xs
xsm
sm
md
lg

น้ำโขงนครพนมแห้งขอดชาวบ้านเดือดร้อนขาดน้ำผลิตประปา-ทำเกษตร

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นครพนม-น้ำโขงแห้งขอด กระทบจุดสูบน้ำทำเกษตรแล้วหลายอำเภอ เฉพาะที่อำเภอท่าอุเทนนาข้าวกว่า 3,000 ไร่เริ่มแห้งขาดน้ำรอยืนต้นเฉาตาย ร้องภาครัฐ ช่วยเหลือเปิดทางน้ำช่วยนาข้าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม สถานการณ์ภัยแล้ง เริ่มส่งผลกระทบต่อเนื่อง หลังระดับน้ำโขงลดระดับรวดเร็ว ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 1.5 เมตร ส่งผลให้ บางจุดเกิดสันดอนทรายเป็นพื้นที่กว้าง ยาวหลายกิโลเมตร ไม่เพียงส่งผลกระทบ ต่อการเดินเรือของชาวบ้าน ที่มีอาชีพประมงหาปลาน้ำโขงขาย ยังส่งผลกระทบต่อลำน้ำสาขา เริ่มแห้งขอด เดือดร้อนชาวบ้าน เริ่มขาดแคลนน้ำในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร และมีแนวโน้มส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปีนี้ ปริมาณฝนสะสมต่ำ รวมถึง ผลกระทบจากการกักน้ำของเขื่อนประเทศจีน

เช่นเดียวกันกับชาวบ้าน ในพื้นที่ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรทำนาทำสวน โดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำโขง ได้รับผลกระทบเช่นกัน ไม่สามารถสูบน้ำโขง เข้าสู่ระบบชลประทานได้ เพราะต้องใช้งบประมาณในการเคลื่อนย้ายสถานีสูบน้ำ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ในพื้นที่ กว่า 300 ครัวเรือน นาข้าวที่กำลังตั้งท้อง ออกรวง รอการเก็บเกี่ยว เริ่มเหี่ยวเฉา

คาดว่าอีก1สัปดาห์หากยังสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรไม่ได้ จะทำให้พื้นที่นาข้าวเสียหายไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ โดยทางด้านนายศรีณรงค์ วงค์ล่าม อายุ 55 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน ได้เข้าร้องทุกข์ ผ่าน อบต.ท่าจำปา เพื่อประสานหน่วยงาน หาทางช่วยเหลือ นำเครื่องจักร เปิดทางน้ำให้น้ำโขงระบายเข้าจุดสถานีสูบน้ำ เนื่องจากมีสันดอนทราย ขวางทางน้ำไม่สามารถสูบน้ำ ใช้เลี้ยงนาข้าวได้




นายศรีณรงค์ วงค์ล่าม อายุ 55 ปี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน เปิดเผยว่า ปีนี้น้ำโขงแห้งเร็วในรอบหลายสิบปี พื้นที่ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ได้รับผลกระทบ จากน้ำโขงแห้ง หาดทรายโผล่กว้าง ระยะทางเป็นกิโลเมตร และมีพื้นที่หลาย 10 ไร่ โผล่ขึ้นกลางน้ำโขง

ส่งผลกระทบ สถานีสูบน้ำเพื่อการเกษตร ที่เคยสูบน้ำทุกปี ในช่วงเข้าฤดูแล้ง ได้รับผลกระทบ น้ำโขงแห้ง ไม่สามารถสูบน้ำได้ ทำให้นาข้าว ชาวบ้าน กว่า 3,000 ไร่ ที่ใช้น้ำโขงเลี้ยง ข้าวกำลังตั้งท้องออกรวง รอการเก็บเกี่ยว ได้รับผลกระทบ




เบื้องต้นได้ เรียกร้องทางภาครัฐ ผ่าน อบต.ท่าจำปา ให้ประสานทาง หน่วยงานเกี่ยวข้องหาทางช่วยเหลือ ซึ่งจำเป็นต้องนำเครื่องจักร มาขุดเปิดทางน้ำเข้าจุดสูบน้ำ เพราะหากย้ายจุดสูบน้ำไปยังจุดน้ำลึก ต้องใช้งบประมาณสูง และคาดว่าจะกระทบต่อเนื่อง หากน้ำโขงลดระดับลงอีก

อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถสูงน้ำเข้าเลี้ยงนาข้าว ได้ ในช่วง 1 -2 สัปดาห์ คาดว่าจะเสียหาย แห้งตายหมด ฝากหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือ เพราะปีนี้ฝนน้อย ปริมาณน้ำในลำห้วย ไม่มี ต้องอาศัยน้ำโขงเป็นหลัก


กำลังโหลดความคิดเห็น