ASTVผู้จัดการรายวัน-ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทยลุยถก”คสช.”แจงประโยชน์กองทุนLTF พร้อมเสนอมาตราการส่งเสริมตลาดทุนมากขึ้น เผยสรรพากรย้ำชัดไม่แตะกองRMF ส่วนLTF ยังใช้เกณฑ์เดิมไปจนถึงปี 2559 ก่อนพิจารณาข้อมูลใหม่ในการต่ออายุ ด้านกระทรวงการคลังจ่อส่งแผนปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช. แต่อุบรายละเอียดใหม่ด้านการยกเว้นหรือจัดเก็บภาษี
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย(FETCO) และประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ เปิดเผยว่า สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเตรียมที่จะเข้าพบกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ในเย็นวันนี้เพื่อหารือกับทีมเศรษฐกิจของ คสช. ในประเด็น เกี่ยวกับเรื่องสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่จะหมดลงในปี 2559 ที่ได้หารือกับกับกรมสรรพากรไปก่อนหน้านี้ว่าขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะต่ออายุการใช้มาตรการภาษีของ LTF ออกไปหรือไม่ แต่เบื้องต้นจะคงใช้กฎเกณฑ์เดิมไปจนกว่าจะครบกำหนดในปี 2559
ทั้งนี้ ในส่วนของ สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ได้มีกำหนดสิ้นสุดอายุมาตรการ
อย่างไรก็ดีในระหว่างนี้สภาธุรกิจตลาดทุนไทย จะนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงประโยชน์ของกองทุน LTF และ RMF เช่นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุน LTF และ RMF ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนรวยอย่างที่หลายๆฝ่ายเข้าใจ ซึ่งทางสมาคมฯ เห็นว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทไม่ควรมีการกำหนดกรอบเวลา แต่ควรกำหนดเป็นลักษณะอื่นแทนเช่น มูลค่าเงินลงทุน หรือจำนวนคนที่เข้ามาลงทุนในกองทุน เพราะอาจจะไม่มีมูลค่าหรือผู้เข้าร่วมลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องของกองทุนLTFแล้ว ทางสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ยังมีเรื่องที่เตรียมจะปรึกษากับ คสช.ในประเด็นต่างๆ เช่นการแปรรูปบริษัทรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือลดสัดส่วนการถือครองของรัฐให้มีความเป็นเอกชนเพื่อง่ายต่อการระดมทุนมากขึ้น และการใช้กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นช่องทางในการระดมทุนไปใช้ในโครงการต่างๆ ของภาครัฐแทนการกู้เงิน
ตลอดจนถึงการเดินสายนำเสนอข้อมูล ให้กับนักนักลงทุนในต่างประเทศโดยมีการร่วมกันระหว่าง สภาตลาดทุน กระทรวงการคลัง BOI รวมไปถึงภาคเอกชน โดยเน้นกลุ่มประเทศในเอเซียเป็นอันดับแรกคือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ฯลฯ พร้อมทั้งเสนอตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนขึ้นมาอย่างเป็นทางการหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อเร่งส่งเสริมตลาดทุนไทย ซึ่งเคยเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่มีการจัดตั้งเป็นรูปธรรมที่สมบูรณ์ อีกทั้งจะผลักดันให้มีการบังคับใช้กองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นการออมเงินสำหรับการเกษียณในบริษัทเอกชน
คลังส่งปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการปฏิรูปโครงสร้างด้านภาษีว่า กระทรวงได้มีการปรับปรุงศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงการยกเว้นหรือจัดเก็บภาษีใดเพิ่มเติม ซึ่งการออกกฎหมายนี้ กระทรวงการคลังได้เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย โดยจะนำเสนอต่อ คสช. ต่อไป ส่วนจะปรับโครงสร้างใดบ้างนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งจะต้องรอ สนช. นำเข้าพิจารณาต่อไป
ขณะที่ปัจจุบันด้านการจัดเก็บภาษีพบกว่าต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทางกระทรวงฯ จึงได้สั่งกำชับนโยบายให้แต่ละกรมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี รวมถึงให้กรมสรรพากรสำรวจดูว่าธุรกิจใดที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงเพื่อควบคุมดูแลเพิ่มความสามารถในการชำระภาษี
นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ได้วางแนวทางการทำงานร่วมกับ คสช.โดยยึดโรดแมปออกเป็น 3 ระยะ คือ เรื่องเร่งด่วนดำเนินการทันที เรื่องที่ดำเนินการหลังจากมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และเรื่องดำเนินการหลังมีการปฏิรูปประเทศแล้ว
เรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงการคลังดำเนินการไปแล้ว เช่น การจ่ายเงินเกษตรกรในโครงการรับจำนำข้าว มาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยให้แบงก์รัฐเพิ่มการค้ำประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ ธนาคารพาณิชย์ จะให้สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ SMEs ลดอัตราดอกเบี้ย และการประกันพืชผลเกษตร ลดต้นทุนการผลิต
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย(FETCO) และประธานกรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้ เปิดเผยว่า สภาธุรกิจตลาดทุนไทยเตรียมที่จะเข้าพบกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ในเย็นวันนี้เพื่อหารือกับทีมเศรษฐกิจของ คสช. ในประเด็น เกี่ยวกับเรื่องสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ที่จะหมดลงในปี 2559 ที่ได้หารือกับกับกรมสรรพากรไปก่อนหน้านี้ว่าขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะต่ออายุการใช้มาตรการภาษีของ LTF ออกไปหรือไม่ แต่เบื้องต้นจะคงใช้กฎเกณฑ์เดิมไปจนกว่าจะครบกำหนดในปี 2559
ทั้งนี้ ในส่วนของ สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ได้มีกำหนดสิ้นสุดอายุมาตรการ
อย่างไรก็ดีในระหว่างนี้สภาธุรกิจตลาดทุนไทย จะนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงประโยชน์ของกองทุน LTF และ RMF เช่นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกองทุน LTF และ RMF ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนรวยอย่างที่หลายๆฝ่ายเข้าใจ ซึ่งทางสมาคมฯ เห็นว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีการลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทไม่ควรมีการกำหนดกรอบเวลา แต่ควรกำหนดเป็นลักษณะอื่นแทนเช่น มูลค่าเงินลงทุน หรือจำนวนคนที่เข้ามาลงทุนในกองทุน เพราะอาจจะไม่มีมูลค่าหรือผู้เข้าร่วมลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องของกองทุนLTFแล้ว ทางสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ยังมีเรื่องที่เตรียมจะปรึกษากับ คสช.ในประเด็นต่างๆ เช่นการแปรรูปบริษัทรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือลดสัดส่วนการถือครองของรัฐให้มีความเป็นเอกชนเพื่อง่ายต่อการระดมทุนมากขึ้น และการใช้กองทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นช่องทางในการระดมทุนไปใช้ในโครงการต่างๆ ของภาครัฐแทนการกู้เงิน
ตลอดจนถึงการเดินสายนำเสนอข้อมูล ให้กับนักนักลงทุนในต่างประเทศโดยมีการร่วมกันระหว่าง สภาตลาดทุน กระทรวงการคลัง BOI รวมไปถึงภาคเอกชน โดยเน้นกลุ่มประเทศในเอเซียเป็นอันดับแรกคือ ฮ่องกง สิงคโปร์ ฯลฯ พร้อมทั้งเสนอตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนขึ้นมาอย่างเป็นทางการหลังการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อเร่งส่งเสริมตลาดทุนไทย ซึ่งเคยเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่มีการจัดตั้งเป็นรูปธรรมที่สมบูรณ์ อีกทั้งจะผลักดันให้มีการบังคับใช้กองทุนประกันสังคมเพื่อเป็นการออมเงินสำหรับการเกษียณในบริษัทเอกชน
คลังส่งปฏิรูปโครงสร้างภาษีให้ คสช.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการปฏิรูปโครงสร้างด้านภาษีว่า กระทรวงได้มีการปรับปรุงศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงการยกเว้นหรือจัดเก็บภาษีใดเพิ่มเติม ซึ่งการออกกฎหมายนี้ กระทรวงการคลังได้เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย โดยจะนำเสนอต่อ คสช. ต่อไป ส่วนจะปรับโครงสร้างใดบ้างนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ซึ่งจะต้องรอ สนช. นำเข้าพิจารณาต่อไป
ขณะที่ปัจจุบันด้านการจัดเก็บภาษีพบกว่าต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทางกระทรวงฯ จึงได้สั่งกำชับนโยบายให้แต่ละกรมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี รวมถึงให้กรมสรรพากรสำรวจดูว่าธุรกิจใดที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงเพื่อควบคุมดูแลเพิ่มความสามารถในการชำระภาษี
นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ได้วางแนวทางการทำงานร่วมกับ คสช.โดยยึดโรดแมปออกเป็น 3 ระยะ คือ เรื่องเร่งด่วนดำเนินการทันที เรื่องที่ดำเนินการหลังจากมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และเรื่องดำเนินการหลังมีการปฏิรูปประเทศแล้ว
เรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงการคลังดำเนินการไปแล้ว เช่น การจ่ายเงินเกษตรกรในโครงการรับจำนำข้าว มาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยให้แบงก์รัฐเพิ่มการค้ำประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ ธนาคารพาณิชย์ จะให้สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ SMEs ลดอัตราดอกเบี้ย และการประกันพืชผลเกษตร ลดต้นทุนการผลิต