ศูนย์ข่าวศรีราชา - เมื่อวันที่ 19 ส.ค.เรือบรรทุกปูนเม็ดถูกคลื่นลมแรงพัดไปกระแทกเรือที่จอดอยู่เคียงข้างรั่วจมใกล้เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ทำให้ปูนเม็ดกว่า 1,000 ตัน จมสู่ใต้ท้องทะเล เบื้องต้นไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ล่าสุด เตรียมวางแผนกู้เรือ พร้อมเร่งตรวจคุณภาพน้ำทะเลบริเวณดังกล่าว หวั่นส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
วันนี้ (22 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจาก นายสุวรรณ นันทศรุต ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.58 เวลาประมาณ 20.00 น. บริษัท จัมโบ้บาจส์ แอนด์ ทักส์ จำกัด ซึ่งว่าจ้างบริษัท วีรวรรณ จำกัด ทำการขนถ่ายปูนเม็ดของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 954 ตัน ต้นทางมาจาก อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อส่งออกไปยังประเทศบังกลาเทศ ทำการขนถ่ายกลางทะเลบริเวณใกล้เกาะสีชัง ต.ท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีคลื่นลมแรงทำให้เรือที่จอดอยู่เกิดการกระแทกกับเรือที่จอดอยู่ข้างเคียง ทำให้เรือภูมิรัตน์นาวา 2 หมายเลขทะเบียน 391002030 เป็นเรือพ่วงตัวเรือทำด้วยเหล็กไม่มีเครื่องยนต์ ยาว 32 เมตร กว้าง 11.10 เมตร ลึก 3.8 เมตร ระวางขับน้ำ 2,129 ตันกรอส น้ำหนักบรรทุก 1,087 ตัน เกิดรั่ว และจมลงในเวลาต่อมา โดยห่างจากเกาะสีชังประมาณ 1,700 เมตร ทำให้สินค้าซึ่งเป็นปูนเม็ดบรรจุแบบกองในเรือแล้วปิดคลุมด้วยบ้าใบเสียหายทั้งลำเรือ ส่วนนายประทุม ชนะโพธิ์ และผู้โดยสาร 1 คน ปลอดภัย เจ้าของเรือได้แจ้งความไว้ที่ สภ.เกาะสีชัง
ด้าน นายพิสุทธิ์ อมรยุทธ์ หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 6 สาขาชลบุรี กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ได้ประสานงานกับศูนย์ควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล และสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาชลบุรี และขณะนี้ทางเจ้าท่าได้สั่งการให้ตัวแทนเรือรีบดำเนินการติดตั้งทุ่นเครื่องหมายบริเวณพิกัดจุดที่เรือจมให้เห็นชัดเจน ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืนเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ รวมถึงเสนอแผนในการกู้เรือให้แก่สำนักงานเจ้าท่าฯ ทราบโดยด่วน ทั้งนี้ ศูนย์ควบคุมการจราจรจะออกตรวจสอบสภาพพื้นที่อีกครั้งในในเร็วๆ นี้
ขณะนี้ทางบริษัทเจ้าของเรือได้ติดตั้งทุนบริเวณที่เกิดเหตุเรียบร้อยแล้ว และทางบริษัทเจ้าของเรือได้ให้นักประดาน้ำลงไปสำรวจสภาพสินค้าภายในเรือที่จม ซึ่งพบว่า สินค้ายังคงอยู่ในเรือ ส่วนผ้าใบถูกน้ำพัดเปิดทั้งหมด โดยทางบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัท เอ แซด อันเดอร์วอเตอร์ จำกัด เป็นผู้วางแผนทำการกู้เรือ ซึ่งจะต้องส่งแผนงานการกู้เรือให้แก่เจ้าท่าก่อนภายในวันจันทร์ ที่ 24 ส.ค.นี้ และคาดว่าจะใช้เวลาในการกู้เรือ และตักปูนเม็ดขึ้นมา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
หลังการเก็บกู้ บริษัทฯ จะขนส่งปูนเม็ดที่เสียหายกลับทางเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นท่าที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งกลับบริษัทเจ้าของสินค้าต่อไป
สำหรับปูนเม็ดนั้นมีส่วนประกอบหลัก คือ หินปูน และดินดาน ที่มาจากเหมืองของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทยฯ โดยนำมาผ่านกระบวนการเผาด้วยถ่านหิน และนำมาพักไว้ ก่อนนำไปบดเป็นปูนซีเมนต์ต่อไป ซึ่งในกรณีปูนเม็ดโดนน้ำเค็ม/จืด จะทำให้ปูนเม็ดเสื่อมคุณภาพไม่เหมาะสมในการนำไปบดเป็นปูนซีเมนต์ แต่จะไม่มีอันตราย เมื่อโดนน้ำจะไม่ก่อให้เกิดความเหนียวใดๆ เพียงแต่ปูนเม็ดจะไม่ย่อยสลาย
ล่าสุด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 13 ชลบุรี ได้เก็บคุณภาพน้ำเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ว่าคุณภาพน้ำทะเลบริเวณที่เรือล่มมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร โดยจะทำการเก็บ และตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังได้ประสานกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีและภูมิสารสนเทศ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวด้วย หวั่นกระแสลม และคลื่นพัดทำให้สภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนไป
วันนี้ (22 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจาก นายสุวรรณ นันทศรุต ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) ว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค.58 เวลาประมาณ 20.00 น. บริษัท จัมโบ้บาจส์ แอนด์ ทักส์ จำกัด ซึ่งว่าจ้างบริษัท วีรวรรณ จำกัด ทำการขนถ่ายปูนเม็ดของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 954 ตัน ต้นทางมาจาก อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อส่งออกไปยังประเทศบังกลาเทศ ทำการขนถ่ายกลางทะเลบริเวณใกล้เกาะสีชัง ต.ท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีคลื่นลมแรงทำให้เรือที่จอดอยู่เกิดการกระแทกกับเรือที่จอดอยู่ข้างเคียง ทำให้เรือภูมิรัตน์นาวา 2 หมายเลขทะเบียน 391002030 เป็นเรือพ่วงตัวเรือทำด้วยเหล็กไม่มีเครื่องยนต์ ยาว 32 เมตร กว้าง 11.10 เมตร ลึก 3.8 เมตร ระวางขับน้ำ 2,129 ตันกรอส น้ำหนักบรรทุก 1,087 ตัน เกิดรั่ว และจมลงในเวลาต่อมา โดยห่างจากเกาะสีชังประมาณ 1,700 เมตร ทำให้สินค้าซึ่งเป็นปูนเม็ดบรรจุแบบกองในเรือแล้วปิดคลุมด้วยบ้าใบเสียหายทั้งลำเรือ ส่วนนายประทุม ชนะโพธิ์ และผู้โดยสาร 1 คน ปลอดภัย เจ้าของเรือได้แจ้งความไว้ที่ สภ.เกาะสีชัง
ด้าน นายพิสุทธิ์ อมรยุทธ์ หัวหน้าสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 6 สาขาชลบุรี กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ได้ประสานงานกับศูนย์ควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล และสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาชลบุรี และขณะนี้ทางเจ้าท่าได้สั่งการให้ตัวแทนเรือรีบดำเนินการติดตั้งทุ่นเครื่องหมายบริเวณพิกัดจุดที่เรือจมให้เห็นชัดเจน ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืนเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ รวมถึงเสนอแผนในการกู้เรือให้แก่สำนักงานเจ้าท่าฯ ทราบโดยด่วน ทั้งนี้ ศูนย์ควบคุมการจราจรจะออกตรวจสอบสภาพพื้นที่อีกครั้งในในเร็วๆ นี้
ขณะนี้ทางบริษัทเจ้าของเรือได้ติดตั้งทุนบริเวณที่เกิดเหตุเรียบร้อยแล้ว และทางบริษัทเจ้าของเรือได้ให้นักประดาน้ำลงไปสำรวจสภาพสินค้าภายในเรือที่จม ซึ่งพบว่า สินค้ายังคงอยู่ในเรือ ส่วนผ้าใบถูกน้ำพัดเปิดทั้งหมด โดยทางบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัท เอ แซด อันเดอร์วอเตอร์ จำกัด เป็นผู้วางแผนทำการกู้เรือ ซึ่งจะต้องส่งแผนงานการกู้เรือให้แก่เจ้าท่าก่อนภายในวันจันทร์ ที่ 24 ส.ค.นี้ และคาดว่าจะใช้เวลาในการกู้เรือ และตักปูนเม็ดขึ้นมา คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์
หลังการเก็บกู้ บริษัทฯ จะขนส่งปูนเม็ดที่เสียหายกลับทางเรือผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปขึ้นท่าที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งกลับบริษัทเจ้าของสินค้าต่อไป
สำหรับปูนเม็ดนั้นมีส่วนประกอบหลัก คือ หินปูน และดินดาน ที่มาจากเหมืองของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทยฯ โดยนำมาผ่านกระบวนการเผาด้วยถ่านหิน และนำมาพักไว้ ก่อนนำไปบดเป็นปูนซีเมนต์ต่อไป ซึ่งในกรณีปูนเม็ดโดนน้ำเค็ม/จืด จะทำให้ปูนเม็ดเสื่อมคุณภาพไม่เหมาะสมในการนำไปบดเป็นปูนซีเมนต์ แต่จะไม่มีอันตราย เมื่อโดนน้ำจะไม่ก่อให้เกิดความเหนียวใดๆ เพียงแต่ปูนเม็ดจะไม่ย่อยสลาย
ล่าสุด สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 13 ชลบุรี ได้เก็บคุณภาพน้ำเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ว่าคุณภาพน้ำทะเลบริเวณที่เรือล่มมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร โดยจะทำการเก็บ และตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังได้ประสานกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีและภูมิสารสนเทศ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวด้วย หวั่นกระแสลม และคลื่นพัดทำให้สภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนไป