ประจวบคีรีขันธ์ - สปสช.จัดประชุมเครือข่ายนักวิจัยนโยบายสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน ถกปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน รมช.สาธารณสุข ระบุภูมิภาคอาเซียนกำลังประสบปัญหาประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไทย ขณะนี้มีประชากรผู้สูงอายุถึง 15% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 25% ภายใน 5 ปี ดังนั้น จะต้องเร่งวางแผนการดูแลผู้สูงอายุ ล่าสุด เตรียมสร้างทีมหมอครอบครัว
วันนี้ (1 ก.พ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติ Dragon Net Symposium 2015 ณ โรงแรมอมารี หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุม มีนักวิจัยนโยบายสุขภาพจากประเทศสมาชิก Dragonnet ในอาเซียน ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง เกาหลีไต้ เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก และนักวิจัยจากประเทศอื่นๆ เข้าร่วมการประชุม
สำหรับเครือข่าย Dragon network เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 โดยได้มีการประชุมร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบาย และติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ
สำหรับขอบเขตงานวิจัยที่เครือข่าย Dragon net ให้ความสำคัญเป็นพิเศษในช่วงเวลานี้ คือ เรื่องการพัฒนาระบบต่างๆ ที่สนับสนุนการดุแลสุขภาพผู้สูงวัย ทั้งนี้ เพราะทุกประเทศต่างตระหนักถึงสถานการณ์ที่มีจำนวนผู้สุงอายุมากขึ้น จึงต้องคิดหาหนทางรองรับทั้งในด้านการจัดการการเงินการคลังเพื่อสุขภาพ และระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในระดับต่างๆ โดยมีการนำรูแปบของหลายๆ ประเทศมาเปรียบเทียบ และพัฒนาให้เหมาะสมแต่ละประเทศ
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะหารือกันใน 2 ประเด็นหลัก คือ เรื่องระบบดูแลผู้สูงอายุ และการบริการฉุกเฉิน โดยเรื่องผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องหลักเพราะทุกประเทศกำลังเจอปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ โดยเฉพาะประเทศไทยเองกำลังเจอปัญหานี้ และถือว่าคนไทยแก่เร็วมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
“ขณะนี้มีประชากรผู้สูงอายุถึง 15% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 25% หรือ 16 ล้านคน ภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 ปี ทำให้จะต้องมีการวางแผนในการดูแลผู้สูงอายุ” นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าว และกล่าวต่อว่า
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม, ติดบ้าน และติดเตียง โดยกลุ่มติดเตียงถือเป็นกลุ่มที่มีความยากในการจัดระบบ เพราะจะต้องดูแลเข้มข้น และมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จะต้องมีการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว หรือ Long term care ซึ่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะจัดทำทีมหมอครอบครัว เข้าไปทำงานกับครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีอาสาสมัคร หรือท้องถิ่นเข้าร่วมกันเพื่อที่ช่วยกันลดภาระของครอบครัว และครอบครัวจะไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ การจัดประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่อำเภอหัวหิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ สปสช.วางแผนว่าจะก่อตั้งศูนย์สาธิตการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น ในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้มาเห็นบรรยากาศของอำเภอหัวหิน เพื่อให้เห็นการจัดการระบบดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง จากนั้นจะเดินทางไปจังหวัดลพบุรีเพื่อลงพื้นที่ดูปัญหาในชนบทด้วย
วันนี้ (1 ก.พ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติ Dragon Net Symposium 2015 ณ โรงแรมอมารี หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุม มีนักวิจัยนโยบายสุขภาพจากประเทศสมาชิก Dragonnet ในอาเซียน ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย ฮ่องกง เกาหลีไต้ เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลก และนักวิจัยจากประเทศอื่นๆ เข้าร่วมการประชุม
สำหรับเครือข่าย Dragon network เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 โดยได้มีการประชุมร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการวิจัยเพื่อพัฒนานโยบาย และติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบสุขภาพของแต่ละประเทศ
สำหรับขอบเขตงานวิจัยที่เครือข่าย Dragon net ให้ความสำคัญเป็นพิเศษในช่วงเวลานี้ คือ เรื่องการพัฒนาระบบต่างๆ ที่สนับสนุนการดุแลสุขภาพผู้สูงวัย ทั้งนี้ เพราะทุกประเทศต่างตระหนักถึงสถานการณ์ที่มีจำนวนผู้สุงอายุมากขึ้น จึงต้องคิดหาหนทางรองรับทั้งในด้านการจัดการการเงินการคลังเพื่อสุขภาพ และระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุในระดับต่างๆ โดยมีการนำรูแปบของหลายๆ ประเทศมาเปรียบเทียบ และพัฒนาให้เหมาะสมแต่ละประเทศ
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะหารือกันใน 2 ประเด็นหลัก คือ เรื่องระบบดูแลผู้สูงอายุ และการบริการฉุกเฉิน โดยเรื่องผู้สูงอายุจะเป็นเรื่องหลักเพราะทุกประเทศกำลังเจอปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ โดยเฉพาะประเทศไทยเองกำลังเจอปัญหานี้ และถือว่าคนไทยแก่เร็วมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน
“ขณะนี้มีประชากรผู้สูงอายุถึง 15% และจะเพิ่มขึ้นเป็น 25% หรือ 16 ล้านคน ภายในระยะเวลาไม่ถึง 5 ปี ทำให้จะต้องมีการวางแผนในการดูแลผู้สูงอายุ” นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าว และกล่าวต่อว่า
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุในไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม, ติดบ้าน และติดเตียง โดยกลุ่มติดเตียงถือเป็นกลุ่มที่มีความยากในการจัดระบบ เพราะจะต้องดูแลเข้มข้น และมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จะต้องมีการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว หรือ Long term care ซึ่งประเทศไทยมีนโยบายที่จะจัดทำทีมหมอครอบครัว เข้าไปทำงานกับครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีอาสาสมัคร หรือท้องถิ่นเข้าร่วมกันเพื่อที่ช่วยกันลดภาระของครอบครัว และครอบครัวจะไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ การจัดประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่อำเภอหัวหิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ สปสช.วางแผนว่าจะก่อตั้งศูนย์สาธิตการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น ในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้มาเห็นบรรยากาศของอำเภอหัวหิน เพื่อให้เห็นการจัดการระบบดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง จากนั้นจะเดินทางไปจังหวัดลพบุรีเพื่อลงพื้นที่ดูปัญหาในชนบทด้วย