เชียงราย - ศาลออกหมายจับ “สลักจฤฎดิ์” นายก อบจ.เชียงราย เมีย “ยุงยุทธ ติยะไพรัช” ฐานไม่เข้าฟังคำสั่งศาลฎีกาคดีแจ้งความเท็จ หลังเลื่อนมาแล้ว 2 รอบ สั่งให้นำตัวเข้าฟังคำสั่งศาล 12 มี.ค.นี้
วันนี้ (5 ก.พ.) ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 14 ศาลจังหวัดเชียงราย นายมหันศ์โชค แฉล้มเขตต์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้ขึ้นบัลลังก์เพื่อพิจารณาตามคำสั่งศาลฎีกาต่อกรณีคดีหมายเลขดำที่ 2318/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 1131/2549 ในชั้นศาลฎีกาคดีแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา และกระทำการอันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114
โดยโจทย์ คือ นางรัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เชียงราย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์นายกเทศมนตรีนครเชียงราย และจำเลย คือ นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช นายกอบจ.เชียงราย ภรรยานายยงยุทธ ติยะไพรัช นักการเมืองใหญ่ของเชียงราย อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนถึงเวลานัดฟังคำพิพากษา ทนายฝ่ายจำเลยได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ยื่นต่อศาลฎีกา ขอสืบพยานเพิ่มเติมในคดีดังกล่าว โดยให้นำไปสืบในชั้นศาลชั้นต้น ทำให้ทางศาลจังหวัดเชียงราย ได้ยื่นเรื่องไปยังองค์คณะของศาลฎีกา ส่งผลทำให้การพิจารณาช้ากว่าเวลานัดหมายช่วงประมาณ 10.00 น.ไปประมาณ 1 ชั่วโมง ท่ามกลางการลุ้นระลึกของผู้สนับสนุน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในขั้วของนางสลักจฤฎดิ์ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผบช.น. ก็เดินทางมาฟังคำพิพากษาเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา
จากนั้นศาลได้สอบถามหาตัวโจทย์และจำเลย ปรากฏว่าทนายฝ่ายโจทย์แจ้งว่า โจทย์ให้ทนายความมารับฟังแทน และเมื่อสอบถามถึงฝ่ายจำเลย ปรากฏว่านางสลักจฤฏดิ์ไม่ได้เดินทางมารับฟังคำสั่งศาลฎีกาแต่อย่างใด ศาลจึงให้ทนายความโทรศัพท์ไปแจ้งให้มารับคำสั่งตามคำร้องดังกล่าว ปรากฏว่า ทนายแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อได้ ทำให้ศาจังหวัดเชียงราย อ่านคำสั่งกรณีคำร้องของจำเลย
โดยมีเนื้อหาว่าศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาต่อคดีดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องส่งคำร้องสนับสนุนคดีดังกล่าวอีก และไม่จำเป็นต้องส่งคดีให้ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะส่งคำร้องในชั้นศาลฎีกา และไม่อนุญาตให้มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาในคดี จึงยกคำร้องของฝ่ายจำเลยดังกล่าว
ส่วนกรณีที่จำเลยไม่เดินทางมาฟังคำสั่งศาลนั้น เห็นว่าจำเลยได้รับทราบการนัดหมายจากศาลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงให้มีการออกหมายจับจำเลย เพื่อนำตัวไปรับฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา วันที่ 12 มีนาคม เวลา 09.00 น.
หลังจากศาลอ่านคำสั่งดังกล่าวแล้ว ฝ่ายทนายนางสลักจฤฏดิ์ ได้พยายามเข้าไปชี้แจงต่อศาลนานหลายนาที ซึ่งศาลได้พยายามอธิบายว่า ศาลได้มีการพิจารณาจากคำร้องต่างๆไปหมดแล้ว และกรณีทนายแสดงความเห็น เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัว แต่หากอยากชี้แจงใดๆ ก็ให้ยื่นคำร้องใหม่เข้าไปยังศาลได้ต่อไป
สำหรับคดีดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงการเลือกตั้งนายกอบจ.เชียงราย ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทย ยังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีการประกาศตัวนางสลักจฤฎดิ เป็นผู้สมัคร ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้นคู่แข่งสำคัญ คือ นางรัตนา และนางสลักจฤฎดิ์ ซึ่งเป็นภรรยาของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ขณะยังเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วย
แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นางรัตนาชนะการเลือกตั้ง แต่ก็มีการร้องเรียนและฟ้องร้องกันหลายคดี กระทั่งในการเลือกตั้งใหม่ปี 2551 นางรัตนาก็ชนะการเลือกตั้งอีก ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2555 นางสลักจฤฏดิ์ชนะการเลือกตั้ง
แต่คดีเดิมที่เกิดจากการร้องเรียนกันเรื่องการแจกสิ่งของ เพื่อหวังผลการเลือกตั้งในช่วงการเลือกตั้งนายกอบจ.ปี 2547 มีการพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เรื่อยมา กระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อปี 2549 ให้จำคุกนางสลักจฤฎดิ์เป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนโดยไม่รอลงอาญา โทษปรับ 75,000 บาท รวมทั้งให้เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี แต่มีการยื่นประกันตัวออกมาสู้คดีกระทั่งศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง และกระบวนการมาถึงการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา
แต่ที่ผ่านมาจำเลย(นางสลักจฤฎดิ์) ได้ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 โดยระบุว่าปวดศีรษะ และวันที่ 2 สิงหาคม 256 ได้ยื่นให้ตีความอำนาจการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้น
วันนี้ (5 ก.พ.) ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 14 ศาลจังหวัดเชียงราย นายมหันศ์โชค แฉล้มเขตต์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย ได้ขึ้นบัลลังก์เพื่อพิจารณาตามคำสั่งศาลฎีกาต่อกรณีคดีหมายเลขดำที่ 2318/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 1131/2549 ในชั้นศาลฎีกาคดีแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา และกระทำการอันเป็นเท็จตาม พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114
โดยโจทย์ คือ นางรัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เชียงราย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากิตติมาศักดิ์นายกเทศมนตรีนครเชียงราย และจำเลย คือ นางสลักจฤฏดิ์ ติยะไพรัช นายกอบจ.เชียงราย ภรรยานายยงยุทธ ติยะไพรัช นักการเมืองใหญ่ของเชียงราย อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
ก่อนถึงเวลานัดฟังคำพิพากษา ทนายฝ่ายจำเลยได้ยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้ยื่นต่อศาลฎีกา ขอสืบพยานเพิ่มเติมในคดีดังกล่าว โดยให้นำไปสืบในชั้นศาลชั้นต้น ทำให้ทางศาลจังหวัดเชียงราย ได้ยื่นเรื่องไปยังองค์คณะของศาลฎีกา ส่งผลทำให้การพิจารณาช้ากว่าเวลานัดหมายช่วงประมาณ 10.00 น.ไปประมาณ 1 ชั่วโมง ท่ามกลางการลุ้นระลึกของผู้สนับสนุน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในขั้วของนางสลักจฤฎดิ์ รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผบช.น. ก็เดินทางมาฟังคำพิพากษาเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา
จากนั้นศาลได้สอบถามหาตัวโจทย์และจำเลย ปรากฏว่าทนายฝ่ายโจทย์แจ้งว่า โจทย์ให้ทนายความมารับฟังแทน และเมื่อสอบถามถึงฝ่ายจำเลย ปรากฏว่านางสลักจฤฏดิ์ไม่ได้เดินทางมารับฟังคำสั่งศาลฎีกาแต่อย่างใด ศาลจึงให้ทนายความโทรศัพท์ไปแจ้งให้มารับคำสั่งตามคำร้องดังกล่าว ปรากฏว่า ทนายแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อได้ ทำให้ศาจังหวัดเชียงราย อ่านคำสั่งกรณีคำร้องของจำเลย
โดยมีเนื้อหาว่าศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาต่อคดีดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องส่งคำร้องสนับสนุนคดีดังกล่าวอีก และไม่จำเป็นต้องส่งคดีให้ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุอันควรที่จะส่งคำร้องในชั้นศาลฎีกา และไม่อนุญาตให้มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาในคดี จึงยกคำร้องของฝ่ายจำเลยดังกล่าว
ส่วนกรณีที่จำเลยไม่เดินทางมาฟังคำสั่งศาลนั้น เห็นว่าจำเลยได้รับทราบการนัดหมายจากศาลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงให้มีการออกหมายจับจำเลย เพื่อนำตัวไปรับฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา วันที่ 12 มีนาคม เวลา 09.00 น.
หลังจากศาลอ่านคำสั่งดังกล่าวแล้ว ฝ่ายทนายนางสลักจฤฏดิ์ ได้พยายามเข้าไปชี้แจงต่อศาลนานหลายนาที ซึ่งศาลได้พยายามอธิบายว่า ศาลได้มีการพิจารณาจากคำร้องต่างๆไปหมดแล้ว และกรณีทนายแสดงความเห็น เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัว แต่หากอยากชี้แจงใดๆ ก็ให้ยื่นคำร้องใหม่เข้าไปยังศาลได้ต่อไป
สำหรับคดีดังกล่าวเกิดขึ้นช่วงการเลือกตั้งนายกอบจ.เชียงราย ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคไทยรักไทย ยังเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล มีการประกาศตัวนางสลักจฤฎดิ เป็นผู้สมัคร ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนั้นคู่แข่งสำคัญ คือ นางรัตนา และนางสลักจฤฎดิ์ ซึ่งเป็นภรรยาของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ขณะยังเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วย
แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นางรัตนาชนะการเลือกตั้ง แต่ก็มีการร้องเรียนและฟ้องร้องกันหลายคดี กระทั่งในการเลือกตั้งใหม่ปี 2551 นางรัตนาก็ชนะการเลือกตั้งอีก ต่อมาในการเลือกตั้งปี 2555 นางสลักจฤฏดิ์ชนะการเลือกตั้ง
แต่คดีเดิมที่เกิดจากการร้องเรียนกันเรื่องการแจกสิ่งของ เพื่อหวังผลการเลือกตั้งในช่วงการเลือกตั้งนายกอบจ.ปี 2547 มีการพิพากษาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เรื่อยมา กระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อปี 2549 ให้จำคุกนางสลักจฤฎดิ์เป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนโดยไม่รอลงอาญา โทษปรับ 75,000 บาท รวมทั้งให้เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี แต่มีการยื่นประกันตัวออกมาสู้คดีกระทั่งศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง และกระบวนการมาถึงการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา
แต่ที่ผ่านมาจำเลย(นางสลักจฤฎดิ์) ได้ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 โดยระบุว่าปวดศีรษะ และวันที่ 2 สิงหาคม 256 ได้ยื่นให้ตีความอำนาจการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยศาลชั้นต้น