xs
xsm
sm
md
lg

ปรับหมากกลยุทธ์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ได้เปิดเผยรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (FED Meeting) ของรอบการประชุมเมื่อ 17-18 มิ.ย. ที่ผ่านมา  ซึ่งรายงานดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด โดย FED ยังคงดำเนินนโยบายการเงินเช่นเดิม คือ จะตัดลดวงเงินในการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินต่อเนื่องอีก เดือนละ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาตัดลดครั้งที่ 5 มีมูลค่า 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ทำให้เป็นที่แน่นอนแบบปิดโต๊ะรับทายผลเลยว่า QE จะสิ้นสุดโปรแกรมราวเดือน ต.ค. 2557   
          
หากพิจารณา ดัชนีชี้นำที่ FED ให้ความสำคัญไม่ว่าจะเป็น อัตราเงินเฟ้อที่บรรลุเป้าหมายที่ 2% ต่อเนื่อง 2 เดือน (ล่าสุดเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 2.1%) และ อัตราการว่างงาน ที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 6.5% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3  (ในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 6.1% ต่ำสุดในรอบ 6 ปี)  แต่อัตราการว่างงานยังอยู่ไกลช่วงก่อนวิกฤต Subprime ที่ระดับ 5.5%   จุดนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้  FED  ยังไม่น่าผลีผลามที่จะรีบร้อนขึ้นดอกเบี้ยมากนัก  โดย FED น่าจะรอให้อัตราการว่างงานลงต่ำกว่า 6% หรือเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2551
       
ดังนั้นแล้ว FED จึงน่าจะยืนดอกเบี้ยไว้ที่ 0.25% ต่อไปตามเดิม อย่างน้อยก็น่าจะถึงสิ้นปีนี้


แม้ FED จะมีมติให้ใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำ 0.25% และยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการปรับเพิ่มที่แน่นอน แต่ล่าสุดได้มีนักเศรษฐศาสตร์ บางกลุ่ม ได้แก่ JP Morgan, Bank of Tokyo และ ประธาน FED สาขา เซนต์หลุยส์ ล้วนออกมาคาดกันว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยจะอยู่ระหว่างไตรมาสที่ 1 ถึง 3 ในปีหน้า  ความคิดเห็นเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยของ FED ที่เริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ  จะมีผลที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกต้องสั่นไหวในทุกครั้ง โดยเฉพาะหากความคิดเห็นนั้นๆ มาจากประธาน FED สาขาต่างๆ  
          
สำหรับปัจจัยในประเทศ ล่าสุดโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงทำความเข้าใจต่อผู้ช่วยทูตทหาร 20 ประเทศ ซึ่งได้มีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการภายใต้ คสช. เบื้องต้นดังนี้คือ

ภายในเดือน กรกฎาคม 2557 คาดว่าจะสามารถนำร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ขึ้นทูลเกล้าฯ

ช่วงเดือน สิงหาคม - กันยายน 2557 จะเป็นกระบวนการแต่งตั้ง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), ตั้งคณะรัฐมนตรี และการสรรหาสมาชิกสภาปฎิรูป

เดือน ตุลาคม 2557 ตั้งสภาปฎิรูป

ช่วง ตุลาคม 2557 -  กรกฎาคม 2558 เป็นช่วงเวลาที่สภาปฏิรูป จัดทำข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศ

กรกฎาคม 2558 การร่างรัฐธรรมนูญ ใหม่ แล้วเสร็จ

เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2558 รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ และจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. - ส.ว.

ถือเป็นกรอบเวลาที่มีความชัดเจน และเป็นไปตามที่หัวหน้า คสช. ได้เคยประกาศไว้ ประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปคงเป็นเรี่องของรายละเอียดแต่ละขั้นตอน เฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญชั่วคราวและฉบับถาวร รวมถึงตัวบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ คณะรัฐมนตรี ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการจัดการเลือกตั้ง
          
การเคลื่อนไหวของ SET Index ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ( 1 - 10 ก.ค.2557) เรียกได้ว่าน่าสนใจมาก ดัชนีปิดบวกต่อเนื่อง 11 วันติดต่อกัน โดยปรับเพิ่มขึ้นกว่า 4%  จากสถิติของตลาดหุ้นไทยใน 38 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าโอกาสที่จะขึ้นหลายวันติดต่อกันจะมีค่อนข้างน้อย  แต่เมื่อ SET Index สามารถที่จะบวกขึ้นมาได้ต่อเนื่องกว่า 11 วันแบบนี้ ถือเป็นการข้ามผ่านข้อจำกัดทางสถิติ และทำให้มีความน่าจะเป็นที่สูงถึง 70% ที่จะบวกต่อเนื่องในวันที่ 12 ด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 1.01% และถ้าขึ้นในวันที่ 12 แล้ว จะมีโอกาสสูงถึง 73% ที่จะบวกต่อเนื่องในวันที่ 13 โดยดัชนีจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอีก 1% คาดว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ SET Index ปรับขึ้น Rally ได้ขนาดนี้ น่าจะมาจากความคาดหวังที่จะเห็นการกลับมาของเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติ หลังค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. 2557 กว่า 0.85% โดยนักลงทุนต่างประเทศได้กลับเข้าซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยมาต่อเนื่องตั้งแต่ 27 มิ.ย. - 9 ก.ค. 2557  ด้วยจำนวน 7 จากใน 8 วันกว่า 1.11 หมื่นล้านบาท
          
อย่างไรก็ตาม การที่ SET Index มีค่า Current PER เข้าใกล้ 16 เท่า ก็อาจจะทำให้เกิดแรงขายทำกำไรออกมาได้ตลอดเวลา หากมีประเด็นที่ผิดจากความคาดหมายเกิดขึ้น นักลงทุนควรลงทุนด้วยความระมัดระวัง
           
กลยุทธ์การลงทุนจึงควรทยอยขายหุ้นที่มี P/E สูงๆ พร้อมกับราคาหุ้นได้ขยับขึ้นแรงเกินไป เช่น IFEC (current P/E 506 เท่า) NWR (285 เท่า) TSTH (261 เท่า) EA (104 เท่า) PF (89 เท่า) GL (43 เท่า) ITD (35 เท่า) WORK (31 เท่า) ส่วนหุ้นเลือกลงทุนยังเน้นหุ้นใน 2 กลุ่มหลักคือ


1) EPS Growth สูงเกิน 10% และ P/E ไม่เกิน 15% และราคาหุ้นยังมี upside เกิน 10% ได้แก่ INTUCH (FV@B 109), STPI (FV@B 28.46), PTTEP (FV@B 195), SYNTEC (FV@B 2.23), AP (FV@B 7.1

2)  Dividend Yield สูงเกิน 4% มีค่า P/E ไม่เกิน 15 เท่า และราคาหุ้นยังมี upside เกิน 10% ได้แก่ INTUCH (FV@B 109), PTTGC(FV@B 87), BCP (FV@B 36), TTW (FV@B 13.3), BECL (FV@B 45.0), KKP (FV@B 52.2), TISCO (FV@B 47.31), PTT (FV@B 360), PTTEP (FV@B 195), LALIN (FV@B 5.30)

กำลังโหลดความคิดเห็น