ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - “พัทยาเอวิเอชั่นกรุ๊ป” เล็งทุ่มงบ 2 หมื่นล้านบาทพัฒนาอุตฯ อากาศยานโคราช ประเดิมเปิดสายการบิน “ราชสีมาแอร์เวย์” ฟื้นชีพ “สนามบินหนองเต็ง” ร้างปลายปีนี้ ชี้โคราชศักยภาพสูงหวังพัฒนาเป็นฮับการบินระหว่างประเทศของอีสาน ระบุสร้างเลานจ์รองรับผู้โดยสารแก้จุดอ่อนสนามบินโคตรไกลเมือง คาดเปิดบินในประเทศพร้อมกัน 6 เส้นทางรวด ด้านหอฯ โคราชอ้าเขียนรับ ร่อนหนังสือถึง รมว.คมนาคมดันเร่งผ่านใบอนุญาต
วันนี้ (28 ส.ค.) นายทศพร อสุนีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนำคณะผู้บริหารของบริษัทเดินทางเข้าพบปะหารือกับคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมานั้น บริษัทมีความสนใจที่จะเข้ามาเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง-จักราช อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
โดยมองว่า จ.นครราชสีมามีศักยภาพสูงในทุกด้าน มีประชากรมากกว่า 2.6 ล้านคน มีสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาในพื้นที่ ทั้งรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครบครัน ซึ่งขณะนี้บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมดแล้ว
การเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ครั้งนี้บริษัทจะจัดตั้งสายการบินขึ้นใหม่ ในนาม “ราชสีมา แอร์เวย์” เพื่อให้เป็นสายการบินประจำพื้นที่ จ.นครราชสีมา และหวังให้เป็นสายการบินของคนโคราชโดยแท้ ตอบโจทย์คนโคราชได้อย่างชัดเจน และพร้อมเปิดรับนักลงทุนจากท้องถิ่นที่สนใจเข้ามาร่วมการพัฒนาสายการบินนี้ โดยบริษัทได้ศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี ก่อนเสนอขอเปิดสายการบินที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา ขณะนี้เหลือเพียงการรวบรวมเนื้อหาข้อมูลในการบินอีกเล็กน้อยก็จะสามารถบรรลุจุดประสงค์ได้
“เรามีความมั่นใจมาก เนื่องจากโคราชยังไม่เคยทำการบินระหว่างประเทศมาก่อน เราพยายามจะจับจุดนี้เพื่อให้โคราชเป็นเซ็นเตอร์หรือศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศของภาคอีสานทั้งหมด ซึ่งอาจบินจากนครราชสีมาไปมาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น เมื่อศึกษาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่ใกล้เคียงแล้วพบว่าลักษณะคล้ายกับพื้นที่ของพัทยา นั่นคือระยะทางระหว่างตัวเมืองไปยังสนามบินค่อนข้างไกล สิ่งนี้เป็นจุดอ่อนแต่บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้” นายทศพรกล่าว
นายทศพร กล่าวต่อว่า บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด มีประสบการณ์ในการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศมากว่า 10 ปี โดยปฏิบัติการบินอยู่ที่สนามบินอู่ตะเภา พัทยา จ.ชลบุรี ให้บริการสายการบินภายในประเทศ ในนาม “พัทยา แอร์เวย์” ทำการบินเส้นทางพัทยา-เชียงราย, พัทยา-เชียงใหม่, พัทยา-อุดรธานี, พัทยา-อุบลราชธานี, พัทยา-ภูเก็ต และร่วมมือกับสตาร์แอร์ไลน์ เปิดเส้นทางการบินระหว่างพัทยา (อู่ตะเภา)-จีน ด้วย
สำหรับการเปิดสายการบินที่ จ.นครราชสีมานั้น บริษัทตั้งเป้าหมายเป็นสายการบินแบบพรีเมียมแอร์ไลน์ ใช้เครื่อง Embracer ERJ 145 ขนาด 54 ที่นั่ง เป็นเครื่องบินเจ็ตแบบไอพ่น (Turbo Jet) ที่มีสมรรถนะสูงเทียบเท่าเครื่องไพรเวตเจ็ต บินได้เร็ว และนิ่งเทียบเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ และที่พิเศษกว่าคือ มีเสียงเครื่องยนต์รบกวนน้อยมาก หรือแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลย เพราะเครื่องยนต์ย้ายไปอยู่ในตอนท้ายของเครื่อง จากปกติเครื่องยนต์จะอยู่ในตำแหน่งใต้ปีก
ส่วนอัตราค่าโดยสารนั้นยืนยันว่าไม่แพงจนเกินไปแม้จะเป็นสายการบินพรีเมียมแต่คนท้องถิ่นสามารถนั่งได้แน่นอน ขณะนี้กำลังเซตเรื่องอัตราค่าโดยสารจึงไม่สามารถเปิดเผยได้
พร้อมกันนี้ ทางบริษัทกำลังมองหาทำเลเพื่อก่อสร้างอาคารรับรองผู้โดยสารภายในตัวเมืองนครราชสีมา บริเวณถนนมิตรภาพ ซึ่งจะเป็นอาคารผู้โดยสารอยู่ในเมือง มีบริการเลานจ์ (lounge) เต็มรูปแบบขณะนั่งรอขึ้นเครื่อง มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น Wi-Fi เครื่องดื่มครบครัน เมื่อเข้ามาที่เลานจ์เปรียบเสมือนมาถึงสนามบิน สามารถเช็กอินและนั่งรถชัตเติลบัสที่ให้บริการฟรีไปยังสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องได้เลยทั้งขาไปและกลับ ซึ่งการสร้างเลานจ์รองรับผู้โดยสารจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ชาวโคราชแก้จุดอ่อนสนามบินตั้งอยู่ไกลตัวเมืองได้เป็นอย่างดี
นายทศพร กล่าวอีกว่า หากบริษัทได้รับการอนุมัติเปิดเส้นทางการบินอย่างเป็นทางการจากกรมการบินแล้ว เราจะเปิดให้บริการรวดเดียว 6 เส้นทาง โดยเบื้องต้นเป็นการให้บริการแบบเช่าเหมาลำในเส้นทางนครราชสีมา-พัทยา (อู่ตะเภา), นครราชสีมา-หัวหิน, นครราชสีมา-เชียงใหม่, นครราชสีมา-ภูเก็ต, นครราชสีมา-อุดรธานี, นครราชสีมา-กระบี่ และจะพัฒนาไปสู่การเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศในเส้นทางนครราชสีมา-ฮ่องกง, นครราชสีมา-มาเก๊า ซึ่งจะใช้เครื่องบินจำนวน 2 ลำ โดยมูลค่าการลงทุนเปิดสายการบินดังกล่าวคาดว่าไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท
“นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนการลงทุนสร้างอุตสาหกรรมอากาศยานในพื้นที่ กว่า 700 ไร่ ของสนามบินหนองเต็ง-จักราช ด้วย เช่น การสร้างศูนย์ซ่อมเครื่องบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโรงเรียนการบิน เป็นต้น คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท” นายทศพร กล่าว
ขณะที่ นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการด้านการบินให้ความสนใจเข้ามาเปิดเส้นทางการบินที่ จ.นครนคราชสีมาหลายราย หลังจากสายการบินกานแอร์หยุดทำการบินเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และหอการค้าฯ พยายามเชิญชวนให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาทำการบิน
ล่าสุด บริษัทพัทยา เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารใหม่ของ บริษัท เลกาซี่ แอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินกิจการด้านการบินแบบไม่ประจำภายในประเทศและต่างประเทศ มีประสบการณ์ด้านการบินกว่า 10 ปี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการบิน และการคมนาคมทางอากาศของ จ.นครราชสีมา โดยหวังให้นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่ขณะนี้ยังเหลือขั้นตอนการอนุญาตจากภาครัฐ ซึ่งทางหอการค้าฯ ได้ช่วยผลักดัน ด้วยการทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการต่อใบอนุญาตดำเนินการเดินอากาศ (AOC) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการได้ประกอบธุรกิจได้ หากสายการบินราชสีมาแอร์เวย์เปิดการบินได้อย่างเป็นทางการก็จะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดนครราชสีมาด้วย
ด้าน นายประวัติ ดวงกันยา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครราชสีมา เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง-จักราช ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ปัจจุบันแม้ไม่มีสายการบินพาณิชย์มาทำการบิน แต่ยังมีเครื่องบินที่เข้ามาฝึกบินอย่างต่อเนื่อง จึงไม่ได้เป็นสนามบินร้าง โดยในปี 2557 มีเครื่องบินของภาคเอกชนเข้ามาฝึกบินแบบ TOUCH&GO รวมทั้งสิ้น 36,000 เที่ยว สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้รวม 3,060,000 บาท และคิดค่าใช้จ่ายจากอากาศยานอื่นๆ รวม 95 เที่ยว มีรายได้ 8,075 บาท
ส่วนปี 2558 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2558 มีเที่ยวบินฝึกแบบ TOUCH&GO รวม 54,000 เที่ยว คิดเป็นเงินรายได้ค่าธรรมเนียม 4,590,000 บาท และคิดค่าใช้จ่ายจากอากาศยานอื่น ๆ 116 เที่ยว เป็นเงิน 15,560 บาท
อย่างไรก็ตาม หากมีสายการบินพาณิชย์มาเปิดทำการบินที่ท่าอากาศยานจังหวัดนครราชสีมา ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดเติบโตขึ้นไปด้วย
วันนี้ (28 ส.ค.) นายทศพร อสุนีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนำคณะผู้บริหารของบริษัทเดินทางเข้าพบปะหารือกับคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา นำโดย นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมานั้น บริษัทมีความสนใจที่จะเข้ามาเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง-จักราช อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา
โดยมองว่า จ.นครราชสีมามีศักยภาพสูงในทุกด้าน มีประชากรมากกว่า 2.6 ล้านคน มีสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาในพื้นที่ ทั้งรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานครบครัน ซึ่งขณะนี้บริษัทฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมดแล้ว
การเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ครั้งนี้บริษัทจะจัดตั้งสายการบินขึ้นใหม่ ในนาม “ราชสีมา แอร์เวย์” เพื่อให้เป็นสายการบินประจำพื้นที่ จ.นครราชสีมา และหวังให้เป็นสายการบินของคนโคราชโดยแท้ ตอบโจทย์คนโคราชได้อย่างชัดเจน และพร้อมเปิดรับนักลงทุนจากท้องถิ่นที่สนใจเข้ามาร่วมการพัฒนาสายการบินนี้ โดยบริษัทได้ศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี ก่อนเสนอขอเปิดสายการบินที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา ขณะนี้เหลือเพียงการรวบรวมเนื้อหาข้อมูลในการบินอีกเล็กน้อยก็จะสามารถบรรลุจุดประสงค์ได้
“เรามีความมั่นใจมาก เนื่องจากโคราชยังไม่เคยทำการบินระหว่างประเทศมาก่อน เราพยายามจะจับจุดนี้เพื่อให้โคราชเป็นเซ็นเตอร์หรือศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศของภาคอีสานทั้งหมด ซึ่งอาจบินจากนครราชสีมาไปมาเก๊า ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น เมื่อศึกษาข้อมูลจำนวนประชากรและพื้นที่ใกล้เคียงแล้วพบว่าลักษณะคล้ายกับพื้นที่ของพัทยา นั่นคือระยะทางระหว่างตัวเมืองไปยังสนามบินค่อนข้างไกล สิ่งนี้เป็นจุดอ่อนแต่บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้” นายทศพรกล่าว
นายทศพร กล่าวต่อว่า บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด มีประสบการณ์ในการให้บริการด้านคมนาคมขนส่งทางอากาศมากว่า 10 ปี โดยปฏิบัติการบินอยู่ที่สนามบินอู่ตะเภา พัทยา จ.ชลบุรี ให้บริการสายการบินภายในประเทศ ในนาม “พัทยา แอร์เวย์” ทำการบินเส้นทางพัทยา-เชียงราย, พัทยา-เชียงใหม่, พัทยา-อุดรธานี, พัทยา-อุบลราชธานี, พัทยา-ภูเก็ต และร่วมมือกับสตาร์แอร์ไลน์ เปิดเส้นทางการบินระหว่างพัทยา (อู่ตะเภา)-จีน ด้วย
สำหรับการเปิดสายการบินที่ จ.นครราชสีมานั้น บริษัทตั้งเป้าหมายเป็นสายการบินแบบพรีเมียมแอร์ไลน์ ใช้เครื่อง Embracer ERJ 145 ขนาด 54 ที่นั่ง เป็นเครื่องบินเจ็ตแบบไอพ่น (Turbo Jet) ที่มีสมรรถนะสูงเทียบเท่าเครื่องไพรเวตเจ็ต บินได้เร็ว และนิ่งเทียบเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ และที่พิเศษกว่าคือ มีเสียงเครื่องยนต์รบกวนน้อยมาก หรือแทบจะไม่ได้ยินเสียงเลย เพราะเครื่องยนต์ย้ายไปอยู่ในตอนท้ายของเครื่อง จากปกติเครื่องยนต์จะอยู่ในตำแหน่งใต้ปีก
ส่วนอัตราค่าโดยสารนั้นยืนยันว่าไม่แพงจนเกินไปแม้จะเป็นสายการบินพรีเมียมแต่คนท้องถิ่นสามารถนั่งได้แน่นอน ขณะนี้กำลังเซตเรื่องอัตราค่าโดยสารจึงไม่สามารถเปิดเผยได้
พร้อมกันนี้ ทางบริษัทกำลังมองหาทำเลเพื่อก่อสร้างอาคารรับรองผู้โดยสารภายในตัวเมืองนครราชสีมา บริเวณถนนมิตรภาพ ซึ่งจะเป็นอาคารผู้โดยสารอยู่ในเมือง มีบริการเลานจ์ (lounge) เต็มรูปแบบขณะนั่งรอขึ้นเครื่อง มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น Wi-Fi เครื่องดื่มครบครัน เมื่อเข้ามาที่เลานจ์เปรียบเสมือนมาถึงสนามบิน สามารถเช็กอินและนั่งรถชัตเติลบัสที่ให้บริการฟรีไปยังสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องได้เลยทั้งขาไปและกลับ ซึ่งการสร้างเลานจ์รองรับผู้โดยสารจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ชาวโคราชแก้จุดอ่อนสนามบินตั้งอยู่ไกลตัวเมืองได้เป็นอย่างดี
นายทศพร กล่าวอีกว่า หากบริษัทได้รับการอนุมัติเปิดเส้นทางการบินอย่างเป็นทางการจากกรมการบินแล้ว เราจะเปิดให้บริการรวดเดียว 6 เส้นทาง โดยเบื้องต้นเป็นการให้บริการแบบเช่าเหมาลำในเส้นทางนครราชสีมา-พัทยา (อู่ตะเภา), นครราชสีมา-หัวหิน, นครราชสีมา-เชียงใหม่, นครราชสีมา-ภูเก็ต, นครราชสีมา-อุดรธานี, นครราชสีมา-กระบี่ และจะพัฒนาไปสู่การเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศในเส้นทางนครราชสีมา-ฮ่องกง, นครราชสีมา-มาเก๊า ซึ่งจะใช้เครื่องบินจำนวน 2 ลำ โดยมูลค่าการลงทุนเปิดสายการบินดังกล่าวคาดว่าไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท
“นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนการลงทุนสร้างอุตสาหกรรมอากาศยานในพื้นที่ กว่า 700 ไร่ ของสนามบินหนองเต็ง-จักราช ด้วย เช่น การสร้างศูนย์ซ่อมเครื่องบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโรงเรียนการบิน เป็นต้น คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท” นายทศพร กล่าว
ขณะที่ นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการด้านการบินให้ความสนใจเข้ามาเปิดเส้นทางการบินที่ จ.นครนคราชสีมาหลายราย หลังจากสายการบินกานแอร์หยุดทำการบินเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และหอการค้าฯ พยายามเชิญชวนให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาทำการบิน
ล่าสุด บริษัทพัทยา เอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารใหม่ของ บริษัท เลกาซี่ แอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินกิจการด้านการบินแบบไม่ประจำภายในประเทศและต่างประเทศ มีประสบการณ์ด้านการบินกว่า 10 ปี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการบิน และการคมนาคมทางอากาศของ จ.นครราชสีมา โดยหวังให้นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แต่ขณะนี้ยังเหลือขั้นตอนการอนุญาตจากภาครัฐ ซึ่งทางหอการค้าฯ ได้ช่วยผลักดัน ด้วยการทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการต่อใบอนุญาตดำเนินการเดินอากาศ (AOC) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการได้ประกอบธุรกิจได้ หากสายการบินราชสีมาแอร์เวย์เปิดการบินได้อย่างเป็นทางการก็จะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดนครราชสีมาด้วย
ด้าน นายประวัติ ดวงกันยา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครราชสีมา เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือสนามบินหนองเต็ง-จักราช ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ปัจจุบันแม้ไม่มีสายการบินพาณิชย์มาทำการบิน แต่ยังมีเครื่องบินที่เข้ามาฝึกบินอย่างต่อเนื่อง จึงไม่ได้เป็นสนามบินร้าง โดยในปี 2557 มีเครื่องบินของภาคเอกชนเข้ามาฝึกบินแบบ TOUCH&GO รวมทั้งสิ้น 36,000 เที่ยว สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้รวม 3,060,000 บาท และคิดค่าใช้จ่ายจากอากาศยานอื่นๆ รวม 95 เที่ยว มีรายได้ 8,075 บาท
ส่วนปี 2558 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค. 2558 มีเที่ยวบินฝึกแบบ TOUCH&GO รวม 54,000 เที่ยว คิดเป็นเงินรายได้ค่าธรรมเนียม 4,590,000 บาท และคิดค่าใช้จ่ายจากอากาศยานอื่น ๆ 116 เที่ยว เป็นเงิน 15,560 บาท
อย่างไรก็ตาม หากมีสายการบินพาณิชย์มาเปิดทำการบินที่ท่าอากาศยานจังหวัดนครราชสีมา ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดเติบโตขึ้นไปด้วย