กาญจนบุรี - นายอำเภอท่าม่วง เมืองกาญจนบุรี หาทางช่วย 2 ตายายที่นำเอาผ้าใบสภาพเก่ามามุงเป็นหลังคาบ้านเพื่อหลบแดด และฝน และใช้สำหรับเป็นที่อาศัยหลับนอนที่บริเวณริมถนนลูกรังเลียบแม่น้ำแม่กลอง หมู่ 4 ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง ในสภาพที่อนาถา หลังถูกชลประทานไล่ที่เพื่อปรับภูมิทัศน์ และถนนตลอดแนว
เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (19 มี.ค.) นายจำรัส กังน้อย นายอำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ได้เดินทางไปเยี่ยม นายพยุง ทับทิมศรี อายุ 61 ปี และนางนงเยาว์ ทับทิมศรี อายุ 55 ปี สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 1071/26 หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ที่พักอาศัยอยู่บริเวณริมถนนลูกรังเลียบแม่น้ำแม่กลอง หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง ในสภาพที่อนาถาด้วยการนำเอาผ้าใบสภาพเก่ามามุงเป็นหลังคาเพื่อหลบแดดและฝน และใช้สำหรับเป็นที่อาศัยหลับนอน ส่วนฝาบ้านได้นำป้ายโฆษณาที่ทำด้วยไม้อัดมาแปะเอาไว้ โดยทั้ง 2 คน อยู่อย่างอนาถาเป็นอย่างมาก
จากการสอบถามความเป็นมาของทั้ง 2 คน นางนงเยาว์ กล่าวว่า เดิมทีตนมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่ในพื้นที่หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มาภายหลังญาติของตนคนหนึ่งได้นำที่ดินไปจำนองจนถูกยึดเพราะไม่มีเงินจ่ายคืน ตนกับสามีจึงต้องพากันไปอาศัยหลับนอนตามสถานที่ต่างๆ เช่น ใต้สะพาน แต่ก็ถูกไล่ให้ไปอยู่ที่อื่นมาอย่างต่อเนื่อง ไปอาศัยอยู่ที่ไหนก็จะถูกขับไล่อยู่ตลอด
ต่อมา เพื่อนบ้านเกิดความสงสารตนกับสามี จึงได้ช่วยกันระดมเงินมาซื้อเสาบ้านและสังกะสีให้ตนนำมาปลูกเป็นบ้านพักริมถนนซึ่งเป็นที่สาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน และเมื่อประมาณ 20 วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ชลประทาน ได้มาบอกตนกับสามีว่า ให้ตนรื้อออกจากพื้นที่ เพราะชลประทานจะเข้ามาปรับพื้นที่ข้างถนนตลอดแนว โดยจะให้ผู้รับเหมามารื้อบ้านให้ ส่วนเสาบ้าน และสังกะสีจะมอบให้ใหม่
แต่เมื่อช่างมาถึงก็ได้ทำการรื้อบ้านทั้งหมดโดยไม่บอกกล่าว อีกทั้งยังนำเสาบ้าน และสังกะสีไปทิ้งลงคลองด้วย ตนกับสามีไม่รู้จะทำอย่างไร และไม่รู้จะไปอาศัยอยู่ที่ไหน ตนกับหลานชายจึงไปหาผ้าใบมามุงหลังคา ใช้ท่อนไม้ที่พอหาได้มาเป็นเสาค้ำเอาไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยบนถนนตรงนี้
ส่วนนายพยุง สามีก็ป่วยเป็นโรคเกาต์ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนั่งอยู่บนรถเข็น หรือนอนอยู่ในเพิงพัก ตนต้องเดินทางออกไปเก็บของเก่ามาขาย เพื่อหารายได้มาซื้ออาหาร และยาบรรเทาปวดขาให้แก่สามี มีรายได้เพียงวันละ 100 บาท ตนกับสามีจึงมีความลำบากมาก
ด้าน นายพยุง กล่าวว่า ตนกับภรรยาอยากจะขอร้องไปยังเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน โปรดให้ความเห็นใจ และสงสารเราบ้า งอย่าขับไล่เราไปไหนอีกเลย ขอให้จัดสรรพื้นที่ที่เหมาะสมให้ตนกับภรรยาบ้าง เราไม่ต้องการที่ดินมาก ขอแค่มีไว้สำหรับสร้างเพิงพักเอาไว้หลับนอนเท่านั้น เพราะตนทั้งสองก็แก่แล้ว ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน
ทางด้าน นายจำรัส กังน้อย นายอำเภอท่าม่วง เปิดเผยว่า ตนในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมอำเภอท่าม่วง ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า กรมชลประทานขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่เพื่อปรับภูมิทัศน์ใหม่ให้สวยงาม ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นผู้ที่มีฐานะยากจน นอกจากครอบครัวของนายพยุง และนางนงเยาว์ ที่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังมีชาวบ้านอีก 2 ครอบครัวที่เดือดร้อนเช่นกัน
สำหรับพื้นที่ที่ชาวบ้านมาอาศัยอยู่เป็นที่ดินสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน มีประมาณ 1 พันไร่เศษ ซึ่งกรมชลประทานเองอาจจะต้องวิเคราะห์ถึงผลกระทบ และนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ส่วนประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีที่อยู่อาศัย ตรงนี้กรมชลประทาน ควรจะต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือชาวบ้านตามหลักมนุษยธรรมด้วย
ส่วนตนในฐานะนายอำเภอ ก็จะหาทางช่วยเหลือชาวบ้านอีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 มี.ค.นี้ ได้มีการนัดหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ชลประทานที่ 13 ที่รับผิดชอบพื้นที่ และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ร่วมประชุมหารือช่วยเหลือชาวบ้านตามหลักของข้อกฎหมายต่อไป
เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (19 มี.ค.) นายจำรัส กังน้อย นายอำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรม อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ได้เดินทางไปเยี่ยม นายพยุง ทับทิมศรี อายุ 61 ปี และนางนงเยาว์ ทับทิมศรี อายุ 55 ปี สองสามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 1071/26 หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ที่พักอาศัยอยู่บริเวณริมถนนลูกรังเลียบแม่น้ำแม่กลอง หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง ในสภาพที่อนาถาด้วยการนำเอาผ้าใบสภาพเก่ามามุงเป็นหลังคาเพื่อหลบแดดและฝน และใช้สำหรับเป็นที่อาศัยหลับนอน ส่วนฝาบ้านได้นำป้ายโฆษณาที่ทำด้วยไม้อัดมาแปะเอาไว้ โดยทั้ง 2 คน อยู่อย่างอนาถาเป็นอย่างมาก
จากการสอบถามความเป็นมาของทั้ง 2 คน นางนงเยาว์ กล่าวว่า เดิมทีตนมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่ในพื้นที่หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มาภายหลังญาติของตนคนหนึ่งได้นำที่ดินไปจำนองจนถูกยึดเพราะไม่มีเงินจ่ายคืน ตนกับสามีจึงต้องพากันไปอาศัยหลับนอนตามสถานที่ต่างๆ เช่น ใต้สะพาน แต่ก็ถูกไล่ให้ไปอยู่ที่อื่นมาอย่างต่อเนื่อง ไปอาศัยอยู่ที่ไหนก็จะถูกขับไล่อยู่ตลอด
ต่อมา เพื่อนบ้านเกิดความสงสารตนกับสามี จึงได้ช่วยกันระดมเงินมาซื้อเสาบ้านและสังกะสีให้ตนนำมาปลูกเป็นบ้านพักริมถนนซึ่งเป็นที่สาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน และเมื่อประมาณ 20 วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ชลประทาน ได้มาบอกตนกับสามีว่า ให้ตนรื้อออกจากพื้นที่ เพราะชลประทานจะเข้ามาปรับพื้นที่ข้างถนนตลอดแนว โดยจะให้ผู้รับเหมามารื้อบ้านให้ ส่วนเสาบ้าน และสังกะสีจะมอบให้ใหม่
แต่เมื่อช่างมาถึงก็ได้ทำการรื้อบ้านทั้งหมดโดยไม่บอกกล่าว อีกทั้งยังนำเสาบ้าน และสังกะสีไปทิ้งลงคลองด้วย ตนกับสามีไม่รู้จะทำอย่างไร และไม่รู้จะไปอาศัยอยู่ที่ไหน ตนกับหลานชายจึงไปหาผ้าใบมามุงหลังคา ใช้ท่อนไม้ที่พอหาได้มาเป็นเสาค้ำเอาไว้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยบนถนนตรงนี้
ส่วนนายพยุง สามีก็ป่วยเป็นโรคเกาต์ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนั่งอยู่บนรถเข็น หรือนอนอยู่ในเพิงพัก ตนต้องเดินทางออกไปเก็บของเก่ามาขาย เพื่อหารายได้มาซื้ออาหาร และยาบรรเทาปวดขาให้แก่สามี มีรายได้เพียงวันละ 100 บาท ตนกับสามีจึงมีความลำบากมาก
ด้าน นายพยุง กล่าวว่า ตนกับภรรยาอยากจะขอร้องไปยังเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน โปรดให้ความเห็นใจ และสงสารเราบ้า งอย่าขับไล่เราไปไหนอีกเลย ขอให้จัดสรรพื้นที่ที่เหมาะสมให้ตนกับภรรยาบ้าง เราไม่ต้องการที่ดินมาก ขอแค่มีไว้สำหรับสร้างเพิงพักเอาไว้หลับนอนเท่านั้น เพราะตนทั้งสองก็แก่แล้ว ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน
ทางด้าน นายจำรัส กังน้อย นายอำเภอท่าม่วง เปิดเผยว่า ตนในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมอำเภอท่าม่วง ซึ่งได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่า กรมชลประทานขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่เพื่อปรับภูมิทัศน์ใหม่ให้สวยงาม ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บริเวณนี้เป็นผู้ที่มีฐานะยากจน นอกจากครอบครัวของนายพยุง และนางนงเยาว์ ที่ได้รับผลกระทบแล้ว ยังมีชาวบ้านอีก 2 ครอบครัวที่เดือดร้อนเช่นกัน
สำหรับพื้นที่ที่ชาวบ้านมาอาศัยอยู่เป็นที่ดินสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน มีประมาณ 1 พันไร่เศษ ซึ่งกรมชลประทานเองอาจจะต้องวิเคราะห์ถึงผลกระทบ และนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ส่วนประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่มีที่อยู่อาศัย ตรงนี้กรมชลประทาน ควรจะต้องพิจารณาให้ความช่วยเหลือชาวบ้านตามหลักมนุษยธรรมด้วย
ส่วนตนในฐานะนายอำเภอ ก็จะหาทางช่วยเหลือชาวบ้านอีกทางหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 มี.ค.นี้ ได้มีการนัดหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ชลประทานที่ 13 ที่รับผิดชอบพื้นที่ และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ร่วมประชุมหารือช่วยเหลือชาวบ้านตามหลักของข้อกฎหมายต่อไป