ไทยยูเนี่ยนเผยแพร่รายงานเพื่อความยั่งยืนประจำปีฉบับที่สาม ครอบคลุมการดำเนินงานทั่วโลกของบริษัทเป็นครั้งแรก
ไทยยูเนี่ยน เผยแพร่รายงานเพื่อความยั่งยืนประจำปี กล่าวถึงความท้าทายในการดำเนินการด้านแรงงาน และการอนุรักษ์ทรัพยากรในการดำเนินงานของบริษัท โดยเป็นรายงานเพื่อความยั่งยืนฉบับที่สาม และเป็นครั้งแรกที่ได้รับการรับรองการเปิดเผยในระดับ GRI Core Content Index นอกจากนี้ ยังเป็นการสื่อสารความก้าวหน้าของไทยยูเนี่ยนต่อการปฏิบัติตามหลักข้อตกลงระดับโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact)
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เผยแพร่รายงานเพื่อความยั่งยืนประจำปี (Sustainability Report) ที่รายงานครอบคลุมการดำเนินงานของบริษัทในเครือทั่วโลก ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนมีการดำเนินธุรกิจใน 10 ประเทศซึ่งครอบคลุมถึง 4 ทวีป
รายงานเพื่อความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน ฉบับประจำปี 2558 ได้รายงานรายละเอียดความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานทั่วโลกของบริษัทเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึงเป้าหมายด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบและการดูแลสิ่งแวดล้อม
แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “ความโปร่งใสเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมในวงกว้าง เพื่อให้เห็นถึงแนวทางการทำงานที่เราเดินหน้าแก้ไขปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล”
ไทยยูเนี่ยน ตระหนักถึงความท้าทายที่อุตสาหกรรมกำลังเผชิญอยู่และกำลังดำเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น จากการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของกุ้ง พบว่ามีความเสี่ยงในการว่าจ้างของสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นอิสระ หรือ ล้ง ดังนั้นในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่ได้นำกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นจากภายนอก ให้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของบริษัท เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมาตรฐานในห่วงโซ่อุปทานได้อย่างทั่วถึง รวมถึงการปกป้องและดูแลสิทธิด้านแรงงานให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนได้มีการรับพนักงานข้ามชาติกว่า 1,200 คนที่ทำงานกับสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำที่บริษัทยกเลิกการว่าจ้างเข้ามาทำงานกับบริษัทโดยตรง อีกทั้งมีการดูแลการว่าจ้างอย่างถูกกฎหมายและมีสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยแก่พนักงานเหล่านี้
หลังการประกาศดังกล่าว สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยได้ประกาศให้สมาชิกของสมาคมยกเลิกการใช้สถานประกอบการภายนอกที่ทำธุรกิจแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นหรือล้งเช่นกัน แดเรี่ยน กล่าวเสริมว่า “จุดมุ่งหมายของไทยยูเนี่ยนคือ การเป็นผู้นำในการปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอย่างแท้จริง”
ทั้งนี้ รายงานเพื่อความยั่งยืนฉบับปี 2558 ยังได้รับการรับรองเป็นการเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในแบบหลัก (G4 Core Content Index) จาก Global Reporting Initiative (GRI) ซึ่งเป็นองค์กรมาตรฐานสากลอิสระ ซึ่งถือเป็นการยกระดับของรายงานฉบับนี้ จากที่ได้รับการรับรองในระดับ Materiality Disclosure ในรายงานเพื่อความยั่งยืนฉบับปี 2557
ก่อนหน้านี้ เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือไทยยูเนี่ยนได้ออกแถลงการณ์การปฏิบัติตามกฎหมายการค้าแรงงานทาสฉบับใหม่ด้วยความโปร่งใส เพื่อสนับสนุนกฎหมายการค้าแรงงานทาสของประเทศอังกฤษฉบับใหม่ (Modern Slavery Act 2015) และนับเป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่ประกาศแถลงการณ์ดังกล่าว
แถลงการณ์ฉบับนี้เปิดเผยถึง การยุติการใช้แรงงานทาสและการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานของการดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยน ซึ่งรวมถึงความมุ่งมั่นอย่างจริงจังที่จะสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว การเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนสากล และยกระดับฐานะการเป็นผู้นำด้วยการขจัดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมอาหารทะเล
ดร. แดเรี่ยน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนกล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนมีความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง ทั้งในกระบวนการดำเนินงาน และในห่วงโซ่อุปทานของเรา อีกทั้งเรายินดีอย่างยิ่งกับการที่ประเทศอังกฤษได้ออกกฎหมายการค้าแรงงานทาสฉบับใหม่มา เพื่อหยุดยั้งปัญหาการค้าแรงงานทาสและการค้ามนุษย์”
ดร. แดเรี่ยน ยังกล่าวอีกว่า “ในฐานะที่ไทยยูเนี่ยนเป็นองค์กรระดับโลก ห่วงโซ่อุปทานของเราจึงค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่เรากำลังดำเนินการเพื่อยับยั้งกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยมีการจัดการอย่างรอบคอบในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการดำเนินการตรวจสอบ และยกระดับซัพพลายเออร์ของเราให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น”
ไทยยูเนี่ยนยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่ง ดร. แดเรี่ยน กล่าวในเวทีการประชุมชั้นนำด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ เช่น Trust Forum Asia, Innovation Forum และการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Asia Regional Forum on Business and Human Rights) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งสามารถอ่านบทสรุปการประชุมขององค์การสหประชาชาติได้ที่ http://ap.ohchr.org/documents/dpage_e.aspx?si=A/HRC/32/45/Add.2
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารจากเครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ที่โรงงานไทยยูเนี่ยน จังหวัดสมุทรสาคร การหารือครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมพูดคุยถึงการทำงานของไทยยูเนี่ยนเกี่ยวกับนโยบายหลักจริยธรรมด้านแรงงานข้ามชาติที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่องการตัดสินใจของบริษัทที่มีการประกาศใช้นโยบายการรับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการจัดหาแรงงาน โดยภายใต้นโยบายนี้ จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับลูกจ้างในโรงงานและโรงงานแปรรูปอีกต่อไป นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังกล่าวถึง ความท้าทายของความต้องการที่จะพัฒนานโยบายและกระบวนการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน (ซ้าย) และนายชู ชง ชาน กรรมการผู้จัดการกลุ่มทรัพยากรบุคคล (ขวา)
“ความสำคัญของการประชุมครั้งนี้ว่า การพูดคุยสนทนากันเป็นวิธีการสำคัญสำหรับการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง เราเชื่อว่า อุตสาหกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม” นายชู ชง ชาน กรรมการผู้จัดการกลุ่มทรัพยากรบุคคลกล่าว
นอกจากนี้ MWRN ยังได้ให้ภาพรวมของโครงการอบรมแรงงานข้ามชาติก่อนเดินทางเข้ามาทำงาน ที่จัดขึ้นที่ ย่างกุ้ง ประเทศพม่า สำหรับพนักงานใหม่ก่อนเดินทางเข้ามาทำงานที่โรงงานไทยยูเนี่ยน และยังกล่าวถึง การจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการจำนวน 19 คนของไทยยูเนี่ยนที่เพิ่งดำเนินการไปแล้ว
MWRN และทีมทรัพยากรบุคคลของไทยยูเนี่ยน ทำงานร่วมอย่างใกล้ชิด ในการรณรงค์ให้พนักงานของไทยยูเนี่ยนมาเลือกตั้ง เพื่อให้มั่นว่า ผู้นำที่ได้มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย และเป็นตัวแทนที่สามารถนำเสนอข้อกังวลต่างๆ ของลูกจ้างไปยังนายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ MWRN ยังจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับคณะกรรมการสวัสดิการชุดใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา เพื่อให้ความรู้และเข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับ กฎหมายแรงงาน รวมถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการสวัสดิการ
มร. แอนดี้ ฮอลล์ ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ MWRN กล่าวถึง สิทธิประโยชน์ที่แรงงานข้ามชาติจะได้จากนโยบายการรับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการจัดหาแรงงาน
“ไทยยูเนี่ยนขณะนี้เป็นผู้นำในเรื่องนโยบายหลักจริยธรรมด้านการจัดหาแรงงานข้ามชาติ และส่งเสริมให้มีการสื่อสารในสถานที่ทำงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย ไทยยูเนี่ยนมีการพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง และเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงที่จะนำไปปฏิบัติในวงกว้าง” มร. แอนดี้ ฮอลล์ ที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศ MWRN