PwC เผยผลสำรวจ CEO ชี้เทคโนโลยีปัจจัยเสี่ยงธุรกิจ โครงสร้างประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ การขยายตัวชุมชนเมือง การขาดแคลนทรัพยากรและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ปัจจัยท้าทายธุรกิจ
บริษัท PwC ประเทศไทย (ไพร้วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) เผยผลสำรวจ Private companies: Anything but business as usualซึ่งผลสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการสำรวจ Global CEO Survey ครั้งที่ 18 ที่ทำการสำรวจซีอีโอบริษัทเอกชนกว่า 700 บริษัท โดยเห็นตรงกันว่าเมกะเทรนด์โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยเสี่ยงชี้ชะตาธุรกิจในอนาคต บริษัทเอกชนเริ่มตื่นตัวและกล้าที่จะลงทุนเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นเพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดีกว่า
ผลจากสำรวจที่น่าสนใจ ได้แก่ ซีอีโอบริษัทเอกชน (Private companies) เริ่มตระหนักว่า เมกะเทรนด์ ที่เป็นกระแสร่วมส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศ เศรษฐกิจ และสังคม ประกอบด้วย 5 แนวโน้วหลัก ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจของ
โลก การขยายตัวของชุมชนเมือง และการขาดแคลนทรัพยากรและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เป็นปัจจัยที่ท้าทายของธุรกิจในอนาคต
ผู้บริหารบริษัทเอกชนต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์ สร้างนวัตกรรมใหม่ และเตรียมพร้อมองค์กรให้มีมาตรการที่มีความเหมาะสม สามารถรับมือต่อปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงทุกขณะ และรู้จักผันตัวเองให้มีความยืดหยุ่น มีการทบทวนความเสี่ยง และกำหนดกลยุทธในบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันและการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว สามารถรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตได้ดีขึ้นในปีนี้ ซีอีโอบริษัทเอกชนเริ่มตื่นตัวและสร้างนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งปรับโครงสร้างการทำงานให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความหลากหลายมากึ้น เพราะเชื่อว่า การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรของพวกเขาได้เป็นอย่างมาก
กลยุทธ์ที่ซีอีโอทั่วโลกจะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยีบนมือถือและการทำ
งานบนอุปกรณ์ไร้สาย (Mobile Technology) เทคโนโลยีในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Data Analytics) และเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Security)
การมองหาบุคลากรที่มีความสามารถ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ยังถือเป็นดอกกุญแจสำคัญ
ของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอนาคต การนำกลยุทธ์การบริหารความหลากหลายขององค์กร (Diversity and Inclusiveness) มาใช้กับบุคลากรจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทในระยะยาว
บริษัทเอกชนที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ ต้องกล้าที่จะก้าวออกมาจาก Comfort Zone หรือ
พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ แนวทางการตลาด และรูปแบบการบริหารงาน จะสามารถบริหารจัดารความเสี่ยง ลดภัยคุกคามต่อการดำเนินธุรกิจ และเข้าถึงไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆได้เร็วกว่า ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เหนือคู่แข่ง
บริษัทเอกชนต้องตื่นตัวในการลงทุนและสรรหาบุคลากร เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งรัฐบาลเร่งผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และการเปิดเออีซีในปลายปีนี้ จะทำให้การแข่งขันในตลาดมากขึ้น
บริษัท PwC ประเทศไทย (ไพร้วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) เผยผลสำรวจ Private companies: Anything but business as usualซึ่งผลสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งจากการสำรวจ Global CEO Survey ครั้งที่ 18 ที่ทำการสำรวจซีอีโอบริษัทเอกชนกว่า 700 บริษัท โดยเห็นตรงกันว่าเมกะเทรนด์โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยเสี่ยงชี้ชะตาธุรกิจในอนาคต บริษัทเอกชนเริ่มตื่นตัวและกล้าที่จะลงทุนเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นเพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดีกว่า
ผลจากสำรวจที่น่าสนใจ ได้แก่ ซีอีโอบริษัทเอกชน (Private companies) เริ่มตระหนักว่า เมกะเทรนด์ ที่เป็นกระแสร่วมส่งผลกระทบต่อทั้งประเทศ เศรษฐกิจ และสังคม ประกอบด้วย 5 แนวโน้วหลัก ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรศาสตร์ การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจของ
โลก การขยายตัวของชุมชนเมือง และการขาดแคลนทรัพยากรและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เป็นปัจจัยที่ท้าทายของธุรกิจในอนาคต
ผู้บริหารบริษัทเอกชนต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์ สร้างนวัตกรรมใหม่ และเตรียมพร้อมองค์กรให้มีมาตรการที่มีความเหมาะสม สามารถรับมือต่อปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงทุกขณะ และรู้จักผันตัวเองให้มีความยืดหยุ่น มีการทบทวนความเสี่ยง และกำหนดกลยุทธในบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันและการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว สามารถรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตได้ดีขึ้นในปีนี้ ซีอีโอบริษัทเอกชนเริ่มตื่นตัวและสร้างนวัตกรรมใหม่ รวมทั้งปรับโครงสร้างการทำงานให้เข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความหลากหลายมากึ้น เพราะเชื่อว่า การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรของพวกเขาได้เป็นอย่างมาก
กลยุทธ์ที่ซีอีโอทั่วโลกจะนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยีบนมือถือและการทำ
งานบนอุปกรณ์ไร้สาย (Mobile Technology) เทคโนโลยีในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Data Analytics) และเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Security)
การมองหาบุคลากรที่มีความสามารถ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ยังถือเป็นดอกกุญแจสำคัญ
ของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอนาคต การนำกลยุทธ์การบริหารความหลากหลายขององค์กร (Diversity and Inclusiveness) มาใช้กับบุคลากรจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทในระยะยาว
บริษัทเอกชนที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ ต้องกล้าที่จะก้าวออกมาจาก Comfort Zone หรือ
พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ แนวทางการตลาด และรูปแบบการบริหารงาน จะสามารถบริหารจัดารความเสี่ยง ลดภัยคุกคามต่อการดำเนินธุรกิจ และเข้าถึงไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆได้เร็วกว่า ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เหนือคู่แข่ง
บริษัทเอกชนต้องตื่นตัวในการลงทุนและสรรหาบุคลากร เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งรัฐบาลเร่งผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และการเปิดเออีซีในปลายปีนี้ จะทำให้การแข่งขันในตลาดมากขึ้น