กาญจนบุรี - 2 เขื่อนใหญ่กาญจนบุรี ยันมีปริมาณน้ำเพียงพอรับมือปัญหาวิกฤตท่อก๊าซพม่า และมีความพร้อมที่จะผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบของประเทศที่คณะกรรมการสั่งการในทุกกรณี
วันนี้ (19 ก.พ.) นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี กล่าวถึงกรณีที่มีการประกาศหยุดการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ประเทศพม่า ในวันที่ 4-12 เม.ย.56 โดยทาง ปตท.แจ้งว่า เนื่องจากมีการทรุดตัวของแท่นขุดเจาะที่แหล่งยาดานา ประเทศพม่า ทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปวันละ 1,030 ล้าน ลบ.ฟุต คิดเป็นกำลังผลิตประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งก๊าซที่หายไปจะส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าในฝั่งภาคตะวันตกทั้งหมดว่า ในส่วนของเขื่อนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรีนั้นได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ต่างๆ ไว้แล้วเช่นกัน
โดยในปัจจุบัน (19 ก.พ.) เขื่อนศรีนครินทร์มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 14,894 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 83.94% มีปริมาณน้ำที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และระบายน้ำเพื่อการชลประทานได้ 4,630 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีแผนการระบายน้ำเพื่อบรรเทาภัยแล้งให้แก่ชลประทาน วันละประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับหน้าแล้งปีนี้แน่นอน
ในขณะที่ส่วนหนึ่งของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รอบเขื่อนที่ประสบภัยแล้งนั้น ทางเขื่อนฯ ได้จัดส่งน้ำเพื่อไปช่วยเหลือบรรเทาภัยแล้งแล้วหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านบนเขาแก่งเรียง แม่กระบุง พุชะนี ฯลฯ ยืนยัน ทั้ง 2 เขื่อนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี จะสามารถบริหารจัดการน้ำร่วมกับคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ในลำน้ำได้อย่างแน่นอน
“ในส่วนของการผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบของประเทศนั้น เราก็มีความพร้อมในการปฏิบัติตามที่คณะกรรมการสั่งการในทุกกรณีภายใต้การประเมินสถานการณ์เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด”
ด้านนายวนิช แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำปัจจุบัน (19 ก.พ.) มีปริมาณน้ำ 6,579 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 74.26% มีปริมาณน้ำที่ผลิตกระแสไฟฟ้า และระบายน้ำเพื่อการชลประทานได้ 3,567 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามแผนการระบายน้ำของชลประทาน เขื่อนวชิราลงกรณ จะต้องระบายน้ำประมาณวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือว่ายังเพียงพอสำหรับหน้าแล้งปีนี้เช่นกัน
วันนี้ (19 ก.พ.) นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี กล่าวถึงกรณีที่มีการประกาศหยุดการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ประเทศพม่า ในวันที่ 4-12 เม.ย.56 โดยทาง ปตท.แจ้งว่า เนื่องจากมีการทรุดตัวของแท่นขุดเจาะที่แหล่งยาดานา ประเทศพม่า ทำให้ก๊าซธรรมชาติหายไปวันละ 1,030 ล้าน ลบ.ฟุต คิดเป็นกำลังผลิตประมาณ 6,000 เมกะวัตต์ ซึ่งก๊าซที่หายไปจะส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าในฝั่งภาคตะวันตกทั้งหมดว่า ในส่วนของเขื่อนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรีนั้นได้มีการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ต่างๆ ไว้แล้วเช่นกัน
โดยในปัจจุบัน (19 ก.พ.) เขื่อนศรีนครินทร์มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 14,894 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 83.94% มีปริมาณน้ำที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และระบายน้ำเพื่อการชลประทานได้ 4,630 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีแผนการระบายน้ำเพื่อบรรเทาภัยแล้งให้แก่ชลประทาน วันละประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับหน้าแล้งปีนี้แน่นอน
ในขณะที่ส่วนหนึ่งของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รอบเขื่อนที่ประสบภัยแล้งนั้น ทางเขื่อนฯ ได้จัดส่งน้ำเพื่อไปช่วยเหลือบรรเทาภัยแล้งแล้วหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านบนเขาแก่งเรียง แม่กระบุง พุชะนี ฯลฯ ยืนยัน ทั้ง 2 เขื่อนในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี จะสามารถบริหารจัดการน้ำร่วมกับคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง และคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ในลำน้ำได้อย่างแน่นอน
“ในส่วนของการผลิตไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบของประเทศนั้น เราก็มีความพร้อมในการปฏิบัติตามที่คณะกรรมการสั่งการในทุกกรณีภายใต้การประเมินสถานการณ์เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด”
ด้านนายวนิช แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า สถานการณ์น้ำปัจจุบัน (19 ก.พ.) มีปริมาณน้ำ 6,579 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 74.26% มีปริมาณน้ำที่ผลิตกระแสไฟฟ้า และระบายน้ำเพื่อการชลประทานได้ 3,567 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามแผนการระบายน้ำของชลประทาน เขื่อนวชิราลงกรณ จะต้องระบายน้ำประมาณวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือว่ายังเพียงพอสำหรับหน้าแล้งปีนี้เช่นกัน