ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สำรวจความเห็นผู้บริหารโรงเรียนประถม พบแม้ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 แต่เกือบ 80% ยังกังวลทั้งเรื่องงบสนับสนุนการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ต-ความพร้อมของผู้ปกครอง/นร.ยังเป็นปัญหา แถมบางส่วนมองแม้แต่ ก.ศึกษาฯ ยังอาจมีปัญหาเรื่องความพร้อมการบรรจุหลักสูตรในคอมพ์พกพา แนะควรแจกตั้งแต่เด็ก ป.4 ขึ้นไป
หลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเดินหน้าจัดซื้อแท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์พกพา แจกให้นักเรียน ป.1 ทั่วประเทศ ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ซึ่งมีการจัดซื้อกับบริษัทจากจีน และมีการส่งมอบสินค้ากันแล้ว โดยคาดว่าจะมีการเริ่มแจกให้โรงเรียนต่างๆ ในเดือนนี้ ทางศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (แม่โจ้โพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศต่อความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ระหว่างวันที่ 15 มิ.ย.-12 ก.ค. 55 จำนวน 158 โรงเรียน ในหัวข้อ “มุมมองผู้บริหารสถานศึกษา...กับความพร้อมต่อนโยบายการแจกแท็บเล็ต เด็ก ป.1”
ปรากฏว่าผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา 62.4% เห็นด้วยกับนโยบายนี้ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมองว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่อีก 37.3% ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เนื่องจากมองว่านักเรียนชั้น ป.1 ยังไม่มีความพร้อมหลายด้าน เช่น การดูแลรักษาเครื่อง รวมถึงควรให้เด็กเรียนรู้การอ่าน-เขียนภาษาไทยให้คล่องเสียก่อน
ส่วนประเด็นความพร้อมของโรงเรียนในการปฏิบัติตามนโยบาย พบว่า 75.3% มีความพร้อม เพราะโรงเรียนมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อยู่ แต่อีก 24.7% ระบุว่ายังไม่มีความพร้อม เพราะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก บุคลากร ครู และนักเรียนยังขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
เมื่อถามถึงความวิตกกังวลต่อการปฏิบัติตามนโยบายนี้ ปรากฏว่า 79.1% ตอบว่ามีความกังวล โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานตามนโยบาย เช่น ค่าบำรุงรักษาแท็บเล็ต และอุปกรณ์ที่จะใช้สนับสนุนการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ต ถือเป็นประเด็นที่ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมวิตกกังวลมากที่สุดถึง 88.0% รองลงมาคือ ความพร้อมของคนในครอบครัวนักเรียน ที่จะแนะนำและดูแลรักษาเครื่องแท็บเล็ต 75.2% และวิตกต่อประเด็นเรื่องความพร้อมของนักเรียนต่อการเรียนรู้ในการใช้แท็บเล็ต 72.0% ส่วนประเด็นเรื่องการขาดมาตรการควบคุมการใช้งานแท็บเล็ตที่เหมาะสม ระดับความวิตกกังวลก็ยังสูงถึง 48.7%
นอกจากนี้ บรรดาผู้อำนวยการโรงเรียนที่ตอบแบบสำรวจยังมีความกังวลเรื่องความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการต่อการเตรียมหลักสูตร เนื้อหาต่างๆ ที่จะบรรจุในแท็บเล็ต เพื่อสอนนักเรียนถึง 44.8% โดยมีเพียง 20.9% เท่านั้นที่ไม่มีความวิตกกังวลในเรื่องนี้
ขณะที่การเตรียมพร้อมในการรองรับนโยบายเรื่องนี้ของโรงเรียนต่างๆ พบว่า สถานศึกษามีการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้สนับสนุนการเรียน เช่น การติดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพิ่มปลั๊กไฟในห้องเรียน เป็นต้น ด้านครูผู้สอน มีการเตรียมครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ และให้ครูที่สอนในระดับชั้น ป.1 เข้ารับการอบรมการใช้แท็บเล็ต และด้านผู้เรียน มีการให้ความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์แก่นักเรียนชั้น ป.1
ส่วนข้อเสนอแนะต่อการดำเนินนโยบายนี้นั้น 31.0% มองว่าควรรีบดำเนินการให้ทันในภาคเรียนที่ 1 และมีมาตรการในการใช้แท็บเล็ตให้ชัดเจน, 29.4% แนะว่าควรแจกให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.4 ขึ้นไป เนื่องจากสามารถอ่านหนังสือได้แล้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนยิ่งขึ้นได้, 12.6% แนะว่าควรมีการศึกษาข้อดีข้อเสียในกลุ่มตัวอย่างก่อน และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองนักเรียน, 10.9% แนะว่าควรสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนเพื่อจัดเตรียมอุปกรณืสนับสนุนด้วย, 8.4% แนะว่าควรมีการดําเนินการจัดซื้อที่โปร่งใส เพื่อให้ได้แท็บเล็ตที่มีคุณภาพ และ 7.7 % แนะผู้บริหารระดับนโยบายควรศึกษา และจัดทำหลักสูตรการเรียนในแท็บเล็ตให้เหมาะสมกับนักเรียน
จากผลการสำรวจ จะเห็นได้ว่าแม้ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่จะเห็นด้วย และมีความพร้อมต่อการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว แต่ยังคงมีความวิตกกังวลในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายอยู่ด้วย
หลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเดินหน้าจัดซื้อแท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์พกพา แจกให้นักเรียน ป.1 ทั่วประเทศ ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ซึ่งมีการจัดซื้อกับบริษัทจากจีน และมีการส่งมอบสินค้ากันแล้ว โดยคาดว่าจะมีการเริ่มแจกให้โรงเรียนต่างๆ ในเดือนนี้ ทางศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (แม่โจ้โพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศต่อความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ระหว่างวันที่ 15 มิ.ย.-12 ก.ค. 55 จำนวน 158 โรงเรียน ในหัวข้อ “มุมมองผู้บริหารสถานศึกษา...กับความพร้อมต่อนโยบายการแจกแท็บเล็ต เด็ก ป.1”
ปรากฏว่าผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา 62.4% เห็นด้วยกับนโยบายนี้ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมองว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่อีก 37.3% ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เนื่องจากมองว่านักเรียนชั้น ป.1 ยังไม่มีความพร้อมหลายด้าน เช่น การดูแลรักษาเครื่อง รวมถึงควรให้เด็กเรียนรู้การอ่าน-เขียนภาษาไทยให้คล่องเสียก่อน
ส่วนประเด็นความพร้อมของโรงเรียนในการปฏิบัติตามนโยบาย พบว่า 75.3% มีความพร้อม เพราะโรงเรียนมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อยู่ แต่อีก 24.7% ระบุว่ายังไม่มีความพร้อม เพราะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก บุคลากร ครู และนักเรียนยังขาดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน
เมื่อถามถึงความวิตกกังวลต่อการปฏิบัติตามนโยบายนี้ ปรากฏว่า 79.1% ตอบว่ามีความกังวล โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานตามนโยบาย เช่น ค่าบำรุงรักษาแท็บเล็ต และอุปกรณ์ที่จะใช้สนับสนุนการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ต ถือเป็นประเด็นที่ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมวิตกกังวลมากที่สุดถึง 88.0% รองลงมาคือ ความพร้อมของคนในครอบครัวนักเรียน ที่จะแนะนำและดูแลรักษาเครื่องแท็บเล็ต 75.2% และวิตกต่อประเด็นเรื่องความพร้อมของนักเรียนต่อการเรียนรู้ในการใช้แท็บเล็ต 72.0% ส่วนประเด็นเรื่องการขาดมาตรการควบคุมการใช้งานแท็บเล็ตที่เหมาะสม ระดับความวิตกกังวลก็ยังสูงถึง 48.7%
นอกจากนี้ บรรดาผู้อำนวยการโรงเรียนที่ตอบแบบสำรวจยังมีความกังวลเรื่องความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการต่อการเตรียมหลักสูตร เนื้อหาต่างๆ ที่จะบรรจุในแท็บเล็ต เพื่อสอนนักเรียนถึง 44.8% โดยมีเพียง 20.9% เท่านั้นที่ไม่มีความวิตกกังวลในเรื่องนี้
ขณะที่การเตรียมพร้อมในการรองรับนโยบายเรื่องนี้ของโรงเรียนต่างๆ พบว่า สถานศึกษามีการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้สนับสนุนการเรียน เช่น การติดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ต เพิ่มปลั๊กไฟในห้องเรียน เป็นต้น ด้านครูผู้สอน มีการเตรียมครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ และให้ครูที่สอนในระดับชั้น ป.1 เข้ารับการอบรมการใช้แท็บเล็ต และด้านผู้เรียน มีการให้ความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์แก่นักเรียนชั้น ป.1
ส่วนข้อเสนอแนะต่อการดำเนินนโยบายนี้นั้น 31.0% มองว่าควรรีบดำเนินการให้ทันในภาคเรียนที่ 1 และมีมาตรการในการใช้แท็บเล็ตให้ชัดเจน, 29.4% แนะว่าควรแจกให้นักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.4 ขึ้นไป เนื่องจากสามารถอ่านหนังสือได้แล้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนยิ่งขึ้นได้, 12.6% แนะว่าควรมีการศึกษาข้อดีข้อเสียในกลุ่มตัวอย่างก่อน และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองนักเรียน, 10.9% แนะว่าควรสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนเพื่อจัดเตรียมอุปกรณืสนับสนุนด้วย, 8.4% แนะว่าควรมีการดําเนินการจัดซื้อที่โปร่งใส เพื่อให้ได้แท็บเล็ตที่มีคุณภาพ และ 7.7 % แนะผู้บริหารระดับนโยบายควรศึกษา และจัดทำหลักสูตรการเรียนในแท็บเล็ตให้เหมาะสมกับนักเรียน
จากผลการสำรวจ จะเห็นได้ว่าแม้ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่จะเห็นด้วย และมีความพร้อมต่อการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว แต่ยังคงมีความวิตกกังวลในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายอยู่ด้วย