xs
xsm
sm
md
lg

กลไกการค้ำประกันสินเชื่อของภาครัฐกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีบทบาทสาคัญต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ อาทิ การจ้างงาน การส่งออก และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อย่างไรก็ดี SMEs ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการ เนื่องจากไม่มีหลักประกัน ประวัติการชำระเงิน และงบการเงินที่น่าเชื่อถือ

กลไกสำคัญหนึ่งของภาครัฐที่ช่วยให้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้มากขึ้น คือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกันที่เพียงพอ จึงทำให้ยอดภาระค้ำประกันสะสมเติบโตต่อเนื่อง แม้ยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

บทวิจัยในงานสัมมนาวิชาการ BOT Symposium 2014 ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า การค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee เป็นเครื่องมือจัดสรรสินเชื่อสู่ SMEs ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องมืออื่น ด้วยการทำให้ SMEs มีโอกาสได้รับสินเชื่อมากขึ้น ขณะที่ ใช้หลักประกันน้อยลงและได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับ SMEs ที่ไม่ได้รับการค้ำประกัน แต่โอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันสูงกว่าลูกหนี้ที่ไม่ได้รับการค้ำประกัน

ทั้งนี้ ประโยชน์ของการค้ำประกันมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคธุรกิจและแต่ละสถาบันการเงิน จึงอาจพิจารณารูปแบบการค้ำประกันสินเชื่อพิเศษสำหรับบางภาคธุรกิจที่ได้รับประโยชน์มากกว่าภาคธุรกิจอื่น อาทิ ธุรกิจภาคบริการ และอาจพิจารณากำหนดกลไกสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินบริหารสินเชื่อที่ได้รับการประกันอย่างรัดกุม โดย่กำหนดให้ลูกหนี้ยังต้องวางหลักประกันจำนวนหนึ่ง เพื่อลดแรงจูงใจในการผิดนัดชำระหนี้

ผู้วิจารณ์เห็นด้วยกับข้อสรุปของงานวิจัยนี้ว่า การค้ำประกันเป็นเครื่องมือของรัฐที่มีประสิทธิภาพมาก ในการช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากมีการบิดเบือนกลไกตลาดน้อยที่สุด และเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงแก่ธนาคารในการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ ซึ่งหลายประเทศใช้กลไกนี้และประสบผลสาเร็จ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน

รวมทั้ง เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะจากงานวิจัยในด้านการเพิ่มกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และแนวทางป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ทั้งในแง่สถาบันการเงินและผู้กู้ อย่างไรก็ดี หากมีข้อมูลการให้สินเชื่อทุกระดับวงเงิน จะทำให้งานวิจัยสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากการค้ำประกันเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญต่อ SMEs ที่ได้รับวงเงินค่อนข้างต่ำ และควรมีการศึกษาเชิงลึกในอีกหลายมิติของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในแต่ละภาคธุรกิจ อาทิ พฤติกรรมของผู้กู้ และลักษณะของภาคธุรกิจ เพื่อนำไปสู่นโยบายสนับสนุนที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
กำลังโหลดความคิดเห็น