นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธพว. ชุดใหม่ที่ได้รับความเห็นชอบจาก คสช. และแต่งตั้งโดยที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ได้มีการประชุมนัดแรกในวันที่ 8 สิงหาคม 2557 โดยมีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญ ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดย่อย เพื่อกำกับดูแลด้านต่างๆ 5 ชุด ได้แก่
1) คณะกรรมการบริหาร โดยมี นางพรรณขนิตตา บุญครอง เป็นประธาน
2) คณะกรรมการตรวจสอบ โดยมี นายอัษฎางค์ เชี่ยวธาดา เป็นประธาน
3) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมี นายลวรณ แสงสนิท เป็นประธาน
4) คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อสรรหากรรมการผู้จัดการ ธพว.
5) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูกิจการ ธพว.
2. จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตามคำสั่งของคสช. โดยเน้นปรับปรุงงาน 4 ด้านสำคัญ คือ
1) การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยจัดกลุ่มลูกหนี้ตามสถานะ ได้แก่กลุ่มหนี้ NPLs กลุ่มสินเชื่อที่มีคุณภาพอ่อน และต้องมีกระบวนการดูแลใกล้ชิด
การจัดการกับลูกหนี้กลุ่ม NPLs ค้างนาน สถานะไม่ดำเนินธุรกิจไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และเคยได้รับโอกาสปรับโครงสร้างหนี้มาหลายครั้ง กลุ่มนี้จะขออนุมัติต่อกระทรวงการคลังให้เปิดประมูลขายออกไปซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่ยอมรับกันในระดับสากล และได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพสูง จากประสบการณ์วิกฤตสถาบันการเงินของประเทศไทยเองในปี 1997 และจาก Global crisis ในปี 2008-2012
กลุ่มลูกหนี้ที่ยังดำเนินธุรกิจ ธพว.จะใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้ หรือปรับตารางการชำระหนี้ โดยจะคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ คณะกรรมการมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะประคับประคองให้ ลูกหนี้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพราะ SMEs เป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม
2) การบริหารสินเชื่อที่มีคุณภาพดี ธพว. จะเน้นการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมผ่านช่องทางสาขาทั้ง 95 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงต้องมีการขยายตัวของสินเชื่อ เพื่อเพิ่มรายได้ของธนาคาร โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าตาม พันธกิจหลัก เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาสจากธนาคารภาคเอกชนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยมีต้นทุนที่พอเหมาะพอควร
ในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2557 ธพว. พบว่า มียอดอนุมัติสินเชื่อใหม่เพียง 5,684 ล้านบาท และพบว่ามีความล่าช้าในการพิจารณา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (Credit Process) เสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพ มีกลไกการคานอำนาจ (Check and Balance) ที่ได้มาตรฐาน และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติด้วย เพราะหากเข้มงวดจนเกินไปก็จะไม่เป็นการช่วยเหลือ SMEs ตามเจตนารมย์ของพันธกิจ ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถปรับปรุงได้ เพราะพนักงานสินเชื่อของ ธพว. มีทักษะด้านสินเชื่ออย่างเพียงพออยู่แล้ว
3. การบริหารสภาพคล่อง
ธพว.มีแผนปรับโครงสร้างทางการเงิน ให้มีสัดส่วนเงินกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้นโดยขอกู้ระยะยาวที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเชื่อมั่นว่าเมื่อปรับปรุงระบบงานด้านสินเชื่อและแก้ไข NPLs สถานะของ ธพว. จะมั่นคงขึ้นโดยลำดับ ธนาคารอาจจะขอออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ระยะยาว เนื่องจากตอบโจทย์ทั้งในเรื่องการบริหารแหล่งเงินทุน มีเงินมาปล่อยสินเชื่อ อีกทั้งยังสามารถขอนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีภาระเงินเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังมากเกินไป
4.การสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานและจัดโครงสร้างกำลังคนให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ
ปัจจุบัน ธพว. มีพนักงาน 1,637 คน ธนาคารพยายามจะจัดให้มีพนักงานด้านหารายได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อ ธพว.ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ดำเนินการขายหนี้ด้อยคุณภาพออกไปบ้างแล้ว จะสามารถโอนย้ายพนักงานซึ่งทำหน้าที่ด้านแก้ไขหนี้ให้กลับมาปล่อยสินเชื่อได้ ซึ่งจะเตรียมความพร้อมโดยจัดฝึกอบรมด้านการให้สินเชื่อในภาคปฏิบัติให้พนักงานเหล่านี้
นอกจากนั้น จะพยายามปรับปรุงกระบวนการทำงาน และระบบข้อมูลทุกระบบให้เชื่อมโยงกัน ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จะต้องจัดให้มีการสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ระหว่างสำนักงานใหญ่กับเขต ภาค และสาขาทั้ง 95 แห่ง เพื่อรักษาขวัญกำลังใจ และให้สาขาได้เข้าถึงและเข้าใจนโยบายและแนวทางการทำธุรกิจของธนาคารอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนถึงขั้นนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จร่วมกันของ ธพว. และ SMEs ไทยในอนาคตอันใกล้นี้
1) คณะกรรมการบริหาร โดยมี นางพรรณขนิตตา บุญครอง เป็นประธาน
2) คณะกรรมการตรวจสอบ โดยมี นายอัษฎางค์ เชี่ยวธาดา เป็นประธาน
3) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมี นายลวรณ แสงสนิท เป็นประธาน
4) คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อสรรหากรรมการผู้จัดการ ธพว.
5) คณะอนุกรรมการฟื้นฟูกิจการ ธพว.
2. จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ตามคำสั่งของคสช. โดยเน้นปรับปรุงงาน 4 ด้านสำคัญ คือ
1) การบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยจัดกลุ่มลูกหนี้ตามสถานะ ได้แก่กลุ่มหนี้ NPLs กลุ่มสินเชื่อที่มีคุณภาพอ่อน และต้องมีกระบวนการดูแลใกล้ชิด
การจัดการกับลูกหนี้กลุ่ม NPLs ค้างนาน สถานะไม่ดำเนินธุรกิจไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และเคยได้รับโอกาสปรับโครงสร้างหนี้มาหลายครั้ง กลุ่มนี้จะขออนุมัติต่อกระทรวงการคลังให้เปิดประมูลขายออกไปซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่ยอมรับกันในระดับสากล และได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพสูง จากประสบการณ์วิกฤตสถาบันการเงินของประเทศไทยเองในปี 1997 และจาก Global crisis ในปี 2008-2012
กลุ่มลูกหนี้ที่ยังดำเนินธุรกิจ ธพว.จะใช้วิธีปรับโครงสร้างหนี้ หรือปรับตารางการชำระหนี้ โดยจะคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ คณะกรรมการมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะประคับประคองให้ ลูกหนี้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพราะ SMEs เป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่ของคนไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม
2) การบริหารสินเชื่อที่มีคุณภาพดี ธพว. จะเน้นการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเดิมผ่านช่องทางสาขาทั้ง 95 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงต้องมีการขยายตัวของสินเชื่อ เพื่อเพิ่มรายได้ของธนาคาร โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าตาม พันธกิจหลัก เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาสจากธนาคารภาคเอกชนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยมีต้นทุนที่พอเหมาะพอควร
ในช่วง 6 เดือนแรก ของปี 2557 ธพว. พบว่า มียอดอนุมัติสินเชื่อใหม่เพียง 5,684 ล้านบาท และพบว่ามีความล่าช้าในการพิจารณา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (Credit Process) เสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพ มีกลไกการคานอำนาจ (Check and Balance) ที่ได้มาตรฐาน และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติด้วย เพราะหากเข้มงวดจนเกินไปก็จะไม่เป็นการช่วยเหลือ SMEs ตามเจตนารมย์ของพันธกิจ ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถปรับปรุงได้ เพราะพนักงานสินเชื่อของ ธพว. มีทักษะด้านสินเชื่ออย่างเพียงพออยู่แล้ว
3. การบริหารสภาพคล่อง
ธพว.มีแผนปรับโครงสร้างทางการเงิน ให้มีสัดส่วนเงินกู้ระยะยาวเพิ่มขึ้นโดยขอกู้ระยะยาวที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเชื่อมั่นว่าเมื่อปรับปรุงระบบงานด้านสินเชื่อและแก้ไข NPLs สถานะของ ธพว. จะมั่นคงขึ้นโดยลำดับ ธนาคารอาจจะขอออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ระยะยาว เนื่องจากตอบโจทย์ทั้งในเรื่องการบริหารแหล่งเงินทุน มีเงินมาปล่อยสินเชื่อ อีกทั้งยังสามารถขอนับเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีภาระเงินเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังมากเกินไป
4.การสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานและจัดโครงสร้างกำลังคนให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ
ปัจจุบัน ธพว. มีพนักงาน 1,637 คน ธนาคารพยายามจะจัดให้มีพนักงานด้านหารายได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี เมื่อ ธพว.ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้ดำเนินการขายหนี้ด้อยคุณภาพออกไปบ้างแล้ว จะสามารถโอนย้ายพนักงานซึ่งทำหน้าที่ด้านแก้ไขหนี้ให้กลับมาปล่อยสินเชื่อได้ ซึ่งจะเตรียมความพร้อมโดยจัดฝึกอบรมด้านการให้สินเชื่อในภาคปฏิบัติให้พนักงานเหล่านี้
นอกจากนั้น จะพยายามปรับปรุงกระบวนการทำงาน และระบบข้อมูลทุกระบบให้เชื่อมโยงกัน ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ จะต้องจัดให้มีการสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ ระหว่างสำนักงานใหญ่กับเขต ภาค และสาขาทั้ง 95 แห่ง เพื่อรักษาขวัญกำลังใจ และให้สาขาได้เข้าถึงและเข้าใจนโยบายและแนวทางการทำธุรกิจของธนาคารอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนถึงขั้นนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะนำมาสู่ความสำเร็จร่วมกันของ ธพว. และ SMEs ไทยในอนาคตอันใกล้นี้