ศูนย์ข่าวศรีราชา - โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ -พัทยา-ระยอง เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพื่อสำรวจเส้นทาง ออกแบบรางให้เสร็จปี 57 ก่อสร้างปี 58 ให้บริการปี 62 ชี้อาจขยายเส้นทางถึงตราด เพื่อปูทางท่องเที่ยวครบวงจรภาคตะวันออก
วันนี้ (30 ต.ค.) ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี นายกนก เข็มนาค ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการศึกษาออกแบบ สำรวจเส้นทาง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อขยายไปยังพื้นที่ชลบุรี-พัทยา-ระยอง หรือไฮสปีดเทรน เปิดเผยภายหลังจากจัดประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 ร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
ว่าโครงการไฮสปีดเทรนสายกรุงเทพฯ -ชลบุรี-พัทยา-ระยอง ได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการไปแล้ว จากนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างการรับรู้ในข้อมูลเหตุผล และความจำเป็นของโครงการ รวมทั้งนำเสนอการศึกษาแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสมจากภาคต่างๆ ต่อด้วยการพิจารณารายละเอียดเรื่องตารางการเดินรถ ราคาค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม ก่อนจะรวบรวมข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
นอกจากนั้น การประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินโครงการ เนื่องจากอาจมีปัญหาในเรื่องของการเวนคืนที่ดินบางส่วน เพื่อความสะดวกในการปรับเส้นทางรางเดินรถเนื่องจากเป็นรถที่มีความเร็วกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงอาจต้องขยายเส้นทางเพื่อให้รถสามารถวิ่งได้เต็มสมรรถนะ จากนั้นก็สรุปแนวทางดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
โดยประมาณการว่า ปลายปี 2557 คงจะสามารถสรุปโครงการได้ ทั้งการออกแบบเส้นทางตลอด 220 กิโลเมตร ระบบรางเดินรถ รวมถึงการระบุสถานีจอดรถซึ่งมีถึง 7 แห่ง และรูปแบบของการก่อสร้าง เนื่องจากบางช่วงอาจจำเป็นต้องมีการจัดทำทางยกระดับคร่อมเส้นทางรางเดิม แทนที่จะวางรางขนานคู่ไป เพราะพื้นที่ของการรถไฟบางส่วน เช่น เมืองพัทยา ทาง ร.ฟ.ท.ได้ให้เมืองพัทยาเช่าพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ เพื่อจัดทำถนน Local Road จึงอาจทำให้การสร้างรางคู่ขนานมีปัญหาในเรื่องพื้นที่ จึงต้องหลีกเลี่ยงไปใช้รูปแบบของการก่อสร้างทางรถไฟลอยฟ้าคร่อมเส้นทางเดิมไป
โดยหลังการสำรวจ ศึกษา และออกแบบแล้วเสร็จ จะเป็นการเปิดประมูลโครงการคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้างโครงการในปี 2558 และจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2562 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า
นายกนก กล่าวว่า เส้นทางนี้จะเริ่มที่สถานีบางซื่อ มายังสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเส้นทางช่วงแรกนี้จะใช้รางร่วมกับรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงก์ จึงจะมีความสามารถในการวิ่งรถได้ที่ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง จะเป็นระบบรางที่ออกแบบตามเกณฑ์มาตรฐานระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่สามารถรองรับรถไฟที่วิ่งได้ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหลังโครงการแล้วเสร็จจะทำให้เพิ่มความสะดวกในการเดินทางเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนภูมิภาคของตะวันออกนั้น ปัจจุบันมีระบบการขนส่ง การคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวกสบาย ทั้งมอร์เตอร์เวย์ และทางด่วนบูรพาวิถี ที่ในอนาคตจะมีการปรับปรุง และขยายเส้นทางมากขึ้น ทำให้การโดยสารรถไฟฟ้าอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจ จึงมีแนวคิดต่อขยายเพิ่มเติมไปยัง จ.ตราด ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อน และกระตุ้นความสนใจในด้านการท่องเที่ยว และการขนส่งอีกด้วย
วันนี้ (30 ต.ค.) ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี นายกนก เข็มนาค ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการศึกษาออกแบบ สำรวจเส้นทาง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อขยายไปยังพื้นที่ชลบุรี-พัทยา-ระยอง หรือไฮสปีดเทรน เปิดเผยภายหลังจากจัดประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 ร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
ว่าโครงการไฮสปีดเทรนสายกรุงเทพฯ -ชลบุรี-พัทยา-ระยอง ได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการไปแล้ว จากนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างการรับรู้ในข้อมูลเหตุผล และความจำเป็นของโครงการ รวมทั้งนำเสนอการศึกษาแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสมจากภาคต่างๆ ต่อด้วยการพิจารณารายละเอียดเรื่องตารางการเดินรถ ราคาค่าโดยสารที่มีความเหมาะสม ก่อนจะรวบรวมข้อเสนอแนะจากที่ประชุมเป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
นอกจากนั้น การประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินโครงการ เนื่องจากอาจมีปัญหาในเรื่องของการเวนคืนที่ดินบางส่วน เพื่อความสะดวกในการปรับเส้นทางรางเดินรถเนื่องจากเป็นรถที่มีความเร็วกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงอาจต้องขยายเส้นทางเพื่อให้รถสามารถวิ่งได้เต็มสมรรถนะ จากนั้นก็สรุปแนวทางดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
โดยประมาณการว่า ปลายปี 2557 คงจะสามารถสรุปโครงการได้ ทั้งการออกแบบเส้นทางตลอด 220 กิโลเมตร ระบบรางเดินรถ รวมถึงการระบุสถานีจอดรถซึ่งมีถึง 7 แห่ง และรูปแบบของการก่อสร้าง เนื่องจากบางช่วงอาจจำเป็นต้องมีการจัดทำทางยกระดับคร่อมเส้นทางรางเดิม แทนที่จะวางรางขนานคู่ไป เพราะพื้นที่ของการรถไฟบางส่วน เช่น เมืองพัทยา ทาง ร.ฟ.ท.ได้ให้เมืองพัทยาเช่าพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ เพื่อจัดทำถนน Local Road จึงอาจทำให้การสร้างรางคู่ขนานมีปัญหาในเรื่องพื้นที่ จึงต้องหลีกเลี่ยงไปใช้รูปแบบของการก่อสร้างทางรถไฟลอยฟ้าคร่อมเส้นทางเดิมไป
โดยหลังการสำรวจ ศึกษา และออกแบบแล้วเสร็จ จะเป็นการเปิดประมูลโครงการคัดเลือกผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้างโครงการในปี 2558 และจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี 2562 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า
นายกนก กล่าวว่า เส้นทางนี้จะเริ่มที่สถานีบางซื่อ มายังสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเส้นทางช่วงแรกนี้จะใช้รางร่วมกับรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงก์ จึงจะมีความสามารถในการวิ่งรถได้ที่ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ส่วนต่อขยายจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง จะเป็นระบบรางที่ออกแบบตามเกณฑ์มาตรฐานระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่สามารถรองรับรถไฟที่วิ่งได้ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งหลังโครงการแล้วเสร็จจะทำให้เพิ่มความสะดวกในการเดินทางเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนภูมิภาคของตะวันออกนั้น ปัจจุบันมีระบบการขนส่ง การคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวกสบาย ทั้งมอร์เตอร์เวย์ และทางด่วนบูรพาวิถี ที่ในอนาคตจะมีการปรับปรุง และขยายเส้นทางมากขึ้น ทำให้การโดยสารรถไฟฟ้าอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจ จึงมีแนวคิดต่อขยายเพิ่มเติมไปยัง จ.ตราด ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อน และกระตุ้นความสนใจในด้านการท่องเที่ยว และการขนส่งอีกด้วย