จันทบุรี - ที่ปรึกษาฯ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมคณะลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน หลังได้รับร้องเรียนมีการตัดไม้ และปรับพื้นที่รุกล้ำเข้าไปในเขต พื้นที่อนุรักษ์ฯ
วันนี้ (13 มี.ค.) เวลา 09.00 น. ที่อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกชัย ปริญโญกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี พร้อมคณะผู้บริหาร นายสิริศักดิ์ ศิริมังคลา นายอำเภอเขาคิชฌกูฏ และนายกิตติศักดิ์ รัตนดาดาษ รองหัวหน้าอุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ
ร่วมให้การต้อนรับ นายธงชัย สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ที่ปรึกษาประสานงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมคณะ เนื่องในโอกาสที่ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานบริหารจัดการพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หลังได้รับร้องเรียนว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการเข้าไปตัดไม้ และปรับพื้นที่รุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่อนุรักษ์ฯ โดยได้เปิดโอกาสให้ทางคณะผู้บริหารได้ชี้แจงผลการดำเนินงาน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการถูกร้องเรียน พร้อมกันนี้ ทางคณะผู้บริหารได้นำที่ปรึกษาฯ โครงการอนุรักษ์ฯ และคณะสื่อมวลชน เดินทางตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดการพิพาท และถูกร้องเรียนพบว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการปรับพื้นที่จำนวน 4 ไร่ เพื่อปลูกพืช และไม้ผลเศรษฐกิจอย่างทุเรียนจริง
นายกิตติศักดิ์ รัตนดาดาษ รองหัวหน้าอุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบค่าพิกัดบริเวณพื้นที่ที่มีการตัดไม้ และปรับพื้นที่ด้วยเครื่อง GPS และถ่ายทอดลงในแผนที่ด้วยโปรแกรม DSIMAP เพื่อเปรียบเทียบพบว่า การปรับพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ส่วนไม้ที่ได้มีการตัดในพื้นที่เป็นเพียงไม้กระกินเทพา ไม่ใช่ไม้พะยูง หรือไม้กฤษณา ตามที่ถูกร้องเรียน
ด้านนายธงชัย สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ที่ปรึกษาประสานงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดเผยหลังการลงพื้นที่ตรวจสอบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนา ปรับปรุงขอบเขตการดูแลพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ จำนวน 470 ไร่ ให้มีความชัดเจน โดยมอบหมายให้นายอำเภอ เป็นประธานร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ในการดูแลพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง และไม่ชัดเจน จึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมีหน้าที่โดยตรง เพื่อเพิ่มความกระจ่างในข้อสงสัยต่างๆ
ส่วนไม้กระถินเทพา ที่เจริญเติบโตรุกล้ำพื้นที่ข้างเคียงโครงการอนุรักษ์ฯ ให้ทางวิทยาลัยดำเนินการขอพระราชทานอนุญาตดำเนินการให้ถูกต้อง ส่วนการปรับพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์ ต้องให้สอดคล้องกับพื้นที่ข้างเคียง และไม่ส่งผลกระทบระหว่างชาวบ้านกับมหาวิทยาลัยฯ ส่วนผลการลงพื้นที่ตรวจสอบในครั้งนี้ ไม่พบการตัดไม้ และบุกรุกป่า ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริแต่อย่างใด
วันนี้ (13 มี.ค.) เวลา 09.00 น. ที่อาคารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกชัย ปริญโญกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี พร้อมคณะผู้บริหาร นายสิริศักดิ์ ศิริมังคลา นายอำเภอเขาคิชฌกูฏ และนายกิตติศักดิ์ รัตนดาดาษ รองหัวหน้าอุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ
ร่วมให้การต้อนรับ นายธงชัย สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ที่ปรึกษาประสานงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมคณะ เนื่องในโอกาสที่ได้เดินทางมาติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานบริหารจัดการพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
หลังได้รับร้องเรียนว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการเข้าไปตัดไม้ และปรับพื้นที่รุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่อนุรักษ์ฯ โดยได้เปิดโอกาสให้ทางคณะผู้บริหารได้ชี้แจงผลการดำเนินงาน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการถูกร้องเรียน พร้อมกันนี้ ทางคณะผู้บริหารได้นำที่ปรึกษาฯ โครงการอนุรักษ์ฯ และคณะสื่อมวลชน เดินทางตรวจสอบพื้นที่ที่เกิดการพิพาท และถูกร้องเรียนพบว่า ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการปรับพื้นที่จำนวน 4 ไร่ เพื่อปลูกพืช และไม้ผลเศรษฐกิจอย่างทุเรียนจริง
นายกิตติศักดิ์ รัตนดาดาษ รองหัวหน้าอุทยานแห่งชาติคิชฌกูฏ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบค่าพิกัดบริเวณพื้นที่ที่มีการตัดไม้ และปรับพื้นที่ด้วยเครื่อง GPS และถ่ายทอดลงในแผนที่ด้วยโปรแกรม DSIMAP เพื่อเปรียบเทียบพบว่า การปรับพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ส่วนไม้ที่ได้มีการตัดในพื้นที่เป็นเพียงไม้กระกินเทพา ไม่ใช่ไม้พะยูง หรือไม้กฤษณา ตามที่ถูกร้องเรียน
ด้านนายธงชัย สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ที่ปรึกษาประสานงานด้านสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดเผยหลังการลงพื้นที่ตรวจสอบว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนา ปรับปรุงขอบเขตการดูแลพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ จำนวน 470 ไร่ ให้มีความชัดเจน โดยมอบหมายให้นายอำเภอ เป็นประธานร่วมกับทางมหาวิทยาลัย ในการดูแลพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง และไม่ชัดเจน จึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมีหน้าที่โดยตรง เพื่อเพิ่มความกระจ่างในข้อสงสัยต่างๆ
ส่วนไม้กระถินเทพา ที่เจริญเติบโตรุกล้ำพื้นที่ข้างเคียงโครงการอนุรักษ์ฯ ให้ทางวิทยาลัยดำเนินการขอพระราชทานอนุญาตดำเนินการให้ถูกต้อง ส่วนการปรับพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์ ต้องให้สอดคล้องกับพื้นที่ข้างเคียง และไม่ส่งผลกระทบระหว่างชาวบ้านกับมหาวิทยาลัยฯ ส่วนผลการลงพื้นที่ตรวจสอบในครั้งนี้ ไม่พบการตัดไม้ และบุกรุกป่า ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริแต่อย่างใด