ธพว.ปลื้มทุกฝ่ายร่วมมือทำให้ผลประกอบการดีมาตลอด 2 ปี พร้อมคลังอนุมัติเพิ่มทุนล่าสุด 1 พันล้านบาท ส่งผลองค์กรแข็งแกร่งชัดเจน ประกาศถึงเวลาเดินหน้าด้วยตนเอง มุ่งสร้างฐานการเงินให้มั่นคงโดยใช้การบริหารความเสี่ยง พร้อมการกำกับและควบคุมภายในที่ดี ป้องกันความผิดพลาดในการบริหารเช่นในอดีต หวังเติบโตอย่างยั่งยืน
นายสมชาย หาญหิรัญ ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. เปิดเผยว่า ด้วยผลประกอบการที่ดีมาตลอด 2 ปี ซึ่งเกิดจากการร่วมมือร่วมใจของคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงาน ทำให้ธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการงานแต่ละด้านบรรลุเป้าหมายตามแผนฟื้นฟู ประกอบกับล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 กระทรวงการคลังได้อนุมัติเพิ่มทุนให้ธพว.อีก 1,000 ล้านบาท ทำให้ขณะนี้ฐานะของธพว.แข็งแกร่งมั่นคงอย่างชัดเจน โดยผลประกอบการล่าสุด ณ เดือนสิงหาคม 2559 มียอด NPL ลดลงเหลือ 19,486 ล้านบาท คิดเป็น 21.66% ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งหมดและคาดว่ายอด NPL สิ้นปีนี้จะเหลือประมาณ 18,000 ล้านบาท ตามแผนที่กำหนด
ส่วนการปล่อยสินเชื่อใหม่สู่ระบบเศรษฐกิจได้เบิกจ่ายไปแล้ว 21,953 ล้านบาท โดยยังมีผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อค้างระหว่างพิจารณาอีกกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการที่ ธพว. ออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจผู้ประกอบการ 2 โครงการ คือ “สินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว” วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท และ”สินเชื่อ Soft Loan 3” เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มเดินสายเปิดตัวตั้งแต่เดือนสิงหาคม ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดกว่า 20 แห่ง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทั้งหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย คลังจังหวัด และอุตสาหกรรมจังหวัด จนมีคำขอกู้จากเอสเอ็มอีรายเล็กเข้ามาอย่างล้นหลาม และคาดว่าจะสามารถอนุมัติและเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ 35,000 ล้านบาท
สำหรับไตรมาส 4 ของปีนี้ ธพว.จะให้บริการทางการเงินเพื่อผลักดันการสร้างผู้ประกอบการในกลุ่ม S-Curve ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม การจูงใจให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาจดทะเบียนเปลี่ยนกิจการเป็นนิติบุคคลเพื่อรองรับระบบ E-Payment บัญชีเดียว ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยจะมีทั้งการช่วยเหลือสนับสนุนสินเชื่อและร่วมลงทุน จัดทำเป็นโปรแกรมพิเศษ ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นชัดว่าผู้ประกอบการได้เริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองแล้ว โดยจากสถิติผู้มายื่นขอสินเชื่อที่ ธพว. กว่า 80% เป็นนิติบุคคล
ส่วนความร่วมมือในโครงการศูนย์ SMEs Rescue Center ได้ให้ทุกสาขาของ ธพว. เป็นหน่วยงานหลักในการคัดกรองและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีปัญหาเดือดร้อนด้านการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการจนสามารถผลักดันลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ตามกฎหมายฟื้นฟูใหม่ เข้าสู่กองทุนพลิกฟื้น SMEs วงเงิน 1,000 ล้านบาท จนสำเร็จกลุ่มแรกจำนวน 4 ราย วงเงินที่ได้รับรวมกัน 2.2 ล้านบาท และจะทยอยนำเสนออีกหลายร้อยรายในเร็วๆ นี้
“ขณะนี้ ธพว. มีสถานะที่มั่นคงเข้มแข็งแล้วและพร้อมที่จะสนับสนุนทุกนโยบายของรัฐบาล จะไม่เป็นภาระการช่วยเหลือด้านงบประมาณ โดยยังคงเดินหน้าตามกรอบพันธกิจคือการช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายเล็ก วงเงินไม่เกินรายละ 15 ล้านบาท ภายใต้ระบบการควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐาน” นายสมชายกล่าวในที่สุด
ด้านนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธพว. มีความพร้อมที่จะช่วยตัวเองโดยไม่ต้องเสนอโครงการขอชดเชยดอกเบี้ยให้เป็นภาระของรัฐบาล ด้วยการออกสินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีแรกเพียงร้อยละ 5 และโครงการเบิกจ่ายแฟคตอริ่งทั่วไทยในวันเดียว วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีแรกเพียงร้อยละ 3.99 ซึ่งต่ำกว่าอัตรา MLR ที่ร้อยละ 6.875 โดยส่วนต่างนั้น ธพว. ลดให้ลูกค้าเองไม่ได้ขอชดเชยจากรัฐแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในองค์กรได้ดีกว่าแผนที่วางไว้ และยังลดต้นทุนเงิน ณ สิ้นปี 2558 ที่ร้อยละ 2.77 คงเหลือในปัจจุบันเพียงร้อยละ 2.10 นอกจากนี้ ธพว.เป็นสถาบันการเงินรัฐไม่ได้มุ่งหวังกำไรสูงสุดเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อมีผลประกอบการดีขึ้นแล้วก็จะคืนกลับให้ผู้ประกอบการทันที
“ผมใช้คำว่า “หย่านมแม่” เพื่อสื่อความหมายว่าเราต้องเติบโตด้วยตัวเองอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ต้องยืนหยัดทำหน้าที่ตามพันธกิจองค์กรไปสู่เป้าหมาย ถึงเวลาแล้วที่ธนาคารนี้ต้องเดินและวิ่งสู่เส้นชัยด้วยตัวเอง มีความสามารถที่จะอยู่รอดในระยะยาว ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการบริหารเช่นในอดีต โดยใช้วิธีการบริหารความเสี่ยง การกำกับและควบคุมภายในที่ดี เพื่อให้ฐานการเงินมั่นคง และนำไปสู่ความยั่งยืน”
ส่วนไตรมาส 4 นี้ ฝ่ายจัดการได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งและมุ่งสู่ธนาคารเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการเต็มรูปแบบ ด้วยการปรับกระบวนทัพเพิ่มเติมเน้นใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านพัฒนาระบบการให้บริการ เพื่อการอำนวยสินเชื่อและบริการลูกค้า 2.ด้านพัฒนาบุคลากรให้เป็นนักพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs 3.ด้านฐานะทางการเงินที่มั่นคงยั่งยืน 4.ด้านพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการตลาดเพื่อช่วยเหลือ SMEs และ5.ด้านพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งด้วยธรรมาภิบาล ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ต้นแบบที่ดี มีความโปร่งใสน่าเชื่อถือ เพื่อรองรับภารกิจที่จะตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไปสู่ผู้ประกอบการอย่างเต็มกำลัง
นายสมชาย หาญหิรัญ ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. เปิดเผยว่า ด้วยผลประกอบการที่ดีมาตลอด 2 ปี ซึ่งเกิดจากการร่วมมือร่วมใจของคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงาน ทำให้ธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการงานแต่ละด้านบรรลุเป้าหมายตามแผนฟื้นฟู ประกอบกับล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 กระทรวงการคลังได้อนุมัติเพิ่มทุนให้ธพว.อีก 1,000 ล้านบาท ทำให้ขณะนี้ฐานะของธพว.แข็งแกร่งมั่นคงอย่างชัดเจน โดยผลประกอบการล่าสุด ณ เดือนสิงหาคม 2559 มียอด NPL ลดลงเหลือ 19,486 ล้านบาท คิดเป็น 21.66% ของยอดสินเชื่อคงค้างทั้งหมดและคาดว่ายอด NPL สิ้นปีนี้จะเหลือประมาณ 18,000 ล้านบาท ตามแผนที่กำหนด
ส่วนการปล่อยสินเชื่อใหม่สู่ระบบเศรษฐกิจได้เบิกจ่ายไปแล้ว 21,953 ล้านบาท โดยยังมีผู้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อค้างระหว่างพิจารณาอีกกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการที่ ธพว. ออกผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจผู้ประกอบการ 2 โครงการ คือ “สินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว” วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท และ”สินเชื่อ Soft Loan 3” เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มเดินสายเปิดตัวตั้งแต่เดือนสิงหาคม ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดกว่า 20 แห่ง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทั้งหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย คลังจังหวัด และอุตสาหกรรมจังหวัด จนมีคำขอกู้จากเอสเอ็มอีรายเล็กเข้ามาอย่างล้นหลาม และคาดว่าจะสามารถอนุมัติและเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ 35,000 ล้านบาท
สำหรับไตรมาส 4 ของปีนี้ ธพว.จะให้บริการทางการเงินเพื่อผลักดันการสร้างผู้ประกอบการในกลุ่ม S-Curve ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม การจูงใจให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาจดทะเบียนเปลี่ยนกิจการเป็นนิติบุคคลเพื่อรองรับระบบ E-Payment บัญชีเดียว ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง โดยจะมีทั้งการช่วยเหลือสนับสนุนสินเชื่อและร่วมลงทุน จัดทำเป็นโปรแกรมพิเศษ ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นชัดว่าผู้ประกอบการได้เริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองแล้ว โดยจากสถิติผู้มายื่นขอสินเชื่อที่ ธพว. กว่า 80% เป็นนิติบุคคล
ส่วนความร่วมมือในโครงการศูนย์ SMEs Rescue Center ได้ให้ทุกสาขาของ ธพว. เป็นหน่วยงานหลักในการคัดกรองและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีปัญหาเดือดร้อนด้านการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการจนสามารถผลักดันลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ตามกฎหมายฟื้นฟูใหม่ เข้าสู่กองทุนพลิกฟื้น SMEs วงเงิน 1,000 ล้านบาท จนสำเร็จกลุ่มแรกจำนวน 4 ราย วงเงินที่ได้รับรวมกัน 2.2 ล้านบาท และจะทยอยนำเสนออีกหลายร้อยรายในเร็วๆ นี้
“ขณะนี้ ธพว. มีสถานะที่มั่นคงเข้มแข็งแล้วและพร้อมที่จะสนับสนุนทุกนโยบายของรัฐบาล จะไม่เป็นภาระการช่วยเหลือด้านงบประมาณ โดยยังคงเดินหน้าตามกรอบพันธกิจคือการช่วยเหลือเอสเอ็มอีรายเล็ก วงเงินไม่เกินรายละ 15 ล้านบาท ภายใต้ระบบการควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงตามมาตรฐาน” นายสมชายกล่าวในที่สุด
ด้านนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธพว. มีความพร้อมที่จะช่วยตัวเองโดยไม่ต้องเสนอโครงการขอชดเชยดอกเบี้ยให้เป็นภาระของรัฐบาล ด้วยการออกสินเชื่อ SMEs บัญชีเดียว วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีแรกเพียงร้อยละ 5 และโครงการเบิกจ่ายแฟคตอริ่งทั่วไทยในวันเดียว วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยปีแรกเพียงร้อยละ 3.99 ซึ่งต่ำกว่าอัตรา MLR ที่ร้อยละ 6.875 โดยส่วนต่างนั้น ธพว. ลดให้ลูกค้าเองไม่ได้ขอชดเชยจากรัฐแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในองค์กรได้ดีกว่าแผนที่วางไว้ และยังลดต้นทุนเงิน ณ สิ้นปี 2558 ที่ร้อยละ 2.77 คงเหลือในปัจจุบันเพียงร้อยละ 2.10 นอกจากนี้ ธพว.เป็นสถาบันการเงินรัฐไม่ได้มุ่งหวังกำไรสูงสุดเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อมีผลประกอบการดีขึ้นแล้วก็จะคืนกลับให้ผู้ประกอบการทันที
“ผมใช้คำว่า “หย่านมแม่” เพื่อสื่อความหมายว่าเราต้องเติบโตด้วยตัวเองอย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว ต้องยืนหยัดทำหน้าที่ตามพันธกิจองค์กรไปสู่เป้าหมาย ถึงเวลาแล้วที่ธนาคารนี้ต้องเดินและวิ่งสู่เส้นชัยด้วยตัวเอง มีความสามารถที่จะอยู่รอดในระยะยาว ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการบริหารเช่นในอดีต โดยใช้วิธีการบริหารความเสี่ยง การกำกับและควบคุมภายในที่ดี เพื่อให้ฐานการเงินมั่นคง และนำไปสู่ความยั่งยืน”
ส่วนไตรมาส 4 นี้ ฝ่ายจัดการได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งและมุ่งสู่ธนาคารเพื่อการพัฒนาผู้ประกอบการเต็มรูปแบบ ด้วยการปรับกระบวนทัพเพิ่มเติมเน้นใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านพัฒนาระบบการให้บริการ เพื่อการอำนวยสินเชื่อและบริการลูกค้า 2.ด้านพัฒนาบุคลากรให้เป็นนักพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs 3.ด้านฐานะทางการเงินที่มั่นคงยั่งยืน 4.ด้านพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมการตลาดเพื่อช่วยเหลือ SMEs และ5.ด้านพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งด้วยธรรมาภิบาล ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ต้นแบบที่ดี มีความโปร่งใสน่าเชื่อถือ เพื่อรองรับภารกิจที่จะตอบสนองนโยบายของรัฐบาลไปสู่ผู้ประกอบการอย่างเต็มกำลัง