xs
xsm
sm
md
lg

อบจ.ระยอง เปิดรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านเชิงเนิน รองรับโครงการก่อสร้างโรงฟ้าถ่านหิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - อบจ.ระยอง รับฟังความคิดเห็นชาวบ้านเชิงเนิน เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ และรองรับการเจริญเติบโต

วันนี้ (20 พ.ย.) ที่โรงเรียนหนอกจาก ต.เชิงเนิน อ.เมือง จังหวัดระยอง นายกิตติ เกียรติมนตรี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (อบจ.) เป็นประธานเปิดรับความคิดเห็นของชาวบ้าน หลังจังหวัดระยอง ต้องการมีพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโต นอกจากนั้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจหากมีกระแสไฟฟ้าอย่างเพียงพอต่อนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในจังหวัดระยองในปัจจุบัน และในอนาคต

การดำเนินการครั้งนี้ ทาง อบจ.ระยอง ได้ว่าจ้างให้มูลนิธิจิตอาสาในงบประมาณ จำนวน 10 ล้านบาท ในการออกแบบสอบถามความคิดเห็นประชาชน และรูปแบบของโรงไฟฟ้ารูปแบบไหนเหมาะสมในพื้นที่ และจะดำเนินการก่อสร้างบริเวณไหน โดยทางมูลนิธิฯ จะเป็นผู้ดำเนินการดังกล่าวทั้งหมด

นายกิตติ กล่าวต่อว่า ในครั้งนี้ยังไม่มีการดำเนินการในขั้นตอนอื่นแต่อย่างใด โดยเพียงเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้นำชุมชนในพื้นที่ที่จะมีการก่อสร้างโรงฟ้าในรัศมี 5 กิโลเมตรเท่านั้น เช่น พื้นที่ตำบลเชิงเนิน, ตำบลตะพง, ตำบลบ้านแลง และเทศบาลนครบางส่วน หลังจากนั้นจะทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเสนอให้ อบจ. เพื่อดำเนินการพิจารณาต่อไป

ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้ดำเนินการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนใน 3 พื้นที่ เช่น พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, พื้นที่นอกนิคมอุตสาหกรรม (หนองแฟบ-บ้านฉาง) และ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของนครระยอง (ตำบลเชิงเนิน) เนื่องจากพื้นที่ทั้ง 3 จุดมีความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพราะต้องอยู่ใกล้ท่าเรือน้ำลึก ต้องติดทะเล และอยู่ในพื้นที่สีม่วง ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการสอบถามไปแล้ว 2 จุด และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของนครระยอง (ตำบลเชิงเนิน) ที่กำลังดำเนินการอยู่ในนี้ โดยยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพื้นที่บริเวณไหนเหมาะสม โดยจะต้องทำการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนให้ครบก่อนเพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

ด้านนายอภิเชษฐ์ ปานุรัตน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมของมูลนิธิจิตอาสา กล่าวว่า สำหรับความรับผิดชอบของมูลนิธิฯ นั้น ทางมูลนิธิฯ เพียงผู้มาสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเท่านั้น นอกจากนั้น ยังให้ข้อมูลว่าโรงฟ้าถ่านหินประเภทไหนดีที่สุด และใช้เทคโนโลยีชนิดไหนเหมาะที่สุด ประชาชนในพื้นที่จะได้การชดเชยและการดูแลอย่างไร ส่วนใครจะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้นยังไม่สามารถทราบได้

นายสุกิจ ชินนิยมพาณิชย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลเชิงเนิน กล่าวว่า จากข้อมูลที่รับทราบมาจาก 3 พื้นที่ ทราบว่าพื้นที่ตำบลเชิงเนินเหมาะสมที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล ใกล้ท่าเรือน้ำลึกของ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) นอกจากนั้น ไม่อยู่ในพื้นที่เขตควบคุมพิเศษ ซึ่งอาจจะลงทุนก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมในพื้นที่ดังกล่าวจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ดังนั้น พื้นที่ตำบลเชิงเนิน จึงมีความเหมาะสมที่สุด

ปัญหาความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตจะต้องก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่การจะเข้ามาดำเนินการนั้นจะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน ประชาชนในพื้นที่จะต้องอยู่ดี และมีความสุขควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้า นอกจากนั้น ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงฟ้าจะไม่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านได้รับผลกระทบจากโรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแล้ว และหากเกิดโรงไฟฟ้า และจะมาสร้างปัญหาขึ้นมาอีกชาวบ้านคงรับไม่ได้อย่างแน่นอน

นายสุกิจ กล่าวต่อว่า ในความเป็นจริงชาวบ้านไม่ต้องการจะออกมาคัดค้าน หรือต่อต้านหากไม่มีปัญหาอะไร เพราะทราบดีว่าพลังงานไฟฟ้าจะต้องมีสำรองให้เพียงพอต่อความต้องการ จึงต้องสร้างโรงงานขึ้นมาเพื่อรองรับ แต่จะต้องจริงใจ และจริงจังที่จะไม่สร้างปัญหา หรือผลกระทบอะไรต่อชาวบ้านอีก

ด้านนางสีกัญญา ไชยพินิจ กำนันตำบลเชิงเนิน กล่าวว่า ชาวบ้านไม่มีความมั่นใจต่อโรงงานใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ เพราะที่ผ่านม ามีโรงงานสร้างมลพิษจนชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ยังรับปากที่จะช่วยเหลือให้ชาวบ้านอยู่ดีมีสุข แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น จึงทำให้ชาวบ้านไม่ไว้วางใจ หรือไม่เชื่อถือโรงงานที่จะมาเกิดใหม่ในพื้นที่แล้ว

ขณะนี้มีโรงงานเกิดขึ้นใหม่ในพื้นที่ แต่ไม่แจ้งให้ชาวบ้านรับรู้รับทราบเลยว่าเป็นโรงงานอะไร และทำอะไร ซึ่งในความเป็นจริงต้องชี้แจง และทำความเข้าใจต่อชาวบ้านก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้าง แต่กลับปิดบังชาวบ้าน ยิ่งสร้างความไม่ไว้ใจเพิ่มขึ้น

นางสีกัญญา กล่าวต่อว่า สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งไม่ใช่จะมาเร่งดำเนินการก่อสร้าง ควรศึกษา และทำความเข้าใจต่อชาวบ้านให้มากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาได้เดินทางไปศึกษาข้อมูลโรงไฟฟ้าที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกว่าจะดำเนินการได้ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษา 7 ปี ดังนั้น โรงไฟฟ้าในประเทศไทยควรจะต้องทำการศึกษาให้มากกว่านี้ ถึงจะมาให้ประชาชนรับรู้รับทราบข้อมูล ทั้งๆ ที่ไม่มีความชัดเจนเลย



โรงงานอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ที่ังไม่ชัดเจนว่าเป็นประเภทไหน  หน่วยงานรัฐมนพื้นที่อ้างว่าังไมไ่ดได้มาขออนุญาตกา่รก่อสร้่าง
กำลังโหลดความคิดเห็น