xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.แรงงานลงกรุงเก่าฟังปัญหาแรงงาน 300 บาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


พระนครศรีอยุธยา - กรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่สวนอุตสาหกรรมกรุงเก่า รับฟังผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ผู้ประกอบการโวยต้องแบกภาระเพื่อช่วยเหลือคนพิการ

วันนี้ (6 มี.ค.) นายนิทัศน์ ศรีนนท์ ประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะได้เดินทางมาร่วมประชุม “มาตรการช่วยเหลือเยียวยาสถานประกอบการและกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท” โดยมี นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับ และรยงานถึงปัญหาต่างๆ ในการขึ้นค่าแรง 300 บาท พร้อมตัวแทนผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กว่า 30 คน เข้าร่วมที่ห้องประชุม Trlning Room บริษัท ศูนย์เทคโนโลยีอยุธยา จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา

นายนิทัศน์ ศรีนนท์ ประธานคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การเดินทางมายังสวนอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจผลิตสิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อะไหล่ยานยนต์ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราการจ้างดังกล่าว ทั้งนี้ ด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อช่วงปี 2554 ที่ผ่านมา ได้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้ได้รับความเสียหายในด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก

ด้านนายพิชัย พรมจุล อายุ 53 ปี ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ตัวแทนของบริษัท คาไซ เทคซี จำกัด กล่าวว่า ทุกวันนี้ผู้ประกอบการโรงงานต้องรับภาระจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้พิการที่รัฐบาลมีกฎหมายกำหนดมาว่า บริษัทโรงงานที่มีพนักงาน 100 คน ต้องรับคนพิการเข้าทำงานในโรงงาน 1 คน หากไม่รับก็ต้องจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือคนพิการเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ เมื่อก่อน 256 บาท จำนวน 365 วัน (1 ปี) ซึ่งบริษัทตนมีพนักงาน จำนวน 400 กว่าคน ก็ต้องจ่ายเงินเผื่อไว้ให้เพื่อช่วยเหลือคนพิการ ถึง 4 คน และตอนนี้ค่าแรง 300 บาทก็ต้องจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทต่อ คนพิการ 4 คน จำนวน 365 วัน ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับโรงงานผู้ประกอบการ แต่ถ้านำคนพิการมาทำงานก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และเป็นภาระที่ต้องมาคอยดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษอีก ทางบริษัทจึงต้องยอมจ่ายเงินเอช่วยเหลือดีกว่า อยากให้รัฐบาลช่วยแก้ไขเรื่องนี้หน่อย

ด้านนายมานะ พ่วงความสุข รองประธานชมรมบริหารงานบุคคลไฮเทค กล่าวว่า ผลกระทบในมุมมองของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค คิดเป็นเงินจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านบาท ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องเร่งฟื้นฟูทำให้มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งทางรัฐบาลได้มีการปรับอัตราเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ไม่รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากอัตราค่าจ้างก็อยู่ในระดับดังกล่าว โดยทางบริษัทได้มีการทำนโยบายในการลดการใช้พลังงานภายในบริษัทของแต่ละบริษัทในการปรับลดการใช้ไฟฟ้า และน้ำ

ทั้งนี้ การปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท อาจทำให้ภาคธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ต้องให้คณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎรหาทางช่วยเหลือต่อไป

กำลังโหลดความคิดเห็น