ประจวบคีรีขันธ์ - กระทิงเพศผู้ที่ถูกยิงยาสลบตายแล้ว ทีมสำรวจสุขภาพสัตว์พบมีอาการโรคปากเท้าเปื่อย ล่าสุด ทีมสัตวแพทย์ผ่าพิสูจน์เก็บชิ้นเนื้อ และอวัยวะส่งตรวจสอบในห้องปฏิบัติการดูผลเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนกรมปศุสัตว์เพิ่มมาตรการเข้ม ปูพรมฉีดวัคซีนสัตว์เลี้ยงชาวบ้าน และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ อุทยานยานคุมเข้มเจ้าหน้าที่ และยานพาหนะต้องผ่านการฆ่าเชื้อ
วันนี้ (12 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีกระทิงในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ล้มตายอีกระลอกตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา 2 ตัว นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องลงพื้นที่โครงการ พร้อม ดร.กาญจนา นิตยะ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักอนุรักษ์อนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมทีมสำรวจสุขภาพสัตว์จากทั้งของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ มหาลัยมหิดล องค์การสวนสัตว์ เพื่อติดตามตรวจสอบพฤติกรรม และสุภาพของสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และโครงการพระราชดำริ วางแผนร่วมกับนายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยาน และนายสาธิต ปิ่นกุล หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในครั้งนี้ทีมสำรวจสุขภาพสัตว์ได้เตรียมปืนยิงยาสลบ และเวชภัณฑ์มาพร้อม และสิ่งสำคัญคือการเก็บตัวอย่างเลือดจากกระทิง ที่มีอาการเจ็บป่วย หรือสุขภาพไม่สมบูรณ์ รวมถึงฝูงกระทิงที่มีอาการไม่ผิดปกติ ทั้งนี้ เพื่อนำเลือดไปตรวจวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต และเพื่อตอบคำถามสาธารณชนให้ได้ แม้ครั้งที่ผ่านมา จะพบการเสียชีวิตของกระทิงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และบางส่วนพบโรคปากเท้าเปื่อยในตัวอย่างที่เก็บไป
ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 พฤษภาค ดร.กาญจนา พร้อมชุดสัตวแพทย์สำรวจสุขภาพสัตว์ ได้ออกติดตามกระทิงในโครงการ จนกระทั่งพบกระทิงที่มีอาการผิดปกติ ทีมงานได้ใช้มาตรการยิงยาสลบกระทิงเพศผู้ อายุประมาณ 10 ปี และเก็บตัวอย่างเลือด พบว่า บริเวณสะโพกมีแผล และหนอน กีบเท้าหลุด หลังจากกระทิงตัวดังกล่าวฟื้น ทางเจ้าหน้าที่อุทยานจึงเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและควบคุมพื้นที่เอาไว้ เพราะทางสัตวแพทย์มีความเห็นว่า กระทิงตัวดังกล่าวน่าจะเสียชีวิตในไม่ช้าด้วยอาการของโรค ล่าสุด วันนี้กระทิงตัวดังกล่าวได้เสียชีวิตลงแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานและเจ้าหน้าที่ทีมสำรวจสุขภาพสัตว์ ระบุว่า เบื้องต้นจากอาการที่ติดตามบ่งบอกได้ว่า น่าจะเกิดจากสาเหตุโรคปากเท้าเปื่อย เนื่องจากลักษณะ และอาการบ่องบอก ดังนั้น ดร.กาญจนา ทีมสัตวแพทย์ และพนักงานสอบสวน สภ.ยางชุม อ.กุยบุรี ได้เข้าไปยังจุดที่กระทิงตัวที่ถูกยิงยาสลบเพื่อผ่าซากเก็บอวัยวะไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุอีกครั้ง แม้เบื้องต้นจะบอกได้ว่าเกิดจากโรคปากเท้าเปื่อยก็ตาม
นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่า หลังจากผ่าซากและเก็บอวัยวะแล้ว จะทำการพ่นยาฆ่าเชื้อและใช้วิธีกลบฝังต่อไป โดยในส่วนของอุทยานและโครงการพระราชดำริ ยังเข้มงวดเรื่องการเข้าออกของเจ้าหน้าที่ และยาพาหนะ ซึ่งต้องผ่านการฆ่าเชื้อทุกคน และทุกคันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะกระทิงตัวที่เสียชีวิต ต้องยอมรับว่ามีอาการหนักตั้งแต่ตรวจพบแล้ว และยังพบว่าในเม็ดเลือดมีพยาธิจำนวนมาก แผลที่สะโพกน่าจะเกิดจากการขวิดกันและมีหนอนมาก เรียกว่าเดินแทบไม่ไหวแล้ว
ทั้งนี้ การผ่าซากในวันนี้ทางทีมสัตวแพทย์ทั้งหมดเห็นว่า เป็นซากที่ดีที่สุดนับตั้งแต่การพบกระทิงเสียชีวิต ซึ่งเมื่อนำเลือด อวัยวะ และชิ้นส่วนต่างๆ ไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการนั้น ช่วงนี้ก็ต้องเฝ้าระวังกระทิงฝูงใหญ่ต่อไป
ด้านนายสาโรจน์ จันทร์ลาด สัตวแพทย์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า หลังจากพบอาการของโรคปากเท้าเปื่อย ทางปศุสัตว์มีมาตรการในส่วนสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน ที่ต้องฉีดวัคซีน ทั้งวัว แกะ แพะที่อยู่รอบอุทยาน และทุกอำเภอ รวมทั้งเฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสัตว์ เพราะโรคปากเท้าเปื่อยที่เข้าไปติดกระทิงนั้น ยังไม่แน่ใจว่ามาจากไหน แต่นับจากนี้รถยนต์และบุคคลภายนอกคงต้องห้ามเข้าไปในเขตอุทยาน และโครงการพระราชดำริ
วันนี้ (12 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีกระทิงในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ล้มตายอีกระลอกตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา 2 ตัว นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องลงพื้นที่โครงการ พร้อม ดร.กาญจนา นิตยะ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักอนุรักษ์อนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมทีมสำรวจสุขภาพสัตว์จากทั้งของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ มหาลัยมหิดล องค์การสวนสัตว์ เพื่อติดตามตรวจสอบพฤติกรรม และสุภาพของสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และโครงการพระราชดำริ วางแผนร่วมกับนายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยาน และนายสาธิต ปิ่นกุล หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในครั้งนี้ทีมสำรวจสุขภาพสัตว์ได้เตรียมปืนยิงยาสลบ และเวชภัณฑ์มาพร้อม และสิ่งสำคัญคือการเก็บตัวอย่างเลือดจากกระทิง ที่มีอาการเจ็บป่วย หรือสุขภาพไม่สมบูรณ์ รวมถึงฝูงกระทิงที่มีอาการไม่ผิดปกติ ทั้งนี้ เพื่อนำเลือดไปตรวจวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต และเพื่อตอบคำถามสาธารณชนให้ได้ แม้ครั้งที่ผ่านมา จะพบการเสียชีวิตของกระทิงเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และบางส่วนพบโรคปากเท้าเปื่อยในตัวอย่างที่เก็บไป
ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 พฤษภาค ดร.กาญจนา พร้อมชุดสัตวแพทย์สำรวจสุขภาพสัตว์ ได้ออกติดตามกระทิงในโครงการ จนกระทั่งพบกระทิงที่มีอาการผิดปกติ ทีมงานได้ใช้มาตรการยิงยาสลบกระทิงเพศผู้ อายุประมาณ 10 ปี และเก็บตัวอย่างเลือด พบว่า บริเวณสะโพกมีแผล และหนอน กีบเท้าหลุด หลังจากกระทิงตัวดังกล่าวฟื้น ทางเจ้าหน้าที่อุทยานจึงเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและควบคุมพื้นที่เอาไว้ เพราะทางสัตวแพทย์มีความเห็นว่า กระทิงตัวดังกล่าวน่าจะเสียชีวิตในไม่ช้าด้วยอาการของโรค ล่าสุด วันนี้กระทิงตัวดังกล่าวได้เสียชีวิตลงแล้ว
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานและเจ้าหน้าที่ทีมสำรวจสุขภาพสัตว์ ระบุว่า เบื้องต้นจากอาการที่ติดตามบ่งบอกได้ว่า น่าจะเกิดจากสาเหตุโรคปากเท้าเปื่อย เนื่องจากลักษณะ และอาการบ่องบอก ดังนั้น ดร.กาญจนา ทีมสัตวแพทย์ และพนักงานสอบสวน สภ.ยางชุม อ.กุยบุรี ได้เข้าไปยังจุดที่กระทิงตัวที่ถูกยิงยาสลบเพื่อผ่าซากเก็บอวัยวะไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุอีกครั้ง แม้เบื้องต้นจะบอกได้ว่าเกิดจากโรคปากเท้าเปื่อยก็ตาม
นายประวัติศาสตร์ จันทร์เทพ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่า หลังจากผ่าซากและเก็บอวัยวะแล้ว จะทำการพ่นยาฆ่าเชื้อและใช้วิธีกลบฝังต่อไป โดยในส่วนของอุทยานและโครงการพระราชดำริ ยังเข้มงวดเรื่องการเข้าออกของเจ้าหน้าที่ และยาพาหนะ ซึ่งต้องผ่านการฆ่าเชื้อทุกคน และทุกคันอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะกระทิงตัวที่เสียชีวิต ต้องยอมรับว่ามีอาการหนักตั้งแต่ตรวจพบแล้ว และยังพบว่าในเม็ดเลือดมีพยาธิจำนวนมาก แผลที่สะโพกน่าจะเกิดจากการขวิดกันและมีหนอนมาก เรียกว่าเดินแทบไม่ไหวแล้ว
ทั้งนี้ การผ่าซากในวันนี้ทางทีมสัตวแพทย์ทั้งหมดเห็นว่า เป็นซากที่ดีที่สุดนับตั้งแต่การพบกระทิงเสียชีวิต ซึ่งเมื่อนำเลือด อวัยวะ และชิ้นส่วนต่างๆ ไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการนั้น ช่วงนี้ก็ต้องเฝ้าระวังกระทิงฝูงใหญ่ต่อไป
ด้านนายสาโรจน์ จันทร์ลาด สัตวแพทย์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า หลังจากพบอาการของโรคปากเท้าเปื่อย ทางปศุสัตว์มีมาตรการในส่วนสัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน ที่ต้องฉีดวัคซีน ทั้งวัว แกะ แพะที่อยู่รอบอุทยาน และทุกอำเภอ รวมทั้งเฝ้าระวังการเคลื่อนย้ายสัตว์ เพราะโรคปากเท้าเปื่อยที่เข้าไปติดกระทิงนั้น ยังไม่แน่ใจว่ามาจากไหน แต่นับจากนี้รถยนต์และบุคคลภายนอกคงต้องห้ามเข้าไปในเขตอุทยาน และโครงการพระราชดำริ