สอง วิศวกรรมการและเทคโนโลยีการผลิตต้องเพิ่ม แต่ทั้งนี้บรรดาผู้ประกอบการจะต้องเลือกเทคโนโลยี หรือผลิตสินค้าที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น เรียกว่าใครถนัดอะไรก็ทำอย่างนั้นเพื่อความได้เปรียบเรื่องต้นทุน
ประการที่สามซึ่งจะไปสนับสนุนสองประการแรกคือ การพัฒนาบุคลากรที่แบ่งเป็นสองภาคคือ ภาคการศึกษา(โรงเรียนเทคนิค อาชีวะ หรือมหาวิทยาลัย) และภาคที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่แล้ว ทั้งนี้เราได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กร ทั้ง“เจโทร”(องค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น)หรือค่ายรถยนต์ต่างๆที่สนับสนุนการอบรมทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติ หรือมาตรฐานการประเมินผล และเนื่องจากประเทศไทยมีกำลังผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเป้าหมายในปี 2554 ต้องผลิตได้ 1.8 ล้านคัน (ปัจจุบัน 1.3 ล้านคัน) ดังนั้นเพื่อรองรับการเติบโต ภายใน 2 ปีนี้เราต้องเพิ่มบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์อีก 1 แสนคน จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2 แสนคน
ประการที่สี่ เรื่องตลาดที่เราต้องดูความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผลิตอะไรแล้วสามารถแข่งขันได้ เพราะปัจจุบันเราทำข้อตกลงทางการค้าทั้งแบบ ทวิภาคี(FTA)และพหุภาคี(AFTA,WTO)ไว้กับหลายประเทศ
ประการที่ห้า ส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยต้องเชื่อมโยงกันเป็นคลัสเตอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
โครงการของสถาบันฯ
บทบาทหน้าที่สำคัญของสถาบันยานยนต์คือ ให้คำแนะนำหรือประสานความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจยานยนต์ไทย แล้วขอความสนับสนุนไปยังรัฐบาลตลอดจนหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย
ขณะเดียวกันยังบริการเรื่องทดสอบผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ซึ่งปีนี้สถาบันได้ซื้อเครื่องมือทดสอบมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 4 มูลค่า 70 ล้านบาท และจะมาถึงศูนย์ทดสอบบางปูช่วงเดือนกันยายนนี้ รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์โลหะหนักที่ต้องใช้งบอีก 38 ล้านบาท ทั้งยังร่วมมือกับองค์กรเอกชนในประเทศและต่างประทศจัดอบรมบุคลากรตามโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่องตลอดปีอีกด้วย
“สถาบันยานยนต์”ถือเป็นหนึ่งองค์กรสำคัญในการสนับสนุนช่วยเหลือ กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายใต้การกับกำดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ปัจจุบันมี“วัลลภ เตียศิริ”นั่งแท่นผู้อำนวยการ และในฐานะเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลรวมถึงเป็นผู้คลุกคลีกับธุรกิจนี้มานาน ดังนั้นมุมมองต่อทิศทางยานยนต์ไทยจึงน่าสนใจ... “ผู้จัดการมอเตอริ่ง”สัมภาษณ์
ตลาดรถยนต์หลังได้รัฐบาลใหม่
หลังได้รัฐบาลใหม่พร้อมการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือนโยบายประชานิยมอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่รากหญ้า จะส่งผลต่อความมั่นใจและกำลังซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจรวมถึงตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ยอดขายคงอยู่ระดับ 6.5-7.0 แสนคัน ขณะที่การส่งออกจะเพิ่มเป็น 7.7 แสนคัน จาก 6.9 แสนคันในปี 2550
“ปีที่แล้วยอดขายรถยนต์รวมทุกประเภททำได้ 6.3 แสนคันนั้น ถือว่าต่ำมากและไม่ควรจะตกลงไปกว่านี้อีกแล้ว ซึ่งปีนี้ยอดขายน่าจะเติบโตขึ้น อันเป็นผลมากจากความชัดเจนทางการเมือง รวมถึงการทำตลาดของรถยนต์ใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ อี20 ที่จะกระตุ้นให้คนหันมาซื้อด้วยราคารถและค่าเชื้อเพลิงถูกลง อย่างไรก็ตามคงต้องระวังปัจจัยลบอย่างเงินเฟ้อซึ่งคาดว่าจะอยู่ระดับ 4-5% และพิษซับไพร์ม(หนี้ด้อยคุณภาพ)ของสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย"
การแข่งขันในตลาดรถยนต์
อย่างที่ทราบว่าปีที่แล้วตลาดเก๋ง-ปิกอัพ ตกถ้วนหน้า ซึ่งตลาดปิกอัพนั้นถ้ามองจริงๆ ยอดขายในรุ่นตัวถังดับเบิ้ลแค็บยังขยายตัว แต่ที่ร่วงลงไปเป็นปิกอัพซิงเกิ้ลแค็บ(ตอนเดียว) นั่นแสดงให้เห็นถึงความซบเซาของเศรษฐกิจรากหญ้า แต่ด้วยนโยบายของรัฐบาลใหม่ประกอบกับการเปิดตัว นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ซิงเกิ้ลแค็บเร็วๆนี้ จะสร้างความคึกคัก และคาดว่าตลาดปิกอัพจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง
ส่วนรถยนต์นั่งคงจะสู้กันสนุกสูสี ระหว่าง โตโยต้า กับ ฮอนด้า ที่ต่างมีอาวุธครบมือไม่ว่าจะเป็น อัลติส ใหม่ กับซีวิค หรือ แอคคอร์ด ใหม่ กับ คัมรี่ รวมถึง “แจ็ซ ใหม่” ที่ใกล้เปิดตัว ขณะเดียวกันค่ายรถอื่นๆคงพยายามงัดกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆแคมเปญสุดพิเศษออกมายั่วผู้บริโภค คาดว่าปีนี้การแข่งขันจะดุเดือดมาก และ 1-2 ปีข้างหน้า ตลาดรถยนต์นั่งคงน่าสนใจมากขึ้น จากความหลากหลายของโปรดักส์ ทั้งฟอร์ด-มาสด้า ลุยรถบีเซ็กเมนท์(ยาริส,แจ็ซ,วีออส,ซิตี้) รวมถึงการทำตลาดของรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรือ “อีโคคาร์”
ความคืบหน้าอีโคคาร์
หลังบอร์ดบีโอไอ(คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)ของรัฐบาลชุดก่อน โดยโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการของ ฮอนด้า นิสสัน ซูซูกิ ไปแล้ว ล่าสุดคณะอนุกรรมการบีโอไอได้ผ่านการพิจารณาส่งเสริมการลงทุนให้บริษัทอีก 3 ราย คือ โตโยต้า มิตซูบิชิ ตาต้า แต่กระนั้นคงต้องรอบอร์ดบีโอไอชุดใหม่(รัฐบาลปัจจุบัน) เข้ามาอนุมัติโครงการต่อไป
สำหรับค่ายโฟล์คสวาเกนนั้น ยังไม่ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการ เนื่องจากโครงการที่ยื่นมามีมูลค่าสูงมาก เพราะค่ายรถจากเยอรมันไม่มีฐานผลิตเดิมในไทย ดังนั้นแพ็กเกจการลงทุนจึงอยู่ระดับหมื่นล้าน และกำลังผลิตมากกว่าแสนคันแน่นอน คาดว่าอนาคตจะใช้ไทยเป็นฐานผลิตสำคัญเพื่อส่งออกรถยนต์นั่งขนาดเล็กไปประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
ตลาดรถจักรยานยนต์
ปี 2550 ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศตก 17% ด้วยยอดขาย 1.57 ล้านคัน แสดงให้เห็นว่าตลาดเริ่มอิ่มตัวจากที่เราเคยขายอยู่ระดับ 2 ล้านคัน และคาดว่าต่อไปยอดขายจะนิ่งอยู่ระดับ 1.6 ล้านคัน บวก,ลบไม่มากไปกว่านี้ ส่วนโปรดักส์ที่มีอัตราเติบโตต่อเนื่องคงต้องยกให้รถจักรยานยนต์ออโตเมติก
“เมื่อหลายปีก่อนเราแบ่งเซ็กเมนท์รถจักรยานยนต์ง่ายๆคือ แบบสปอร์ต(รถผู้ชาย) และรถครอบครัว(รถผู้หญิง,กะเทย) ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายต่างกันไม่มาก แต่ปัจจุบันรถจักรยานยนต์ออโตเมติกได้รับความนิยมมากโดยครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า40% ส่วนรถสปอร์ตมีให้เห็นน้อย ย่อมแสดงให้เห็นถึงการรับความทันสมัยของผู้บริโภค และความต้องการสินค้าคุณภาพ สะดวกสบายต่อการใช้ชีวิตประจำวัน”
แผนแม่บทฉบับใหม่
สถาบันยานยนต์ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้ศึกษาทำแผนแม่บทระยะที่สอง ระหว่างปีพ.ศ. 2550-2554 เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งแผนแม่บทฉบับนี้เรายังคงวิสัยทัศน์หลัก คือ ไทยต้องเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญ และเน้นความแข็งแกร่งของผู้ผลิตชิ้นส่วน สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ โดยแบ่งเป็น 5 กลยุทธ์
ประการแรก ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการผลิต คือต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพ พัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งซัพพลายเชน ตั้งแต่ผู้ผลิตระดับต้น(First Tier)ไปจนถึงผู้ผลิตขั้นสอง ขั้นสาม หรือลำดับสุดท้ายโดยแต่ละโรงงานจะต้องเดินหน้าไปพร้อมๆกัน
ประการที่สอง วิศวกรรมการและเทคโนโลยีการผลิตต้องเพิ่ม แต่ทั้งนี้บรรดาผู้ประกอบการจะต้องเลือกเทคโนโลยี หรือผลิตสินค้าที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น เรียกว่าใครถนัดอะไรก็ทำอย่างนั้นเพื่อความได้เปรียบเรื่องต้นทุน
ประการที่สามซึ่งจะไปสนับสนุนสองประการแรกคือ การพัฒนาบุคลากรที่แบ่งเป็นสองภาคคือ ภาคการศึกษา(โรงเรียนเทคนิค อาชีวะ หรือมหาวิทยาลัย) และภาคที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่แล้ว ทั้งนี้เราได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กร ทั้ง“เจโทร”(องค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น)หรือค่ายรถยนต์ต่างๆที่สนับสนุนการอบรมทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติ หรือมาตรฐานการประเมินผล และเนื่องจากประเทศไทยมีกำลังผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเป้าหมายในปี 2554 ต้องผลิตได้ 1.8 ล้านคัน (ปัจจุบัน 1.3 ล้านคัน) ดังนั้นเพื่อรองรับการเติบโต ภายใน 2 ปีนี้เราต้องเพิ่มบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์อีก 1 แสนคน จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2 แสนคน
ประการที่สี่ เรื่องตลาดที่เราต้องดูความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผลิตอะไรแล้วสามารถแข่งขันได้ เพราะปัจจุบันเราทำข้อตกลงทางการค้าทั้งแบบ ทวิภาคี(FTA)และพหุภาคี(AFTA,WTO)ไว้กับหลายประเทศ
ประการที่ห้า ส่งเสริมการลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยต้องเชื่อมโยงกันเป็นคลัสเตอร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
โครงการของสถาบันฯ
บทบาทหน้าที่สำคัญของสถาบันยานยนต์คือ ให้คำแนะนำหรือประสานความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจยานยนต์ไทย แล้วขอความสนับสนุนไปยังรัฐบาลตลอดจนหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมศึกษาวิจัยเพื่อเสนอแนะรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย
ขณะเดียวกันยังบริการเรื่องทดสอบผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ซึ่งปีนี้สถาบันได้ซื้อเครื่องมือทดสอบมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 4 มูลค่า 70 ล้านบาท และจะมาถึงศูนย์ทดสอบบางปูช่วงเดือนกันยายนนี้ รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์โลหะหนักที่ต้องใช้งบอีก 38 ล้านบาท ทั้งยังร่วมมือกับองค์กรเอกชนในประเทศและต่างประทศจัดอบรมบุคลากรตามโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่องตลอดปีอีกด้วย