กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพสุดงง สช. ตั้งเขตสุขภาพซ้ำซ้อนกับ สธ. และ สปสช. ชี้ไม่มีบทบาท ตั้งคำถามมตินำไปใช้กับใคร ชี้สิ้นเปลืองทั้งคน เวลา และงบประมาณ
วันนี้ (7 ม.ค.) น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงการยื่นคัดหนังสือคัดค้านสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นผู้ดำเนินการจัดเขตสุขภาพ ว่า ปัจจุบันมีเขตสุขภาพที่ดำเนินการการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่ สช. จะต้องตั้งเขตสุขภาพอีก เพราะโครงสร้างการทำงานไม่ได้แตกต่าง มีเพียงสัดส่วนคณะกรรมการที่อาจจะมีความหลากหลายมากขึ้น แต่การทำงานไม่มีอะไรเปลี่ยน จึงไม่ทราบว่าจะทำขึ้นมาทำไมให้ซ้ำซ้อนกับของเดิม ทั้งยังไม่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน จึงเห็นว่าต้องคัดค้าน แม้จะเป็นนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำเนินการ แต่ก็สามารถพิจารณาได้ว่าควรหรือไม่ควรทำ
“ผลกระทบที่ตามมาคือสิ้นเปลืองทั้งกำลังคน เวลา และงบประมาณ การตั้งกรรมการก็คงจะซ้อนกันไปมา มีการประชุมหลายครั้งซ้ำซ้อน และยังไม่รู้ว่าจะส่งผลกระทบกับการบริหารงานระบบสุขภาพหรือไม่ และที่บอกว่ามุ่งไปที่เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมนั้นทำได้แค่ไหน เพราะตอนนี้ขนาดพูดเรื่องการรวมกองทุน เรื่องการบริหารหลักประกันสุขภาพเป็นระบบเดียว แต่กลับไม่มีคณะกรรมการ สช.คนไหนเข้าใจและออกมาสนับสนุนเรื่องนี้เลย ดังนั้น สช. เข้าใจหรือไม่ว่าความหมายของการการลดความเหลื่อมล้ำหมายความว่าอย่างไร” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวและว่า เขตสุขภาพของ สช. จะมาทำอะไร เวลามีมติอะไรออกมาจะส่งผลกับใคร และใครนำไปใช้ได้ ถ้าตั้งขึ้นมาไม่มีอำนาจการบริหารจัดการจะตั้งมาทำไม เพราะก็เหมือนกับการตั้งสมัชชาสุขภาพระดับเขต ซึ่งเป็นงานหลักของ สช. อยู่แล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ให้เขตสุขภาพเดิมจัดรับฟังความเห็นในรูปแบบสมัชชาแห่งชาติเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำเขตขึ้นมาใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ม.ค.) น.ส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวถึงการยื่นคัดหนังสือคัดค้านสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นผู้ดำเนินการจัดเขตสุขภาพ ว่า ปัจจุบันมีเขตสุขภาพที่ดำเนินการการโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่ สช. จะต้องตั้งเขตสุขภาพอีก เพราะโครงสร้างการทำงานไม่ได้แตกต่าง มีเพียงสัดส่วนคณะกรรมการที่อาจจะมีความหลากหลายมากขึ้น แต่การทำงานไม่มีอะไรเปลี่ยน จึงไม่ทราบว่าจะทำขึ้นมาทำไมให้ซ้ำซ้อนกับของเดิม ทั้งยังไม่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน จึงเห็นว่าต้องคัดค้าน แม้จะเป็นนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ดำเนินการ แต่ก็สามารถพิจารณาได้ว่าควรหรือไม่ควรทำ
“ผลกระทบที่ตามมาคือสิ้นเปลืองทั้งกำลังคน เวลา และงบประมาณ การตั้งกรรมการก็คงจะซ้อนกันไปมา มีการประชุมหลายครั้งซ้ำซ้อน และยังไม่รู้ว่าจะส่งผลกระทบกับการบริหารงานระบบสุขภาพหรือไม่ และที่บอกว่ามุ่งไปที่เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมนั้นทำได้แค่ไหน เพราะตอนนี้ขนาดพูดเรื่องการรวมกองทุน เรื่องการบริหารหลักประกันสุขภาพเป็นระบบเดียว แต่กลับไม่มีคณะกรรมการ สช.คนไหนเข้าใจและออกมาสนับสนุนเรื่องนี้เลย ดังนั้น สช. เข้าใจหรือไม่ว่าความหมายของการการลดความเหลื่อมล้ำหมายความว่าอย่างไร” น.ส.สุรีรัตน์ กล่าวและว่า เขตสุขภาพของ สช. จะมาทำอะไร เวลามีมติอะไรออกมาจะส่งผลกับใคร และใครนำไปใช้ได้ ถ้าตั้งขึ้นมาไม่มีอำนาจการบริหารจัดการจะตั้งมาทำไม เพราะก็เหมือนกับการตั้งสมัชชาสุขภาพระดับเขต ซึ่งเป็นงานหลักของ สช. อยู่แล้ว ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ให้เขตสุขภาพเดิมจัดรับฟังความเห็นในรูปแบบสมัชชาแห่งชาติเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำเขตขึ้นมาใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่